การเกิดฟ้าผ่า

การเกิดฟ้าผ่า

รายละเอียด ของกระบวนการ กลไกการแยกของประจุที่แน่ชัด ถูกต้อง แท้จริงนั้น ตราบเท่าทุกวันนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แม้จะมีหลาย ทฤษฎีที่สร้างมาเพื่ออธิบาย ว่าฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้อย่างไรโดยสรุปจาก ทฤษฎีต่างๆนั้น จะอธิบายถึง ประจุอิสระสะสม ในก้อนเมฆนั้น เกิดจากการเสียดสี ระหว่าง กระแสลมของ พายุ กับ ละอองไอน้ำ หรือ ก้อนเมฆ ที่อยู่ภายในบรรยากาศ ทำให้ละอองน้ำ มีประจุเป็นลบ และ อากาศมีประจุบวก เมื่อกระแสลม พัดขึ้นสู่เบือ้งบน ทำให้ ส่วนบนของ ก้อนเมฆ มีประจุบวก ส่วนละอองน้ำ มีประจุลบ นั้น ถูกพัดพาขึ้นเบื้องบน กระทบกับ ความเย็นเบื้องสูง จึงกลั่นตัว จึงเคลื่อนลงสู่ส่วนล่าง ของก้อนเมฆ ทำให้ส่วนล่างของก้อนเมฆ มีประจุลบ ถ้าเกล็ดน้ำ มีน้ำหนักเกินที่อากาศ จะพยุงตัว ก็ตกลงสู่พื้นโลก การกระจายตัวของประจุบวก และ ประจุลบ ในก้อนเมฆ จะมีการเคลื่อนตัวตามกระแสลม ประจุที่สะสมอยู่ในก้อนเมฆ ซึ่งมีทั้งประจุบวกและ ลบจึงทำให้เกิดสนาม ไฟฟ้าขึ้นระหว่างกลุ่มประจุบวก กับประจุลบ หรือ ทำให้เกิดประจุเหนี่ยวนำขึ้น ที่พื้นโลก ความเครียดสนามไฟฟ้าสูงขึ้น เมื่อประจุสูงสะสมมากขึ้น ถ้าความเครียดสนามไฟฟ้า สูงขึ้นถึงค่าวิกฤต ทำให้เกิด การเบรคดาวน์ขึ้น ค่าความเครียดสนามไฟฟ้า

วิกฤตของอากาศ ที่สภาวะบรรยากาศ มีค่าประมาณ 25 -30 kV /cm แต่ในก้อนเมฆ ที่อยู่ระดับสูง เหนือพื้นโลก มีความดัดบรรยากาศต่ำ ความเครีดสนามไฟฟ้า วิกฤต ประมาณ 10 kV /cm ก็สูงพอ ที่จะ ทำให้เกิด การดีสชาร์ค ได้ ฉะนั้นเมื่อจุดใดๆ ในก้อนเมฆ มีความเครียด สนามไฟฟ้าถึงจุดนี้ ก็ เป็นจุดเริ่มต้น ของการเกิดฟ้าผ่า ประจุจาก ก้อนเมฆ จะดีสชาร์จลงสู่พื้นโลก ได้ด้วยความเร็ว ประมาณ 1 ใน 10 ของ ความเร็วแสง คือประมาณ 30,000 กิโลเมตร ต่อวินาทวินาที ประจุดีสชาร์ค ลงสู่พื้นโลก เป็นลำแสงจ้านี้ เรียกว่า "ลำฟ้าผ่า " (main stroke) และ มีกระแสมากมาย ไหลผ่าน ตามลำฟ้าผ่านี้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้น เรียกว่า "กระแสฟ้าผ่า"

ลักษณะฟ้าผ่าพื้นโลก

ลักษณะของฟ้าผ่าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นโลกอาจอธิบายได้ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ คือ

1) ฟ้าผ่าขึ้นหรือฟ้าผ่าลง
2) ขั้วของกระแสฟ้าผ่า เป็นบวกหรือเป็นลบ
3) รูปคลื่นกระแสฟ้าผ่า
4) ขนาดของกระแสฟ้าผ่า
5) จำนวนครั้งฟ้าผ่าต่อเนื่อง

ผลของฟ้าผ่า

ผลของฟ้าผ่าที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตราย อาจแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1) ความร้อนอันเป็นผลทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่สิ่งมีชีวิต
2) แรงกลหรือแรงระเบิด ฟ้าผ่าอาจทำให้เกิดแรงระเบิดได้มากมายเป็นผลทำให้สิ่งที่ถูกผ่าพังทะลาย
3) ผลทางไฟฟ้าเป็นอันตรายแก่ทั้งชีวิตคนและสัตว์

ไม่มีความคิดเห็น: