การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ตลอดเวลาด้วยอัตราเร็ว 0.5 นิ้ว ต่อปี บางแห่งอาจถึง 6 นิ้ว ต่อปีสิ่งที่ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ได้แก่
1. การเคลื่อนที่ของหินหนืด (Magma) Magma จัดเป็นหินหนืดในชั้นแมนเทิลสามารถอธิบายได้โดย ทฤษฎีพลูม (Plume Theory) โดยนายเจสัน มอร์แกน (Jason Morgan) โดยตั้งสมมุติฐานว่ามีจุดร้อน (Plume) ของมวลที่แข็งและร้อนของ Magma ปูดนูนขึ้นมา มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 200-300 กิโลเมตร ทำให้เกิดการขยายตัวของแผ่นเปลือกโลกชั้นใน พบว่ามี 20 จุด โดยแรงดัน ดันขึ้นตามแนวดิ่ง ทำให้เกิดการไหลของหินหนืดทำให้เกิด แรงดันและพยุงที่เกิดจากหินหนืดในชั้นในแมนเทิล โดยนาย Mathews และนาย Vine เสนอว่า แผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้สมุทรมีความหนาแน่นมากกว่าบริเวณทวีป ทำให้ Magma แทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยก Magma จึงทำหน้าที่ดันและพยุงแผ่นเปลือกโลกใต้สมุทรให้แยกออกจากกัน เลยทำให้ทวีปยุโรปกับอเมริกาแยกจากกันไปด้วย เรียกว่า Spleding Zone เช่น เกิดกลางมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นรอยแยกระหว่างแผ่นอเมริกากับแผ่นยูเรเซีย
2. การเลื่อนไหลของแผ่นเปลือกโลกแนวเฉียงหรือทางด้านข้าง เรียนกว่า Translation Zone ซึ่งเกิดขึ้นทางทิศตะวันตกของอเมริกา ระหว่างแผ่นอเมริกากับแผ่นแปซิฟิก
3. การชนกันของแผ่นเปลือกโลก เรียกว่า Subduction Zone เช่น การชันกันระหว่างแผ่นแปซิฟิกกับแผ่นยูเรเซีย หรือ ระหว่างแผ่นออสเตรเลียกับแผ่นยูเรเซียเกิดผลดังนี้
- เปลือกมีมวลน้อยจะมุดเข้าสู่แผ่นเปลือกโลกที่มีมวลมาก แผ่นเปลือกโลกบางส่วนหายไป เช่นตอนใต้เกาะสุมาตรา
- แผ่นเปลือกโลกมีมวลมากจะถูกดันให้สูงกลายเป็นภูเขาโดยเกิดผลกระทบขึ้น เช่น เกิดภูเขาบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ภูเขาไฟ ฟุจิยามา
- เกิดแผ่นดินไหว
- เกิดภูเขาไฟ ตามบริเวณรอยแตกของ ของแผ่นเปลือกโลก เรียกว่า Ring of Fire
- เกิดพื้นที่ใหม่ เช่น เกาะกลางมหาสมุทร แอตแลนติก
4. การยกตัวของแผ่นเปลือกโลกจากแรงดันภายใต้เปลือกโลก เนื่องจากมีความหนาหรือความแข็งไม่เท่ากัน เช่น การเกิดแนวเทือกเขาทั่วโลก แม้กระทั่งเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเรา เช่น เทือกเขาภูพาน เทือกเขาภูแลนคา ซึ่งเป็นที่ตั้งตองน้ำตกตาดโตน

ไม่มีความคิดเห็น: