แบบทดสอบ เรื่องการแทรกสอดของคลื่น

แบบทดสอบ เรื่องการแทรกสอดของคลื่น
แบบทดสอบ เรื่องการแทรกสอดของคลื่น

1. เกี่ยวกับการซ้อนทับกันของคลื่นจงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. การกระจัดของคลื่นรวมจะเท่ากับผลบวกการกระจัดของคลื่นย่อยที่มาซ้อนทับกัน
ข. คลื่นจะเปลี่ยนรูปร่างขณะซ้อนทับกัน และจะมีรูปร่างคงเดิมเมื่อแยกตัวออกจากกัน
ค. พลังงานงานของคลื่นรวมเท่ากับผลบวกพลังงานของคลื่นย่อยที่มาซ้อนทับกัน
ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
1. ข้อ ก เท่านั้น 2. ข้อ ข เท่านั้น
3. ข้อ ก และ ข 4. ข้อ ก , ข และ ค
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการซ้อนทับกันของคลื่นแบบเสริม
1. ความยาวคลื่นของคลื่นรวมเท่ากับผลบวกของความยาวคลื่นของแต่ละคลื่นที่มาพบกัน
2. ขนาดการกระจัดของคลื่นรวมเท่ากับผลบวกขนาดการกระจัดของคลื่นที่มาพบกัน
3. อัตราเร็วของคลื่นรวมเท่ากับผลบวกอัตราเร็วของคลื่นที่มาพบกัน
4. ข้อ 1 และ 2
3. ถ้าคลื่นซ้อนทับกันในลักษณะที่สันคลื่นของคลื่นหนึ่งพบกับท้องคลื่นของอีกคลื่นหนึ่ง จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. การกระจัดของคลื่นรวมเท่ากับผลบวกการกระจัดของคลื่นที่มาพบพัน
ข. แอมพลิจูดของคลื่นรวมเท่ากับผลต่างของแอมพลิจูดของคลื่นที่มาพบกัน
ค. ความถี่ของคลื่นรวมเท่ากับผลต่าง”ความถี่ของคลื่นที่มาพบกัน
ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
1 เฉพาะข้อ ก 2. ข้อ ก และ ข
3. เฉพาะข้อ ค 4. ข้อ ก ,ข และ ค
4. เมื่อคลื่นสองคลื่นเคลื่อนที่มาพบกัน ข้อใดเป็นจริงเสมอทุกกรณี
1. การกระจัดของคลื่นรวมเท่ากับผลบวกการกระจัดของคลื่นที่มาพบกัน
2. แอมพลิจูดรวมเท่ากับผลบวกแอมพลิจูดของคลื่นที่มาพบกัน
3. พลังงานคลื่นรวมเท่ากับผลบวกพลังงานของคลื่นที่มาพบกัน
4. อัตราเร็วคลื่นรวมเท่ากับผลบวกอัตราเร็วคลื่นที่มาพบกัน
5. ข้อใดหมายถึงแหล่งกำเนิดคลื่นอาพันธ์
1. แหล่งกำเนิดคลื่นที่มีความถี่เท่ากันและมีเฟสตรงกัน
2. แหล่งกำเนิดคลื่นที่มีความถี่เท่ากัน แต่มีเฟสตรงข้ามกัน
3. แหล่งกำเนิดคลื่นที่มีความถี่ไม่เท่ากัน แต่มีเฟสตรงกัน
4. แหล่งกำเนิดคลื่นที่มีความถี่ไม่เท่ากัน และมีเฟสตรงข้ามกัน
6. จงพิจารณาข้อต่อไปนี้
ก. อัตราเร็วของคลื่นที่มาพบกันมีค่าเท่ากัน
ข. ความยาวคลื่นที่มาพบกันมีค่าเท่ากัน
ค. ผลต่างระยะทางจากแหล่งกำเนิดคลื่นทั้งสองเท่ากับ n เมื่อ n = 0,1,2,…
ง. แอมพลิจูดของคลื่นรวมเท่ากับแอมพลิจูดของคลื่นที่มาพบกัน
ข้อใดสรุปได้ถูกต้องเกี่ยวกับการแทรกสอดแบบเสริม
1 ข้อ ก. และ ข 2. ข้อ ค และ ง
3. ข้อ ข ,ค และ ง 4. ข้อ ก, ข, ค และ ง
7. ถ้า S1 และ S2 เป็นจุดกำเนิดคลื่นผิวน้ำที่มีความถี่และเฟสเดียวกัน(เฟสตรงกัน) ที่จุด P จะเป็นจุดที่คลื่นเสริมกัน เมื่อผลต่างของระยะ S1P และ S2P เป็นเท่าใด (ให้  เป็นความยาวคลื่น)
S1

P
S2
1. n เมื่อ n = 0,1,2,… 2. (n + ½) เมื่อ n = 0,1,2,…
3. (n - ½) เมื่อ n = 0,1,2,… 4. ข้อ 2 และ 3

8. จากรูปที่กำหนดให้
Q P
S1 S2

ระยะ S1Q กับ S2Q ต่างกันเท่าใด
1. 1 ความยาวคลื่น 2. 2 ความยาวคลื่น
3. ความยาวคลื่น 4. ความยาวคลื่น
9. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
1. การแทรกสอดของคลื่นเกิดขึ้นสังเกตได้เมื่อมีคลื่นตั้งแต่ 2 คลื่นเคลื่อนที่มาพบกัน
2. การแทรกสอดที่ตำแหน่งการกระจัดมากที่สุดเรียกว่า ปฏิบัพ
3. การแทรกสอดเมื่อสันคลื่นพบท้องคลื่นเป็นการแทรกสอดแบบหักล้าง
4. แนวมืด – สว่าง ในการแทรกสอดแทนแนวบัพ – ปฏิบัพ ตามลำดับ
10. การแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิดคลื่น 2 แหล่ง ถ้าต้องการให้เกิดลวดลายการแทรกสอดที่คงที่ตลอดเวลาแหล่งกำเนิดทั้งสองต้อง
ก. มีความถี่เท่ากัน ข. มีแอมพลิจูดเท่ากัน
ค. มีเฟสต่างกันคงที่ ง. มีความยาวคลื่นเท่ากัน
1. ข้อ ก เท่านั้น 2. ข้อ ก และ ค
3. ข้อ ข และ ง 4. ข้อ ก ข ค และ ง

ไม่มีความคิดเห็น: