ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ประมาณ พ.ศ. 2293-2343) บรรยากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 270 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นถึง 356 ppm และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในศตวรรษหน้า เมื่อปริมาณของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ก็จะดูดกลืนและแผ่รังสีความร้อนเอาไว้ในโลกมากขึ้นด้วย ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) หรืออีกนัยหนึ่งคือ ภาวะโลกร้อน (Blobal Warmming) หรือปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effects) นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลง แต่จะมีการผันแปรมากน้อยเพียงใด ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด
ดังนั้นตาม IPCC (Intergovermental Panel on Climate Change) 1990 และ UNFCC (The United Nations Framework Convention on Climate Change) 1996 ได้ทำนายผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไว้ดังนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 องศาเซลเซียส ภายในปี พ.ศ. 2643 หรือการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในระดับปานกลางโดยอยู่ในช่วงระหว่าง 1.5 - 3.5 องศาเซลเซียสการเปลี่ยนอุณหภูมิในระดับภูมิภาคอาจจะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยของโลกมาก แต่ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างแน่นอนว่าแตกต่างอย่างไร ระดับน้ำทะเล คาดหมายว่าจะสูงขึ้นประมาณ 15 - 95 เซนติเมตร โดยค่าประมาณปานกลางที่ 50 เซนติเมตร ภายในปี พ.ศ. 2643 ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าภูมิอากาศและอุณหภูมิโลก จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกก็ตาม
ผลต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกและปริมาณน้ำฝน คือคาดว่าป่าไม้บางส่วน (ประมาณ 1 ใน 3 ถึง 1ใน 7 ของโลก) จะมีการเปลี่ยนแปลงของพรรณไม้ที่สำคัญ ประเทศที่กำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของภูมิอากาศมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากมีข้อกำจัดในการปรับสภาพให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้
การประเมินปริมาณการปล่อยออกและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามชนิดของก๊าซ (Emission by Gas Type)
ปริมาณการปล่อยออก และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ไม่ควรแสดงในหน่วยของน้ำหนักของก๊าซ เพราะก๊าซแต่ละชนิดมีคุณสมบัติ และธรรมชาติที่แตกต่างกัน แต่ควรแสดงในรูปของศักยภาพที่ทำให้โลกร้อนขึ้น (GWPs) ซึ่งเป็นหน่วยมาตรฐานในการเปรียบเทียบ ดังนั้นรายงานผลการปลดปล่อยออกและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก จึงทำได้ในทั้งสองรูปแบบ คือ การรายงานผลโดยมวล (น้ำหนัก) และศักยภาพในการทำให้โลกร้อน
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามภาคกิจกรรม
กิจกรรมที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามากที่สุด ได้แก่ พลังงาน การเปลี่ยนการใช้ที่ดินและป่าไม้การเกษตร และกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม โดยมีปริมาณการปล่อยออกที่พิจารณาตามศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (GWPs) ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น