การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

มนุษย์ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลง
พื้นผิวโลกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำมาหากินของมนุษย์ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ การดำรงชีพอย่างปกติ จำเป็นต้องมีปัจจัยพื้นฐานหลายประการยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์ต้องพี่งพาอาศัยกันและกัน และอาศัยสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
ในชีวิตประจำวันมนุษย์มีความจำเป็นต้องใช้ดิน หิน และแร่ธาตุเพื่อใช้ก่อสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อยู่ในชั้นเปลือกโลก การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน ถนน ตึกสูง อุโมงค์ และบางแห่งจำเป็นต้องปรับพื้นที่อาจต้องมีการขุดเจาะลงในดินเพื่อวางระบบรากฐานในการสร้ง บางครั้งอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง
มนุษย์ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เราสามารถแบ่งการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้เป็นลักษณะ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การระเบิด การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ฯลฯ
2. การเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น การทำลายทรัพยากรธรรมชาติจนเกิดผลกระทบภายหลัง ฯลฯ
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกโดยมนุษย์
มนุษย์ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงช้า ๆ สะสม ทวีคูณ ทำให้ผลกระทบครั้งหลัง ๆ รุนแรงมากขึ้น กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลง
1. การขุดหิน ดิน แร่มาใช้ประโยชน์
2. กรขุดเจาะชั้นใต้ดินเพื่อวางฐานการก่อสร้าง
3. การก่อสร้างเขื่อน สร้างถนนลอดอุโมงค์
4. การทดลองระเบิดนิวเคลียร์
5. การตัดไม้ทำลายป่า
6. ก๊าซพิษจากอุตสาหกรรม ทำให้เกิดฝนกรด
7. การทำเหมืองแร่
4.3.2 ธรรมชาติทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลง
แรงดันภายในโลกตรงบริเวณที่ยุบตัวลงเป็นเหว บริเวณที่เนินขึ้นก็จะเป็นภูเขา สิ่งที่กระทำให้โลกเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมา ได้แก่ มนุษย์ และ ธรรมชาติ
1. อิทธิพลจากชั้นใต้เปลือกโลก (mantle) ได้แก่ การเคลื่อนตัวของ Magma ทำให้เกิดรอยแยกเลื่อนของเปลือกโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขา ภูเขาไฟ
2. อิทธิพลจากชั้นเปลือกโลก เกิดจากการกัดกร่อน เช่น กระแสลม อุณหภูมิ ปฏิกิริยาเคมี ธารน้ำแข็ง น้ำ
ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป เมื่อ พ.ศ. 2143 โดยนายอัลเฟรด เวเจเนอร์ (Alfred Wegener) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เสนอแนวคิดทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป (Comtinental Drift Theory) เชื่อว่าก่อน 50 ล้านปีมาแล้ว (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 180 ล้านปี) ผิวโลกที่เป็นแผ่นดินยื่นขึ้นมาจากผิวน้ำเพียงส่วนเดียว โดยตั้งชื่อว่า แพงกีอา หรือ พันเจีย (Pangaea) แปลว่า All land เพื่อเวลาผ่านไปแต่ละส่วนเริ่มแยกออกจากกันจนกลายเป็นทวีปต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยมีหลักฐานที่สนับสนุนได้ดังนี้
1. หลักฐานสภาพรูปร่างของทวีป ถ้านำทวีปต่าง ๆ มาเชื่อมกันก็จะเข้ากันได้อย่างน่าทึ่ง
2. หลักฐานสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เช่น ลิง ปลาน้ำจืด มีโซซอรัส
3. หลักฐานการเคลื่อนที่ของเกาะกรีนแลนด์
นักธรณีวิทยาทราบว่าเกาะกรีนแลนด์กำลังเคลื่อนที่ เมื่อประมาณ 200 ล้านปีทวีปได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทวีปลอเรเซีย ทางซีกโลกเหนือ และกอนต์วานาแลนด์ อยู่ทางซีกโลกใต้ ทวีปเหล่านี้แยกออกจากกันเรื่อย ๆ จนกลายเป็น 7 ทวีป ได้แก่
1. ทวีปอเมริกาเหนือ 2. ทวีปอเมริกาใต้ 3. ทวีปยุโรป 4. ทวีปแอฟริกา 5. ทวีปเอเชีย
6. ทวีปออสเตรเลีย 7. ทวีปแอนตาร์กติ
นักธรณีวิทยาค้นพบว่าเปลือกโลกมีรอยแยกลึกลงไปในส่วนของ โมโฮโรวิซิก (Mohorovicic) ออกเป็น 6 แผ่นใหญ่ ๆ มีคำสำคัญ ๆ ดังนี้
ก. รอยแยกตัว (Joint/spleding)) หมายถึง รอยแตกของหินที่เกิดจากแรงภายใน คือ ความแค้น (Stress) และความเครียด (Strain) ทำให้แผ่นโลกแยกจากกันเพื่อลดสภาวะกดดันดังกล่าว
ความเค้น (Stress) หมายถึงแรงที่กระทำต่อ 1 หน่วยพื้นที่ของแรงกระทำ
ความเครียด(Strain)อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับขนาดของวัตถุเดิม
ข. ร่องลึกก้นสมุทรหรือช่องน้ำกันสมุทร (Trench) มีลักษณะแคบยาวและขอบสูงชัน
ค. เขตมุดตัวของเปลือกโลก (Subduction Zone) คือ เขตที่เปลือกโลกใต้สมุทรมุดตัวเข้าใต้เปลือกโลกที่เป็นทวีปเอียงทำมุมประมาณ 45 องศา และลงใต้เปลือกโลก
ง. การเลื่อน (Faulting/translation) เป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกด้านข้าง
แผ่นเปลือกโลกประกอบด้วย 6 แผ่นใหญ่ดังนี้
1. แผ่นยูเรเซีย รองรับทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป
2. แผ่นอเมริการองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ พื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย รองรับทวีปออสเตรเลีย
5. แผ่นตาร์กติก รองรับทวีปแอนตาร์กติก
6. แผ่นแอฟริกา รองรับทวีปแอฟริกา
นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นแผ่นเล็ก ๆ อีก 6 แผ่น เช่น แผ่นจีน แผ่นฟิลิปปินส์ แผ่นเดริบเบียน แผ่นนาซกา แผ่นคอคอส

1 ความคิดเห็น:

t'plakapp !! กล่าวว่า...

ข้อมูลดีมากคร๊าบบ