ทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะ

1. ทฤษฎีจุดกำเนิดระบบสุริยะของบูฟง (Georges Louis leclere Buffon) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2288 เสนอว่า มีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มีขนาดใกล้เคียงกัน แล้วแรงดึงดูดระหว่างกันทำให้มวลส่วนหนึ่งหลุดออกมากลายเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ
2. ทฤษฎีจุดกำเนิดระบบสุริยะของ ลาพลาส โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ลาพลาส (Piere Simon Laplace) ได้ร่วมงานกับ คานท์ เมื่อ พ.ศ. 2349 เสนอว่า ระบบสุริยะเกิดมาจากมวลของกลุ่มก๊าซฝุ่นละออง หมอกควัน ซึ่งมีขนาดใหญ่และร้อนจัด รวมกลุ่มกันหมุนรอบตัวเองอย่างช้า ๆ ทำให้มีมวลขนาดใหญ่ขึ้น ยุบตัวลง อัดแน่นมากขึ้น หมุนเร็วมากขึ้น ทำให้มวลบางส่วนหลุดออกมาเป็นวงแหวน และวงแหวนมีการหมุนจนหดตัวเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ จึงเรียกทฤษฎีของคานท์และลาพลาสว่า “The Nebula Hypothesis”
3. ทฤษฎีจุดกำเนิดระบบสุริยะของเจมส์ ยีนส์ (Sir James Jeans) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2444 เสนอทฤษฎีว่าด้วยแรงดึงดูดระหว่างกัน (Tidal Theory หรือ Two-star) ก่อนหน้านั้น เมื่อ พ.ศ. 2443 มีนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน 2 คน คือ โทมัน แซมเบอร์ลิน (Thomas Chamberlin) และ เอฟ. อาร์. โมลตัน (F. R. Moulton) โดยใช้หลักการของ บูฟง และเชื่อว่าเนื้อสารของดวงอาทิตย์ในตอนแรกนั้นน่าจะกระจายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนแล้ว มารวมกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้นและหลอมรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ
4. ทฤษฎีจุดกำเนินระบบสุริยะของ เฟรด ฮอยล์ (Fred Hoyle) และ ฮานส์ อัลเฟน (Hans Alphen) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2493 เสนอทฤษฎีว่าด้วยกลุ่มเมฆหมอก (Interstellar Cloud Theory) โดยกล่าวสนับสนุน คานท์ และลาพลาส แต่เชื่อว่ามีดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อน แล้วมีแสงสว่างภายหลัง ส่วนกลุ่มเมฆหมอกที่อยู่รอบดวงอาทิตย์ ก็จะหมุนและถูกดูดจนอัดแน่นรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ
5. ทฤษฏีการเปล่งแสง (Supernova Theory) หรือดาวแฝด (Binary Star) กล่าวว่ามีดวงอาทิตย์ 2 ดวง ดึงดูดกันจนทำให้อาทิตย์อีกดวงเปล่งแสงมากขึ้นจนแตกเป็นชิ้นส่วนมากมาย และถูกแรงดึงดูดของอาทิตย์ให้หมุนรอบจนรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ
6. ทฤษฎีเกี่ยวกับขนาดและความถ่วงจำเพาะของดาวเคราะห์ (Explaning the Size and Density of Planets) เสนอว่า มีสารคล้าย ๆ รูปจักรเกิดขึ้นรอบ ๆ เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ และหมุนรอบดวงอาทิตย์เร็วขึ้นเรื่อย ๆ จนอัดแน่นทำให้มีความถ่วงจำเพาะมากขึ้นสะสมต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ไฮโดรเจน เป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ
สรุป
จากทฤษฎีที่กล่าวมาทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์ยังศึกษาหาความจริงอยู่ตลอดเวลา นักเรียนควรเป็นผู้วิเคราะห์ว่าทฤษฎีใดน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดรวมทั้งนักเรียนควรจะศึกษาจากเอกสาร และแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เช่น Inter net เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: