ปรากฏการณ์ เอลนีโน

ปรากฏการณ์ เอลนีโน
เหตุการณ์ไฟไหม้ป่าในออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ประกอบกับการเกิดสภาพอากาศแห้งแล้งและเกิดน้ำท่วมฉับพลันในบางแห่ง ทำให้มีการกล่าวถึง “เอลนิโน” และ “ลานินา” กันบ่อย ๆ ว่าเป็นตัวการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอลนิโน การได้ยินได้ฟังคำนี้บางครั้งก็ชวนให้สับสนเพราะในบางแห่งออกเสียงเป็น ‘เอลนิโย’ บ้าง ‘เอล นินโย’ ก็มี ที่จริงแล้วต้องเรียกอย่างไรจึงจะถูก และที่สำคัญมันคืออะไร มีอิทธิพลต่อชีวิต ทรัพย์สิน และการทำมาหากินของเราแค่ไหน?หากเขียนว่า เอลนิโน และ ลานินา แบบที่ผมใช้อยู่นี้เป็นการเขียนตามภาษาอังกฤษ คือ El Nino และ La Nina ความจริงทั้งสองคำนี้มาจากภาษาสเปนคือ El Niñ o และ La Niñ a หากจะเขียนคำอ่านตามภาษาสเปนแล้ว El Niñ o ต้องอ่านว่า‘เอล นินโญ’ และ La Niñ a ก็ต้องอ่านว่า ‘ลา นินญา’ใช้‘ญ’ตามหลักการเขียนคำออกเสียงให้แตกต่างไปจาก‘ย’ซึ่งเป็นเสียงของ ‘Y’ หรืออีกรีเอกาในภาษาสเปน แต่สื่อมวลชนทั่วไปถ้าไม่เขียน‘เอลนิโน’แล้วก็จะเขียน‘เอลนิโย’ซึ่งผมเห็นว่า เมื่อส่วนใหญ่นิยมเขียนอย่างไร ก็จะใช้ไปตามนั้น
เด็กคริสเตียนที่เกิดใกล้วันคริสต์มาสถ้าเป็นเพศชายจะมีชื่อเล่นตามประเพณีโดยอัตโนมัติว่า El Niñ oถ้าเป็นเพศหญิงจะเรียกว่า La Niñ a ผู้อ่านคงสงสัยว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับสภาพดินฟ้าอากาศล่ะ เรื่องนี้มีประวัติครับย้อนหลังไปประมาณ 1500 ปี ชาวเปรูที่อาศัยอยู่ริมทะเลฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศได้สังเกตุเห็นว่าในบางปีจะมีกระแสน้ำอุ่นไหลมาตามแนวชายฝั่ง พร้อมกันนั้นสภาพภูมิอากาศจะผิดปรกติไป เช่น ฝนไม่ตกในบริเวณที่เคยตกประจำแต่กลับไปตกในพื้นที่ที่แห้งแล้งกันดารซึ่งไม่ค่อยมีฝนตก ทำให้เกษตรกรเดือดร้อนไปตามๆกันปลาที่เคยมีให้ชาวประมงจับมากมายกลับมีจำนวนน้อยลง เมื่อปลาในทะเลมีน้อยลง นกซึ่งกินปลาเป็นอาหารก็พากันอพยบไปหากินถิ่นอื่นส่งผลให้มูลนกมีปริมาณน้อยและมีคุณค่าทางปุ๋ยต่ำลง คนเก็บมูลนกขายก็เดือดร้อนไปด้วยสรุปแล้วมีผลกระทบกับชาวบ้านทั้งด้านการประมงและการเกษตร เรื่องนี้จึงอยู่ในใจของชาวเปรูที่อาศัยอยู่แถบนั้นมาตลอดประมาณปีพ.ศ.2433พวกเขาก็ขนานนามกระแสน้ำอุ่นนี้ว่า El Niñ o เนื่องจากเห็นว่าถ้ามีกระแสน้ำอุ่นมา ก็จะมาในช่วงใกล้กับวันคริสต์มาสเสมอต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ยืมชื่อเอลนิโนมาใช้ โดยใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นและโยงใยไปถึงสภาพอากาศทั่วโลกจากนั้นยังมีการตั้งชื่อ ‘ลานินา’ ขึ้นมาสำหรับเรียกปรากฏการณ์ที่กลับกันกับเอลนิโนเราทราบแล้วว่าเอลนิโนเป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์เกี่ยวกับกระแสน้ำอุ่น ลานินาจึงเป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์เกี่ยวกับกระแสน้ำเย็น
ความหมายของ เอลนิโน
พื้นโลกรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากัน บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะรับความร้อนมากกว่าขั้วโลกเหนือและใต้มากมาย น้ำทะเลและอากาศจะเป็นตัวพาความร้อนออกจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกทั้งสอง ดูภาพที่1จะเห็นว่ามีวงจรการถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้นอย่างไร วงจรถ่ายเทความร้อนนี้ฝรั่งเรียกว่า CONVECTION CELL
ความร้อนเป็นพลังงานที่ทำให้เกิด CONVECTION CELL โดยน้ำทะเลที่ผิวมหาสมุทรจะร้อนขึ้นจนระเหยกลายเป็นไอขึ้นไป น้ำอุ่นข้างล่างผิวน้ำและใกล้เคียงจะเข้ามาและกลายเป็นไออีก เป็นเหตุให้มีการไหลทดแทนของน้ำและอากาศจากที่เย็นกว่าไปสู่ที่อุ่นกว่า เกิดเป็นวงจรระบายความร้อนและความชื้นออกไปจากโซนร้อนอย่างต่อเนื่องในภาวะปรกติโซนร้อนที่กล่าวถึงนี้ คือบริเวณแนวเส้นศูนย์สูตรทางตะวันตก ของมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซียและออสเตรเลีย ลักษณะนี้ทำให้มีลมพัดจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกมาหาแนวเส้นศูนย์สูตรทางแปซิฟิกตะวันตก คนเดินเรือใบในอดีตรู้จักลมนี้ดีโดยเฉพาะชาวจีนเพราะได้อาศัยลมนี้ ในการเดินทางมาค้าขายหรือหอบเสื่อผืนหมอนใบมายังเอเชียใต้ ลมนี้คือลมสินค้านั่นเองลมสินค้าได้พัดน้ำให้ไหลตามมาด้วย จากการสำรวจทางดาวเทียมพบว่าน้ำทะเลแถวอินโดนีเซียมีระดับสูงกว่าทางฝั่งเปรูประมาณครึ่งเมตร ซึ่งทางฝั่งเปรูนั้น เมื่อน้ำทะเลชั้นบนที่ร้อนได้ไหลมาทางตะวันตกตามแรงลมแล้วน้ำทะเลด้านล่างซึ่งเย็นกว่าก็จะลอยขึ้นมาแทนที่ หอบเอาแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารปลาลอยขึ้นมาด้วย ทำให้ท้องทะเลย่านนี้มีปลาเล็กปลาใหญ่ชุกชุม เมื่อมีปลาชุกชุมก็ทำให้มีนกซึ่งกินปลาเป็นอาหารชุกชุมไปด้วย เกิดอาชีพเก็บมูลนกขายอย่างเป็นล่ำเป็นสันขึ้นมาส่วนทางแปซิฟิกตะวันตกนั้น เมื่อมีนำอุ่นที่ถูกลมพัดพามาสะสมไว้จนเป็นแอ่งใหญ่จึงมีเมฆมากฝนตกชุกอากาศบริเวณนี้จึงร้อนชื้นที่บอกว่าน้ำทะเลร้อนและเย็นนั้น ตามปรกติก็จะร้อนและเย็นประมาณ 30 และ 22 องศาเซลเซียส ตามลำดับ
เมื่อเกิดเอลนิโน ลมสินค้าจะมีกำลังอ่อนลงทำให้ไม่สามารถพยุงน้ำทะเลทางแปซิฟิกตะวันตกให้อยู่ในระดับสูงกว่าอย่างเดิมได้ น้ำอุ่นจึงไหลย้อนมาทางตะวันออก แอ่งน้ำอุ่นซึ่งเปรียบได้กับน้ำร้อนในกระทะใบใหญ่ซึ่งเคยอยู่ชิดขอบตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก การลอยตัวของน้ำเย็นจากก้นทะเลจึงมีน้อยมีผลทำให้น้ำด้านแปซิฟิกตะวันออกอุ่นขึ้น ทีนี้ก็เกิดวงจรแบบงูกินหางขึ้น คือ น้ำทะเลยิ่งร้อน ลมสินค้าก็ยิ่งอ่อน…ลมสินค้ายิ่งอ่อนน้ำทะเลก็ยิ่งร้อน นี่เป็นปัจจัยให้แต่ละครั้งที่เกิดเอลนิโน แอ่งนำอุ่นจะขยายใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้นทุกครั้งไปแอ่งน้ำอุ่นเฉพาะส่วนที่เป็นใจกลางของเอลนิโน ที่เกิดขึ้นระหว่างปีก่อนกับปีนี้นั้นมีขนาดใหญ่กว่าประเทศอเมริกาเสียอีกอุณหภูมิที่ใจกลางก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้สูงกว่าอุณหภูมิปกติเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 องศาแล้ว
การที่ตำแหน่งของแอ่งนำอุ่นขยับออกไปอยู่กลางมหาสมุทรเช่นนี้ทำให้เกิด CONVECTION CELL ขึ้น 2 วงจรดังภาพที่ 23 จะเห็นว่ารูปแบบการรวมตัวของเมฆไม่เหมือนเดิม ทิศทางลมและการไหลของกระแสน้ำอุ่นแตกต่างไปจากเดิมมีผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงผิดไปจากปรกติมาก และเนื่องจากการหมุนเวียนของอากาศในชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป เอลนิโนจึงมีผลกระทบสภาพภูมิอากาศของโลกทั้งหมด ไม่แต่เฉพาะบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้นดังนั้นคำว่า เอลนิโน ที่นักวิทยาศาสตร์ยืมจากชาวเปรูมาใช้จึงมีความหมายขยายวงครอบคลุมบริเวณน้ำอุ่นทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิก มิใช้เฉพาะที่ชายทะเลของเปรู ปรากฏการณ์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘Warm Event’ แต่ชื่อนี้ไม่ติดตลาดเท่าเอลนิโนปรากฏการณ์ที่น้ำทะเลร้อนขึ้นผิดปรกตินี้มีขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศระดับผิวน้ำทะเลที่บริเวณด้านตะวันออกกับด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ในทศวรรษต้นๆของศรรตวรรษที่ 20(ค.ศ.)เซอร์กิลเบอร์ตวอล์คเกอร์พบว่า ค่าของความดันบรรยากาศที่ระดับผิวน้ำทะเล ณ เมืองดาร์วินซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียจะสลับสูงต่ำกับค่าความดันที่ตาฮิติ เมื่อความดันที่ตาฮิติสูงความดันที่ดาร์วินก็จะต่ำและถ้าความดันที่ตาฮิติต่ำความดันที่ดาร์วินก็จะสูง กลับกันแบบนี้ ปรากฏการณ์นี้มีชื่อว่าSothernOscillationหรือENSO(เอ็นโซ)ดังนั้นจึงมีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ ว่า ‘เอ็นโซ’ แทนที่จะเรียกเอลนิโนแต่ชื่อนี้ก็ไม่ติดตลาดเช่นกันและก็มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มนำคำทั้งสองมารวมกัน เรียกเป็น‘ElNino-Southern Oscillation’ไปเสียเลยอย่างไรก็ตามชื่อนี้แม้จะให้ความหมายชัดเจน แต่ก็รุ่มร่าม คำว่า เอลนิโน หรือ เอลนิลโย จึงเป็นชื่อที่ได้รับความนิยมใช้กันทั่วไปยังไม่มีไครตอบได้ว่าเอลนิโนเกิดขึ้นจากอะไร ทราบแต่เพียงว่าเมื่อเอลนิโนเกิดขึ้นแล้วมีอะไรเกิดขึ้นตามมาบ้างเอลนิโยสลายตัวไปได้อย่างไร และนักวิทยาศาสตร์ก็กำลังสงสัยอยู่ว่าเอลนิโนมีความสัมพันธ์กับ‘Global Warming’และปรากฏการณ์เรือนกระจกหรือไม่ ติดตามอ่านคำตอบต่าง ๆ สำหรับคำถามเหล่านี้ได้ในฉบับหน้าครับ
ฉบับก่อนร่ายยาวเรื่องอายุ, การสลายตัวของเอลนิโน, ความถี่ในการเกิดปรากฏการณ์ และลานินาคืออะไรมาแล้วฉบับนี้ก็ถึงคราวเรื่องผลกระทบจากเอลนิโนและลานินา ก่อนจะเข้าเรื่องของผลกระทบ ผมขอย้อนไปกล่าวถึงเรื่องสาเหตุที่ทำให้เกิดเอลนิโนก่อนเพราะมีแนวคิดประการหนึ่งที่ผมเห็นว่าต้องนำเสนอ ได้แก่แนวคิดเรื่องปริมาณความร้อนที่ทำให้เกิดเอลนิโนได้ และที่มาของความร้อนดังกล่าวการที่จะทำให้น้ำทะเลในโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามปรากฏการณ์เอลนิโนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2540-2541 นี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมทางทะเลภาคพื้นแปซิฟิคของสหรัฐอเมริกาได้คำนวณว่าจะต้องใช้พลังงานถึง35,000ล้านล้านล้านจูล หรือเทียบได้กับพลังงานจากระเบิดนิวเคลียร์แบบระเบิดไฮโดรเจนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์สร้างได้ถึง 400,000ลูกถึงถ้าจะใช้พลังงานไฟฟ้า ก็ต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดถึง 1,500,000 โรง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ว่ากิจกรรมของมนุษย์จะเป็นสาเหตุอย่างฉับพลันของเอลนิโน เมื่อเป็นเช่นนี้การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของ ฝรั่งเศส จำนวน 6 ครั้งระหว่างกันยายน 2538 ถึงมกราคม2539ที่หมู่เกาะโพลีนีเชียซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศษและอยู่ในทะเลจีนใต้ ใกล้ๆ กับเกาะฟิจิ คงไม่เป็นสาเหตุให้เอลนิโนปี 2540/2541 เป็นเอลนิโนที่ร้อนที่สุดไปได้เคยมีแนวคิดว่าเอลนิโนอาจจะมีความสัมพันธ์กับการระเบิดของภูเขาไฟโดยเฉพาะอย่างยิ่งการระเบิดของภูเขาไฟ Chichonในเม็กซิโกในปีพ.ศ. 2525 และภูเขาไฟปินาตูโบในฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นปีที่มีเอลนิโนด้วย แต่จากการศึกษาอย่างละเอียดรวมทั้งนำเอาข้อมูลการระเบิดของภูเขาไฟอื่น ๆ มาร่วมวิเคราะห์ด้วย ทำให้พบว่าความสอดคล้องที่เห็นใน 2 ปีนี้เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้นอย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่เกิดเป็นครั้งคราวย่อมไม่ใช่สาเหตุอันแท้จริง เพราะเอลนิโนมีประวัติมายาวนานเกินร้อยปีแล้วในปี2516มีการศึกษาบริเวณความดันอากาศสูงเหนือระดับน้ำทะเล และพบว่าในมหาสมุทรแปซิฟิกแถบซีกโลกใต้ใกล้ชายฝั่งทะเลของทวีปอเมริกาใต้มีการระเหยน้ำมากที่สุด เมื่อทำเป็นแผนที่แล้วนำมาซ้อนทับกับแผนที่แสดงอุณหภูมิของน้ำทะเลระดับลึก ในมหาสมุทรแปซิฟิกพบว่าบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร Oceanic Ridge) เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งระบายความร้อนจากใต้พื้นผิวโลกสู่มหาสมุทรและความร้อนปริมาณมหาศาลเหล่านี้เองอาจเป็นตัวการสำคัญทำให้อุณหภูมิของผิวน้ำทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตร ของมหาสมุทรแปซิฟิกแตกต่างกันมาก ถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริงก็น่าจะมีคำถามต่อไปว่า เพราะเหตุใดจึงต้องมีการระบายความร้อนออกมาจากใต้เปลือกโลกที่บริเวณกลางมหาสมุทรด้วย เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Howellกล่าวว่าเนื่องจากเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรมีความหนาแน่นประมาณ 3 ตันต่อลูกบาศก์เมตร และเปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่ประมาณ 2.7 ตันต่อลูกบาศก์เมตร การที่เปลือกโลกจะลอยตัวอย่างสมดุลบนหินหนืด(isostacy) ได้นั้นจะต้องมีความหนาและบางแตกต่างกัน กล่าวคือเปลือกโลกที่มีความหนาแน่นมากจะต้องบางและไม่หยั่งรากลึกลงไปในหินหนืด แต่เปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่นน้อยกว่า จึงต้องหยั่งรากลึกลงไปในหินหนืดมากกว่าตามหลักการสมดุลของการลอยตัว บนหินหนืดดังนั้นเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรจึงบางและเป็นจุดเดียวที่จะเกิดการพาความร้อน จากใต้เปลือกโลกขึ้นมาระบายออกสู่น้ำในมหาสมุทรซึ่งมีความจุความร้อนจำเพาะสูงมากพอที่จะรับการระบายความร้อนเหล่านั้น ถ้าข้อสันนิษฐานนี้ เป็นความจริงก็น่าจะมีคำถามต่อไปว่า เพราะเหตุใดจึงต้องมีการระบายความร้อนออกมามากจนเป็นสาเหตุของอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมากในช่วงเวลาทุก 4-5ปีในเรื่องนี้Hamblin and Christiansen (1995), Howell (1995) กล่าวถึงธรณีแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลก(PlateTectonic) ว่าการระเบิดของหินละลายใต้เปลือกโลกบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร ซึ่งสืบเนื่องมาจากการที่แก่นในของโลก ซึ่งเป็นของแข็งหมุนรอบตัวเองคลาดตำแหน่งจากศูนย์กลางเดิมที่เคยหมุนรอบอยู่เป็นประจำ เนื่องจากแก่นในของโลกเป็นของแข็งและแก่นนอกของโลกเป็นของเหลว เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองการหมุนรอบตัวเองของเปลือกโลกและแก่นโลก จะไม่สอดคล้องกันตลอดเวลาเพราะโลกมิได้เป็นของแข็งทั้งก้อนจึงก่อให้เกิดการคลาดตำแหน่งจากศูนย์กลาง และเกิดการผลักดันหินละลายให้ปะทุขึ้นในบริเวณที่สามารถปะทุขึ้นมาได้ซึ่งบริเวณนั้นควรเปราะบางที่สุดและรับการระบายความร้อนได้มากที่สุด เช่น บริเวณสันเขากลางมหาสมุทรและสิ่งนี้อาจเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแตกต่างกันถึง 6 องศาเซลเซียสจนเป็นปัจจัยเสริมกับความผันผวนของอากาศในซีกโลกใต้และผนวกกับการอ่อนกำลังลงของลมสินค้าทำให้เกิดปรากฏการณ์เอลนิโนอย่างรุนแรงถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริง ก็ชวนให้สงสัยอีกว่ามีกลไกอะไรที่ถ่ายเทความร้อนออกไปจากน้ำทะเล จนเป็นเหตุให้เกิดลานินาแต่ลานินาก็อาจจะเกิดจากการไหลของน้ำเย็นมาทดแทนน้ำอุ่นซึ่งมีการระเหยขึ้นไปมากตามวัฏจักรปรกติก็ได้
ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโน
ผลกระทบที่เด่นชัดจากปรากฏการณ์เอลนิโนคือ ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานเริ่มตั้งแต่บางส่วนของทวีปแอฟริกาเอเชีย ออสเตรเลีย ไปจนถึงฮาวาย และความชุ่มชื้นอย่างผิดปกติ เช่นมีพายุเฮอริเคนพัดเข้าสู่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือตอนใต้จนถึงอเมริกาใต้มากกว่าปรกติ จนเป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัย จึงอาจจะกล่าวได้ว่าผลกระทบโดยตรงของเอลนิโนในเชิงลบคือภัยแล้ง อุทกภัย และวาตะภัย จากภัยทั้งสามนี้ยังแตกลูกแตกหน่อออกไปอีกหลายภัยขอยกฮาวายเป็นตัวอย่าง ปกติที่ฮาวายนั้นมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงถึง 3.2 เมตรต่อปีและโดยทั่วไปก็ไม่ต่ำกว่า15นิ้วต่อปีแต่จนถึงเดือนเมษายนปีนี้มีฝนตกยังไม่ถึงครึ่งนิ้ว ทางรัฐต้องออกคำสั่งให้ประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำลง10%ประชาชนในบางพื้นที่ต้องปันน้ำกันใช้ เกษตรกรเดือดร้อนหนักเพราะไม่มีน้ำรดต้นไม้เจ้าหน้าที่ของรัฐกล่าวว่าถ้าสภาวะเป็นเช่นนี้ไปอีก2เดือนฮาวายจะตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินร้ายแรง นอกจากนี้ฮาวายยังประสบปัญหาไฟไหม้ป่าอีกซึ่งเผาผลาญป่าไปกว่า6พันไร่ประชาชนเดือดร้อนกว่า3 พันครัวเรือนประเทศไทยประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย คือประสบปัญหาภัยแล้งและอากาศร้อน เกษตรกรในออสเตรเลียเคยประสบปัญหากับความแห้งแล้งเพราะเอลนิโนมาแล้วหลายครั้งจึงมีการเตรียมตัวรับมือกับเอลนิโนปี 2540/2541 ได้ดี โดยการลดพื้นที่เพาะปลูกลง เปลี่ยนชนิดของพืชที่เพาะปลูกและขายสัตว์เลี้ยงไปเพื่อลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด หากเกษตรกรของไทยไม่ติดตามข่าวเรื่องสภาพภูมิอากาศหรือประมาทไม่เตรียมการล่วงหน้า ก็จะประสบปัญหาขาดทุนหนักเมื่อต้นข้าวหรือพืชที่ปลูกไว้แล้งตายคานาคาไร่ทวีปเอเชียโดยส่วนใหญ่ประสบกับความแห้งแล้งและอากาศร้อนอบอ้าว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบกับความแห้งแล้งที่สุดในรอบ50ปี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ได้รับผลกระทบทำให้ผลิตข้าวได้น้อยสำหรับประเทศไทยความแห้งแล้งมีผลกระทบกับข้าวโพดมากกว่าข้าว ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานทำให้ป่าติดไฟได้ง่ายเมื่อมีไฟไหม้ป่าจึงดับได้ยากมากซึ่งไฟที่ไหม้ป่า ส่วนใหญ่แล้วต้นกำเนิดไฟไม่ได้เกิดเองจากธรรมชาติมักจะเป็นด้วยน้ำมือคนเสียทั้งสิ้นทั้งด้วยความเผลอเรอ และตั้งใจดังไฟป่าที่อุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง เขาใหญ่และพลุโต๊ะแดงรวมๆแล้วปีนี้ไทยเสียพื้นที่ป่าไปเพราะไฟไหม้ประมาณสองสามหมื่นไร่ วิธีการเดียวที่ประเทศเรานำมาใช้ดับไฟป่าคือถางป่าที่ยังไม่ไหม้ให้เป็นพื้นที่กันชน ไม่มีสารดับเพลิงสำหรับใช้ดับไฟป่าโดยเฉพาะไม่มีเครื่องบินโปรยสารดับเพลิงหรือบรรทุกระเบิดน้ำ มีแต่มีด จอบ และเสียม เวลาของบประมาณแผ่นดินคงไม่มีใครเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ เครื่องมือดับไฟของเราจึงมีแต่ของโบราณ ๆเฉพาะไฟป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมแล้วก็หลายร้อยแห่ง ไฟป่าในอินโดนีเซียเป็นไฟป่าที่มีอายุการเผาผลาญยาวนานหลายเดือน เกิดควันไฟแพร่กระจายไปปกคลุมหลายประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ไทย และฟิลิปปินส์ มีผู้ป่วยและเสียชีวิตเนื่องจากควันไฟหลายรายประเทศไต้หวันและจีนรับพายุเฮอริเคน ‘ลินดา’ ไปเต็ม ๆ ความรุนแรงอยู่ในระดับเกินF5แบบที่เห็นในหนังเรื่องทวิสเตอร์ลินดามีความเร็วลมที่ศูนย์กลาง 220 ไมล์ต่อชั่วโมง นักอุตุนิยมวิทยายังเห็นว่าพายุนี้รุนแรงเกินระดับF5ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่ได้ตั้งไว้จึงมีการเสนอให้ตั้งระดับใหม่ F6 ขึ้นมา ลินดาเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดของเอเชียตะวันออกมีผู้เสียชีวิตทั้งในจีนและไต้หวันรวม43 คน พม่าก็ถูกพายุฝนกระหน่ำเช่นกันจนน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 30 ปี ประชาชนพม่ากว่า 5 แสนคนกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยจีนก็ใช่ว่าจะพบแต่พายุเท่านั้น จีนยังพบกับความแห้งแล้งในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายนปีที่แล้วด้วย แม่น้ำแยงซีของจีนถึงกับแห้งขาดตอนไปจนเรือขนส่งแล่นไม่ได้ 137 แห่ง แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่ระยะเวลาที่ประสบกับความแห้งแล้งมีไม่นานนัก
ยุโรปโชคดีไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง ส่วนทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ต้องพบกับภาวะสุดโต่ง 2 ด้านคือขาดน้ำกับมีน้ำมากไป ในสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอเนียร์เจอพายุหนักสุด ฝนตกชั่วโมงละ 1 นิ้ว ตามด้วยโคลนถล่ม คนแคลิฟอร์เนียเดือดร้อนกันทั่วหน้าในขณะที่คนชิคาโกยิ้มแย้มแจ่มใส นิยมไปปิคนิคและเดินชอปปิ้งกันมากขึ้นเพราะอากาศอบอุ่นท้องฟ้าแจ่มใสไม่หนาวจนเก็บคนไว้ในบ้านแบบช่วงเดียวกันของปีก่อน ๆ ส่วนในอเมริกาใต้ เปรูกับเอกวาดอร์เจอพายุไม่แพ้แคลิฟอร์เนีย น้ำท่วมหนัก ถนนและสะพานขาด นับแต่ธันวาคมปีที่แล้วมีคนตาย
ไปกว่า 300 คน ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานกว่า 250,000 คน ที่ชิมโบเตซึ่งเป็นศูนย์กลางการประมงของเปรูมีรายงานว่าปกติเปรูเคยจับปลาพวกแองโชวีน้ำเย็น (cold-water anchovy) ได้วันละ 25 ล้านตันแต่ตอนนี้เหลือเพียงวันละ5ล้านตันเพราะน้ำอุ่นจากเอลนิโนเข้ามาทำให้ฝูงปลาแองโชวีน้ำเย็นอพยพหนีไป นับว่าเปรูสูญเสียรายได้ไปจำนวนมหาศาลเมื่อปลาไม่มีนกกินปลาก็ไม่มา จึงทำให้เปรูขาดรายได้จากการขายปุ๋ยฟอสเฟตจากมูลนกทะเลซ้ำอีกเป็นมูลค่ามหาศาลเช่นกันเหตุการณ์เช่นนี้มีผลกระทบต่อการผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกทั้งโดยตรงและโดยอ้อมเนื่องจากปลาเป็นอาหารโดยตรง และปลาป่นเป็นอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญของโลกเอกวาดอพบกับปัญหาโคลนถล่ม โชคร้ายหนักขึ้นไปอีกที่โคลนถล่มนั้นเกิดขึ้นในบริเวณท่อส่งน้ำมันสายใหญ่สุดของประเทศ ทำให้เกิดการระเบิด เผาน้ำมันไปเปล่าๆ 80 บาเรล และไหลลงสู่แม่น้ำอีก 8,000 บาเรล เกิดปัญหามลพิษตามมาอีกไม่รู้เท่าไรรัฐบาลเอกวาดอคาดว่าจะต้องใช้เงินถึง 8 หมื่นล้านบาทมาซ่อมแซมหายนะครั้งนี้ในขณะที่เปรูกับเอกวาดอร์เจอพายุหนัก ทางบราซิล เวเนซูเอลา และโคลัมเบียกลับประสบภาวะแห้งแล้งทั้งๆ ที่ประเทศก็อยู่ติดๆ
กันนั่นเอง โคลัมเบียก็เจอปัญหาไฟไหม้ป่าหลายแห่ง น้ำไม่พอสำหรับการเกษตร คาดว่าผลผลิตจากการเกษตรปีนี้จะลดลง7%เวเนซูเอลามีน้ำไม่พอผลิตกระแสไฟฟ้า บราซิลพบกับความแห้งแล้งที่สุดในรอบ 25 ปี เกิดไฟไหม้ป่าลุกลามเข้าไปถึงเขตป่าดึกดำบรรพ์ในลุ่มน้ำอเมซอนซึ่งปรกติเป็นเขตป่าฝน ทำให้พื้นที่ป่าเสียหายไปกว่า 5 แสนตารางกิโลเมตรจากพื้นที่ป่าทั้งหมด 5.2 ล้านตารางกิโลเมตร และที่ชิลีก็พบปัญหาปลาน้ำเย็นอพยพหนีน้ำอุ่นเช่นเดียวกับเปรูดังนั้น เมื่อเกิดปรากฏการ์เอลนิโน ข้อควรระวังหลัก ๆ ก็ได้แก่ พายุ น้ำท่วม ความแห้งแล้ง สำหรับประเทศไทยควรเตรียมตัวรับมือกับประการหลังมากที่สุด แต่ถ้าเกิดลานินา ก็ต้องระวังเรื่องพายุและน้ำท่วม เพราะจะเกิดพายุไต้ฝุ่นจากมหาสมุทรอินเดียมาเข้าไทยบ่อยมาก มีหลายประการที่หน่วยงานของรัฐบาลต้องเป็นผู้ดำเนินการได้แก่ประกาศเตือนประชาชนแต่เนิ่นๆให้ทราบว่าจะมีปรากฏการณ์เอลนิโนหรือลานินาเกิดขึ้น ทำโครงการกักเก็บน้ำให้พอเพียงแก่การเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้าทำโครงการประหยัดพลังงาน จัดอบรมเกษตรกรเพื่อรับมือกับภัยแล้งเตรียมการป้องกันไฟป่าและจัดเตรียมอุปกรณ์ดับไฟป่าให้มีผลพร้อมที่จะดับไฟได้อย่างน้อย 10% ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ร่างกฎหมายประกันภัยน้ำท่วม เป็นต้น
ความจริงเอลนิโนไม่ได้ทำให้อากาศร้อนอย่างเดียว ยังทำให้บางพื้นที่ในประเทศทางซีกโลกเหนือมีความหนาวเย็นและมีหิมะตกหนักกว่าปรกติด้วย เช่นที่ประเทศเกาหลีเหนือนอกจากภัยที่กล่าวมาแล้วยังมีภัยทางอ้อมต่างๆอีกซึ่งเป็นผลมาจากน้ำและอากาศมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือไม่ก็เพราะแล้งไปหรือชื้นไป พอจะรวบรวมได้ดังนี้
1. สัตว์ทะเลมีโอกาสสูญพันธุ์สูงมาก เมื่อเกิดภาวะเอลนิโนการไหลของกระแสน้ำอุ่นผิดทิศทางไป ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการ ขยายพันธุ์ของปลาและแหล่งอาหารมาก เราคงได้ยินข่าวฝูงปลาวาฬว่ายไปเกยตื้นบ่อยๆ เพราะหลงทิศทางน้ำ ต้นปีนี้ปลาวาฬ เกยตื้นที่ไอร์แลนด์หลายครั้ง ชาวไอร์แลนด์ก็ดีใจหาย ได้ตั้งหน่วยอาสาสมัครช่วยกันจูงปลาวาฬกลับเข้าไปในทะเล นกต่าง ๆ ที่อาศัยปลาเป็นอาหารก็กำลังมีจำนวนน้อยลง เช่น นกเพนกวิน
2. สัตว์ป่าต้องพบกับภาวะแห้งแล้งเช่นกัน หาอาหารได้ยากขึ้น และล้มตายมากมายด้วยไฟป่า
3. เกิดเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ ความจริงนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจนักแต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่จะเกิดขึ้น เพราะอากาสร้อนกว่าปรกติอย่างยาวนาน ที่ไต้หวันมีผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสในลำไส้ไปแล้ว 30 คน ไวรัสตัวนี้ถูกเรียกว่าเป็นไวรัสลึกลับ ในขั้นต้นพบว่ามักแพร่ระบาดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทางการไต้หวันต้องอาศัย ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดของสหรัฐอเมริกามาช่วยตรวจหาสาเหตุการแพร่ระบาด ต้นเดือน มิถุนายนนี้แพทย์ไต้หวันรายงานว่ามีเด็กทารกทั่วไต้หวันติดเชื้อไวรัสดังกล่าวนี้ไม่น้อยกว่า 200,000 คนแล้ว รัฐบาลสิงคโปร์ ประกาศเตือนประชาชนให้ระวังว่าจะติดโรคนี้มาจากไต้หวัน
4. แมลงและสัตว์ขนาดเล็กซึ่งเป็นพาหะของโรคต่าง ๆ ทวีจำนวนมากขึ้น พบว่ามีโรคเก่า ๆ ที่คิดว่าปราบราบคาบ ไปแล้วกลับคืนชีพมาอีกอย่างน่าประหลาดใจ เช่น อาเยนตินาและปากีสถานพบกับการกลับมาอีกครั้งของโรคมาลาเรีย อินเดียก็ พบกับอหิวาตกโรค ในไทยเราก็พบว่ามีผู้เป็นโรคทั้งสองเหมือนกันตามแนวชายแดน โรคที่ควรระวังนอกจากนี้คือ ไทฟอย กาฬโรค และโรคอื่น ๆ ที่มีแมลงเป็นพาหะแมลงศัตรูพืชเพิ่มจำนวนขึ้น ที่เนวาดาพบว่ามีตั๊กแตนยั้วเยี้ยไปหมด เพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการขยายพันธุ์ ที่แคลิฟอเนีย์พบว่ามีสปอร์เชื้อราแพร่กระจายในอากาศมากเนื่องจากอากาศเย็นและชื้น มีผลทำให้คนที่เป็นโรคภูมิแพ้มีอาการ กำเริบขึ้นและทรมาน
5. เครื่องบินตก เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ไม่ยืนยัน แต่คาดว่ามีโอกาศเป็นไปได้สูง เพราะความร้อนทำให้อากาศเบาบาง และเกิดหลุมอากาศได้ และระยะนี้ก็มีเครื่องบินตกบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ
เอลนิโนใช่ว่าจะให้แต่โทษเพราะในบางพื้นที่ที่ไม่เคยได้รับฝนก็อาจจะได้รับฝนเพราะอิทธิพลของเอลนิโน นอกจากนี้ยังทำให้อากาศหนาวเย็นในบางพื้นที่อบอุ่นขึ้น พายุเฮอริเคนที่เคยเกิดขึ้นประจำในมหาสมุทรแอตแลนติกพัดไปถล่มอเมริกานั้นในปีนี้ก็ดูสงบเสงี่ยมลงไปมาก แต่ว่าได้ไม่เท่าเสีย โดยเฉพาะกับประเทศไทย ทางสหรัฐอเมริการัฐบาลเขามีการประชุมแก้เกมหาผลประโยชน์จากเอลนิโนกันบ่อย ๆ เช่น เมื่อมีเอลนิโนขึ้นต้องไปจับปลาที่บริติชโคลัมเบียลดการจับปลาแถบแปซิฟิกลง และก็เริ่มมองหาลู่ทางที่จะเพาะปลูกพืชผักเมืองร้อนในโอกาสที่เอลนิโนอำนวยเสียเลยอเมริกายังเน้นความสำคัญของการพยากรณ์อากาศมากโดยเฉพาะการพยากร์เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเอลนิโนในความคิดเห็นของผม ลานินาจะให้ผลบวกกับประเทศไทยมากกว่าจะให้ผลลบเช่นฝนชุกบังคลาเทศและพม่าอาจจะโดนพายุฝนหนักหน่อย พอมาถึงไทยก็อ่อนกำลังลงกลายเป็นพายุดีเพรสชั่นทำให้มีฝนตกทุกวันและน้ำท่าอุดมสมบูรณ์และหากน้ำทะเลในอ่าวไทยกลายเป็นน้ำเย็นเราก็คงได้ทำการประมงน้ำเย็นกันบ้างก็จะมีปลาป่นใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศได้อย่างเหลือเฟือแถมส่งออกขายต่างประเทศได้อีก คงได้แต่ฝัน เหตุการณ์อาจจะเป็นตรงข้ามก็ได้

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูขที่มีให้อ่าน