HYDRAULIC

HYDRAULIC

HYD เมื่อนำมาใช้กับ อากาศยานหมายถึง การส่งทอดกำลังจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของของไหลภายใต้ความดัน (ของไหลหมายถึง HYD.)

คุณสมบัติของของไหล

· เป็นสสารที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ง่าย

· คุณสมบัติจะเปลี่ยนไปเมื่อได้รับความร้อน

· เมื่อของไหลไหลผ่านท่อ จะมีความร้อนเกิดขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากความเสียดทาน

ของไหลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. ของไหลที่เป็นก๊าซ สามารถอัดให้เล็กลงได้ (COMPRESSIBLE FLUID)

2. ของไหลที่เป็นของเหลว ไม่สามารถอัดตัวให้เล็กลงได้ (INCOMPRESSIBLE FLUID)

** ของไหลที่นำมาใช้ในระบบ HYD คือ INCOMPRESSIBLE FLUID (HYD)

เหตุผลที่นำ HYD SYST. มาใช้กับ อากาศยาน

§ ประสิทธิภาพ (EFFICIENCY) ได้ 90% ของงานที่ได้

§ ความไว้วางใจ (DEPENDABILITY) ในขอบเขตอุณหภูมิ – 65 ํF ถึง 275 ํF

§ มีความไวในการส่งทอดการทำงาน (SENSITIVITY) ไม่ว่าท่อทางจะคดงออย่างไร การส่งทอดก็เท่าเดิม

§ มีความอ่อนตัวในการติดตั้ง (FLEXIBILITY) ติดตั้งส่วนไหนของ อากาศยานก็ได้

§ อุปกรณ์ในระบบกระทัดรัด (COMPACTSIZE) สร้างอุปกรณ์เล็กลงและตรวจง่าย

§ น้ำหนักเบา (LIGHT WEIGHT)

§ หล่อลื่นตัวเองได้ (SELF LUBRICATED)

สารหลักที่ใช้ทำ HYD มี 4 อย่าง

1. WATER- BASE

2. PETROLIUM-BASE

3. VEGETABLE-BASE (พืช) เลิกใช้แล้ว

4. SYNTHETIC-BASE (สังเคราะห์)

กฏของปาสคาล จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง

- แรง

- ความดัน

- พื้นที่

** กฏของปาสคาล กล่าวว่า

· “เมื่อมีแรง (แรงดันหรือแรงดึง) มากระทำต่อของไหลซึ่งถูกกักขังไว้ ความดันนี้จะกระจายเท่ากันทั่วทุกทิศทางโดยสม่ำเสมอ”

· แรง (FORCE) คือ แรงดันหรือแรงดึงที่กระทำกริยาในแนวตั้งฉากต่อเทหวัตถุ มีหน่วยเป็นปอนด์

· ความดัน (PRESSURE) คือแรงที่กระทำกริยาในแนวตั้งฉากต่อพื้นที่หนึ่งตารางหน่วย มีหน่วยเป็น ปอนด์ต่อ ตารางนิ้ว

· พื้นที่ (AREA) คือ พื้นที่ที่วัดจากผิวหน้าตัด มีหน่วยวัดเป็นตารางนิ้ว ในระบบ HYD ส่วนมากเราหมายถึง พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบ

· ระยะทางเคลื่อนที่ (STROKE OR LENGTH) คือระยะทางที่เทหะวัตถุเคลื่อนที่ไป มีหน่วยเป็นนิ้ว (เป็นระยะทางที่ลูกสูบเคลื่อนที่ในกระบอกสูบ)

· ปริมาตร (VOLUME) คือมาตราวัดของปริมาณมีหน่วยวัดเป็น ลูกบาศก์นิ้ว

· การแทนที่ (DISPLACEMENT) คือการแทนที่ของเทหะวัตถุ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น จำนวนของไหลถูกแทนที่โดยลูกสูบ

*** จากกฏของปาสคาล จะเขียนเป็นสูตรได้

F = AP F = แรง

A = พื้นที่

P = ความดัน

V = AL V = ปริมาตรของไหลที่ถูกลูกสูบแทนที่

A = พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบ

L = ระยะทางที่ลูกสูบเคลื่อนที่

*** การได้เปรียบเชิงกล (MECHANICAL ADVANTAGE = MA) คือ อัตราส่วนในการผ่อนแรง

MA (แรง) = แรงหรือน้ำหนักที่ยกได้ / แรงที่ใช้ = FORCE OUTPUT / FORCE INPUT

MA (ระยะทาง) = ระยะทางเคลื่อนที่ของลูกสูบตัวเล็ก / ระยะทางเคลื่อนที่ของลูกสูบตัวใหญ่

MA (พื้นที่) = พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบตัวใหญ่ / พื้นที่หน้าตัดของลูกสูบตัวเล็ก

คุณสมบัติของ HYD.

¨ ไม่ขยายตัวเมื่อโดนความร้อน

¨ ไม่เหนียวหนืดเมื่ออุณหภูมิต่ำ และเป็นตัวหล่อลื่นที่ดี

น้ำมัน HYD แบ่งออกได้ตามสารหลักที่นำมาผลิต 3 อย่างคือ

ใช้น้ำมันปิโตรเลียมเป็นสารหลัก (PETROLEUM BASE) ตัวผนึกต้องทำด้วยยางเทียมหรือโลหะ

ã MIL-H-5606 สีแดง ขอบเขตอุณหภูมิระหว่าง –65 F ถึง 275 F

ã MIL-H-6083 สีแดง ใช้เป็นน้ำมันป้องกันสนิมสำหรับอุปกรณ์ HYD ขอบเขตอุณหภูมิเช่นเดียวกับ 5606

ã MIL-H-81019 สีแดง ใช้งานที่อุณหภูมิต่ำ –90 F ถึง 120 F ใช้ในกรณีฉุกเฉินแทน MIL-H-5606 ได้

ใช้น้ำมันจากพืชเป็นสารหลัก (VEGETABLE BASE) มีอยู่อย่างเดียว คือ

MIL-H-7644 สีน้ำเงิน (เลิกใช้แล้ว)

ใช้น้ำมันสังเคราะห์เป็นสารหลัก (SYNTHETIC BASE) ได้แก่

Ø MIL-H-8446 สีทอง ทนอุณหภูมิได้สูงระหว่าง –65 F ถึง 400 F

Ø SKYDROL 500A OR 700 สีม่วงอมชมพู อุณหภูมิระหว่าง –85 F ถึง 1100 F ไม่ติดไฟ

Ø MIL-H-83282 สีแดง ผลิตขึ้นมาเพื่อให้ทนความร้อนได้สูง ๆ มิให้เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย อุณหภูมิระหว่าง –45 F ถึง 425 F ตัวผนึกใช้ยางเทียม ปัจจุบันนำมาแทน MIL-H-5606

*** ตามแจ้งความวิทยาการ ชอ.ที่ 325/27

MIL-H-83282 (สีเหลือง), MIL-H-83282 A (สีเหลือง), MIL-H-83282 A/AMENDMENT-1 (สีแดง), MIL-H-83282 B (สีแดง) ทั้งสีเหลืองและสีแดงใช้ผสมกันได้เลยโดยไม่ต้องถ่าย

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้น้ำมัน HYD

· ไม่ควรนำ HYD ต่างชนิดหรือต่างข้อกำหนดมาผสมกัน

· ไม่ควรนำ HYD ที่ใช้แล้วมาใช้อีก

· ไม่ควรปล่อย HYD ทิ้งไว้ในกระป๋องที่เปิดฝา

SEAL (ตัวผนึก)

q มีหน้าที่เก็บน้ำมัน HYD ไว้ในระบบไม่ให้รั่วไหล

q วัสดุที่ใช้ทำขึ้นอยู่กับความต้องการของ บ.ที่ใช้

q SEAL ส่วนมากใช้ยางเทียม (ยางสังเคราะห์) และโลหะ

SEAL แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. PACKING ใช้กับส่วนที่เคลื่อนไหว (DYNAMIC SEAL)

2. GASKETS ใช้กับส่วนที่อยู่กับที่ หรือเรียกว่า “ปะเก็น” (STATIC SEAL)

แบบของ SEAL

· V-RING กันความอัดได้ด้านเดียว เวลาประกอบมีที่รองรับ ป้องกัน SEAL ชำรุด

· U-RING ใช้ป้องกันการรั่วของลูกสูบและก้านสูบ

· CUP-RING กันได้ด้านเดียว โดยมากใช้กับ MASTER BRAKE CYL.

· OIL- SEAL ทำด้วยยางและโลหะโดยรอบ และมีสปริงรับภายใน ใช้กับ HYD. PUMP และ HYD.MOTOR

· WIPER SEAL ทำด้วยโลหะหรือสักกะหลาด ใช้สำหรับทำความสะอาด หล่อลื่นก้านสูบ

· CRUSH WASHER เป็นแหวนกันรั่วเหมือน GASKET ทำด้วยโลหะและแหวนบาง ๆ

· O-RING SEAL ใช้กันทั่ว ๆ ไป (ใช้มาก) เป็นได้ทั้ง GASKET และ PACKING

ประโยชน์ของ O-RING

ü ประกอบได้ง่าย

ü ไม่ต้องการปรับขณะทำการประกอบ

ข้อแตกต่างระหว่าง O-RING PACKING และ O-RING GASKET

- O-RING PACKING จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเนื้อ SEAL ใหญ่ขึ้นตามขนาดของวง แต่ขนาดเล็กที่สุด คือ 3/16 นิ้ว

- O-RING GASKET เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างที่สุด 1/8 นิ้ว

สีที่ O-RING จะบอก

· ขีดสีฟ้ารอบนอกของ SEAL จะใช้เป็น GASKET

· จุดสีฟ้ารอบนอกของ SEAL จะใช้เป็น PACKING

O-RING มี 2 แบบ คือ

1. MS SEAL มีจุดสีน้ำเงิน (ฟ้า) เพียงจุดเดียว ใช้กับอุณหภูมิ –65 F ถึง 275 F

2. AN SEAL มีจุดสีตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป ใช้กับอุณหภูมิ –65 F ถึง 160 F

** MS SEAL ใช้แทน AN SEAL ได้ แต่ AN แทน MS ไม่ได้

จุดสีที่ O-RING SEAL (อ่านตามเข็มนาฬิกา)

· จุดแรก BLUE ใช้กับระบบ HYD.

· จุดแรก RED ใช้กับระบบ FUEL

· จุดแรก YELLOW ใช้กับระบบ OIL

· จุดแรก WHITE คือ SEAL ที่ไม่เป็นมาตรฐานใช้งานเฉพาะระบบใดระบบหนึ่ง

** ไม่ควรเก็บ SEAL ค้างไว้ในคลังเกินกว่า 5 ปี เพราะ SEAL จะเสื่อมไปตามอายุ เช่น ที่ซองของ SEAL จะเขียนบอกไว้ว่า GURED 4Q73 EXPRIED 4Q78 หมายถึง SEAL ผลิตเมื่อ QUARTER ที่ 4 ปีที่ 73 และหมดอายุ QUARTER ที่ 4 ปีที่ 78 รวม 5 ปี

QUARTER ที่ 1 หมายถึง ม.ค. – มี.ค.

QUARTER ที่ 2 หมายถึง เม.ย. – มิ.ย.

QUARTER ที่ 3 หมายถึง ก.ค. – ก.ย.

QUARTER ที่ 4 หมายถึง ต.ค. – ธ.ค.

ข้อควรระวังการใช้ O-RING SEAL

ไม่ควรใช้กับความอัดสูงเกิน 1,500 PSI ถ้าเกินต้องใช้ BACK UP ซึ่งบางทีเรียก NON-EXTRUSION DEVICES เพื่อ

· ป้องกัน SEAL พลิก ,ฉีกขาด

· ถ้าความอัดเข้าด้านเดียว เราใช้ BACK UP ตัวเดียว ถ้าเข้า 2 ด้านใช้ 2 ตัว

· BACK UP ทำจาก

- TEPLON เป็นยางขาว ๆ ใช้กับอุณหภูมิ –100  F ถึง 350  F

- LEATHER เป็นหนัง โดยใช้ด้านเรียบติดกับ SEAL

*** PAR BACK-BACK UP ผิวด้านข้างจะโค้งงอ เป็นร่องรองรับกับ SEAL หรือเป็นรูป SEAL

TUBING หรือท่อทาง แบ่งเป็น 3 ชนิด

1. ท่อ AL-ALLOY แบบไม่มีตะเข็บเชื่อม (SEAMLESS AL-ALLOY)

2. ท่อเหล็กกล้า แบบไม่มีตะเข็บเชื่อม (SEAMLESS STAINLESS STEEL)

3. ท่ออ่อน (FLEXIBLE HOSE)

ท่อ AL-ALLOY

เหมาะกับระบบความดันไม่เกิน 1,500 PSI

ท่อเหล็กกล้า

- ใช้ในระบบที่ความดันเกิน 1,500 PSI ขึ้นไป

- ใช้ตามบริเวณที่มักมีวัสดุแปลกปลอม (FOD) เช่น สาย (ท่อทาง) เบรก

ท่ออ่อน (HOSE)

- ใช้ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสั่นสะเทือนหรือมีการเคลื่อนไหว

- แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามความดันใช้งาน (มิใช่ความดันที่ทำให้ท่อแตก)

1. ท่ออ่อนความดันต่ำ ความดันที่ใช้ไม่เกิน 250 PSI

2. ท่ออ่อนความดันปานกลาง ความดันที่ใช้ไม่เกิน 500 PSI

3. ท่ออ่อนความดันสูงปานกลาง ความดันที่ใช้ไม่เกิน 1,500 PSI

4. ท่ออ่อนความดันสูง ความดันที่ใช้เกินกว่า 1,500 PSI ขึ้นไป

- HOSE มีอายุใช้งาน 4 ปี ที่มีลวดถักหุ้มมี 2 ชนิด

ü ท่ออ่อนยาง ความดันปานกลาง มีลวดถักชั้นเดียว (MIL-H-8794)

ü ท่ออ่อนยาง ความดันสูง มีลวดถัก 2 ชั้น (MIL-H-8788)

- การหมดอายุการเก็บและการเปลี่ยนท่อยางจะบอกเป็นอักษรสีเหลืองบนท่อยาง เป็นระยะห่างกันไม่เกิน 9 นิ้ว

- การต่อท่ออ่อนกับระบบ HYD. จะต้องยึดไว้เป็นช่วงห่างกันไม่เกิน 2 ฟุต

- ข้อกำหนดบนท่อยางจะกำหนด เช่น

MIL-H-8794-SIZE-8-3Q67-91079

รหัสของบริษัทสร้าง

QUARTER และปีที่ผลิต

SIZE (1/16)" วัดภายใน

ข้อกำหนดว่าใช้ความดันเท่าไร ดู T.O.1-1A-8

*** ท่อยางวัด Æ ภายใน ส่วนท่อโลหะวัด Æ ภายนอก HOSE ที่มี Æ เท่ากับ TUBE (โลหะ)จะต่อกันได้พอดี

NOTE

§ ท่อยางอ่อนที่มีลวดถัก จะมียางหุ้มลวดอีกทีหนึ่ง

§ ท่อ TEFLON (TETRAPLUOROETHYTLENE) จะมีลวดถักหุ้มภายนอก เวลาตัดท่อจะต้องใช้เทปพันก่อนเพื่อกันลวดถักบานออก (อาจทิ่มมือได้)

§ ท่อ TEFLON ใช้ความดันไม่เกิน 1,500 PSI ไม่มีอายุการเก็บ

FITTINGS (ข้อต่อ)

ใช้สำหรับประกับหรือต่อท่อของแต่ละตอนเข้าด้วยกัน แบ่งเป็น 3 แบบ

1. แบบ AN FITTING

2. แบบ MS FITTING

3. แบบ QUICK DISCONNECT

การจะเลือกใช้แบบไหน ขึ้นอยู่กับตัวประกอบดังนี้

· ข้อต่อที่ใช้อยู่ในบริเวณที่สามารถจะเข้าไปถอดประกอบได้ยากง่ายแค่ไหน

· บริเวณนั้นมีการสั่นสะเทือนมากน้อยแค่ไหน

· มีการถอดบ่อยครั้งหรือเปล่า

AN FITTING (AN = ARMY-NAVY)

q มีส่วนประกอบคือ FLARED, TUBE, SLEEVE และ NUT

q ทำด้วย AL. จะมีสีน้ำเงิน ถ้าทำด้วยเหล็กกล้าจะมีสีดำ ใช้ความดันปานกลางหรือไม่เกิน 2,000 PSI

q ปลายท่อบานคล้ายปากแตร พร้อมปลอกสวม (SLEEVE) และ NUT สำหรับยึด

q ขันด้วยมือแล้วจึงขันให้ได้แรงบิดตามต้องการ

ข้อเสียของ AN FITTING

ปลายบานมักจะแตกร้าวหรือมีรอยร้าวเนื่องจากความสั่นสะเทือน

MS FITTING (MS = MILITARY STANDARD)

q ทำจาก AL. จะมีสีเหลือง, เขียว หรือน้ำตาล ถ้าทำจากเหล็กกล้าจะมีสีน้ำเงิน

q ปลายท่อไม่บาน ใช้แบบปากสวมแบบกด

q การติดตั้ง ให้ขันแน่นด้วยมือแล้วขันด้วยประแจเพิ่มอีก 1/6 ถึง 1/3 รอบ (ไม่เกิน 1/3 รอบ)

ข้อเสีย แบบ MS. คือ

ถ้าขันแน่นเกินไปจะมีปัญหาเกี่ยวกับการรั่วไหล

QUICK DISCONNECT

q มีชิ้นประกอบเป็นตัวผนึก (SEAL) อยู่ในตัว เพื่อป้องกันไม่ให้ของไหลไหลออกมาหรือไม่ให้อากาศเข้าไปทำให้ของไหลเสื่อมคุณภาพเมื่อถอดข้อต่อ

q นิยมใช้ในบริเวณที่มีการถอดออกบ่อยครั้งหรือถูกถอดออกตามระยะเวลา

ถังเก็บ HYD (HYD. FLUID RESERVOIRS)

วัตถุประสงค์ คือเป็นคลังเก็บน้ำมัน HYD.ของระบบซึ่งจะบรรจุของไหลไว้พอเพียงที่จะจ่ายให้กับระบบและรับ

น้ำมัน HYD. กลับถังหลังจากดำเนินงาน

ส่วนประกอบการสร้าง

· ตัวเรือน (CASE) มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันออกไป บางแบบแยกชิ้นได้ บางแบบก็มีชิ้นเดียว

· ช่องเติม (FILLER PORT)

· แผ่นป้ายข้อมูล (DATA PLATE) จะติดอยู่ใกล้กับจุกเติม จะบอกถึง

- ข้อกำหนดของน้ำมัน HYD.

- สี

- ความจุ

- ถ้ามีความต้องการทราบถึงตำแหน่งต่าง ๆ ของกลไก เช่น FLAP, SPEED BRAKE

- ช่องดูระดับ เป็นช่องกระจก

- เครื่องกรอง (FILTER)

- ท่อยืน (STAND PIPE) เพื่อให้มีน้ำมัน HYD. เหลืออยู่พอเพียงสำหรับให้ระบบฉุกเฉินทำงาน

- ลิ้นระบายความดัน (RELIFE VALVE) ระบายความดันที่มากเกินเกณฑ์ทิ้ง ความดันที่เกินเกณฑ์นี้จะเกิดจากมีอากาศ หรือ น้ำมัน HYD. ในถังมากเกินไป

เครื่องกรอง HYD. (HYD.FILTER)

· วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมผงสกปรกเล็ก ๆ ไว้

· สามารถกรองสิ่งสกปรกที่มีขนาดเล็กได้ถึง 5 ไมครอน (1 ไมครอน เท่ากับ 1/1,000,000 เมตร) เซลล์เม็ดเลือดแดงของมนุษย์มีขนาดเพียง 25 ไมครอน และเม็ดเลือดขาว 8 ไมครอน

· ปัจจุบันในระบบใหม่ ใช้เครื่องกรองแบบที่เรียกว่า เดลต้า-พี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความดันจากทางเข้าไปยังทางออก การทำงานปกติความดันทางเข้ากับทางออกเกือบเท่ากัน ถ้าอุดตัน ทางเข้าจะมีความดันมากกว่าทางออก

สูบ HYD. (HYD.PUMPS)

แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

- สูบมือ (HAND PUMPS)

- สูบกำลัง (POWER PUMPS)

สูบมือ (HAND PUMPS)

ใช้แทนสูบกำลังในกรณีฉุกเฉิน แบ่งออกได้ 2 ชนิด

1. สูบทางเดียว (SINGLE ACTING) มี HYD. ไหลออกจังหวะเดียว (ไม่นิยมใช้)

2. สูบสองทาง (DOUBLE ACTING) จ่าย HYD. ออกมาทั้ง 2 จังหวะ ไม่ว่าจะโยกไปทางหน้าหรือหลัง (นิยมใช้)

สูบกำลัง (POWER PUMPS) แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

- แบบเฟือง นิยมใช้ในระบบความดันต่ำ ไม่เกิน 1,500 PSI

- แบบลูกสูบ นิยมใช้ในระบบความดันสูง

สูบกำลังแบบเฟือง (GEAR-TYPE PUMPS)

· เป็นที่จ่ายของไหลมีปริมาตรคงที่ ไม่ว่า ณ ที่รอบใด ๆ นั่นคือมีของไหลในอัตราเร็วสม่ำเสมอ (แกลลอน/นาที)

· จะมีความดัน 2 ชนิดเกิดขึ้น ขณะสูบทำงาน คือ

1. ความดันเรือนสูบ (CASE PRESSURE) เกิดจาก ของไหลที่ผ่านตามช่องทางไหลออกระหว่างหน้าเฟืองและปลอกรองสัมฤทธิ์ ที่ไประบายความร้อนและหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวภายในสูบ เพื่อป้องกันความดันสูงเกินไป ที่ศูนย์กลางของเฟืองทั้งสองถูกเจาะกลวงแล้วต่อไปยังลิ้นระบายความดัน (RELIEF VALVE) ** RELIEF VALVE จะเปิดที่ความดัน 15 PSI

2. ความดันกดอัด (PRESSURE LOAD) มีความดันเท่ากับของไหลที่จ่ายโดยสูบ มีประโยชน์คือ ทำให้ปลอกรองยึดติดแน่นกับหน้าเฟือง เป็นการป้องกันการรั่วไหลภายในและลดอัตราการสึกหรอของปลอกรองโดยอัตโนมัติ

สูบกำลังแบบลูกสูบ (PISTON PUMPS) แบ่งเป็น 2 ชนิด

- แบบจ่ายปริมาตรคงที่ (CONSTANT VOLUME PISTON)

- แบบจ่ายปริมาตรแปรตาม (VARIABLE VOLUME PISTON)

แบบจ่ายปริมาตรคงที่ (CONSTANT VOLUME PISTON)

· จ่ายของไหลในอัตราการไหลคงที่ไม่ว่า ณ รอบใด ๆ ประกอบด้วยลูกสูบ 7 หรือ 9 ลูก ลูกสูบจะยึดติดกับเพลาขับโดยข้อต่อยูนิเวอร์แซล

· ขณะสูบทำงานจะมีความดันเรือนสูบ (CASE PRESS.) เพื่อระบายความร้อนและหล่อลื่น ความดันที่เกินจะระบายออกทางลิ้นที่เรียกว่า “FOOT VALVE” (15 PSI)

· FOOT VALVE บางแบบติดตั้งไว้ในรองลื่น บางแบบติดตั้งไว้ที่หัว

· ในการกลับทิศทางการหมุนของ CONSTANT VOLUME ที่มี FOOT VALVE ตัวเดียวทำได้โดยขั้นแรก ถอดท่อนหัวออกแล้วหมุนไป 180 องศา แล้วต่อท่อดูดและท่อความดันเข้าแน่น ลูกศรบนหัวสูบชี้แสดงถึงทิศทางหมุนของสูบ

· สูบที่มี FOOT VALVE 2 ตัว กระทำได้ง่าย เพียงแต่เปลี่ยนท่อดูดและท่อความดันสลับกัน ไม่ต้องถอดท่อนหัวออก

แบบจ่ายปริมาตรแปรตาม (VARIABLE VOLUME PISTON)

มีข้อดีคือ

ไม่ต้องติดตั้งเครื่องปรับความดัน (PRESSURE REGULATOR)

ช่วยลดความกระโชกที่เกิดขึ้นในระบบ

VARIABLE VOLUME แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. STRATO POWER

2. VICKERE

แบบ STRATO POWER แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

- แบบจำกัดการไหลที่ทางเข้า (INTAKE STAVATION)

- แบบอุปสงค์ (DEMAND) มีโครงสร้างหลายอย่างแตกต่างจากแบบจำกัดการไหลที่ทางเข้า เช่น ลูกสูบใหญ่กว่า และลูกสูบทุกลูกจะมีปลอกสวมไว้ (SLEEVE)

F ตัวปรับชดเชยความดัน (COMPENSATOR) ของแบบอุปสงค์ ไม่ได้กักการไหลที่ทางเข้าเหมือนกับแบบจำกัดการไหลที่ทางเข้า

F เมื่อความดันเพิ่ม COMPENSATOR จะเคลื่อนไปทางขวาและเมื่อความดันลดลงจะเคลื่อนมาทางซ้ายโดยแรงดันของสปริง

แบบ VICKER

· มีหลักการทำงานแบบลดระยะการเคลื่อนที่ของลูกสูบ (STROKE REDUCTION PRINCIPLE)

· เป็นสูบแบบจ่ายปริมาตรแปรตาม

· ของไหลที่ไหลออกสู่ระบบขึ้นอยู่กับ PILOT VALVE CONTROL ซึ่งจะเป็นตัวอำนวยให้แท่งกระบอกสูบทำมุมกับเพลาขับ มีอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ

I ZERO FLOW ตำแหน่งนี้จะไม่มีของไหลออกสู่ระบบเลย เมื่อความร้อนในระบบลดลง PILOT VALVE จะทำงาน ซึ่งทำให้กระบอกสูบ (YOKE) เคลื่อนตัวลงมาทำมุมกับเพลาขับ และพร้อมที่จะจ่ายของไหลให้กับระบบ

I FULL FLOW จะทำงานตรงข้ามกับ ZERO FLOW

· สูบแบบนี้ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางหมุน

· การปรับลิ้นควบคุมความดัน ทำโดยการหมุนหัวสลักผ่า ตาม-เพิ่ม, ทวน-ลด

· มี FOOT VALVE เพื่อป้องกันความดันเรือนสูบสูงเกินเกณฑ์

หม้อสะสมความอัด (ACCUMULATOR)

หน้าที่ เป็นห้องเก็บน้ำมัน HYD. ไว้ภายใต้ความดัน

วัตถุประสงค์

· เพื่อช่วยเหลือ เสริมการทำงานของสูบกำลังในกรณีที่กลไกในระบบทำงานพร้อมกันหลายชิ้น (ขณะที่ POWER PUMP ต้องการความอัดสูงสุด)

· ให้กลไกสามารถทำงานได้อย่างจำกัด คือ เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งในกรณีที่สูบกำลังขัดข้อง (เก็บความอัดไว้ได้ชั่วขณะ)

· ช่วยลดการกระโชก (SURGES) ในระบบ HYD. (ป้องกันไม่ให้ PRESSURE REGULATOR) ต้องทำงานในตำแหน่ง ปิด ๆ เปิด ๆ หลายครั้งในขณะดำเนินงาน)

แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ

1. แบบไดอะแฟรม (เปิดกลางได้ เปลี่ยนไดอะแฟรม) อากาศอยู่ด้านล่าง

2. แบบถุงยาง (เปิดไม่ได้ ต้องเปลี่ยนทั้งชุด) อากาศอยู่ด้านล่าง

3. แบบลูกสูบ (เปิดด้านบน-ล่างได้)

4. แบบทดแทนในตัวเอง (SELF-DISPLACING PRESSURE ACCUMULATOR) มีข้อดีคือ

- จะทำงานจ่าย HYD. PRESS. ทุกท่าบิน

- ่วยส่ง HYD. เข้า POWER PUMP เป็นการช่วย RESERVOIRS

*** ใช้คู่กับ COMPENSATOR ของระบบ

ลิ้นเลือกเปลี่ยนทาง (SELECTOR VALVE)

มีหน้าที่อยู่ 2 ประการคือ

1. เป็นลิ้นนำน้ำมัน HYD. ไปยังตัวอำนวยการตามทิศทางที่เราประสงค์

2. เป็นตัวควบคุม

แบ่งตามลักษณะการสร้างได้ 3 แบบ

1. ROTOR TYPE มีขนาดช่องทางเข้าเท่ากันหมด มี 4 ช่อง

2. POPPET OR RADIAL TYPE เป็นแท่งยกขึ้นลง รูปดอกเห็ด

3. PISTON OR SLIDE TYPE (METERING VALVE)

§ ส่วนมากใช้กับระบบ CLOSE CENTER

§ ข้อดีคือสามารถกำหนดให้ลิ้นปิด-เปิดในตำแหน่งที่ต้องการ จึงสามารถใช้บังคับการเคลื่อนไหวของกลไกในอัตราเร็วต่าง ๆ กัน

แบ่งตามจำนวนท่อทางเข้าได้ 2 แบบ

1. มีทางเข้า 3 ทาง ใช้กับตัวอำนวยการแบบ SINGLE ACTION

2. มีทางเข้า 4 ทาง

ตัวอำนวยการ (ACTUATORS)

ทำหน้าที่ เปลี่ยนความดัน HYD. มาเป็นพลังงานกล แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด

1. SINGLE ACTION HYD. เข้าข้างเดียว SPRING เป็นตัวดันย้อนกลับ

2. DOUBLE ACTION มีห้อง HYD. 2 ห้อง แบ่งเป็น 2 ชนิด

- UNBALANCE TYPE (NORMAL) ไม่สมดุลย์ มีก้านสูบก้านเดียว

- BALANCE TYPE แบบสมดุลย์ มีก้านสูบ 2 ก้าน

MOTOR HYD.

หน้าที่ เปลี่ยนกำลังความอัดเป็นกำลังการหมุนเพื่อดำเนินงานทางกล

มีลักษณะเหมือนสูบ HYD. แต่การทำงานตรงข้ามกัน

ชุดควบคุมความดันและการไหลในระบบ HYD.

ประกอบด้วย

- CHECK VALVE

- HYD. FUSE

- RELIEF VALVE

- PRESSURE REGULATOR

- SHUTTLE VALVE

- PRESSURE SWITCH

- PRESSURE GAUGES

- ACCUMULATOR

CHECK VALVE (ลิ้นทางเดียว) แบ่งเป็น 4 ชนิด

1. NORMAL CHECK VALVE จะเปิดให้ HYD. ไหลออกได้ทางเดียวและปิดป้องกันไม่ให้ HYD. ไหลย้อนกลับ

มีเครื่องหมาย เป็นสัญญลักษณ์

2. ORIFICE CHECK VALVE หมายถึงรูหรือช่องเล็ก ๆ เพื่อทำให้ HYD. ไหลไม่สะดวก เป็นการลดอัตราเร็วของการไหลให้ช้าลง

- ใช้ติดตั้งกับท่อทางที่มีการไหลสลับกัน (ALTERNATING LINE) หมายถึงใช้เป็นทั้งท่อส่งความดัน (PRESSURE LINE) และท่อไหลกลับ (RETURN LINE)

- ใช้กับระบบฐานและ FLAP

- มีเครื่องหมาย เป็นสัญญลักษณ์

3. FIXED ORIFICE ใช้กักหรือลดอัตราเร็วของการไหลทั้ง 2 ทาง

4. VARIABLE ORIFICE หน้าที่เหมือน FIXED ORIFICE แต่สามารถปรับขนาดของรู ORIFICE ได้ โดยการหมุนเข็มปรับ

HYDRAULIC FUSE

· หน้าที่ ป้องกันไม่ให้ HYD. ไหลออกหมดในกรณีที่มีการรั่วไหลในระบบ

· ที่ HYD.FUSE จะมีอักษรเขียนบอกปริมาตร พร้อมเครื่องหมายลูกศรซึ่งชี้บอกทิศทางที่ต้องการวัด กัก HYD. ซึ่งจะมีปริมาตรเป็น 2 เท่าของ HYD. ที่ใช้งาน เช่น ใช้ FUSE ชนิด 50 CU.IN ก็หมายความว่า ถ้ามี HYD. ไหลผ่าน FUSE 25 CU.IN จะเป็นการทำงานตามปกติ (ตำแหน่ง HALF FUSED) ถ้ามีการรั่วไหล HYD. จะไหลผ่าน FUSE จนครบ 50 CU.IN HYD.FUSE ก็จะปิดไม่ให้ HYD.ไหลผ่าน

· การทำงานมี 4 ตำแหน่ง คือ

Ø STATIC ไม่มี HYD ไหลทั้งสองด้าน ลูกสูบอยู่ด้านบน

Ø HALF FUSED เป็นตำแหน่งทำงานปกติ ซึ่งจะมี HYD ไหลผ่าน FUSE ประมาณ ½ ของความจุ FUSE เช่น ความจุ FUSE 100 CU.IN ตำแหน่ง HALF FUSE จะเท่ากับ 50 CU.IN

Ø FUSED ลูกสูบจะอยู่จนสุดทาง (ล่างสุด) เพื่อปิดไม่ให้ HYD ไหล

Ø RETURN คือ ทำให้ FUSE กลับไปอยู่ในตำแหน่ง STATIC เหมือนเดิมหลังจากอยู่ในตำแหน่ง FUSE แล้ว โดยให้ HYD ไหลกลับทางมาดันลูกสูบให้เคลื่อนไปอยู่ตำแหน่งเดิม ก็จะนำ FUSE ไปใช้งานได้อีก

ลิ้นจัดทาง (SHUTTLE VALVE)

หน้าที่ แยกระบบธรรมดาและระบบฉุกเฉินออกจากกันโดยเด็ดขาด เช่น ถ้าใช้ระบบธรรมดา ลิ้นจะปิดระบบฉุกเฉิน และในทำนองเดียวกันถ้าใช้ระบบฉุกเฉินระบบธรรมดาก็จะถูกปิด

ลิ้นปรับระบายความดัน (RELIEF VALVE)

§ ลิ้นจะเปิดระบายให้ HYD. ไหลกลับสู่ถัง ถ้าความดันในระบบมากกว่าที่ต้องการ เป็นการป้องกันท่อทางหรืออุปกรณ์ในระบบเสียหาย

§ จะทำงานเฉพาะเมื่อ PRESSURE REGULATOR หรือ PRESSURE COMPENSATOR เกิดขัดข้อง (ของสูบจ่ายปริมาตรแปรตาม)

PRESSURE REGULATOR (เครื่องปรับควบคุมความดัน)

q ใช้สำหรับปรับควบคุมความดัน HYD. ในระบบให้สม่ำเสมอหรือคงที่

q ใช้ร่วมกับสูบจ่ายปริมาตรคงที่

q การทำงานแยกเป็น 2 จังหวะ คือ

ª จังหวะ KICK IN คือจังหวะที่ PRESS.REG. เปิดให้ HYD. ไหลเข้าระบบ

ª จังหวะ KICK OUT คือจังหวะที่ PRESS.REG. เปิดให้ HYD ไหลกลับไปยังถังเก็บ

q ช่วยปลดภาระกรรมของสูบ (เดิมเรียกว่า UNLOAD VALVE)

PRESSURE SWITCH

¨ เป็นเครื่องมือที่ใช้ความดัน HYD ไปทำการปิดเปิดกระแสไฟฟ้า

¨ ใช้ BOURDON TUBE เป็นตัวอำนวยการ

PRESSURE GAUGES

เป็นเครื่องมือใช้วัดความดันโดยบอกให้ทราบว่ามีความดันอยู่ในระบบมาก-น้อยเท่าไร แบ่งเป็น 2 แบบคือ

- DIRECT READING (อ่านค่าโดยตรง)

- REMOTE READING (ถ่ายทอดการวัด)

LINE DISCONNECT VALVE OR QUICK DISCONNECT VALVE (ลิ้นปลดทาง)

· ป้องกันการสูญเสีย HYD ในท่อทาง ขณะเมื่อต้องการถอดชิ้นส่วนบางอย่าง

· อาจเรียกว่า SELF-SEALING COUPLING ก็ได้

SEQUENCE VALVE (ลิ้นจัดลำดับ)

- มีหน้าที่ปิดเปิด HYD ให้ไหลไปยังชุดทำงานที่สัมพันธ์กัน ให้เป็นไปตามลำดับ หรือเรียกว่า TIMING VALVE (ลิ้นตั้งเวลา)

CROSS-FLOW VALVE (ลิ้นลัดวงจร)

- มีหน้าที่ ให้น้ำมันไหลผ่านลัดทางจากท่อทางพับฐานไปยังท่อทางกางฐาน ทำให้กางฐานได้สะดวกขึ้น

FLOW EQUALIZERS (เครื่องแบ่งส่วนน้ำมัน)

- มีหน้าที่ เชื่อมความสัมพันธ์การเคลื่อนตัวของกลไกตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปให้ทำงานโดยพร้อมเพรียงกัน และด้วยอัตราการทำงานที่เท่ากัน

PUMP PURGING VALVE (ลิ้นไล่อากาศจากสูบ)

- มีหน้าที่ ระบายอากาศจาก POWER PUMP กลับถัง เพราะขณะ เครื่องยนต์เริ่มติด สูบอาจดูด HYD จากถังโดยมีฟองอากาศ และยังมีหน้าที่ลดความอัดที่อาจกระแทกมาครั้งแรกเมื่อ เครื่องยนต์เริ่มติด

ระบบ HYD แบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ

1. OPEN CENTER SYSTEM

2. CLOSED CENTER SYSTEM

*** ชื่อของระบบตั้งตามลักษณะของ SELECTOR VALVE

ระบบ OPEN CENTER มีส่วนประกอบเหล่านี้ คือ

- INSTALL เป็นแบบ SERIES

- SELECTOR VALVE เป็นแบบที่เปิดให้ HYD ไหลกลับสู่ถังเก็บเมื่อมันอยู่ในตำแหน่ง NEUTRAL

- PUMP เป็นแบบ CONSTANT VOLUME เพียงแบบเดียว

- ไม่ต้องใช้ PRESS.REG.

- ไม่ต้องใช้ หม้อ ACCUMULATOR

- การทำงาน ทำได้ครั้งละหน่วยเดียวในกรณีที่มีหน่วยย่อยหลาย ๆ หน่วยในระบบ (ผลเสีย)

- RELIEF VALVE

ระบบ OPEN CENTER มีส่วนประกอบเหล่านี้ คือ

- INSTALL เป็นแบบ PARA

- SELECTOR VALVE เป็นแบบที่ปิดกักน้ำมัน HYD ไว้ในระบบเมื่อมันอยู่ในตำแหน่ง NEUTRAL

- PUMP อาจเป็นแบบ CONSTANT หรือ VARIABLE VOLUME ก็ได้

- PRESS.REG. ต้องการใช้ ถ้าระบบใช้ CONSTANT VOLUME PUMP และไม่ต้องการใช้เมื่อระบบใช้ VARIABLE VOLUME PUMP

- ACCUMULATOR ต้องการใช้ในระบบนี้ เพราะสามารถบรรจุความดันเข้าได้

- การทำงาน ทำได้ครั้งละหลายหน่วยพร้อมกันในกรณีที่มีระบบย่อยหลาย ๆ หน่วยในระบบ

*** ผลดีของ CLOSED CENTER

· สามารถเก็บ HYD. ภายใต้ความดันได้ตลอดเวลา

· สามารถใช้ระบบย่อยหลาย ๆ หน่วยทำงานพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน

· นิยมใช้อย่างกว้างขวาง

ไม่มีความคิดเห็น: