โครงสร้างของโลก

โครงสร้างของโลก สามารถแบ่งออกเป็นชั้นๆ โดยอาศัยลักษณะการเกิดแผ่นดินไหวซึ่งวัดได้จากคลื่นใต้พิภพ ดังนี้ (ภาพที่ 4-5)
1. ชั้นเปลือกโลก (Earth crust) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด ส่วนที่บางที่สุดอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ และส่วนที่หนาที่สุดอยู่ที่แนวยอดเขา แบ่งเป็น 2 ส่วน
1.1. เปลือกโลกส่วนนอก ประกอบด้วยธาตุ Si ประมาณ 65-75% และ Al ประมาณ 25-35% มีสีจาง จึงเรียกชั้นนี้ว่า หินไซอัล (Sial) ได้แก่ หินแกรนิต ผิวนอกสุดประกอบด้วยดิน หินตะกอน มีความหนาประมาณ 6-35 km
1.2. เปลือกโลกส่วนล่าง ประกอบด้วยธาตุ Si ประมาณ 40-50% และ Mg ประมาณ 50-60% มีสีเข้ม จึงเรียกชั้นนี้ว่า ชั้นหินไซมา (Sima) ได้แก่ บะซอลต์ ติดต่อกับชั้นหินหนืดประกอบด้วยหินที่มีความแข็งไม่ต่อเนื่องเรียกว่า “โมโฮโรวิซิก” (Mohorovicic) มีความหนา ประมาณ 2,880 km มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 3
2. ชั้นแมนเทิล (Mantle) อยู่ลึกถัดจากชั้นเปลือกโลก หนาประมาณ 3,000 km ประกอบด้วยหินหนืด ร้อนจัด หนืดร้อนแดงอยู่ส่วนนอกและหนืดร้อนขาวอยู่ส่วนใน ประกอบด้วยธาตุ Fe Si และ Al หลอมละลาย
ปนอยู่ในหิน เช่น หินเพอริโดไทต์ (peridotite) หินอัลตราเบสิก (ultrabasic) หินหนืดเหล่านี้เรียกว่า แมกมา (Magma) ถ้าไหลออกมาภายนอกเรียกว่า ลาวา (Lava)
3. ชั้นแก่นโลก (Core) อยู่ลึกถัดจากชั้นแมนเทิลเป็นชั้นในสุด หนาประมาณ 3,440 km ประกอบด้วยหินแข็ง มีธาตุ Fe และ Ni เป็นองค์ประกอบ มีอุณหภูมิและความถ่วงจำเพาะสูงมาก แบ่งเป็น 2 ส่วน
3.1. แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) อยู่ในระดับความลึก 2,900-5,000 km ประกอบด้วยหินหนืดร้อนจัดมีอุณหภูมิประมาณ 5,000-6,000 °C และความถ่วงจำเพาะ = 12
3.2. แก่นโลกชั้นใน (Inner Core) อยู่ในระดับความลึก 5,000 km ประกอบด้วยหินแข็งร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 6,000 °C ขึ้นไป และความถ่วงจำเพาะ = 17
การหมุนรอบตัวเองของโลก (Rotation of earth) โดยหมุนจากทิศตุวันตกไปทิศตะวันออก หรือทวนเข็มนาฬิกา ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่น
1. ดวงอาทิตย์ และดาวต่าง ๆ ขึ้นทางทิศตะวันออกเสมอ
2. เกิดการไหลของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็น
3. ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง
4. เกิดกลางวันและกลางคืน
5. การเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก

ไม่มีความคิดเห็น: