มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ 2 ประการ คือมนุษย์ และธรรมชาติ อิทธิพลเหล่านี้มีผลต่อมนุษย์และธรรมชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง การไหลหรือการตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำของวัตถุ คลื่นความร้อน พายุ หิมะ การเสื่อมสลายของวัตถุ การสร้างสารประกอบใหม่ การหมุนและการเคลื่อนที่ของโลก ฯลฯ ผลที่เกิดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการปรับสภาพให้เข้าสู่จุดสมดุลทั้งสิ้น ดังนั้นมนุษย์เป็นผู้ที่อยู่ร่วมกับเหตุการณ์ดังกล่าวตลอดเวลา ผู้ที่จะเอาตัวรอดได้จะต้องได้รับการศึกษา มีความรู้และประสบการณ์มากที่สุด เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว
4.4 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลก
4.4.1 แม่เหล็กโลก สมัยก่อนมีการค้นพบแร่สีดำชนิดหนึ่งบริเวณแมกนีเซีย (Magnisia) ในเอเชียไมเนอร์ (Asiaminer) มีคุณสมบัติดังนี้
1. ดูดโลหะบางชนิด เมื่อนำไปแขวนแล้วแกว่งในแนวราบ เมื่อหยุดแกว่ง ปลายทั้งสองจะอยู่แนวเหนือใต้เสมอ
2. แร่ดังกล่าวเรียกว่า “แร่แม่เหล็ก” เมื่อนำแร่ชนิดนี้ไปถูกับโลหะหลาย ๆ ครั้ง เช่น เหล็ก (Fe) จะทำให้คุณสมบัติของเหล็กเหมือนกับข้อ 1 แร่สีดำเรียกว่า “แม่เหล็กธรรมชาติ” ได้แก่แร่แมกนีไทต์ (Magnitite) หรือ โลดสโตน (Load Stone) สูตรทางเคมี Fe3O4
คุณสมบัติของแร่แม่เหล็กและแม่เหล็กธรรมชาติ
1. มี 2 ขั้ว คือขั้วเหนือ (N) และขั้วใต้ (S)
2. ดึงดูดสารแม่เหล็กและโลหะได้
3. เมื่อแขวนในแนวราบแล้วแกว่งจะเป็นอิสระ เมื่อหยุดจะวางตัวในแนวเหนือ - ใต้เสมอ
4. เมื่อวางแท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง ขั้วเดียวกันจะผลักกัน วางขั้วต่างกันจะดูดกัน
5. เมื่อนำแม่เหล็กผ่านเข้าออกขดลวดหรือเอาขดลวดผ่านเข้าออกแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น เรียกว่า ไดนาโม
6. อำนาจแม่เหล็กสามารถทำให้ประจุไฟฟ้าเปลี่ยนทิศทางได้
สารแม่เหล็ก (Magnetic Substance) หมายถึง สารหรือวัตถุทั้งหลายที่ไม่ได้เป็นแม่เหล็กธรรมชาติมาก่อน เมื่อนำมาใกล้หรือถูกับแท่งแม่เหล็กธรรมชาติจะออกแรงดึงดูดหรือผลัก แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. Fero Magnetic Substance เป็นสารแม่เหล็กที่ดูดกับแท่งแม่เหล็กอย่างรุนแรง เช่น Fe,Ni,Co
2. Para Magnetic Substance เป็นสารแม่เหล็กที่ออกแรงดึงดูดอย่างอ่อน ๆ เช่น Mn, Al, ออกซิเจนเหลว
3. Dia Magnetic Substance เป็นสารแม่เหล็กที่ออกแรงผลัก เช่น P
ขั้วแม่เหล็ก (Magnetic Pole) คือบริเวณที่แม่เหล็กแสดงอำนาจแม่เหล็กมากที่สุดอยู่ถัดบริเวณปลายขั้วมาเล็กน้อย
เส้นแรงแม่เหล็ก (Line Magnitic Force) เพื่อสะดวกในการศึกษา นักวิทยาศาสตร์กำหนดให้แรงแม่เหล็กที่เป็นเส้น ๆ เรียกว่า เส้นแรงแม่เหล็ก
มีคุณสมบัติของเส้นแรงแม่เหล็ก ดังนี้
1. เส้นแรงแม่เหล็กพุ่งออกจาก N ไป S
2. เส้นแรงแม่เหล็กไม่ตัดกัน
3. เส้นแรงแม่เหล็กจะหนาแน่นบริเวณขั้วทั้ง 2 ข้าง
ให้นักเรียนศึกษาจากการทดลอง
สนามแม่เหล็ก (Magnitic field) หมายถึงบริเวณที่เส้นแรงแม่เหล็กส่งไปถึง
สนามแม่เหล็กโลก
เมื่อแม่เหล็กธรรมชาติหมุนแล้วหยุดนิ่งขั้ว N ชี้ไปทางเหนือ แสดงว่าเป็นขั้วโลกเหนือทางภูมิศาสตร์มีอำนาจแม่เหล็กโลกที่แสดงสมบัติเป็นขั้วแม่เหล็กชนิดขั้วใต้ คืออยู่ตอนเหนือของประเทศแคนนาดา ที่อ่าวอัดสัน อยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือประมาณ 1,800 กิโลเมตร ค้นพบโดย Sir James Rose พ.ศ. 2374 และขั้วเหนือของสนามแม่เหล็กโลกจะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ คือ อยู่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลียรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ห่างจากขั้วโลกใต้ประมาณ 2,700 กิโลเมตร นอกจากนี้พบว่าขั้วแม่เหล็กโลกไม่ได้อยู่คงที่จะหมุนรูปวงรีโดยเคลื่อนที่จากตะวันออกไปตะวันตก 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 960 ปี แนววงรีนี้เป็นฐานรูปกรวยกลม สันด้านข้างเอียงทำมุม 17 องศากับแกนภูมิศาสตร์โลก
ประโยชน์ของแม่เหล็กและสนามแม่เหล็กโลก
1. ช่วยในการหาทิศ เรียกว่า เข็มทิศ
2. ช่วยควบคุมรังสีบางอย่างไม่ให้เข้ามาบนโลก
3. ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างแม่เหล็กได้แล้วนำไปสร้างไฟฟ้า
4. ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคม
5. ทำให้แร่บางชนิดถูกเหนี่ยวนำจากแม่เหล็กโลกทำให้มีสมบัติเป็นแม่เหล็กธรรมชาติได้
สนามแม่เหล็กเกิดขึ้นได้อย่างไร เชื่อกันว่าเป็นผลมาจาก การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า คือ อิเล็กตรอน (e-) กล่าวคือ ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไป (ความเร่ง) เกิดการสปินจึงเกิดสนามแม่เหล็กกระจายออกไปรอบ ๆ ประจุนั้น
การเก็บรักษาแม่เหล็ก
1. ระวังอย่าให้ถูกความร้อนหรือทุบด้วยค้อน เพราะจะทำให้อำนาจแม่เหล็กเสื่อมลง
2. ห้ามใช้ผ้าห่อเพราะจะเกิดสนิม ให้ทาสีขั้วเหนือด้วยสีแดง ขั้วใต้สีน้ำเงิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น