ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1




--------------------------------------------------------------------------------
1. ในเซลล์พืชจะมีเม็ดกลมรีสีเขียวที่กระจายอยู่ คืออะไร
1. Vacuole
2. Ribosome
3. Leucoplast
4. Chloroplast

2. เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร
1. เซลล์พืชมีลักษณะกลมรี ส่วนเซลล์สัตว์มีลีกษณะเป็นเหลี่ยม
2. เซลล์พืชมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนเซลล์สัตว์เป็นทรงกลม
3. เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะเหมือนกันมาก
4. เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะรูปร่างนิวเคลียสที่แตกต่างกัน

3. โครงสร้างของเซลล์ใดทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสาร
1. ผนังเซลล์
2. เยื่อหุ้มเซลล์
3. เซลล์คุม
4. ไลโซโซม

4. เซลล์จะอยู่ในภาวะสมดุลเมื่อไร
1. เมื่อน้ำจากภายในเซลล์ออสโมซิสเข้า-ออกนอกเซลล์ในอัตราเดียวกัน
2. เมื่อน้ำภายนอกเซลล์ออสโมซิส เข้าสู่ภายในเซลล์
3. เมื่อน้ำภายในเซลล์ออสโมซิสออกนอกเซลล์
4. เมื่อน้ำไม่มีการแพร่

5. พืชใช้ส่วนใดในการคายน้ำ
1. เซลล์เม็ดเลือด
2. เซลล์ปากใบ
3. เซลล์วอลล์
4. เซลล์เม็มเบรนด์

6. ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงของพืชคืออะไร
1. คาร์โบไฮเดรต โปรตีน น้ำตาล
2. แป้ง กรดอะมิโน น้ำตาล
3. คาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาล
4. โปรตีน กรดเกลือ ไขมัน

7. ดอกไม้ที่มีองค์ประกอบครบส่วน เรียกว่า อะไร
1. ดอกครบส่วน
2. ดอกสมบูรณ์เพศ
3. ดอกไม่ครบส่วน
4. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ

8. ถ้านำถุงกระดาษแก้วใสบรรจุสารละลายคอปเปอร์ซันเฟตเข้มข้น 10% จุ่มลงในบิกเกอร์ที่มีสารละลายคอปเปอร์ซันเฟตเข้มข้น 20% ทิศทางการแพร่ของคอปเปอร์ซันเฟตจเป็นอย่างไร
1.สารละลายแพร่จากบิกเกอร์เข้าสู่กระดาษแก้ว
2.น้ำจะแพร่จากบิกเกอร์เข้าสู่กระดาษแก้ว
3.สารละลายจะแพร่ออกจากกระดาษแก้ว
4.สารละลายไม่มีการเคลื่อนที่

9. ข้อใดต่อไปนี้แสดงว่าพืชมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
1. การเบนเข้าหาแสงเเดด
2. การหุบ-บานของดอกไม้
3. การงอกของเมล็ดถั่วเขียว
4. ทุกข้อที่กล่าวมา

10.วิชาที่ว่าด้วยการปรับปรุงลักษณะของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการเรียกว่า ?
1. พันธุศาสตร์
2. พันธุวิศวกรรม
3. สัตวศาสตร์
4. สัตวแพทย์

11 ข้อใดต่อไปนี้ เป็นสารประกอบ
1. Ca
2. H2O
3. C
4. H

12. การกรองเป็นการแยกสารโดยวิธีใด
1. การแยกสารที่เป็นของแข็งออกจากของเหลว
2. เป็นการแยกสารที่ตัวถูกละลายเป็นของแข็งที่ไม่ละลายในของเหลว
3. การทำสารให้บริสุทธิ์
4. เป็นการแยกสารโดยใช้กับของแข็งที่ระเหยยาก

13. สารที่นำมาสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1. ระเหยยาก ละลายน้ำ
2. ระเหยยาก ไม่ละลายน้ำ
3. ระเหยง่าย ละลายน้ำ
4. ระเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ

14.ต๋อย ทำผงถ่านตกลงในข้าวสารที่บ้าน ต๋อยจะมีวิธีแยกผงถ่านออกจากข้าวสารโดยวิธีใด
1.การกรอง
2.การกลั่น
3.การระเหย
4.การตกผลึก

15.ข้อใดคือ ความหมายของสารละลาย
1.ของผสมที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
2.ของผสมที่เห็นเป็นเนื้อเดียวประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลาย
3.สารบริสุทธิ์ที่เกิดกจากการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
4.สารบริสุทธิ์ที่เกิดจาการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน


16.น้ำอัดลม มีอะไรเป็นตัวทำละลาย
1.น้ำ
2.ออกซิเจน
3.คาร์บอนไดออกไซด์
4.ไนโตรเจน

17.น้ำอัดลมเกิดจากน้ำตาล 100 cm3 , คาร์บอนไดออกไซด์ 120 cm3 กับน้ำ 500 cm3 และสารที่ทำให้เกิดสีและกลิ่นอีก 80 cm3 น้ำมีความเข้มข้นกี่เปอร์เซนต์ โดยปริมาตรต่อปริมาตร
1. 62.0
2. 62.5
3. 63.0
4. 63.5

18.สารประกอบหมายถึงอะไร
1. สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป โดยใช้อัตราส่วนที่คงที่
2. สารละลายที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป โดยใช้อัตราส่วนที่คงที่
3. สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป โดยใช้อัตราส่วนในการรวมตัวแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องคงที่
4. สารละลายที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป โดยใช้อัตราส่วนในการรวมตัวแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องคงที่

19.สารชนิดใดที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์กระเจิงของแสง
1.สารแขวนลอย
2.คอลลอยด์
3.สารละลาย
4.สารประกอบ

20.ข้อใดเป็นหลักการใช้สารที่ถูกต้อง
1.ศึกษาคุณสมบัติของสารนั้น ๆ ก่อนนำมาใช้
2.ปฏิบัติตามคำอธิบายวิธีใช้สารที่อยู่ในฉลาก อย่างเคร่งครัด
3.พิจารณาถึงคุณภาพของสาร
4.ทุกข้อที่กล่าวมา

21.การออกแรงดึงวัตถุทางซ้าย 50 นิวตัน และทางขวา 50 นิวตัน แรงลัพธ์มีค่าเท่าใด
1. 0
2. 15
3. 50
4. 100

22.จะต้องออกแรงเท่าใด จึงจะทำให้วัตถุมวล 12 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 3 เมตรต่อวินาที2 (กำหนดให้ค่า g= 10 m/s2)
1. 4 นิวตัน
2. 9 นิวตัน
3. 20 นิวตัน
4. 36 นิวตัน

23.วัตถุ 50 กิโลกรัม ถ้าต้องการให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่จะต้องออกแรงตามแนวราบอย่างน้อย 750 นิวตัน ถามว่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของพื้นกับวัตถุมีค่าเท่าใด (กำหนดให้ค่า g = 10 เมตรต่อวินาที )
1. 1.0
2. 1.5
3. 2.0
4. 2.5

24.มีแรงขนาด 50 นิวตันกระทำต่อวัตถุมวล 1 กิโลกรัม ไปทางทิศขวามือตามแนวราบ ขณะเดียวกันก็มีแรงขนาด 30 นิวตัน กระทำไปทางซ้ายมือ วัตถุจะเคลื่อนที่ไปทางใด และมีแรงลัพธ์เท่าใด
1. ทางขวา มีแรงลัพธ์ขนาด 20 นิวตัน
2. ทางขวา มีแรงลัพธ์ขนาด 50 นิวตัน
3. ทางซ้าย มีแรงลัพธ์ขนาด 20 นิวตัน
4. ทางซ้าย มีแรงลัพธ์ขนาด 50 นิวตัน

25. คานยาว 6 เมตร ซึ่งมีฐานรองรับที่จุดกึ่งกลาง วางวัตถุ 2 ก้อน ก้อนละ 2 และ 4 นิวตัน ทางซ้ายมือของฐานหรือจุดหมุน จงหาแรงที่ใช้กดที่ปลายคานทางด้านขวามือมีค่าเท่าไรที่จะทำให้คานอยู่ในแนวระดับ
1. มีค่า = 3 นิวตัน
2. มีค่า = 4 นิวตัน
3. มีค่า = 5 นิวตัน
4. มีค่า = 6 นิวตัน

26.การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไทล์ หมายถึง?
1.การเคลื่อนที่ในแนวตรง
2.การเคลื่อนที่เป็นวงกลม
3.การเคลื่อนที่ในแนวโค้ง
4.การเคลื่อนที่แบบเสรี

27.แรงที่กระทำขณะวัตถุเคลื่อนที่แนววงกลม คืออะไร
1.แรงสู่ศูนย์กลาง
2.แรงโน้มถ่วงของโลก
3.แรงหนีศูนย์กลาง
4.แรงหลุดพ้น

28.การออกแรง 15นิวตันผลักวัตถุให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอในระยะทาง 3เมตร งานที่เกิดเป็นกี่จูล
1. 15
2. 30
3. 45
4. 60

ใช้ตารางต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 29-30

แรงที่ใช้ยกวัตถุ คงที่
(นิวตัน) ความสูงที่ยกวัตถุขึ้น(เมตร) งานที่เกิดขึ้น(จูล)
10 1 10
2 20
3 30
4 40
5 50


29.การยกวัตถุขึ้นสูง 4 เมตร งานที่เกิดขึ้นเป็นกี่จูล
1. 10
2. 20
3. 30
4. 40

30.การออกแรงยกวัตถุ 10 นิวตัน ได้งาน 20 จูล แสดงว่าความสูงที่ยกวัตถุขึ้นได้เป็นกี่เมตร
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4

31. การที่น้ำที่มีปริมาตรมากสามารถกักเก็บความร้อนเอาไว้ได้มากว่าน้ำที่มีปริมาตรน้อย โดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิเท่ากัน ความสามารถดังกล่าว เรียกว่าอะไร
1.ความจุความร้อนจำเพาะ
2.การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
3.ความร้อนแฝงจำเพาะ
4.การดูดกลืนความร้อนจำเพาะ

32. การที่เรานำไข่ก่อนต้มไปวางบนขดลวดไข่จะลอดขดลวดมาได้ แต่เมื่อเรานำไข่ไปต้มให้สุกแล้ว นำไปวางบนขดลวด ไข่จะไม่สามารถลอดผ่านขดลวดได้ เนื่องจากไข่เกิดการขยายตัวใหญ่กว่าเดิม นักเรียนคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ไข่เกิดการขยายตัว
1. ความร้อน
2. ความหนาแน่น
3. ความดัน
4. สรุปไม่ได้

33.วัตถุ a มีอุณหภูมิสูงกว่าวัตถุ b การถ่ายเทความร้อนจะเป็นอย่างไร
1. วัตถุ a จะถ่ายเทพลังงานความร้อนไปยังวัตถุ b
2. วัตถุ b จะถ่ายเทพลังงานความร้อนไปยังวัตถุ a
3. วัตถุ a และ b ต่างก็ถ่ายโอนพลังงานความร้อนแก่กันและกัน
4. ไม่มีข้อใดถูก

34.การที่วัตถุ a มีการถ่ายโอนพลังงานความร้อนไปยังวัตถุ b เป็นเพราะอะไร
1. เพราะมีความดันมากกว่าจึงสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุ b ได้
2. เพราะมีความอุณหภูมิมากกว่าจึงสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุ b ได้
3. เพราะมีความหนาแน่นมากกว่าจึงสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุ b ได้
4. อธิบายไม่ได้

35 การถ่ายโอนพลังงานความร้อนจากวัตถุที่มีอุณหภูมิมากไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า เราเรียกว่าอะไร
1. การดูดความร้อน
2. การคายความร้อน
3. การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
4. การสืบทอดความร้อน

36. ถ้าไม่มีบรรยากาศ ห่อหุ้มโลกในเวลากลางวันจะมีอุณหภูมิ เท่าไร
1. 180 องศาเซลเซียส
2. 110 องศาเซลเซียส
3. -180 องศาเซลเซียส
4. -110 องศาเซลเซียส

37. ในบรรยากาศมีปริมาณก๊าซเฉื่อยกี่เปอร์เซ็นต์
1. 0.93
2. 0.01
3. 20.95
4.78.08


a. บรรยากาศ หมายถึง อากาศที่อยู่รอบตัวเราและภายในโลก
b. ถ้าไม่มีบรรยากาศแล้วอุณหภูมิตอนกลางวันจะสูงถึง 110 องศาเซลเซียส
c. บรยากาศช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต

38. จากคำกล่าวข้างต้นข้อใดถูกต้องที่สุด
1. ข้อ a และ b
2. ข้อ a และ c
3. ข้อ b และ c
4. ข้อ a,b และ c

39. ใช้ตารางต่อไปนี้ ตอบคำถาม แหล่ง
ปริมาณสารพิษ(ตัน/ปี)

ฝุ่นละออง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน
การคมนาคมขนส่ง 7515 47339 4065700 17952
โรงไฟฟ้า 96300 153087 2143 1054
อุตสาหกรรม 62701 106735 110212 6569
เกษตรกรรม 54022 36087 34666 1882
การบริการ 4221 2145 108397 1525
ครัวเรือน 67109 2997 4941 4942


สารพิษจากแหล่งใด มีปริมาณก๊าซซันเฟอร์ไดออกไซด์มากที่สุด
1. การคมนาคมขนส่ง
2. โรงไฟฟ้า
3. เกษตรกรรม
4. การบริการ

40.สารพิษจากแหล่งใดมีปริมาณฝุ่นละอองน้อยที่สุด
1.การคมนาคมขนส่ง
2.โรงไฟฟ้า
3.เกษตรกรรม
4.การบริการ

ไม่มีความคิดเห็น: