คลื่น ปรากฏการณ์คลื่น

คลื่น ปรากฏการณ์คลื่น
คลื่นเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่ง คลื่นสามารถจำแนกตามลักษณะต่าง ๆได้ดังนี้
1.จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง
1.1 คลื่นกล (Mechanical wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ ตัวอย่างของคลื่นกลได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นที่ผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น
1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น
2.จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่
2.1 คลื่นตามขวาง (Transverse wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามขวางได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2.2 คลื่นตามยาว (Longitudinal wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามยาวได้แก่ คลื่นเสียง
3.จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่น
3.1 คลื่นดล (Pulse wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเพียงครั้งเดียว
3.2 คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเป็นจังหวะต่อเนื่อง
ส่วนประกอบของคลื่น
สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก
ท้องคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ
แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ
ความยาวคลื่น (Wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นเมตร (m)
ความถี่ (Frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)
คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s)
อัตราเร็วของคลื่น (wave speed) หาได้จากผลคูณระหว่างความยาวคลื่นและความถี่
สมบัติของคลื่น (wave properties)
คลื่นทุกชนิดแสดงสมบัติ 4 อย่าง คือการสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน
การสะท้อน (reflection) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง แล้วเปลี่ยนทิศทางกลับสู่ตัวกลางเดิม
การหักเห (refraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป
การเลี้ยวเบน (diffraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปพบสิ่งกีดขวาง ทำให้คลื่นส่วนหนึ่งอ้อมบริเวณของสิ่งกีดขวางแผ่ไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น
การแทรกสอด (interference) เกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกัน แล้วเกิดการซ้อนทับกัน ถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน

การสะท้อนของคลื่น เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญประการหนึ่งของคลื่น ถือได้ว่าเป็นสมบัติของคลื่นอย่างหนึ่ง จะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปพบสิ่งกีดขวาง หรือเปลี่ยนตัวกลางในการเคลื่อนที่ โดยคลื่นที่เคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวางเรียกว่า คลื่นตกกระทบ และคลื่นที่สะท้อนออกมาเรียกว่าคลื่นสะท้อน ในการสะท้อนแต่ละครั้งพบว่ามุมที่หน้าคลื่นตกกระทบกระทำกับสิ่งกีดขวางจะเท่ากับมุมที่หน้าคลื่นสะท้อนกระทำกับสิ่งกีดขวางเสมอ นั่นคือการสะท้อนของคลื่นจะเป็นไปตามกฎการสะท้อนที่ว่า
“เมื่อคลื่นเกิดการสะท้อนจะได้มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ”

คุณสมบัติการสะท้อนของคลื่น
เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปชนสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนที่ไปถึงปลายสุดของตัวกลางจะทำให้เกิดคลื่นสะท้อนขึ้นมา คลื่นสะท้อนที่เกิดขึ้นมานั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้…
1. ความถี่ของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับความถี่ของคลื่นตกกระทบ
2. ความเร็วและความยาวคลื่นของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับความเร็วและความยาวคลื่นของคลื่นตกกระทบ
3. ถ้าการสะท้อนไม่สูญเสียพลังงาน จะได้แอมพลิจูดของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับแอมพลิจูดของคลื่นตกกระทบ

การหักเหของคลื่น เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของคลื่น ถือเป็นอีกสมบัติของคลื่น ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเปลี่ยนตัวกลางในการคลื่นที่ หรือคลื่นเคลื่อนที่ผ่านรอยต่อระหว่างตัวกลางที่มีสมบัติต่างกัน มีผลทำให้อัตราเร็วและความยาวของคลื่นเปลี่ยนไป การหักเหของคลื่นมักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการสะท้อนของคลื่น



สรุป “กฎการหักเหของคลื่น” ได้ว่า
1. ทิศทางของคลื่นตกกระทบ เส้นแนวฉากและทิศทางของคลื่นหักเหอยู่ในระนาบเดียวกัน
2. อัตราส่วนของค่า sine ของมุมตกกระทบต่อค่า sine ของมุมหักเหสำหรับตัวกลางคู่หนึ่ง ๆ จะมีค่าคงที่เสมอ

ปรากฏการณ์การแทรกสอด (interference) ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของคลื่นซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างคลื่นกับอนุภาค เกิดขึ้นจากการที่คลื่นจากแหล่งกำเนิดตั้งแต่สองแหล่งกำเนิดขึ้นไปเดินทางมาพบกันจะเกิดการแทรกสอดหรือเกิดการรวมกันของคลื่นหลังจากรวมกันหรือแทรกสอดกันแล้วลักษณะของคลื่นจะไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือรูปร่างของคลื่นก่อนการแทรกสอดและหลังการแทรกสอดมีลักษณะเหมือนเดิม การแทรกสอดกันของคือจะมีสองชนิดคือ
การแทรกสอดแบบเสริม ซึ่งเป็นแทรกสอดที่เกิดจากคลื่นที่มีการกระจัดไปทางเดียวกันเดินทางมาพบกันจะมีผลทำให้แอมพลิจูดรวมของคลื่นรวมสูงกว่าเดิม เราเรียกตำแหน่งนี้ว่าตำแหน่งปฏิบัพ
การแทรกสอดแบบหักล้าง ซึ่งเป็นแทรกสอดที่เกิดจากคลื่นที่มีการกระจัดทิศตรงข้ามกันเดินทางมาพบกันจะมีผลทำให้แอมพลิจูดรวมของคลื่นรวมต่ำกว่าเดิม เราเรียกตำแหน่งนี้ว่าตำแหน่งบัพ

การแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิดคลื่น 2 แหล่ง ถ้าต้องการให้เกิดลวดลายการแทรกสอดที่คงที่ตลอดเวลาแหล่งกำเนิดทั้งสองต้อง
ก. มีความถี่เท่ากัน ข. มีแอมพลิจูดเท่ากัน
ค. มีเฟสต่างกันคงที่ ง. มีความยาวคลื่นเท่ากัน
1. ข้อ ก เท่านั้น 2. ข้อ ก และ ค
3. ข้อ ข และ ง 4. ข้อ ก ข ค และ ง

เกี่ยวกับการซ้อนทับกันของคลื่นจงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. การกระจัดของคลื่นรวมจะเท่ากับผลบวกการกระจัดของคลื่นย่อยที่มาซ้อนทับกัน
ข. คลื่นจะเปลี่ยนรูปร่างขณะซ้อนทับกัน และจะมีรูปร่างคงเดิมเมื่อแยกตัวออกจากกัน
ค. พลังงานงานของคลื่นรวมเท่ากับผลบวกพลังงานของคลื่นย่อยที่มาซ้อนทับกัน
ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
1. ข้อ ก เท่านั้น 2. ข้อ ข เท่านั้น
3. ข้อ ก และ ข 4. ข้อ ก , ข และ ค









แสง ถือเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ที่เกิดจากการแผ่รังสีของแหล่งกำเนิด แสงมีลักษณะพิเศษตรงที่สามารถพฤติตัวเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาค การที่เราสามารถจัดได้ว่าแสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งก็เพราะว่าแสงสามารถแสดงสมบัติของการเป็นคลื่นได้ไม่ว่าจะเป็นการสะท้อน การหักเห
การแทรกสอดและการเลี้ยวเบน และแสงถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่

แสงสีปฐมภูมิ เป็น แสงสีที่ไม่สามารถแยกออกเป็นสีอื่นๆได้ มี 3 สี ได้แก่ สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (blue)
แสงสีทุติยมิ เป็นแสงสี ที่เกิดจากการนำแสงสีปฐมภูมิ มาผสมกัน
หลักการผสมแสงสี อาจใช้รูป สามเหลี่ยมแสดงการผสมสี หรือ รูปวงกลมแสดงการผสมสี
เพื่อให้ดูง่ายขึ้น






สารสี (pigment) เป็นสารหรือวัตถุที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนสีเฉพาะบางสี สารสีปฐมภูมิ มี 3 สารสี ได้แก่ สารสี เหลือง (yellow) สารสี น้ำเงินเขียว (Cyan) และสารสี ม่วงแดง (Magenta)
สารสีทุติยภูมิ เป็นสารสีที่ เกิดจากการผสมสารสีปฐมภูมิ หลักการผสมสารสี อาจใช้ รูปวงกลมแสดงการผสมสารสี เพื่อให้ดูง่ายขึ้น





คนเราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีได้เนื่องจาก วัตถุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติการสะท้อนสีได้ต่างกัน คนเรามองเห็นวัตถุเป็นสีใด แสดงว่าเมื่อมีแสงตกกระทบวัตถุ วัตถุจะสะท้อนสีนั้นออกมาเข้าสู่ตา และไปกระตุ้นเซลล์ประสาทรูปกรวยที่ไวต่อแสงสี แดง เขียว และน้ำเงิน ผสมกันจนเห็นเป็นสีนั้นๆ

ข้อที่ 1)

ข้อที่ 1)
ถ้าเราจำแนกคลื่นโดยจำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลางสามารถแบ่งได้กี่ประเภท
2 ประเภท
3 ประเภท
4 ประเภท
5 ประเภท

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 2)
ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คลื่นกล
คลื่นใต้น้ำ
คลื่นในเส้นลวด
คลื่นเสียง
คลื่นวิทยุ

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 3)
ข้อใดไม่ใช่สมบัติของคลื่น
การสอดแทรก
การหักเห
การเลี้ยวเบน
การสะท้อน

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 4)
ข้อใดคือหน่วยของความยาวคลื่น
เมตร
กิโลเมตร
นาโนเมตร
ฟิโกเมตร

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 5)
วินาทีต่อรอบ เป็นหน่วยของอะไร
ความยาวคลื่น
คาบ
อัตราเร็วคลื่น
ความถี่

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 6)
ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของคลื่น
สันคลื่น
ท้องคลื่น
กระเพาะคลื่น
แอมพลิจูด

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 7)
ข้อต่อไปนี้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ยกเว้นข้อใด
คลื่นวิทยุ
คลื่นไมโครเวฟ
รังสีเอกซ์
คลื่นใต้น้ำ

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 8)
อัตราเร็วคลื่นหาได้จากสิ่งใด
ความยาวคลื่นคูณความถี่
ความยาวคลื่นหารความถี่
ความยาวคลื่นบวกความถี่
ความยาวคลื่นลบความถี่

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 9)
เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป คือสมบัติของคลื่นในข้อใด
การสะท้อน
การหักเห
การเลี้ยวเบน
การแทรกสอด

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 10)
เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เป็นคลื่นชนิดใด
คลื่นตามยาว
คลื่นตามขวาง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นกล

แบบทดสอบคลื่น

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. องค์ประกอบที่สำคัญของคลื่น

ก. คาบ ความถี่
ข. คาบ ความถี่ ความยาวคลื่น
ค. คาบ ความถี่ ความยาวคลื่น อัตราเร็วคลื่น
ง. คาบ ความถี่ อัตราเร็วคลื่น

2. คลื่นมีสมบัติตามข้อใด
1. การสะท้อน 2. การหักเห 3. การแทรกสอด 4. การเลี้ยวเบน

ก. ข้อ 1 และ 2
ข. ข้อ 1, 2 และ 3
ค. ข้อ 3 และ ข้อ 4
ง. ข้อ 1 , 2 , 3 และ 4

3. การถ่ายทอดพลังงานออกจากแหล่งกำเนิดด้วยการสั่น เรียกว่า
ก. คลื่น
ข. ลม
ค. เสียง
ง. แสง


4. คลื่นขบวนหนึ่งสามารถผ่านจุดๆ หนึ่งได้ 800 ลูกใช้เวลา 10 วินาที คลื่นนี้จะมีคาบเท่ากับเท่าไร
ก. 800 วินาที/รอบ
ข. 80 วินาที/รอบ
ค. 8 วินาที/รอบ
ง. 0.8 วินาที/รอบ


5. คลื่นขบวนหนึ่งเกิดจากแหล่งกำเนิด 200 ลูก ภายใน 5 วินาที คลื่นนี้มีความถี่เท่าไร
ก. 40 Hz
ข. 400 Hz
ค. 1,000 Hz
ง. 2,000 Hz


6. คลื่นขบวนหนึ่งมีความถี่ 40 Hz ในเวลา 1 นาที จะมีคลื่นเกิดขึ้นกี่ลูก
ก. 40 ลูก
ข. 80 ลูก
ค. 2,400 ลูก
ง. 3,600 ลูก


7. คลื่นขบวนหนึ่งมีความถี่ 20 Hz จะมีคาบเท่าไร
ก. 0.05 วินาที/รอบ
ข. 0.5 วินาที/รอบ
ค. 2 วินาที/รอบ
ง. 20 วินาที/รอบ


8. จากข้อ 7 ถ้าให้คลื่นขบวนนี้ผ่านจุดๆหนึ่งให้ได้ 1,000 ลูก จะใช้เวลากี่วินาที
ก. 20,000 วินาที
ข. 2,000 วินาที
ค. 500 วินาที
ง. 50 วินาที


9. คลื่นลูกหนึ่งมีความยาวคลื่น 2 เมตร ในระยะ 40 เมตร จะมีคลื่นกี่ลูก

ก. 20 ลูก
ข. 40 ลูก
ค. 60 ลูก
ง. 80 ลูก


10. ในระยะ 60 เมตร มีคลื่นขบวนหนึ่ง 5 ลูก คลื่นขบวนนี้มีความยาวคลื่นเท่าไร
ก. 400 เมตร
ข. 300 เมตร
ค. 60 เมตร
ง. 12 เมตร

11

วิชา ฟิสิกส์ ( สาระเพิ่มเติม ) (รหัส ว 4225) ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง การหักเหของคลื่น จำนวน 6 ข้อ
โดย อ.สุพัตรา ดาวหน โรงเรียนกันทรารมณ์
คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 1)
ข้อความใดกล่าวผิด
การสะท้อนของคลื่นน้ำความยาวคลื่นไม่เปลี่ยน
การสะท้อนของคลื่นเชือกปลายอิสระไม่เปลี่ยน
การหักเหของคลื่นอัตราเร็วเปลี่ยน
การหักเหเกิดขึ้นได้ในตัวกลางเดียวกัน

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 2)
คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากน้ำตื้นเข้าสู่นำลึก ทำมุมตกกระทบ30 องศา แล้วมุมหักเห 37 องศา ถ้าความยาวคลื่นในน้ำลึกวัดได้ 6 ซม. ในนำตื้นจะมีความยาวคลื่นกี่เซนติเมตร
2
3
4
5

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 3)
คลื่นน้ำเคลื่นที่จากน้ำตื้นเข้าสู่น้ำลึก พบว่าอัตราเร็วของคลื่น เพิ่มเป็น 2 เท่าของเดิม ถ้ามุมตกกระทบ 30 องศา จงหามุมหักเห
30 องศา
45 องศา
60 องศา
90 องศา

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 4)
คลื่นผิวน้ำเคลื่อนที่ จากบริเวณน้ำลึกเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น พบว่าความยาวคลื่นลดลงเป็น 3/5 เท่า ของเดิม จวหามุมวิกฤตมีค่าเท่าใด
30 องศา
37 องศา
45 องศา
60 องศา

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 5)
เมื่อคลื่นผิวน้ำเคลื่อนที่จากบริเวณน้ำลึกเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น โดยมีหน้าคลื่นขนานกับรอยต่อของน้ำลึกและน้ำตื้น ข้อความใดกล่าวถูกต้อง
ความถี่ลดลง
ความยาวคลื่นเปลี่ยนแปลง
อัตราเร็วคงที่
ทิศทางไม่เปลี่ยนแปลง

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 6)
คลื่นน้ำในถาดคลื่นมีอัตราเร็วในน้ำลึกเป็น 2 เท่า ของอัตราเร็วคลื่นในน้ำตื้น ถ้าเคลื่อนที่จากน้ำลึกไปสู่น้ำตื้น โดยทำมุมตกกระทบ 60 องศา จงหามุมหักเหของคลื่น
24.5 องศา
25. 66 องศา
28 องศา
30 องศา

แบบทดสอบ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ

ข้อที่ 1
1.กาลอากาศ หมายถึงอะไร
ก.อากาศทั้งหมดที่ห่อหุ้มโลกของเราไว้
ข.การเกิดลมพายุเนื่องจากจากเปลี่ยนแปลงความกดดันของอากาศ
ค.เกณฑ์เฉลี่ยของอากาศในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ในช่วงเวลาพอสมควร
ง.สภาวะของอากาศในที่แห่งใดแห่งหนึ่งในช่วงเวลาอันจำกัดซึ่งไม่ยาวนัก

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 2
2.ข้อใดไม่ใช่ ประโยชน์ของบรรยากาศที่หุ้มห่อโลก
ก.ช่วยกั้นรังสีคลื่นสั้น
ข.ช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลต
ค.ดูดกลืนและทำลายวัตถุที่พุ่งเข้าหาโลก
ง.ช่วยลดความร้อนให้แก่บรรยากาศบนโลก

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 3
3.ชั้นบรรยากาศของโลกไม่ฟุ้งกระจายออกไปสู่อวกาศเนื่องจากอะไร
ก.ชั้นโอโซนกั้นไว้
ข.เรือนกระจกกั้นไว้
ค.แรงดึงดูดของโลก
ง.แรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 4
4.ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณมากที่สุด คืออะไร
ก.ก๊าซอาร์กอน
ข.ก๊าซออกซิเจน
ค.ก๊าซไนโตรเจน
ง.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 5
5.ส่วนประกอบของอากาศในข้อใดมีสถานะเป็นของแข็ง
ก.อาร์กอน
ข.ออกซิเขน
ค.ไฮโดรเจน
ง.ฝุ่นละออง

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 6
6.บรรยากาศชั้นที่มีความแปรปรวนตลอดเวลา คือข้อใด
ก.เอกโซสเฟียร์
ข.โทรโพสเฟียร์
ค.สตราโตสเฟียร์
ง.ไอโอโนสเฟียร์

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 7
7.อุณหภูมิของอากาศบนยอดเขาเย็นกว่าที่เชิงเขาเพราะเหตุใด
ก.บนยอดเขามีเมฆมากกว่า
ข.บนยอดเขามีป่ามากกว่า
ค.บนยอดเขามีฝนตกชุกกว่า
ง.บนยอดเขาอยู่สูงจากผิวโลกมากกว่า

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 8
8.ข้อใดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความดันอากาศกับความหนาแน่นอากาศ
ก.ความดันมาก ความหนาแน่นมาก
ข.ความดันมาก ความหนาแน่นน้อย
ค.ความดันน้อย ความหนาแน่นมาก
ง.ความดันคงที่ ความหนาแน่นน้อย

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 9
9.เครื่องเขียนที่ใช้หลักของความกดอากาศ คืออะไร
ก.ดินสอ
ข.ชอล์ก
ค.พิมพ์ดีด
ง.ปากกาหมึกซึม

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อที่ 10
10.อากาศมวลขนาดหนึ่ง เมื่อเคลื่อนที่ตามแนวดิ่งสูงขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามข้อใด
ก.ปริมาตรลดลง อุณหภูมิลดลง
ข.ปริมาตรลดลง อุณหภูมิสูงขึ้น
ค.ปริมาตรเพิ่มขึ้น อุณหภูมิลดลง
ง.ปริมาตรเพิ่มขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
http://www.sci-educ.nfe.go.th/main/index.php
ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาตร์โลกและดาราศาสตร์
http://www.lesaproject.com/
เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศออนไลน์
http://www.gis2me.com/th/index.php
โครงการมหาวิทยาลัยพลังงานหาร 2
http://www.green.kmutt.ac.th/index2.html
ฟิสิกส์ ดิกชันนารี่
http://www.icphysics.com/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ภาควิชาฟิสิก
http://www.darasart.com/
http://www.darasart.com/
http://funscience.gistda.or.th/

ฟิสิกส์ใต้น้ำ

ฟิสิกส์ใต้น้ำ โดย นางสาวศศินัดดา สุวรรณโณ

การดำน้ำไม่มีความก้าวหน้านับเป็นพันปีเนื่องจากปราศจากความเข้าใจในวิชาสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ และปฏิกิริยาของร่างกายต่อสภาวะต่างๆ ใต้น้ำ กับวิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยแรงกดดัน หรือแรงที่กระทำบนตัวนักดำน้ำขณะอยู่ใต้น้ำ ผลของแรงกดดันต่อคุณสมบัติและพฤติกรรมของสสารในร่างกาย ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาความรู้ขึ้น การเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ของการดำน้ำอันเกี่ยวกับคุณสมบัติของสสาร (ของเหลวและก๊าซ) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้สภาวะต่างๆ รวมถึงวิชาสรีรวิทยาประยุกต์กับการดำน้ำจึงทำให้เข้าใจถึงการดำน้ำ และผลที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของร่างกายมนุษย์
ของเหลวมีน้ำหนักและปริมาณคงที่ แต่มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุไม่สามารถบีบอัดให้มีปริมาตรเล็กลงได้ ปริมาตรของของเหลวจึงไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความกดดันหรืออุณหภูมิ ในขณะที่ก๊าซทุกชนิดที่มีน้ำหนักต้องการที่อยู่ และไม่มีรูปร่างที่จำกัด สามารถบีบอัดให้มีปริมาตรเล็กลงได้ ในจำนวนก๊าซที่มีอยู่มากมาย มีเพียง ๓-๔ ชนิดเท่านั้นที่มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อนักดำน้ำ ได้แก่ ส่วนประกอบสำคัญของอากาศ ๒ ชนิดคือ ก๊าซออกซิเจนและ ก๊าซไนโตรเจน เมื่อหายใจนานเกินไปภายใต้ความกดดันที่เพิ่มขึ้นหรือใต้น้ำ ก๊าซทั้งสองชนิดจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เรียกว่า การเป็นพิษของออกซิเจน และการเมาไนโตรเจนก๊าซอีกชนิดที่มีความสำคัญต่อนักดำน้ำในขณะที่ความลึกของการดำเพิ่มขึ้นได้แก่ ก๊าซฮีเลียมเพราะเมื่อนำมาผสมกับก๊าซออกซิเจนในสัดส่วนที่พอเหมาะ จะทำให้เกิดอากาศเทียมซึ่งคล้ายอากาศปกติใต้น้ำ แต่มีความหนาแน่นน้อยกว่าและทำให้เกิดการมึนเมาน้อยกว่าเมื่อความกดดันเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีก๊าซอันตรายอีก ๒ชนิด ที่นักดำน้ำควรรู้จัก คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ก๊าซชนิดแรกเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการเผาผลาญของร่างกายตามปกติ แต่ถ้าปริมาณคาร์บอน-ไดออกไซด์เกิดมากเกินกว่าปกติก็จะเป็นอันตรายได้การหายใจของนักดำน้ำ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดอันตรายจากคาร์บอนไดออกไซด์มากผิดปกติได้ สำหรับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งเกิดจากไอเสียเครื่องยนต์ หรือเกิดในห้องที่ปิดที่มีสี หรือของที่เก็บไว้กำลังเสื่อมสภาพ ถ้าก๊าซชนิดนี้มีการปนเปื้อนในอากาศที่ใช้หายใจของนักดำน้ำ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติอย่างร้ายแรงจากภาวะการเป็นพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ ได้
โดยธรรมชาติ ในน้ำมีความกดดันสูงกว่าบนบก น้ำยิ่งลึกมากเท่าใดความกดดันก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ที่ระดับน้ำทะเลมีความกดดัน ๑บรรยากาศ และทุกๆ ๓๓ ฟุต (๑๐ เมตร) ลึกลงไปในน้ำ จะมีความกดดันเพิ่มขึ้น ๑ บรรยากาศและเมื่อดำน้ำลงไปที่ความลึกมากๆ การละลายของก๊าซที่หายใจก็ยิ่งมากขึ้น
สภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำใต้ทะเล มีธรรมชาติแตกต่างจากบนพื้นดินที่มนุษย์คุ้นเคย เมื่ออยู่ใต้น้ำ การทำงานของอวัยวะหลายอย่างผิดไปจากปกติ ไม่ว่าจะเป็นการทรงตัว การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวหรือแม้แต่การหายใจก็จะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากหากอยู่ใต้น้ำ ความจำกัดเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการกระทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขณะดำน้ำนอกเหนือจากความเสี่ยงต่อการจมน้ำ

ส่วนประกอบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


ส่วนประกอบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดย นายวิวัฒน์ พฤกษะวัน และ นายชาย ชีวะเกตุ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ

๑) อาคารปฏิกรณ์ ประกอบด้วย เครื่องปฏิกรณ์ เครื่องผลิตไอน้ำ เครื่องควบคุมความดัน ปั๊มน้ำระบายความร้อน อุปกรณ์อื่นๆ เช่น วัสดุกำบังรังสี ระบบควบคุมการเดินเครื่อง และระบบความปลอดภัยต่างๆ

๒) อาคารเสริมระบบปฏิกรณ์ ประกอบด้วย เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการเดินเครื่องปฏิกรณ์ อุปกรณ์ความปลอดภัย บ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว

๓) อาคารกังหันไอน้ำ ประกอบด้วย ชุดกังหันไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

๔) สถานีไฟฟ้าแรงสูง ประกอบด้วย ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงและอุปกรณ์ประกอบ

๕) อาคารฝึกหัดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย แบบจำลองสำหรับฝึกหัดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ทั้งสภาวะปกติและฉุกเฉิน

๖) อาคารระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ระบบอุปกรณ์/ข้อมูลสำหรับ การเดินเครื่องโรงไฟฟ้า

๗) หม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบด้วย หม้อแปลงไฟฟ้าหลัก และหม้อแปลงไฟฟ้าสำรองสำหรับการเดินเครื่อง

๘) อาคารอำนวยการ ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องทำงานต่างๆ ห้องประชุม

๙) อาคารสำนักงานและฝึกอบรม ประกอบด้วย ห้องทำงาน ห้องฝึกอบรม ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องอาหาร

๑๐) อาคารรักษาความปลอดภัย เป็นอาคารทางเข้าบริเวณโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือของระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ

๑๑) อาคารโรงสูบน้ำ เป็นอาคารที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติภายนอก เพื่อนำมาควบแน่นไอน้ำในระบบผลิตไอน้ำ ประกอบด้วย ชุดปั๊มน้ำ และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ

๑๒) ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และหอระบายความร้อน (ถ้าไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่)

อาคารปฏิกรณ์


[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

วิธีป้องกันฟ้าผ่า

วิธีป้องกันฟ้าผ่า

การป้องกันฟ้าผ่า หมายถึง การป้องกันมิให้เกิดอันตรายอันเนื่องมาจากฟ้าผ่า ซึ่ง เป็นผลมาจากความร้อน แรงกล และ ผลของไฟฟ้าฟ้าผ่ามักก่อให้เกิดความเสียหาย และ เป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ถ้าหากไม่มีการป้องกันหรือกระทำการป้องกันไม่ถูกวิธี

การป้องกันฟ้าผ่าอาคารและสิ่งก่อสร้างสูงเด่น

สิ่งก่อสร้างในที่โล่งหรือสูงเด่นกว่าสิ่งอื่นๆ ในบริเวณเดียวกันมักเป็นเป้าหมาย อย่างดี เมื่อตัดสินใจที่จะทำการป้องกันก่อนลงมือสร้าง การป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่า มิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง วิธีที่ปลอดภัยที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จักในปัจจุบัน คือ วิธีของฟาราเดย์ ส่วนประกอบของระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบฟาราเดย์

1) สายอากาศล่อฟ้า(Air termfinal)
2) สายนำลงดิน(Down conductor) 3)รากสายดิน(Earth electrode)

การป้องกันฟ้าผ่าคนและสัตว์

มี 2 แบบคือถูกลำฟ้าผ่าโดยตรงเมื่อคนหรือสัตว์อยู่ในที่โล่งแจ้งเป็น จุดเด่น หรือมา จากสปาร์คด้านข้างโดยที่ฟ้าผ่าลงต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้าง การป้องกันโดยอย่าอยู่ในที่โล่งขณะฝน ฟ้าคะนอง การพายเรือ หรืว่ายน้ำควรหลีกเลี่ยงการหลบฝนใต้ต้นไม้คสรห่างากต้นไม้ประมาณ 2 - 3 เมตร ทำตัวให้เตี้ยหรือติดพื้น หรือนอนทำตัวให้อยู่ในแนวรัศมีของต้นไม้ การหลบ หรือ หมที่กำบัง ขณะฝนฟ้าคะนอง ควรเลือกในที่มีระบบป้องกันฟ้าผ่า

ที่มา http://www.kmitl.ac.th/power/exhibit/light/light.html

การเกิดฟ้าผ่า

การเกิดฟ้าผ่า

รายละเอียด ของกระบวนการ กลไกการแยกของประจุที่แน่ชัด ถูกต้อง แท้จริงนั้น ตราบเท่าทุกวันนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แม้จะมีหลาย ทฤษฎีที่สร้างมาเพื่ออธิบาย ว่าฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้อย่างไรโดยสรุปจาก ทฤษฎีต่างๆนั้น จะอธิบายถึง ประจุอิสระสะสม ในก้อนเมฆนั้น เกิดจากการเสียดสี ระหว่าง กระแสลมของ พายุ กับ ละอองไอน้ำ หรือ ก้อนเมฆ ที่อยู่ภายในบรรยากาศ ทำให้ละอองน้ำ มีประจุเป็นลบ และ อากาศมีประจุบวก เมื่อกระแสลม พัดขึ้นสู่เบือ้งบน ทำให้ ส่วนบนของ ก้อนเมฆ มีประจุบวก ส่วนละอองน้ำ มีประจุลบ นั้น ถูกพัดพาขึ้นเบื้องบน กระทบกับ ความเย็นเบื้องสูง จึงกลั่นตัว จึงเคลื่อนลงสู่ส่วนล่าง ของก้อนเมฆ ทำให้ส่วนล่างของก้อนเมฆ มีประจุลบ ถ้าเกล็ดน้ำ มีน้ำหนักเกินที่อากาศ จะพยุงตัว ก็ตกลงสู่พื้นโลก การกระจายตัวของประจุบวก และ ประจุลบ ในก้อนเมฆ จะมีการเคลื่อนตัวตามกระแสลม ประจุที่สะสมอยู่ในก้อนเมฆ ซึ่งมีทั้งประจุบวกและ ลบจึงทำให้เกิดสนาม ไฟฟ้าขึ้นระหว่างกลุ่มประจุบวก กับประจุลบ หรือ ทำให้เกิดประจุเหนี่ยวนำขึ้น ที่พื้นโลก ความเครียดสนามไฟฟ้าสูงขึ้น เมื่อประจุสูงสะสมมากขึ้น ถ้าความเครียดสนามไฟฟ้า สูงขึ้นถึงค่าวิกฤต ทำให้เกิด การเบรคดาวน์ขึ้น ค่าความเครียดสนามไฟฟ้า

วิกฤตของอากาศ ที่สภาวะบรรยากาศ มีค่าประมาณ 25 -30 kV /cm แต่ในก้อนเมฆ ที่อยู่ระดับสูง เหนือพื้นโลก มีความดัดบรรยากาศต่ำ ความเครีดสนามไฟฟ้า วิกฤต ประมาณ 10 kV /cm ก็สูงพอ ที่จะ ทำให้เกิด การดีสชาร์ค ได้ ฉะนั้นเมื่อจุดใดๆ ในก้อนเมฆ มีความเครียด สนามไฟฟ้าถึงจุดนี้ ก็ เป็นจุดเริ่มต้น ของการเกิดฟ้าผ่า ประจุจาก ก้อนเมฆ จะดีสชาร์จลงสู่พื้นโลก ได้ด้วยความเร็ว ประมาณ 1 ใน 10 ของ ความเร็วแสง คือประมาณ 30,000 กิโลเมตร ต่อวินาทวินาที ประจุดีสชาร์ค ลงสู่พื้นโลก เป็นลำแสงจ้านี้ เรียกว่า "ลำฟ้าผ่า " (main stroke) และ มีกระแสมากมาย ไหลผ่าน ตามลำฟ้าผ่านี้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้น เรียกว่า "กระแสฟ้าผ่า"

ลักษณะฟ้าผ่าพื้นโลก

ลักษณะของฟ้าผ่าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นโลกอาจอธิบายได้ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ คือ

1) ฟ้าผ่าขึ้นหรือฟ้าผ่าลง
2) ขั้วของกระแสฟ้าผ่า เป็นบวกหรือเป็นลบ
3) รูปคลื่นกระแสฟ้าผ่า
4) ขนาดของกระแสฟ้าผ่า
5) จำนวนครั้งฟ้าผ่าต่อเนื่อง

ผลของฟ้าผ่า

ผลของฟ้าผ่าที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตราย อาจแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1) ความร้อนอันเป็นผลทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่สิ่งมีชีวิต
2) แรงกลหรือแรงระเบิด ฟ้าผ่าอาจทำให้เกิดแรงระเบิดได้มากมายเป็นผลทำให้สิ่งที่ถูกผ่าพังทะลาย
3) ผลทางไฟฟ้าเป็นอันตรายแก่ทั้งชีวิตคนและสัตว์

ฟ้าผ่า


ฟ้าผ่า

ฟ้าผ่า เป็นปรากฎการณ์ ที่เกิดขึ้นใน บรรยากาศ อันเกิดจากการคาย ประจุไฟฟ้า ที่สะสมในก้อนเมฆ เพียงแต่ การเกิดฟ้าผ่า ไม่ต้องมี แท่งตัวนำ การสะสมของประจุ ที่มีขั้วต่างกัน เป็นผลทำ ใหัเกิด สนามไฟฟ้า ระหว่างกลุ่มประจุเหล่านั้น เมื่อประจุ มีการสะสมจำนวนมาก ทำให้ความเครียด สนามไฟฟ้า เพิ่มสูงขึ้น เกินค่าความคงทน ของอากาศต่อแรงดันไฟฟ้า ทำให้เกิดการคายประจุขึ้น อัน เป็นจุดกำเนิดของการเกิด ฟ้าผ่าขึ้น การคายประจุ อาจเกิดขึ้น ระหว่างก้อนเมฆ หรือ ระหว่าง ก้อนเมฆ กับ พื้นโลก ซึ่งเรียก ปรากฏการณ์ นี้ว่า "ฟ้าผ่า" อันเป็นปรากฎการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับ ความเป็นไป ของชีวิตมนุษย์ บนโลกตลอดเวลา

ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1




--------------------------------------------------------------------------------
1. ในเซลล์พืชจะมีเม็ดกลมรีสีเขียวที่กระจายอยู่ คืออะไร
1. Vacuole
2. Ribosome
3. Leucoplast
4. Chloroplast

2. เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร
1. เซลล์พืชมีลักษณะกลมรี ส่วนเซลล์สัตว์มีลีกษณะเป็นเหลี่ยม
2. เซลล์พืชมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนเซลล์สัตว์เป็นทรงกลม
3. เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะเหมือนกันมาก
4. เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะรูปร่างนิวเคลียสที่แตกต่างกัน

3. โครงสร้างของเซลล์ใดทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสาร
1. ผนังเซลล์
2. เยื่อหุ้มเซลล์
3. เซลล์คุม
4. ไลโซโซม

4. เซลล์จะอยู่ในภาวะสมดุลเมื่อไร
1. เมื่อน้ำจากภายในเซลล์ออสโมซิสเข้า-ออกนอกเซลล์ในอัตราเดียวกัน
2. เมื่อน้ำภายนอกเซลล์ออสโมซิส เข้าสู่ภายในเซลล์
3. เมื่อน้ำภายในเซลล์ออสโมซิสออกนอกเซลล์
4. เมื่อน้ำไม่มีการแพร่

5. พืชใช้ส่วนใดในการคายน้ำ
1. เซลล์เม็ดเลือด
2. เซลล์ปากใบ
3. เซลล์วอลล์
4. เซลล์เม็มเบรนด์

6. ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงของพืชคืออะไร
1. คาร์โบไฮเดรต โปรตีน น้ำตาล
2. แป้ง กรดอะมิโน น้ำตาล
3. คาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาล
4. โปรตีน กรดเกลือ ไขมัน

7. ดอกไม้ที่มีองค์ประกอบครบส่วน เรียกว่า อะไร
1. ดอกครบส่วน
2. ดอกสมบูรณ์เพศ
3. ดอกไม่ครบส่วน
4. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ

8. ถ้านำถุงกระดาษแก้วใสบรรจุสารละลายคอปเปอร์ซันเฟตเข้มข้น 10% จุ่มลงในบิกเกอร์ที่มีสารละลายคอปเปอร์ซันเฟตเข้มข้น 20% ทิศทางการแพร่ของคอปเปอร์ซันเฟตจเป็นอย่างไร
1.สารละลายแพร่จากบิกเกอร์เข้าสู่กระดาษแก้ว
2.น้ำจะแพร่จากบิกเกอร์เข้าสู่กระดาษแก้ว
3.สารละลายจะแพร่ออกจากกระดาษแก้ว
4.สารละลายไม่มีการเคลื่อนที่

9. ข้อใดต่อไปนี้แสดงว่าพืชมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
1. การเบนเข้าหาแสงเเดด
2. การหุบ-บานของดอกไม้
3. การงอกของเมล็ดถั่วเขียว
4. ทุกข้อที่กล่าวมา

10.วิชาที่ว่าด้วยการปรับปรุงลักษณะของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการเรียกว่า ?
1. พันธุศาสตร์
2. พันธุวิศวกรรม
3. สัตวศาสตร์
4. สัตวแพทย์

11 ข้อใดต่อไปนี้ เป็นสารประกอบ
1. Ca
2. H2O
3. C
4. H

12. การกรองเป็นการแยกสารโดยวิธีใด
1. การแยกสารที่เป็นของแข็งออกจากของเหลว
2. เป็นการแยกสารที่ตัวถูกละลายเป็นของแข็งที่ไม่ละลายในของเหลว
3. การทำสารให้บริสุทธิ์
4. เป็นการแยกสารโดยใช้กับของแข็งที่ระเหยยาก

13. สารที่นำมาสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1. ระเหยยาก ละลายน้ำ
2. ระเหยยาก ไม่ละลายน้ำ
3. ระเหยง่าย ละลายน้ำ
4. ระเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ

14.ต๋อย ทำผงถ่านตกลงในข้าวสารที่บ้าน ต๋อยจะมีวิธีแยกผงถ่านออกจากข้าวสารโดยวิธีใด
1.การกรอง
2.การกลั่น
3.การระเหย
4.การตกผลึก

15.ข้อใดคือ ความหมายของสารละลาย
1.ของผสมที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
2.ของผสมที่เห็นเป็นเนื้อเดียวประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลาย
3.สารบริสุทธิ์ที่เกิดกจากการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
4.สารบริสุทธิ์ที่เกิดจาการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน


16.น้ำอัดลม มีอะไรเป็นตัวทำละลาย
1.น้ำ
2.ออกซิเจน
3.คาร์บอนไดออกไซด์
4.ไนโตรเจน

17.น้ำอัดลมเกิดจากน้ำตาล 100 cm3 , คาร์บอนไดออกไซด์ 120 cm3 กับน้ำ 500 cm3 และสารที่ทำให้เกิดสีและกลิ่นอีก 80 cm3 น้ำมีความเข้มข้นกี่เปอร์เซนต์ โดยปริมาตรต่อปริมาตร
1. 62.0
2. 62.5
3. 63.0
4. 63.5

18.สารประกอบหมายถึงอะไร
1. สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป โดยใช้อัตราส่วนที่คงที่
2. สารละลายที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป โดยใช้อัตราส่วนที่คงที่
3. สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป โดยใช้อัตราส่วนในการรวมตัวแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องคงที่
4. สารละลายที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป โดยใช้อัตราส่วนในการรวมตัวแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องคงที่

19.สารชนิดใดที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์กระเจิงของแสง
1.สารแขวนลอย
2.คอลลอยด์
3.สารละลาย
4.สารประกอบ

20.ข้อใดเป็นหลักการใช้สารที่ถูกต้อง
1.ศึกษาคุณสมบัติของสารนั้น ๆ ก่อนนำมาใช้
2.ปฏิบัติตามคำอธิบายวิธีใช้สารที่อยู่ในฉลาก อย่างเคร่งครัด
3.พิจารณาถึงคุณภาพของสาร
4.ทุกข้อที่กล่าวมา

21.การออกแรงดึงวัตถุทางซ้าย 50 นิวตัน และทางขวา 50 นิวตัน แรงลัพธ์มีค่าเท่าใด
1. 0
2. 15
3. 50
4. 100

22.จะต้องออกแรงเท่าใด จึงจะทำให้วัตถุมวล 12 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 3 เมตรต่อวินาที2 (กำหนดให้ค่า g= 10 m/s2)
1. 4 นิวตัน
2. 9 นิวตัน
3. 20 นิวตัน
4. 36 นิวตัน

23.วัตถุ 50 กิโลกรัม ถ้าต้องการให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่จะต้องออกแรงตามแนวราบอย่างน้อย 750 นิวตัน ถามว่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของพื้นกับวัตถุมีค่าเท่าใด (กำหนดให้ค่า g = 10 เมตรต่อวินาที )
1. 1.0
2. 1.5
3. 2.0
4. 2.5

24.มีแรงขนาด 50 นิวตันกระทำต่อวัตถุมวล 1 กิโลกรัม ไปทางทิศขวามือตามแนวราบ ขณะเดียวกันก็มีแรงขนาด 30 นิวตัน กระทำไปทางซ้ายมือ วัตถุจะเคลื่อนที่ไปทางใด และมีแรงลัพธ์เท่าใด
1. ทางขวา มีแรงลัพธ์ขนาด 20 นิวตัน
2. ทางขวา มีแรงลัพธ์ขนาด 50 นิวตัน
3. ทางซ้าย มีแรงลัพธ์ขนาด 20 นิวตัน
4. ทางซ้าย มีแรงลัพธ์ขนาด 50 นิวตัน

25. คานยาว 6 เมตร ซึ่งมีฐานรองรับที่จุดกึ่งกลาง วางวัตถุ 2 ก้อน ก้อนละ 2 และ 4 นิวตัน ทางซ้ายมือของฐานหรือจุดหมุน จงหาแรงที่ใช้กดที่ปลายคานทางด้านขวามือมีค่าเท่าไรที่จะทำให้คานอยู่ในแนวระดับ
1. มีค่า = 3 นิวตัน
2. มีค่า = 4 นิวตัน
3. มีค่า = 5 นิวตัน
4. มีค่า = 6 นิวตัน

26.การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไทล์ หมายถึง?
1.การเคลื่อนที่ในแนวตรง
2.การเคลื่อนที่เป็นวงกลม
3.การเคลื่อนที่ในแนวโค้ง
4.การเคลื่อนที่แบบเสรี

27.แรงที่กระทำขณะวัตถุเคลื่อนที่แนววงกลม คืออะไร
1.แรงสู่ศูนย์กลาง
2.แรงโน้มถ่วงของโลก
3.แรงหนีศูนย์กลาง
4.แรงหลุดพ้น

28.การออกแรง 15นิวตันผลักวัตถุให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอในระยะทาง 3เมตร งานที่เกิดเป็นกี่จูล
1. 15
2. 30
3. 45
4. 60

ใช้ตารางต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 29-30

แรงที่ใช้ยกวัตถุ คงที่
(นิวตัน) ความสูงที่ยกวัตถุขึ้น(เมตร) งานที่เกิดขึ้น(จูล)
10 1 10
2 20
3 30
4 40
5 50


29.การยกวัตถุขึ้นสูง 4 เมตร งานที่เกิดขึ้นเป็นกี่จูล
1. 10
2. 20
3. 30
4. 40

30.การออกแรงยกวัตถุ 10 นิวตัน ได้งาน 20 จูล แสดงว่าความสูงที่ยกวัตถุขึ้นได้เป็นกี่เมตร
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4

31. การที่น้ำที่มีปริมาตรมากสามารถกักเก็บความร้อนเอาไว้ได้มากว่าน้ำที่มีปริมาตรน้อย โดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิเท่ากัน ความสามารถดังกล่าว เรียกว่าอะไร
1.ความจุความร้อนจำเพาะ
2.การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
3.ความร้อนแฝงจำเพาะ
4.การดูดกลืนความร้อนจำเพาะ

32. การที่เรานำไข่ก่อนต้มไปวางบนขดลวดไข่จะลอดขดลวดมาได้ แต่เมื่อเรานำไข่ไปต้มให้สุกแล้ว นำไปวางบนขดลวด ไข่จะไม่สามารถลอดผ่านขดลวดได้ เนื่องจากไข่เกิดการขยายตัวใหญ่กว่าเดิม นักเรียนคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ไข่เกิดการขยายตัว
1. ความร้อน
2. ความหนาแน่น
3. ความดัน
4. สรุปไม่ได้

33.วัตถุ a มีอุณหภูมิสูงกว่าวัตถุ b การถ่ายเทความร้อนจะเป็นอย่างไร
1. วัตถุ a จะถ่ายเทพลังงานความร้อนไปยังวัตถุ b
2. วัตถุ b จะถ่ายเทพลังงานความร้อนไปยังวัตถุ a
3. วัตถุ a และ b ต่างก็ถ่ายโอนพลังงานความร้อนแก่กันและกัน
4. ไม่มีข้อใดถูก

34.การที่วัตถุ a มีการถ่ายโอนพลังงานความร้อนไปยังวัตถุ b เป็นเพราะอะไร
1. เพราะมีความดันมากกว่าจึงสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุ b ได้
2. เพราะมีความอุณหภูมิมากกว่าจึงสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุ b ได้
3. เพราะมีความหนาแน่นมากกว่าจึงสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุ b ได้
4. อธิบายไม่ได้

35 การถ่ายโอนพลังงานความร้อนจากวัตถุที่มีอุณหภูมิมากไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า เราเรียกว่าอะไร
1. การดูดความร้อน
2. การคายความร้อน
3. การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
4. การสืบทอดความร้อน

36. ถ้าไม่มีบรรยากาศ ห่อหุ้มโลกในเวลากลางวันจะมีอุณหภูมิ เท่าไร
1. 180 องศาเซลเซียส
2. 110 องศาเซลเซียส
3. -180 องศาเซลเซียส
4. -110 องศาเซลเซียส

37. ในบรรยากาศมีปริมาณก๊าซเฉื่อยกี่เปอร์เซ็นต์
1. 0.93
2. 0.01
3. 20.95
4.78.08


a. บรรยากาศ หมายถึง อากาศที่อยู่รอบตัวเราและภายในโลก
b. ถ้าไม่มีบรรยากาศแล้วอุณหภูมิตอนกลางวันจะสูงถึง 110 องศาเซลเซียส
c. บรยากาศช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต

38. จากคำกล่าวข้างต้นข้อใดถูกต้องที่สุด
1. ข้อ a และ b
2. ข้อ a และ c
3. ข้อ b และ c
4. ข้อ a,b และ c

39. ใช้ตารางต่อไปนี้ ตอบคำถาม แหล่ง
ปริมาณสารพิษ(ตัน/ปี)

ฝุ่นละออง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน
การคมนาคมขนส่ง 7515 47339 4065700 17952
โรงไฟฟ้า 96300 153087 2143 1054
อุตสาหกรรม 62701 106735 110212 6569
เกษตรกรรม 54022 36087 34666 1882
การบริการ 4221 2145 108397 1525
ครัวเรือน 67109 2997 4941 4942


สารพิษจากแหล่งใด มีปริมาณก๊าซซันเฟอร์ไดออกไซด์มากที่สุด
1. การคมนาคมขนส่ง
2. โรงไฟฟ้า
3. เกษตรกรรม
4. การบริการ

40.สารพิษจากแหล่งใดมีปริมาณฝุ่นละอองน้อยที่สุด
1.การคมนาคมขนส่ง
2.โรงไฟฟ้า
3.เกษตรกรรม
4.การบริการ

การเคลื่อนที่แบบต่างๆ

การเคลื่อนที่แบบต่างๆ


--------------------------------------------------------------------------------



ความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์กับการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ถ้าสังเกตการเคลื่อนที่ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันนั้นจะพบว่า วัตถุเคลื่นอที่ได้หล่ยรูปแบบบางครั้งก็เคลื่อนที่ในแนวตรง แนวโค้ง หรือแนวดิ่ง ดราทราบว่า ถ้าออกแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุและผลของแรงลัพธ์ไม่เท่ากับศูนย์ วัตถุจะเปลียนสภาพการเคลื่อนที่ตามแนวแรงนั้น แสดงว่าทิศของแรงที่กระทำต่อวัตถุมีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ

3.1 การเคลื่อนที่ในแนวตรง

จากความหมายของแรงที่ว่า เป็นอำนาจที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนจากวัตถุหยุดนิ่งเป็นการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนจากการเคลื่อนที่เป็นหยุดนิ่งก็ได้ นั่นแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นเป็นผลของแรงที่ไปกระทำ

ถ้าออกแรงกระทำต่อวัตถุให้เคลื่อนที่บนพื้นราบ โดยออกแรงในแนวแรงผ่านจุดศูนย์กลางมวล ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมมวลของวัตภถุทั้งก้อน ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นของมวลสม่ำเสมอ แล้วตรงตำแหน่งที่เส้นทะแยงมุมตัดกันจะเป้นจุดศูนย์กลางมวล วัตถุจะเคลื่อนที่อย่างไร ให้นักเรียนออกแรงผลักวัตถุบนพื้นราบดังภาพข้างล่างนี้ที่ตำแหน่งต่าง ๆ แล้วสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุ



จากการออกแรงกระทำต่อวัตถุในแนวพื้นราบโดยทิศของแรงผ่านจุดศูนย์กลางมวลจะพบว่า ทิศของแรงและทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุอยู่ในแนวเดียวกัน การเคลื่อนที่ของวัตถุมีทิศทางเดียวกันว่าการเคลื่อนที่แนวตรง หรือกล่าวว่าทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุจะไม่เปลี่ยน ถ้าทิศของแรงและทิศของการเคลื่อนที่อยู่ในทิศเดียวกัน

3.2 การเคลื่อนที่ในแนวโค้งและวงกลม

3.2.1 การเคลื่อนที่ในแนวโค้ง เราเรียกการเคลื่อนที่ในแนวโค้งอีกอย่างหนึ่งว่า การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ (Projectlie)การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์เป็นการเคลื่อนที่ใน 2 มิติ คือ เคลื่อนที่ในแนวระดับและและแนวดิ่งพร้อมกัน ในแนวดิ่งเป็นการเคลื่อนที่ที่ี่มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก (ซึ่งสม่ำเสมอในบริเวณที่ใกล้ผิวโลก) ในขณะที่การเคลื่อนที่ในแนวราบไม่มีความเร่งเพราะไม่มีแรงกระทำในแนวระดับ ทำให้เส้นทางการเคลือนที่เป็นแนวโค้ง

การเคลื่อนที่แนวโค้งของวัตถุนั้น มีแรงเกี่ยวข้องอยู่ 2 แรงคือ แรงที่จะทำใหลูกเหล็กตกลงมาตามแนวดิ่ง ซึ่งก็คือ แรงดึงดูดของโลก และแรงผลักวัตถุ

3.2.2 การเคลื่อนที่แบบวงกลม มีอัตราเร็วคงตัว นั่นคือ การเคลื่อนที่ที่้มีขนาดของความเร็วเท่าเดิม สม่ำเสมอแต่มีทิศเปลี่ยนไปทีละน้อย
เราอาจหาประสบการณ์การเคลื่อนที่แบบวงกลมจากการแกว่งวัตถุที่ปลายเชือกให้เป็นวงกลม เราจะรู้สึกว่า มือจะต้องใช้แรงดึงมากขึ้นเมื่อแกว่งให้เร็วขึ้นด้วย เราเรียกแรงที่กระทำต่อมือที่กำลังแกว่งจุกยางว่า แรงสู่ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นแรงที่ทำให้จุึกยางเคลื่อนที่อยู่ในอากาศได้ โดยไม่ทำให้จุกยางตกลงสู่พื้น และทิศของแรงสู่ศูนย์กลางจะตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของจุกยาง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ถ้าออกแรงในแนวแรงตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของวัตถุจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม

ประโยชน์ของการเคลื่อนที่แนวโค้งและวงกลม
ในชีวิตประจำวันเราจะพบเห้นการเคลื่อนที่ของวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ มากมายทั้งการเคลื่อนที่แนวตรง การเคลื่อนที่แนวโค้งหรือโปรเจ็กไตล์ หรือการเคลื่อนที่แนววงกลม เป็นต้น การเคลื่อนที่ดังกล่าว สามารถอธิบายโดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การที่ขับรถยนต์บนทางโค้งและสามารถเลี้ยวโค้งได้เพราะมีแรงเสียดทานระหว่างล้อรถกับพื้นถนน หากแรงเสียดทานน้อยเกิดไปก็ไม่สามารถเลี้ยวโค้งได้ ในการเลี้ยวรถที่มีความ่เร็วสูงเกินไป จะทำให้เกิด แรงหนีศูนย์กลาง ของรถทำให้แรงเสียดทานมีน้อย อาจทำให้รถหลุดโค้งเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นในการใช้รถใช้ถนนควรปฏิบัติตามกฏการจำกัดความเร็ว เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน

โมเมนต์ของแรง

2. โมเมนต์ของแรง


--------------------------------------------------------------------------------


2.1 ความหมายและหลักการของโมเมนต์
แรงเป็นสาเหตุที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ ถ้าออกแรงกระทำต่อวัตถุในตำแหน่งต่าง ๆ แรงถูกใช้ในกิรกรรมต่าง ๆ มากมายในชีวิตประจำวัน ถ้าสังเกตจะพบว่า ได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ หรือเครื่องมือมาช่วยในการผ่อนแรงและอำนวยความสะดวกมากมาย

เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุ แล้วทำให้วัตถเกิดการหมุนเรียกว่า การเกิดโมเมนต์ ซึ่งขนาดของโมเมนต์มีค่าเท่ากับผลคูณของแรงกับระยะทางที่ตั้งฉากกับจุดหมุน การหมุนของโมเมนต์มี 2 ชนิด คือ โมเมนต์หมุนตามเข็มนาฬิกาอยู่ทางซ้ายของจุดหมุน และโมเมนต์หมุนทวนเข็มนาฬิกาอยู่ทางขวาของจุดหมุน
เมื่อวัตถุอยู่ในสภาพสมดุลจะได้ว่าผลรวมขิงโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
หลักการของโมเมนต์จะเห็นว่าโมเมนต์สามารถผ่อนแรงได้ เมื่อวางวัตถุบนไม้เรียกว่า คาน
คานมีฐานรองรับบที่จุดหมุนทางด้านขวามือ ดังนั้นถ้าต้องการยกวัตถุก็ต้องออกแรงทางด้านซ้ายมือ และพบว่าถ้าต้องการให้คานผ่อนแรงมากที่สุด จะต้องออกแรงที่ตำแหน่งปลายสุดทางด้ารขวามือ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของโมเมนต์คงที่คือ เมื่อระยะห่างจากจุดหมุนมากแรงที่กระทำจะมีค่าน้อยหรือถ้าระยะห่างจากจุดหมุนร้อยแรงที่กกระทำจามีค่ามาก

2.2 โมเมนต์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

นักเรียนจะพบว่าในชีวิตประจำวัน ใช้หลักการของโมเมนต์หรือหลักการของคานมากมายในกิจกรรมต่างๆ
หลักการของคานเราใช้หลักการของโมเมนต์ซึ่งทำให้เราผ่อนแรงได้ นั่นคือแรงที่เราใช้ต้องน้อยกว่าแรงต้าน ซี่งแรงที่เราใช้ทำให้เกิดโมเมนต์ชนิดหนึ่ง และแรงต้านก็ทำให้เกิดโมเมนต์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งจุดหมุนไม่จำเป็นต้องอยู่ระหว่างโมเมนต์ทั้งสอง ยังคงทำมห้คานอยู่สภาวะสมดุล เช่น กรณีที่ต้องตัดกระดาษ เป็นต้น

เราจะเห็นแรงที่เราใช้หรือเรียกว่า แรงพยายาม และสิ่งที่จะตัดอยู่ด้ารเดียวกันซึ่งก็เป็นไปตามหลักของโมเมนต์ เมื่อคานอยู่มนสภาวะสมดุล นั่นคือ แรงต้านทานจะทำให้เกิดโมเมนต์ทวนและแรงพยายามจะทำให้เกิดโมเมนต์ตาม

2.3 การคำนวณโมเมนต์ของแรง

ตัวอย่างการคำนวณ

ตัวอย่างที่ 1 คานยาว 4 เมตร ซึ่งมีฐานรองที่จุดกึ่งกลาง วางวัตถุ 2 ก้อน ก้อนละ 2 และ 3 นิวตัน ทางซ้ายมือของจุดหมุน จงหาแรงที่ใช้กดที่ปลายคานทานด้านขวามือว่ามีค่าเท่าไรจึงจะทำให้คานอยู่ในแนวระดับ

วิธีทำ
เมื่อคานอยู่ในแนวระดับหรือสมดุลจะได้โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา จะเห็นว่าโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามี 2 โมเมนต์และโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกามี 1 โมเมนต์

แทนค่า ( 2 นิวตัน x 2 เมตร ) + ( 3 นิวตัน x 1เมตร) = แรงกด x 2 เมตร
จะได้แรงกด = 3.5 นิวตัน Ans...

ตัวอย่างที่ 2 เครื่องตัดกระดาษเครื่องหนึ่ง ด้ามจับห่างจากจุดหมุน 50 เซนติเมตร จะต้องออกแรงเท่าไร จึงสามารถตัดกระดาษที่ห่างจากจุดหมุน 10 เซนติเมตร ได้พอดี เมื่อแรงต้านของกระดาษมีค่า 50 นิวตัน

วิธีทำ

เมื่อคานอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้
โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
แรงพยายาม x ระยะห่างจากจุดหมุน = แรงต้าน x ระยะห่างจากจุดหมุน
แรงพยามยาม x 50 = 50 x 10
จะต้องออกแรง = 10 นิวตัน

แรงและการเคลื่อนที่

1.1 แรงและการเคลื่อนที่


--------------------------------------------------------------------------------
1.1 ความหมายของแรง >> 1.2 ปริมาณเว็กเตอร์และสเกลาร์ >> 1.3 ผลของแรงลัพธ์ >> 1.4 .แรงเสียดทาน

1.1 ความหมายของแรง
ตามความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป แรง (Force) คือ อำนาจหรือสิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการพยายามทำให้วัตถุเคลื่อนที่ และเมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ วัตถุอาจเคลื่อนที่หรือไม่เคลื่อนที่ก็ได้ เช่น การออกแรงตีกอล์ฟ หรือออกแรงเตะลูกฟุตบอล เป็นต้น้
แรงเป็นปริมาณเว็กเตอร์ นั่นคือ แรงเป็นปริมาณที่ต้องกำหนดขนาดและทิศจึงจะมีความชัดเจนที่สมบูรณ์



กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
กฏข้อที่ 1. วัตถุจะคงสภาพอยู่นิ่ง หรือสภาพเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวในแนวตรง นอกจากจะมีแรงลัพธ์ ซึ่งไม่มีค่าเป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุนั้น
กฏข้อที่ 2. เมื่อมีแรงลัพธ์ซึ่งขนาดไม่เป็นศูนย์ มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้เกิดความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำ และขนาดของความเร่ง จะแปลผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์ และจะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ
กฏข้อที่ 3. ทุกแรงกิริยา (Acction Force) จะต้องมีแรงปฏิกิริยา (Reaction Force) ที่มีขนาดเท่ากันและทิศทางตรงกันข้ามเสมอ

การวัดขนาดของแรง
เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมืออย่างง่ายในการวัดขนาดของแรง มีหน่วยเป็นนิวตัน (N) ในการใช้เครื่องชั่งสปริงผูกติดกับถุงทรายนั้นพบว่า ถุงทราย1 ถุง จะออกแรงดึงน้อยกว่า 2 ถุง และค่าที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริงของถุงทราย 1 ถุงจะน้อยกว่าถุงทราย 1 ถุง ดังนั้น การวัดขนาดของแรง โดยใช้เครือ่งชั่งสปริงซึ่งสามารถบอกขนาดของแรงเป็นปริมาณตัวเลข เช่น แรง 5 นิวตัน จึงเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่าการบอกเพีบงข้อมูลด้านความรู้สึก เช่น มากกว่าหรือน้อยกว่า

รู้ดี...ว่าเธอน่ะมันหลายใจ รู้ดี...เธอมีใคร

รู้ดี...ว่าเธอน่ะมันหลายใจ รู้ดี...เธอมีใคร
รู้ดี...ว่าเธอไม่แคร์กันเท่าไร ถูกเธอมอง...ข้ามไป

รู้ดี...ที่เธอบอกว่ารักกัน หรือเธอ...รักตัวเอง
กล้ำกลืน...น้ำตาให้ดูเหมือนว่าเก่ง แต่ตัวเอง...จะตาย

* หมดแรงหวัง หมดแรงท้อ หมดแรงตัดพ้อมันถอดใจ
ก็ตัวฉัน...ไม่เข้าใจ เธอเคยเห็นฉันมีค่ามั๊ย...

รู้ดี...ว่าคงต้องมีสักวัน ที่ฉันเองต้องทำใจ
รู้ดี...ว่าคงต้องเดินหนีไป ต้องตัดใจ...ให้ลืม


ใครมีเป็น MP3 บ้างคะ ขอหน่อย...^_^

เวอร์เนียร์คาลิเปอร์



ส่วนประกอบที่สำคัญของเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ มีดังนี้
ปากวัด A ใช้จับวัตถุที่ต้องการวัดขนาด เช่น ความหนา ความยาว เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของวัตถุ
ปากวัด B ใช้วัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของวัตถุ
แกน C ใช้วัดความลึกของวัตถุ
สเกลหลัก D เป็นสเกลที่เหมือนไม้บรรทัด เป็นสเกลที่อยู่กับที่ มักมี 2 หน่วยคือ เซนติเมตร (หรือมิลลิเมตร) และนิ้ว
สเกลเวอร์เนีย E เป็นสเกลที่ช่วยให้อ่านค่าได้ละเอียดขึ้น สเกลเวอร์เนียร์สามารถเลื่อนไปมาบนสเกลหลักได้
ปุ่ม F ติดอยู่กับสเกลเวอร์เนียร์ ใช้สำหรับเลื่อนสเกลเวอร์เนียร์
สกูร G ติดอยู่กับสเกลเวอร์เนียร์เช่นกัน ใช้ล็อกสเกลเวอร์เนียร์ให้ติดแน่นกับสเกลหลัก ทำให้สเกลเวอร์เนียร์ไม่ขยับขณะอ่านค่าการวัด

ค่า least count
เวอร์เนียร์คาลิเปอร์ (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เวอร์เนียร์) มีหลายรุ่น แต่มีรูปร่างคล้ายกัน ที่แตกต่างคือความละเอียดของการวัด ซึ่งจะหาได้จากสเกลเวอร์เนียร์ ดังนี้
สมมติเวอร์เนียร์อันหนึ่งมีจำนวนช่องสเกลเวอร์เนียรทั้งหมด n ช่วง เวอร์เนียร์อันนั้นจะอ่านค่าได้ละเอียด 1/n ของ 1 ช่องสเกลหลัก

ถ้าสเกลเวอร์เนียร์ของเวอร์เนียร์อันหนึ่งมีจำนวนช่องเท่ากับ 20 ช่อง และ 1 ช่องสเกลหลักเท่ากับ 1 mm ดังนั้นเวอร์เนียร์อันนี้จะอ่านได้ละเอียด 1/20 x 1mm เท่ากับ 0.05 mm ค่านี้เรียกว่า least count ของเวอร์เนียร์ ซึ่งเป็นค่าที่น้อยที่สุดหรือค่าละเอียดที่สุดที่เวอร์เนียร์อันนั้นวัดได้

ค่า least count มักจะพิมพ์ติดอยู่ที่สเกลเวอร์เนียร์ ถ้าเวอร์เนียร์อันใดไม่มีค่า least count ผู้ใช้ต้องหาก่อนทำการวัดเสมอ

เครื่องวัดความยาว

เครื่องมือที่ใช้วัดความยาวทั่ว ๆ ไป ได้แก่ ไม้บรรทัด หรือไม้เมตร เครื่องวัดทั้งสองนี้ จะวัดได้ละเอียดเพียง 0.1 เซนติเมตรเท่านั้น และค่าที่วัดได้อาจมีเศษของช่องสเกลซึ่งต้องประมาณด้วยสายตา แล้วจึงทำการบันทึกผลการวัด ในการวัดความยาว ยังมีเครื่องมือที่วัดได้ละเอียดกว่าไม้เมตร และไม้บรรทัด ได้แก่

เวอร์เนียร์คาลิเปอร์ (vernier caliper)
ส่วนประกอบ
การใช้
การบันทึกค่าการวัด
ไมโครมิเตอร์ (micrometer)
ส่วนประกอบ
การบันทึกค่าการวัด

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้

สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น

ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีประโยชน์มากในการสื่อสารและโทรคมนาคม และทางการแพทย์

สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

1. ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่

2. อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 3x108m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง

3. เป็นคลื่นตามขวาง

4. ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง

5. ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร

6. ไม่มีประจุไฟฟ้า

7. คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้

1. คลื่นวิทยุ

คลื่นวิทยุมีความถี่ช่วง 104 - 109 Hz( เฮิรตซ์ ) ใช้ในการสื่อสาร คลื่นวิทยุมีการส่งสัญญาณ 2 ระบบคือ

1.1 ระบบเอเอ็ม (A.M. = amplitude modulation)

ระบบเอเอ็ม มีช่วงความถี่ 530 - 1600 kHz( กิโลเฮิรตซ์ ) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้าไปกับคลื่นวิทยุเรียกว่า "คลื่นพาหะ" โดยแอมพลิจูดของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง

ในการส่งคลื่นระบบ A.M. สามารถส่งคลื่นได้ทั้งคลื่นดินเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงขนานกับผิวโลกและคลื่นฟ้าโดยคลื่นจะไปสะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วสะท้อนกลับลงมา จึงไม่ต้องใช้สายอากาศตั้งสูงรับ

1.2 ระบบเอฟเอ็ม (F.M. = frequency modulation)

ระบบเอฟเอ็ม มีช่วงความถี่ 88 - 108 MHz (เมกะเฮิรตซ์) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้ากับคลื่นพาหะ โดยความถี่ของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง

ในการส่งคลื่นระบบ F.M. ส่งคลื่นได้เฉพาะคลื่นดินอย่างเดียว ถ้าต้องการส่งให้คลุมพื้นที่ต้องมีสถานีถ่ายทอดและเครื่องรับต้องตั้งเสาอากาศสูง ๆ รับ

2. คลื่นโทรทัศน์และไมโครเวฟ

คลื่นโทรทัศน์และไมโครเวฟมีความถี่ช่วง 108 - 1012 Hz มีประโยชน์ในการสื่อสาร แต่จะไม่สะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แต่จะทะลุผ่านชั้นบรรยากาศไปนอกโลก ในการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์จะต้องมีสถานีถ่ายทอดเป็นระยะ ๆ เพราะสัญญาณเดินทางเป็นเส้นตรง และผิวโลกมีความโค้ง ดังนั้นสัญญาณจึงไปได้ไกลสุดเพียงประมาณ 80 กิโลเมตรบนผิวโลก อาจใช้ไมโครเวฟนำสัญญาณจากสถานีส่งไปยังดาวเทียม แล้วให้ดาวเทียมนำสัญญาณส่งต่อไปยังสถานีรับที่อยู่ไกล ๆ

เนื่องจากไมโครเวฟจะสะท้อนกับผิวโลหะได้ดี จึงนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจหาตำแหน่งของอากาศยาน เรียกอุปกรณ์ดังกล่าวว่า เรดาร์ โดยส่งสัญญาณไมโครเวฟออกไปกระทบอากาศยาน และรับคลื่นที่สะท้อนกลับจากอากาศยาน ทำให้ทราบระยะห่างระหว่างอากาศยานกับแหล่งส่งสัญญาณไมโครเวฟได้

3. รังสีอินฟาเรด (infrared rays)

รังสีอินฟาเรดมีช่วงความถี่ 1011 - 1014 Hz หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 10-3 - 10-6 เมตร ซึ่งมีช่วงความถี่คาบเกี่ยวกับไมโครเวฟ รังสีอินฟาเรดสามารถใช้กับฟิล์มถ่ายรูปบางชนิดได้ และใช้เป็นการควบคุมระยะไกลหรือรีโมทคอนโทรลกับเครื่องรับโทรทัศน์ได้

4. แสง (light)

แสงมีช่วงความถี่ 1014Hz หรือความยาวคลื่น 4x10-7 - 7x10-7 เมตร เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ประสาทตาของมนุษย์รับได้ สเปคตรัมของแสงสามารถแยกได้ดังนี้

สี
ความยาวคลื่น (nm)

ม่วง
380-450

น้ำเงิน
450-500

เขียว
500-570

เหลือง
570-590

แสด
590-610

แดง
610-760



5. รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet rays)

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสีเหนือม่วง มีความถี่ช่วง 1015 - 1018 Hz เป็นรังสีตามธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้เกิดประจุอิสระและไอออนในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ รังสีอัลตราไวโอเลต สามารถทำให้เชื้อโรคบางชนิดตายได้ แต่มีอันตรายต่อผิวหนังและตาคน

6. รังสีเอกซ์ (X-rays)

รังสีเอกซ์ มีความถี่ช่วง 1016 - 1022 Hz มีความยาวคลื่นระหว่าง 10-8 - 10-13 เมตร ซึ่งสามารถทะลุสิ่งกีดขวางหนา ๆ ได้ หลักการสร้างรังสีเอกซ์คือ การเปลี่ยนความเร็วของอิเล็กตรอน มีประโยชน์ทางการแพทย์ในการตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย ในวงการอุตสาหกรรมใช้ในการตรวจหารอยร้าวภายในชิ้นส่วนโลหะขนาดใหญ่ ใช้ตรวจหาอาวุธปืนหรือระเบิดในกระเป๋าเดินทาง และศึกษาการจัดเรียงตัวของอะตอมในผลึก

7. รังสีแกมมา ( -rays)

รังสีแกมมามีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้ามีความถี่สูงกว่ารังสีเอกซ์ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์และสามารถกระตุ้นปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ มีอำนาจทะลุทะลวงสูง


--------------------------------------------------------------------------------



คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation)
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นรูปแบบหนึ่งการถ่ายเทพลังงาน จากแหล่งที่มีพลังงานสูงแผ่รังสีออกไปรอบๆ โดยมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ ความยาวคลื่น (l) โดยอาจวัดเป็น nanometer (nm) หรือ micrometer (mm) และ ความถี่คลื่น (f) ซึ่งจะวัดเป็น hertz (Hz) โดยคุณสมบัติทั้งสองมีความสัมพันธ์ผ่านค่าความเร็วแสง ในรูป c = fl






พลังงานของคลื่น พิจารณาเป็นความเข้มของกำลังงาน หรือฟลักซ์ของการแผ่รังสี (มีหน่วยเป็น พลังงานต่อหน่วยเวลาต่อหน่วยพื้นที่ = Joule s-1 m-2 = watt m-2) ซึ่งอาจวัดจากความเข้มที่เปล่งออกมา (radiance) หรือความเข้มที่ตกกระทบ (irradiance)










จากภาพเป็นการแสดงช่วงความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเครื่องมือวัด (Sensor) ของดาวเทียมหรืออุปกรณ์ตรวจวัดจะออกแบบมาให้เหมาะสมกับช่วงความยาวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นต่างกัน เช่น

ช่วงรังสีแกมมา (gamma ray : l < 0.1 nm) และช่วงรังสีเอ็กซ์ (x-ray : 0.1 nm < l < 300 nm) เป็นช่วงที่มีพลังงานสูง แผ่รังสีจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ หรือจากสารกัมมันตรังสี
ช่วงอัลตราไวโอเลต เป็นช่วงที่มีพลังงานสูง เป็นอันตรายต่อเซลสิ่งมีชีวิต
ช่วงคลื่นแสง เป็นช่วงคลื่นที่ตามนุษย์รับรู้ได้ ประกอบด้วยแสงสีม่วง ไล่ลงมาจนถึงแสงสีแดง
ช่วงอินฟราเรด เป็นช่วงคลื่นที่มีพลังงานต่ำ ตามนุษย์มองไม่เห็น จำแนกออกเป็น อินฟราเรดคลื่นสั้น และอินฟราเรดคลื่นความร้อน

อนุภาคอัลฟา



Democritus นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมือง Abdera ในประเทศกรีซ เมื่อ 2460 ก่อนได้เคยพยายามทำอัตวินิบาตกรรมด้วยการอดอาหาร แต่แผนทำลายชีวิตของเขาต้องประสบความล้มเหลว เมื่อเขาได้กลิ่นขนมปังร้อน ๆ ทำให้รู้สึกหิวและเกิดความหวังที่จะมีชีวิต อยู่ต่อไป เขาได้ตั้งคำถามที่สำคัญมากกว่ากลิ่นขนมปัง โชยมาสู่จมูกเขาได้อย่างไร

หลังจากที่ได้นึกคิดหาคำตอบเป็นเวลานาน Democritus ก็ได้ตั้งสมมติฐาน ขึ้นมาว่าสสารทุกชนิดในจักรวาล ประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า อะตอม (atom) อันเป็นคำในภาษากรีกที่แปลว่าแยกไม่ได้ และอะตอมของขนมปังนี้เองที่ได้หลุดหายไปในอากาศ โชยมาสู่จมูกเขา

อันความคิดที่ว่า มนุษย์เราไม่สามารถแบ่งแยกอะตอมได้อีกแล้ว ได้เป็นความรู้ ที่ผู้คนพากันเชื่อมั่นและถือมั่นเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี

จนกระทั่ง E.Rutherford ได้ทดลองยิงอนุภาคอัลฟา (alpha) ผ่านแผ่นทองคำเปลวบาง ๆ แล้วได้ข้อสรุปว่า อะตอมประกอบด้วยส่วนที่เป็นแกนกลาง ซึ่งเรียกว่านิวเคลียส (nucleus) และอิเล็กตรอน (electron) ที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียส โลกจะรู้ว่าอะตอมนั้นจริงๆ แล้วแบ่งแยกได้ !

เมื่อวิทยาศาสตร์ได้วิวัฒนาการขึ้นเราก็มีความรู้เพิ่มขึ้น ๆ ว่า นิวเคลียสของอะตอมยังประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กลงไปอีก คือโปรตอน(proton) ที่มีประจุบวกและนิวตรอน(neutron) ที่เป็นกลาง คือไม่มีประจุบวกหรือลบใด ๆ

หลังจากที่ได้มีการพบนิวตรอนแล้วเป็นเวลานานร่วม 40 ปีที่คนส่วนมากคิดว่าโปรตอนและนิวตรอนเป็นอนุภาค ที่เล็กที่สุดของ สสาร แต่ในปี พ.ส. 2503 นั่นเอง J.Friedman , H. Kendall และ R. Taylor ได้ใช้เครื่องเร่งอนุภาค (accelerator) ยิงอิเล็กตรอนพลังงานสูงให้พุ่งชนโปรตอน ผลการทดลองของเขาทั้งสาม ได้แสดงให้เรารู้ลึกล่วงไปอีกระดับหนึ่งว่า โปรตอนนั้นยังประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กกว่าลงไปอีก คือ ควาร์ก(quark)

“ทายนิสัยจากแบบทดสอบ”

“ทายนิสัยจากแบบทดสอบ”
ของเก๊หรือของจริง !!!

ส่วนสำคัญของนิตยสารสำหรับวัยรุ่น ที่วัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงจะต้องเปิดดูเป็นอันดับแรก ได้แก่ ส่วนที่มีการนำแบบทดสอบทางจิตวิทยาต่าง ๆ มาให้ลองทำ และให้คิดคะแนนเพื่อให้รู้ว่าตนเองเป็นคนเช่นไร ทั้งดูจากกลุ่มเลือด การตอบคำถามไม่กี่ข้อ อาหารที่ชอบ หรือแม้แต่สีของชุดชั้นในที่ชอบ
นอกจากแบบทดสอบทำนองนี้จะเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นหญิงชาวญี่ปุ่นแล้ว กลุ่มผู้วิจัยชาวญี่ปุ่น นำโดย Dr. Sakamoto จากมหาวิทยาลัย Ochanomizu กรุงโตเกียว ยังชี้ว่าความนิยมกำลังแพร่หลายไปในหมู่วัยรุ่นเกาหลี ไต้หวัน และฮ่องกงด้วย เพราะความสนุกสนานที่ได้ทำแบบทดสอบ แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความตรงของการวัดลักษณะที่แบบทดสอบอ้างถึงว่าจะเชื่อถือได้มากเพียงใด ซึ่งเรื่องนี้ถึงขนาดเป็นปัญหาที่นักวิชาการต้องนำมานั่งถกกันเลยทีเดียว แต่พวกที่ชอบทำแบบทดสอบพวกนี้ก็มักจะอ้างว่า ไม่มีใครไปจริงจังกับผลหรือคำทำนายที่ออกมา ที่ทำก็เพราะมันสนุกดี และคิดว่าคำทำนายที่ได้จากแบบทดสอบทางจิตวิทยาลักษณะนี้ไม่ได้มีผลอะไรกับตนเอง
แต่ความจริงจะเป็นดังคำกล่าวนี้หรือไม่…
Dr. Sakamoto และคณะ จึงได้จัดการทดลอง เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของแบบทดสอบทางจิตวิทยาที่เป็นที่นิยมของวัยรุ่น ที่มีต่อภาพลักษณ์ที่วัยรุ่นมีต่อตนเองหลังจากทำแบบทดสอบ และแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมไปตามคำแปลผลแบบทดสอบนั้น ๆ
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า คำแปลผลจากแบบทดสอบมีผลต่อความเชื่อของผู้ตอบว่าตนเองมีลักษณะนิสัยแบบใด โดยเฉพาะแบบทดสอบทางจิตวิทยายอดนิยม ที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ต่อตนเองของวัยรุ่นมากกว่าแบบทดสอบตามหลักวิชาการ นั่นคือทำให้ผู้ตอบเชื่อว่าตนเองมีลักษณะตามคำแปลผลได้มากกว่า แต่ในทาง พฤติกรรมนั้น แบบทดสอบทั้ง 2 แบบให้ผลพอ ๆ กัน นั่นคือทำให้ผู้ตอบที่เข้าใจว่าตนเองเป็นคนชอบเข้าสังคม พูดคุยกับคนแปลกหน้าบ่อยกว่าคนที่เข้าใจว่าตนเองเป็นคนชอบเก็บตัว และผู้ตอบที่ได้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยายอดนิยม ยังระบุว่าตนเอง พึงพอใจและมีความสุขมากกว่าคนที่ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาตามหลักวิชาการด้วย
ผลการทดลองที่ได้นี้ Dr. Sakamoto และคณะผู้วิจัยสรุปว่า เกิดปรากฏการณ์ความคาดหวังสร้างความจริง หรือ Self-fulfilling prophecy ขึ้น นั่นคือคำแปลผลหรือคำทำนายของแบบทดสอบทำให้ผู้ตอบรับรู้ตนเอง และมีพฤติกรรมไปตามที่แบบทดสอบบอก ทำให้คำทำนายของแบบทดสอบที่อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย กลายเป็นจริงขึ้นมาในตัวผู้ตอบ กลุ่มผู้วิจัยจึงระบุว่า “แบบทดสอบทางจิตวิทยาแบบยอดนิยมนั้นมี อิทธิพลต่อคนตอบ จึงเป็นมากกว่า “แค่ความสนุก” เท่านั้น ลักษณะการสร้างความเป็นจริงขึ้นในตัวผู้ตอบแบบทดสอบเหล่านี้ ทำให้แบบทดสอบดูน่าเชื่อถือและเป็นที่นิยมมากขึ้นไปอีก แต่เมื่อพิจารณาความตรงของแบบทดสอบ ก็เห็นว่ายังคงน่าสงสัย จึงสมควรเตือนคนทั่วไปเกี่ยวกับแบบทดสอบเหล่านี้”
ดังนั้น แบบทดสอบของเก๊ก็อาจกลายเป็น “ของจริง” ที่ตรงกับความจริงได้ อย่างน้อยสำหรับตัวผู้ตอบ …
วัยรุ่นไทยทั้งหลายที่ชอบทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาตามนิตยสาร จึงต้องยั้งใจเอาไว้บ้าง เพราะถ้าไปเจอแบบทดสอบของเก๊ เราก็อาจจะกลายเป็น “คนหลายใจ” (ตามคำทำนาย) ไปจริง ๆ เพราะแค่ตอบคำถามที่ใครก็ไม่รู้นั่งเทียนเขียนขึ้นเองค่ะ …

บทความวิจัย : Sakamoto, A., Miura, S., Sakamoto, K., & Mori, T. (2000). Popular psychological tests and self-fulfilling prophecy: An experiment of Japanese female undergraduate students. Asian Journal of Social Psychology, 3, 107-124.
แปลและเรียบเรียง : อาจารย์ วัชราภรณ์ เพ่งจิตต์ หลักสูตรสาขาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แบบฝึกหัดการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์

แบบฝึกหัดการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์
1.ยิงโปรเจกไทล์จากผิวโลกสู่ชั้นบรรยากาศ เหนือผิวโลก หากต้องการให้ได้ระยะพิสัยมากที่สุดต้องให้มุมเป็นเป็นเท่าไร
1.45องศา 2.น้อยกว่า45 3.มากว่า45 4.ไม่มีข้อถูก
2.ผูกลูกกอล์ฟมวล100กรัม เข้ากับปลายเชือกแล้วแกว่งเชือกให้ลูกกอล์ฟเคื่อนที่เป็นวงกลมในแนวดิ่งรัศมี40ซม.ถ้าตำแหน่งที่ผ่านจุดสูงสุดนั้นเชือกมีแรงตึงเป็นศูนย์ จงหาว่าขณะที่ลูกกอล์ฟผ่านจุดต่ำสุดนั้น เชือกมีแรงตึงกี่นิวตัน
1.3 2.4 3.5 4.6
3.ชายคนหนึ่งยืนสูงจากตึก15เมตร จากพื้น ขว้างลูกบอลออกไปทำมุม30องศากับแนวระดับด้วยความเร็ว20เมตรต่อวินาทีถามว่าลูกบอลตกลงพื้นดินห่างจากจุดขว้างในแนวระดับกี่เมตรกำหนดให้ g มีค่า 10 เมตรต่อวินาที

4.แขวนมวล2กิโลกรัมกับสปริง ทำให้มวลสปริงยืดออก0.25เมตร ถ้าออกแรงดึงสปริงให้ยืดออกเพิ่มขึ้นอีก0.10เมตรแล้วปล่อย สปริงจะใช้เวลากี่วินาทีจึงจะกลับไปสู่ตำแหน่งสมดุล
1.0.25วินาที 2.0.5วินาที 3.1วินาที 4.2วินาที
5.เครื่องบินทิ้งระเบิดลำหนึ่งบินขนานกับพื้นราบและอยู่สูงจากพื้นราบนี้เป็นระยะ144เมตรนักบินค่อยๆ ปล่อยลูกระเบิดออกมาทีละลูกในระยะเวลาที่ห่างเท่ากัน ถ้าหากในขณะที่ระเบิดลูกแรกตกถึงพื้นราบ ปรากฎว่าลูกระเบิดลูกที่สองตกลงบนหลังคาตึกและลูกระเบิดลูกที่เจ็ดกำลังถูกปล่อยออกจากเครื่องบินพอดี จงหาว่าหลังคาอยู่สูงจากพื้นราบกี่เมตร

ดาวกะพริบแวววาวได้อย่างไร

ดาวกะพริบแวววาวได้อย่างไร ยามค่ำคืน เดือนมืด น้อง ๆ คงมองเห็นดวงดาวส่องแสงระยิบระยับบนท้องฟ้า ส่วนดาวที่กะพริบวิบวับนั้นก็คือ ดาวฤกษ์ ไงล่ะจ๊ะ
ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงในตัวเองและการที่เห็นเป็นแสงกะพริบระยิบระยับนั้นก็เพราะลำแสงจากดวงดาวต้องเดินทางผ่านชั้นของบรรยากาศที่ไม่สม่ำเสมอ และเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทำให้เมื่อเวลาดูดาวบนท้องฟ้าจะเห็นเป็นแสงกะพริบไปมา แสงสว่างของดาวฤกษ์ที่มองจากโลกขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 สิ่ง คือ ปริมาณความร้อน ระยะห่างจากโลก และขนาดของดาวฤกษ์นั่นเอง
ส่วนดาวเคราะห์ จะส่องแสงสว่างสม่ำเสมอไม่กะพริบ ดาวเคราะห์นั้นใกล้โลกเรามากกว่าดาวฤกษ์ แต่แสงที่ส่องออกมาจากดาวเคราะห์มีหลายลำแสง เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศก็เกิดการหักเหของลำแสงแต่ละลำมาตัดกัน ผลรวมของลำแสงที่ส่องมาจึงสม่ำเสมอกว่าลำแสงของดาวฤกษ์...


--------------------------------------------------------------------------------

กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน

วัตถุจะรักษาสภาพนิ่งหรือเคลื่อนที่สม่ำเสมอในแนวตรงนอกจากจะมีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำจะได้สมการการเคลื่อนที่เป็น
บางครั้งเรียกว่า กฏแห่งความเฉื่อย



ถ้ามีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในทิศทางเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำขนาดของความเร่งจะแปรโดยตรงกับแรงลัพธ์ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุนั้นจะได้ สมการของการเคลื่อนที่เป็น



เมื่อมีแรงกิริยา ย่อมมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากัและมิทศทางตรงกันข้ามเรียกแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาคู่ใด ๆ ว่า แรงคู่ปฏิกิริยา แรงคู่ปฏิกิริยาใดมีสมบัติ 4 ประการคือ
เกิดขึ้นพร้อมกัน
มีขนาดเท่ากัน
ทำซึ่งกันและกัน


แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravitational force : ) คือแรงที่โลกกระทำต่อมวลของวัตถุ ทำให้ วัตถุมีน้ำหนัก โดยที่ หรือ

แรงตึงในเส้นเชือก (Tension force ) คือแรงที่เกิดขึ้นในเส้นเชือกที่ถูกขึงตึง โดยที่ ในเส้นเชือกเดียวกันย่อมมีแรงตึงเท่ากันทุกจุด และทิศทางของแรงตึง มีทิศทางอยู่ในแนวของเส้นเชือก
แรงต้านของอากาศ (Air resistance force) คือแรงที่อากาศต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุแรงต้านของอากาศจะมีขนาดแปรโดยตรงกับอัตราเร็วของวัตถุยกกำลังต่าง ๆ และมีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
แรงหนืด (Viscosity force) คือแรงที่ ของเหลวต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ สำหรับวัตถุทรงกลม รัศมี r เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v ในของเหลวหรือก๊าซ ที่มีความหนืด
แรงเสียดทาน (Friction force ) คือแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ เกิดขึ้น ระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ กับพื้นผิวใด ๆ มี 2 ประเภทคือ
แรงเสียดทานสถิต (Static friction : ) เกิดขึ้นในวัตถุที่หยุดนิ่ง ในขณะที่วัตถุเริ่มเคลื่อนที่ แรงเสียดทานสถิต จะมีค่าสูงสุดเรียกว่า starting friction or limiting friction
แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic friction : ) เกิดขึ้นในวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
sliding friction เกิดจากการไถลของวัตถุชนิดหนึ่งบนวัตถุอีกชนิดหนึ่ง
rolling friction เกิดจากการกลิ้งไปของวัตถุชนิดหนึ่งบนวัตถุอีกชนิดหนึ่ง


มีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ผิวสัมผัส
ขนาดของแรงขึ้นกับชนิดของคู่ผิวสัมผัสนั้น ๆ
ขนาดของแรงไม่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวสัมผัสหรือรูปร่างของวัตถุในระหว่างผิวสัมผัสคู่ใด ๆ
ขนาดของแรงเสียดทานจะแปรผกผันกับแรงปฏิกิริยาที่ตั้งฉากกับผิวสัมผัส

คือ อัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่อแรงปฏิกิริยาที่ตั้งฉากกับผิวสัมผัส มี 2 ชนิด
สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานสถิต
สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจลน์


เป็นอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่อแรงปฏิกิริยา
ไม่ขึ้นกับขนาดของพื้นที่ผิวสัมผัส
ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุที่เป็นคู่ผิวสัมผัส
ขึ้นกับลักษณะของคู่ผิวสัมผัส
ขึ้นกับอุณหภูมิของผิวสัมผัส ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจะลดลง

--------------------------------------------------------------------------------
โดย ปรีชา โสมะภีร์ โรงเรียนบางปลาม้า"สูงสุมารผดุงวิทย์"
อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
และสำนักบริการคอมพิวเตอร์
Email:PreechaSo@thaimail.com

รู้จักใช้ไฟฟ้าให้คุ้มค่า


ก่อนที่จะมาทำความรู้จักับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆเราต้องทำความรู้จักกับหน่วยไฟฟ้าที่ใช้วัดปริมาณ
กระแสไฟฟ้าเพื่อสะดวกในการทำความรู้จักกับการใช้ไฟฟ้าให้คุ้มค่าท่านสามารถลดค่าไฟฟ้าประจำ
เดือนและลดพลังงานไฟฟ้าได้โดยที่ยังใช้ประโยชน์จากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่มีอยู่ได้เหมือนเดิมด้วย
การปฎิบัติตามข้อแนะนำการใช้เครื่องไฟฟ้าดังต่อไปนี้
ไฟฟ้าและแสงสว่าง
พัดลม
เครื่องรับโทรทัศน์
เครื่องเป่าผม
ืื เตารีดผ้า
หม้อชงกาแฟ
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
ตู้เย็น
เครื่องทำน้ำร้อน
เครื่องปรับอากาศ
เครื่องซักผ้า

บรรยากาศ...น่าเป็นห่วง

บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกเป็นบรรยากาศแห่งความมีชีวิต
เป็นบรรยากาศที่เกื้อหนุนให้เกิดสิ่งมีชีวิตและให้
สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นดำเนินชีวิตต่อไปได้
แต่บรรยากาศกำลังถูกทำลายด้วยน้ำมือของเราเอง




พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย

พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ชาวผรั่งเศสชื่อ อังรีเบกเคอเรล ได้ค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อ พ.ศ. 2439 แต่คนทั่วไปเริ่มรู้จักพลังงานนิวเคลียร์หลังจากที่มีการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2488 ในช่วงปลายสงครามโลก ครั้งที่สอง มีผลทำให้สงครามโลกครั้งที่สองยุติ แต่ผลของระเบิดปรมาณูในครั้งนั้นได้ทำลายชีวิติมนุษย์ไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นอกจากนี้ กัมมันตภาพรังสี ที่เกิดขึ้นจากการระเบิดยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและมีผลต่อผู้รอดชีวิตในระยะยาวอีกด้วย

หลังจากที่มนุษย์ได้รู้ถึงอำนาจทำลายของระเบิดปรมาณูแล้ว จึงได้ค้นคว้าวิจัย เพื่อนำพลังงานนิวเคลียร์ มาใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ จนในปัจจุบัน มีหลายประเทศ นำพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม จนปัจจุบันนิวเคลียร์ได้เข้าไป มีบทบาท ในชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกที แต่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ สินค้าบางชนิด เช่น กระดาษ ปูนซิเมนต์ กระเบื้อง ยาสีฟัน อาจผลิตโดยใช้ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการควบคุมคุณภาพ สำลี ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ปิดแผล เข็ม หลอดฉีดยา เหล่านี้เป็นเวชภัณฑ์ ที่ทำให้ปลอดเชื้อ โดยใช้รังสี ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงานนิวเคลียร์

*** พลังงานนิวเคลียร์คืออะไร ? ***

ในบบรดาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรานี้ ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ นาฬิกา สร้อยคอ จาน ช้อน กำไลมือ สิ่งเหล่านี้จะประกอบไปด้วยอนุภาค ที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคนี้เรียกว่า อะตอม หรือ ปรมาณู อะตอมยังประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเรียกว่า นิวเคลียส อยู่ตรงกลาง นิวเคลียสมีขนาดประมาณ 1 ในพันล้านส่วนของ 1 เมตร เท่านั้น อีกส่วนเรียกว่า อิเล็คตรอน เคลื่อนที่รอบ ๆ นิวเคลียส ที่นิวเคลียสของธาตุนี่เอง ที่เป็นต้นกำเนิดของพลังงานนิวเคลียร์ แต่พลังงานนิวเคลียร์ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นมี 3 แบบ


แบบแรก เกิดจากการทำให้ นิวเคลียสของธาตุหนักแตกตัว


แบบที่สอง เกิดจากการทำให้ นิวเคลียสของธาตุเบารวมตัวเข้าด้วยกัน


แบบที่สาม เกิดจากการสลาย ของสารกัมมันตรังสีที่มี โครงสร้างของนิวเคลียสไม่คงตัว


พลังงานนิวเคลียร์ที่ถูกปล่อยออกมาจากนิวเคลียสนั้น มีหลายรูปแบบ ได้แก่ พลังงานความร้อน รังสีแกมมา อนุภาคบีต้า อนุภาคแอลฟา และอนุภาคนิวตรอน ซึ่งอาจจะ ถูกปลดปล่อยออกมาเพียงบางอย่าง หรือหลายๆ อย่างพร้อมกันก็ได้ กล่าวโดยสรุปอย่างง่ายๆ พลังงานนิวเคลียร์ก็คือ รังสีและอนุภาคต่างๆ ที่ออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมดังนั้นการนำพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ประโยชน์ ก็เป็นการนำเอารังสี และอนุภาคต่าง ๆ ไปใช้นั่นเอง


ในประเทศไทย หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ ในการนำพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ใน การพัฒนาประเทศ ก็คือ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เรียกย่อว่า พปส เป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พปส มีอุปกรณ์ทางนิวเคลียร์หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย ซึ่งใช้สำหรับผลิตสารกัมมันตรังสีที่จะนำไปใช้ในกิจการต่าง ๆ ต่อไป


*** การใช้พลังงานนิวเคลียร์ ***

ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ในกิจการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งพอสรุปได้เป็น 3 ด้าน คือ การแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม

1. ด้านการแพทย์

มีการนำ เอาสารกัมมันตรังสี และรังสีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค ทำให้การวินิจฉัย และรักษาโรคของแพทย์ เป็นไปอย่างถูกต้อง และรวดเร็ว สามารถบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยชีวิต ของผู้ป่วยได้มากขึ้น ประโยชน์ในการใช้ สารกัมมันตรังสีทางการแพทย์มีหลายด้านเช่น ด้านการตรวจวินิจฉัย ด้านการบำบัดโรค

จะเห็นว่าการนำสารกัมมันตรังสี มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ควบคู่ไปกับ การตรวจวินิจฉัย และการรักษาแบบอื่น จะก่อประโยชน์ ต่อคนไข้อย่างยิ่ง และนับวันศาสตร์ ด้านนี้จะก้าวหน้าขึ้นเรื่อง ๆ จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

2. ด้านอุตสาหกรรม

มีการนำเอาพลังงานนิวเคลียร์ ไปใช้กันอย่างกว้างขวางเช่นกัน ในที่นี้จะขอกล่าวพอสังเขป 2 ตัวอย่าง คือ การปลอดเชื้อผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และ การตรวจสอบโครงสร้างภายใน

นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกมาก เช่น


ใช้ในการสำรวจหาแหล่งน้ำมันใต้ดิน ความชื้นในดิน ด้วยรังสีนิวตรอน


ควบคุมการไหลผ่านของส่วนผสมในการผลิตปูนซีเมนต์


ใช้วัดระดับของของไหล สารเคมีต่าง ๆ ในขบวนการผลิตในโรงงานเส้นใยสังเคราะห์ด้วยรังสี แกมมา


วัดความหนาแน่นในการดูดสินแร่ในทะเล เพื่อคำนวณปาปริมาณแร่ที่ดูด


ควบคุมความหนาแน่นของเนื้อยางที่เคลือบบนแผ่นผ้าใบในขบวนการผลิตยางรถยนต์


ควบคุมกระบวนการผลิตกระจกและกระดาษให้มีความหนาสม่ำเสมอ


ใช้เป็นเครื่องกำจัดประจุไฟฟ้าสถิตบนแผ่นฟิล์ม ฟิล์มภาพยนต์ เวชภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น


3. ด้านการเกษตร

ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม เพราะประชากร กว่าร้อยละ 60 ยังคงยึดการเกษตรเป็นอาชีพหลัก ดังนั้น การค้นคว้าวิจัยทางการเกษตร เพื่อเพิ่มปริมาณ และคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเกษตรกร เพราะหมายถึงรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ของเกษตรกร ในปัจจุบัน ได้มีการใช้ เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกษตร ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การกำจัดศัตรูพืช การปรับปรุงพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิต การเก็บถนอม รักษาผลผลิต ไม่ให้เสียหาย นอกจากนั้นก็ยังมี การทำหมันแมลงด้วยรังสี และ การทำน้ำมันยางวัลคาในช์ด้วยรังสี

นอกจากตัวอย่างทั้งสองที่กล่าวแล้ว ยังได้มีการใช้ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในกิจการเกษตรอื่น ๆ อีก เช่น


การถนอมผลผลิตทางการเกษตร เช่น พวกพืชผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ โดยการฉายรังสี เพื่อให้เก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์ในการขนส่งทางไกล


การใช้รังสีฉายพันธุ์พืช เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ให้ได้พันธุ์พืชที่มีผลผลิตสูงกว่า โตเร็วกว่า


การวิเคราะห์ดินโดยเทคนิคทางนิวเคลียร์ เพื่อการจำแนกพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ทราบว่าพื้นที่ที่ศึกษาเหมาะสมต่อการปลูกพืชชนิดใด ควรเพิ่มปุ๋ยชนิดใดลงไป เป็นต้น




การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในการพัฒนาประเทศที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังมีการประยุกต์ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในด้านอื่น ๆ อีกมาก โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว การนำพลังงานนิวเคลียร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันยิ่งแพร่หลายกว่าของเรามากทีเดียว


--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : รังสรรค์ ศรีสาคร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

แบบทดสอบงานและพลังงาน

1. จงหางานในการเคลื่อนที่กล่องมวล 40 กิโลกรัม ขึ้นไปตามพื้นเอียงทำมุม 37 องศา กับพื้นราบไปยังจุดซึ่งสูงจากพื้นราบ 3 เมตร ด้วยความเร็วคงที ถ้าแรงเสียดทานระหว่างกล่องกับพื้นเอียงเท่ากับ 2 นิวตัน (กำหนด sin 37 องศา = 3/5)
ก. 130 J
ข. 1,190 J
ค. 1,200 J
ง. 1,210 J

2. จงกางานอย่างน้อยที่กรรรมกรคนหนึ่งต้องทำในการดันกล่องสินค้ามวล 50 กิโลกรัม ขึ้นไปตามพื้นเอียงทำมุม 53 องศากับพื้นราบ ถึงจุดสูงจากพื้นราบ 4 เมตร ถ้าแรงเสียดทานระหว่างพื้นเอียงกับกล่องเป็น 80 นิวตัน (กำหนด sin 53 องศา = 4/5)
ก. 400 J
ข. 520 J
ค. 2000 J
ง. 2400 J

3. มวล 4 กิโลกรัม แขวนอยู่ในแนวดิ่งด้วยเชือกเหนือระดับพื้น 20 เมตร ถ้าหย่อนเชื่อกให้มวลลดต่ำลงมาเป็นระยะทาง 10 เมตร ด้วยอัตราเร่ง 1/4 เท่าของความเร่งโน้มถ่วง จงหางานที่ทำโดยแรงดึงเชือก
ก. 500 J
ข.-500 J
ค. 300 J
ง. -300 J

4. ลูกบอลถูกปล่อยจากระยะสูงเท่ากับ h ลงมากระทบกัยพื้น การตกกระทบแต่ละครั้งจะทำให้พลังงานลดลงครึ่งหนึ่ง ลูกบอลจะตกกระทบพื้นกี่ครั้งจึงจะกระดอนขึ้นไปได้ระยะสูงสุดเท่ากับ 1/64 h
ก. 6 ครั้ง
ข. 2 ครั้ง
ค. 3 ครั้ง
ง. 5 ครั้ง

5. ลูกบอลมวล 1 กิโลกรัม ตกลงมาอย่างอิสสระจากตึกสูง 40 เมตร ลงมากระทบพื้นล่างโดยการกระดอนแต่ละครั้งจะเกิดการสูญเสียพลังงาน 25 % ถามว่าถ้าปล่อยให้ลูกบอลกระดอนจนไปหยุดเอง ระยะทางทั้งหมดที่ลูกบอลเคลื่อนที่ในแนวดิ่งจะเป็นเท่าใด (สมมุติว่า ไม่มีการสูญเสียพลังงานเนื่องจากสาเหตุอื่น และ g = 10 m/s2)
ก. 240 m
ข. 260 m
ค. 280 m
ง. 300 m

6. ตาชั่งสปริงอ่านค่าได้ระหว่าง 0-50 นิวตัน ยือได้ 0.20 เมตร ขณะอ่านค่าได้ 50 นิวตัน ถ้านำมวลขนาด 3 กิโลกรัม แขวนไว้ที่ปลายตาชั่ง ขณะนั้นสปริงมีพลังงานศักย์ยืดหยุ่นเท่าใด
ก. 1.8 J
ข. 3.2 J
ค. 4.6 J
ง. 6.4 J

7. สปริงมีค่าคงตัว 2 นิวตัน/เซนติเมตร จะต้องทำงานเท่าใดในการยืดสริงจากระยะ 2 เซนติเมตร จากตำแหน่งสมดุลไปเป็น 4 เซนติเมตร
ก. 0.12 J
ข. 0.18 J
ค. 0.20 J
ง. 0.24 J

8. ก้อนหินมวล 20 กิโลกรัม ตกจากที่สูง 490 เมตร เหนือพื้นดิน อยากทราบว่า หลังจากปล่อยก้อนหินเป็นเวลานานเท่าใดก้อนหินจะมีพลังงานจลน์ เท่ากับพลังงานศักย์ (ถือว่าพลังงานศักย์ที่พื้นดินเป็นศูนย์)
ก. 10 วินาที
ข. 7 วินาที
ค. 5 วินาที
ง. 2 วินาที

9. เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์สูง 20 เมตร ถ้าแกว่งชิงช้าจนถึง 90 อัตราเร็วของชิงช้าตอนผ่านจุดต่ำสุดจะเป็นกี่กิโลเมตร/ชั่วโมง
ก. 10
ข. 20
ค. 36
ง. 72

10. วัตถุตกจากพื้นสูง 80 ซม. ลงไปบนสปริงที่ตั้งอยู่แนวดิ่ง ค่านิจสริง 2,100 นิวตัน/เมตร ความยาวของสปริงปรกติ 24 ซม. แต่ถูกวัตถุตกลงเหลือความยาวต่ำสุด 10 ซม.ก่อนที่วัตถุจะหยุดมวลของวัตถุนี้มีค่าเท่ากับกี่กีโลกรัม
ก. 2.28
ข. 2.57
ค. 2.94
ง. 3.41

11. มวล 2 กิโลกรัม ถูกปล่อยจากที่สูง 0.4 เมตร จากปลายสริงที่ตั้งในแนวดิ่ง ปรากฎว่า สปริงจะถูกกดเข้าไปได้มากที่สุด 0.1 เมตร จงหาค่านิจสปริง
ก. 1000 N/m
ข. 1600 N/m
ค. 2000 N/m
ง. 4000 N/m

12. ปล่อยวัตถุมวล 5 kg ตกอิสระลงบนสปริงเบาที่วางตั้งอยู่บนพื้นโดยระยะห่างจากวัตถุถุงยอดของสริงเท่ากับ 1.0 m เมื่อ วัตถุถึงยอดของสปริงเท่ากับ 1.0 m เมื่อวัตถุตกกระทบสปริงปรากฎว่าสปริงหดสั้นลงจากเดิม 20 cm ก่อนดีดกลีบ จงคำนวนค่าคงตัวของสปริง โดยประมาณว่าไม่มีการสูญเสียพลังงาน
ก. 2500 N/m
ข. 3000 N/m
ค. 3500 N/m
ง. 4000 N/m

13. กล่องใบหนึ่งเคลื่อนที่ลงจากตำแหน่งสูงสุดของพื้นเอียงเรียบยาว 2.5 เมตร และทำมุม 30 องศากับพื้นราบ หากกล่องเคลื่อนที่จากหยุดนิ่งมาตามพื้นเอียง จงหาอัตราเร็วของกล่องที่ปลายล่างของพื้นเอียง
ก. 3 m/s
ข. 4 m/s
ค. 5 m/s
ง. 6 m/s

14. กล่องมวล 40 กิโลกรัม ถูกดึงด้วยแรงคงที่ 13 นิวตัน ในแนนวระดับให้เคลื่อนจากจุดหยุดนิ่งไปตามพื้นระดับที่มีสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน 0.3 เป็นระยะทาง 5 เมตร จงหาพลังงานจลน์ของกล่องที่เปลี่ยนไป
ก. 50 J
ข. 100 J
ค. 150 J
ง. 300 J

15. วัตถุมวล 0.4 กิโลกรัม ไถลไปตามรางวงกลมในแนวระดับที่มีรัศมี 1.5 เมตร หากที่เวลาเริ่มต้นมีอัตราเร็ว 5 เมตร/วินาที เมื่อผ่านไป 1 รอบ มีอัตราเร็วช้าลงเป็น 4 เมตร/วินาที เนื่องมาจากแรงเสียดทานจงกางานเนื่องจากแรงเสียดทานใน 1 รอบ
ก. 1.5 J
ข. 1.8 J
ค. 2.0 J
ง. 3.6 J

16. รถยนต์มวล 1200 กิโลกรัม กำลังวิ่งด้วยอัตราเร็ว v เมตรต่อวินาที ข้ามสะพานที่จุดสุงสุดของสะหาน ซึ่งมีรัศมีความโค้งในระนายดิ่ง 12 เมตร จงหาอัตราเร็ว v ที่พอดีทำให้รถยนต์เริ่มหลุดจากความโค้งของสะพาน
ก. 11 m/s
ข. 12 m/s
ค. 13 m/s
ง. 14 m/s

17. รถยนต์คันหนึ่งมีมวล 1000 กิโลกรัม สามารถเร่งอัตราเร็วจาก 10 เมตรต่อวินาทีเป็น 20 เมตรต่อวินาที โดยอัตราเร่งคงที่ในเวลา 5.0 วินาที กำลังเฉลี่ยเครื่องยนต์ที่ใช้อย่างน้อยเป็นเท่าใด
ก. 10.0 kW
ข. 20.0 kW
ค. 30.0 kW
ง. 40.0 kW

18. ลิฟต์อันหนึ่งมีมวล 750 กิโลกรัม สามารถยกของมวล 850 กิโลกรัม ขึ้นไปได้สูง 20 เมตร ในเวลา 8 วินาที โดยใช้กำลัง 50 กิโลวัตต์ จะมีงานสูญเสียไปเท่าใด
ก. 40 กิโลจูล
ข. 60 กิโลจูล
ค. 120 กิโลจูล
ง. 160 กิโลจูล

19. บันไดเลื่อนในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งทำมุม 37 องศากับพื้นของชั้นแรก ขนคนจากชั้นแรกไปที่ชั้นสองด้วยปริมาณคงตัว 30 คนต่อนาที โดยน้ำหนักเฉลี่ยของแต่ละคนเท่ากับ 60 กิโลกรัม ถ้าชั้ยที่สองสูงกว่าชั้นแรก 6 เมตร และมอเตอร์ซึ่งฉุดบันไดเลื่อนใช้ไฟ 3 กิโลวัตต์ ประสิทธิภาพของบันไดเลื่อนนี้เป็นกี่เปอร์เซ็นต์
ก. 10%
ข. 40 %
ค. 60 %
ง. 99%

20. ปั้นจั่นอันหนึ่งใช้ลูกตุ้มที่มีมวล 300 kg ตอกเสาเข็มยาว 2 m จนมิดดินในเวลา 10 นาที นับจำนวนครั้งที่ตอกได้ 50 ครั้ง ถ้าในแต่ละครั้งลูกตุ้มถูกยกให้สูงเหนือหัวเสาเข็ม 1 m จงกากำลังเฉลี่ยของปั่นจั่น (g= 10m/s2)
ก. 250 W
ข. 1500 W
ค. 2500 W
ง. 15000 W

แบบทดสอบไฟฟ้ากระแส

1. ตัวนำมีพื้นที่ภาคตัดขวางเท่ากับ 3 ตารางเมตร ถ้ามีประจุไฟฟ้ากระแส +600 และ -200 คูลอมบ์ เคลื่อนที่ผ่านพื้นที่นี้ในลักษณะสวนทางกันโดยใช้เวลา 4 วินาที แสดงว่ามีกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำเท่ากับ
ก. 50 A
ข. 100 A
ค. 150 A
ง. 200 A

2. เส้นลวดตัวที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นวงกลม ถ้าความยาวและขนาดปส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวด เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทั้งสองค่าแล้ว ความตานทานของเส้นลวดจะ
ก. ลดลงเหลือ 1/4
ข. ลดลงครึ่งหนึ่ง
ค. เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ง. เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า

3.ลวดทองแดงเว้นหนึ่งในวงจรไฟฟ้ามีพื้นที่หน้าตัด A ยาว L ถ้าต้องการให้ความต้านทานของวงจรเพิ่มเป็น 4 เท่า โดยการเปลี่ยนแปลงเส้นลวดอะลูมิเนียมแทนลวดทองแดง ลวดอะลูมิเนียมควรมีพื้นที่หน้าตัดและยาวเป็นเท่าใด กำหนดให้สถาพความต้านทานของอะลูมิเนียมเป็น 1.5 เท่า ของสถาพความต้านทานของทองแดง
ก. A,6L
ข. 2A,3L
ค. 3A,8L
ง. 4A,6L

4. ลวดเส้นหนึ่งมีความต้านทานทั้งหมด 6.0 โอห์ม เมื่อนำมารีดให้เส้นลวดมีขนาดเล็กลง จนมีความยาวเป็น 3 เท่าของตอนเริ่มต้น ถ้าคุณสมบัติต่างๆของสารที่ทำเส้นลวดไม่เปลี่ยน ความต้านทานของลวดตอนสุดท้ายจะเป้นกี่โอห์ม
ก. 18
ข. 24
ค. 36
ง. 54

5. ความต้านทาน 1 โอห์ม 12 ตัว ต่อกันเป็นรูปลูกบาศก์ ความนนำไฟฟ้ารวมระหว่างมุมสองมุมที่อยู่ในแนวเส้นทะแยงมุมของลูกบาศก์ (เส้นตรงที่เชื่อมมุมตรงข้ามและผ่านจุกกึ่งกลางของลูกบาศก์)จะเป็นเท่าไร
ก. 1.2
ข. 2.2
ค. 1.3
ง. 3.3

6. ลวดตัวนำขนาดสม่ำเสมอเส้นหนึ่งยาว 1.0 เมตร วัดความต้านทานได้ 0.4 โอห์ม ถ้ามีลวดตัวนำชนิดเดียวกัน แต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าเป็นครึ่งหนึ่งต้องการให้มีความต้านทาน 1.6 โอห์ม จะต้องใช้ลวดยาวเท่าใด
ก. 0.5 m
ข. 1.0 m
ค. 1.5 m
ง. 2.0 m

7. ใช้เส้นลวดสองเส้นต่อเป็นวงจรเพื่อส่งกำลังไฟฟ้า 1000 วัตต์ ไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องหนึ่ง ลวดแต่ละเส้นมีความต้านทาน 2 โอห์ม ถ้าความต่างศักย์บนเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็น 100 โวลต์ ความตางศักย์ของแหล่งจ่ายพลังงานจะเป็นกี่โวลต์
ก. 140
ข. 120
ค. 110
ง. 104

8.จะต้องใช้ตัวต้านทานที่มีความต้านทานกี่โอห์ม ซึ่งเมื่อนำมาต่อกับแบตเตอรี่ที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 2 โวลต์ ความต้านทานภายใน 1 โอห์ม จึงจะทำให้กำลังไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานนึ้มีค้ามากที่สุด
ก. 1 โอห์ม
ข. 2 โอห์ม
ค. 3 โอห์ม
ง. 4 โอห์ม

9. บ้านหลังหนึ่งใช้ไฟฟ้าความต่างศักย์ 220 โวลต์ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้ หม้อหุงข้าว 650 W เตารีดขนาด 750 W หลอดฟลูออเรสเซนต์ 40 W 5 ดวง ทีวีขนาด 150 W ควรใช้ฟิวส์รวมเท่าไร
ก. 4 แอมแปร์
ข. 5.5 แอมแปร์br> ค. 6.5 แอมแปร์
ง. 8 แอมแปร์

10. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำ I แอมแปร์ เป็นเวลา t วินาที คิดเป็ฯจำนวนอิเล็กตรอนอิสระไหลผ่านพื้นที่หน้าตัดขวางของเส้นลวดได้เท่าใด (ประจุอิเล็กตรอนเท่ากับ อิเล็กตรอนคูลอมบ์)
ก. et/I
ข. eIt
ค. It/e
ง. t/eI

11. ความต้านทานตัวหนึ่งต่อกับแบตเตอรี่ ทำให้มีกระแส 0.6 แอมแปร์ ไหลผ่าน เมื่อนำความต้านทาน 4 โอห์มมาต่ออนุกรมกับความต้านทานตัวแรก จะมำให้กระแสลดลงไปจากเดิม 0.1 แอมแปร์ จงหาแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแบตเตอรี่ว่ามีกี่โวลต์
ก. 5
ข. 6
ค. 12
ง. 0.48

12. โดยเปรียบเทียบกับสายไฟในบ้านที่ยาวเท่ากัน ลวดโลหะที่ใช้ทำฟิวส์ ควรมีลักษณะใด
ก. ความต้านทานต่ำ และ จุดหลอมเหลวต่ำ
ข. ความต้านทานสูง และ จุดหลอมเหลวสูง
ค. ความต้านทานสูง และ จุดหลอมเหลวต่ำ
ง. ความต้านทานต่ำ และ จุดหลอมเหลวสูง

13. มาตราไฟฟ้าที่ใช้วัดโวลต์มิเตอร์เครื่องหนึ่งมีความต้านทาน 10000 โอห์ม ใช้วัดความต่างศักย์ระหว่าง 0-100 โวลต์ ถ้าต้องการวัดให้ได้ถึง 400 โวลต์ จะต้องต่อความต้านทาน x อย่างไร และหาค่า x มีค่าเท่าใด
ก. ต่ออนุกรม x = 30000 โอห์ม
ข. ต่ออนุกรม x = 40000 โอหม์
ค. ต่อขนาน x = 30000 โอห์ม
ง. ต่อขนาน x = 40000 โอห์ม

14. แบตเตอรี่ตัวหนึ่งเมื่อต่ออนุกรมกับความต้านทาน R = 148 โอห์ม ปรากฎว่ามีกระแสในวงจรเท่ากับ 0.05 แอมแปร์ แต่เมื่อเพิ่มความต้านทานเป็น 284 โอห์ม จะมีกระแสเพียง 0.03 แอมแปร์ แบตเตอรี่ตัวนี้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้ากี่โวลต์
ก. 2.2
ข. 4.8
ค. 6.5
ง. 7.5

15. หลอดไฟธรรมดาขนาด 40 W ใช้กับไฟฟ้า 220 V จำนวน 2 ดวง นำมาต่ออนุกรมกันแล้วนำไปต่อกับไฟฟ้า 110 V จงหาว่าดวงไฟแต่ละดวงจะให้กำลังออกมากี่วัตต์
ก. 2.0
ข. 1.6
ค. 2.5
ง. 8.0

16. ในวงจรที่แสดงโวลต์มิเตอร์มีความต้านทาน 1000 โอห์ม แอมมิเตอร์มีความต้านทาน 0.1 โอห์ม เซลล์มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 10 โวลต์ และความต้านทานภายใน 9 โอห์ม ความต้านทาน R มีค่าจริง 100 โอห์ม จงหาค่าความต้านทาน R ที่คำนวนได้จากการวัดมีค่าเป็นกี่โอห์ม
ก. 80
ข. 85
ค. 90
ง. 100

17. เตาไฟฟ้าเครื่องหนึ่งใช้ไฟฟ้า 220 V ใช้กำลังเป็น 6 เท่าของกำลังที่ให้ โดยหลอดไฟฟ้าหลอดหนึ่งซึ่งใช้กับไฟฟ้า 100 V ความต้านทานของเตาไฟฟ้าจะเป็นกี่เท่าของความต้านทานของหลอดไฟฟ้า
ก. 1/3
ข. 3
ค. 3/2
ง. 2/3

18. ถ้านำตัวต้านทานขนานด 100 โอห์มทนได้ 4 วัตต์ ตัวหนึ่งไปต่ออนุกรมกับตัวต้านทานอีกตัวหนึ่งขนาด 500 โอห์มทนได้ 5 วัตต์ ตัวต้านทานที่ต่อกันแล้วนี้จะทนกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดกี่วัตต์
ก. 5
ข. 6
ค. 7
ง. 8

19. หลอดไฟ 12 V 10 W ถ้านำไปใช้กับแบตเตอรี่ 24 V จะต้องนำความต้านทานกี่โอห์มไปต่ออนุกรมกับหลอดนี้ เพื่อให้หลอดไฟใช้กำลังเท่าเดิม
ก. 14.4
ข. 16
ค. 20
ง. 28.8

20. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านชนิด 100 W 220 V เมื่อนำมาใช้ขณะที่ไฟตกเหลือ 200 V เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นจะใช้กำลังไฟฟ้าเท่าใด
ก. 78 W
ข. 83 W
ค. 88 W
ง. 93 W

แบบทดสอบ เรื่อง เสียง

.... ตัวอย่างแบบทดสอบ ฟิสิกส์ ....( เสียง )....


1. อัตราเร็วของเสียงในอากาศนิ่งขึ้นอยู่กับข้อใด
ก. ความถี่ของการสั่นของแหล่งกำเนิด
ข. อุณหภูมิของอากาศ
ค. ความเร็วของแหล่งกำเนิดเสียง
ง. ความเข้มของเสียง

2. ชายคนหนึ่งปล่อยก้อนหินลงในบ่อ แล้วได้ยินเสียงก้อนหินกระทบน้ำที่เวลา 3 วินาที หลังจากปล่อยก้อนหิน ถ้าวันนั้นอากาศมีอุณหภูมิ 15 องศาC จงหาความลึกของบ่อ
ก. 45 เมตร
ข. 41 เมตร
ค. 30 เมต
ง. 27 เมตร

3. บอลลูนเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ 20 เมตร/วินาที ขณะที่อยู่สูงจากพื้นดินระยะหนึ่งได้ส่งคลื่นสียงความถี่ 1000 เฮิรตซ์ ลงมา และได้รับสัญญาณเสียงสะท้อนกลับเมื่อเวลา 4 วินาที จงหาว่า ขณะที่ส่งคลื่นเสียง บอลลูนอยู่สูงจากพื้นดินเป็นระยะเท่าไร ถ้าความเร็วเสียง 350 เมตร/วินาที
ก. 660 เมตร
ข. 1000 เมตร
ค. 1320 เมตร
ง. 1400 เมตร

4.โรงงานผลิตผลไม้กระป๋องแห่งหนึ่งต้องการคัดขนาดของผลไม้ในขณะกำลังไหลผ่านตามรางน้ำโดยอาศัยการสะท้อนของเสียงจากเครื่องโซนาร์โดยต้องการแยกผลไม้ที่มีขนาด
ใหญ่กว่าและเล็กกว่า 7.5 ซม. ออกจากกัน จงหาความถี่เหมาะสมของคลื่นจากโซนาร์ (ความเร็วของเสียงในน้ำ = 1500 เมตร/วินาที)
ก. 1 กิโลเฮิรตร์
ข. 2 กิโลเฮิรตร์
ค. 10 กิโลเฮิรตร์ N
ง. 20 กิโลเฮิรตร์

5. เรือลำหนึ่งวิ่งเข้าหาหน้าผาเรียบด้วยความเร็ว 10 เมตร/วินาที เมื่อเปิดหวูดขึ้นคนในเรือไ้ยินเสียหวูดสะท้อนจากหน้าผาในเวลา 2.0 วินาที ถ้าขณะนั้นความเร็วเสียงในอากาศเป็น 350 เมตร/วินาที ขณะเปิดหวูดเรือห่างจากหน้าผาเป็นระยะเท่าใด
ก. 340 m
ข. 350 m
ค. 360 m
ง. 5370 m

6. A และ B เป็นลำโพง 2 ตัว วางห่างกัน 2 เมตร ในที่โล่ง P เป็นผู้ฟังห่างจากA 4 เมตร และห่างจาก B 3 เมตร เสียงความถี่ต่ำสุดที่คลื่นหักล้างกันทำให้ได้ยินเสียงเบาที่สุดเป็นเท่าไร ความเร็วเสียง 340 m/s
ก. 270 Hz
ข. 230 Hz
ค. 190 Hz
ง. 170 Hz

7. ผู้ขับรถยนต์คันหนึ่งกำลังเปิดวิทยุฟังรายการจากสถานีหนึ่งอยู่ ในขณะที่รถกำลังวิ่งเข้าหาตึกใหญ่ข้างหน้าด้วยความเร็ว 1 m/s เขาสังเกตุว่า สัญญษณวิทยุ
เงียบหายไป 2 ครั้ง ในเวลา 3 วินาที ถ้าสถานีส่งวิทยุอยู่ในทิศที่ตรงไปข้างหลังรถ คลื่นวิทยุนั้นจะมีความยาวคลื่นเท่าไร
ก. 1.5 เมตร
ข. 3.0 เมตร
ค. 15 เมตร
ง. 30 เมตร

8. ในการปรับเทียบเสียงของเปียโนระดับเสียง C โดยเทียบกับส้อมเสียงความถี่ 256.0 Hz ถ้าได้ยินเสียงบีดส์ความถี่ 3.0 ครั้ง/วินาที ความถี่ที่เป็นไปได้ของเปียโนมีค่าเท่าใด
ก. 256 Hz
ข. 254.5 หรือ 257.5 Hz
ค. 253 หรือ 259 Hz
ง. 250 หรือ 262 Hz

9. นักดนตรีคนหนึ่งเล่นไวโอลิน ความถี่ 507 เฮิรตซ์ และนักดนตรีอีกคนหนึ่งเล่นกีตาร์ ความถี่ 512 เฮิรตซ์ ถ้าทั้งสองคนเล่นพร้อมกันจะเกิดปรากฎการณ
์บีตความถี่เท่าใด
ก. 2.5 Hz
ข. 5.0 Hz
ค. 10 Hz
ง. 509.5 Hz

10. ลวดสายกีต้าร์ขึงอยู่ระหว่างจุดตรึง 2 จุดห่างกัน 40 ซม. เมื่อดีดให้เสียงหลักที่ความถี่ 512 เฮิรตซ์ ความเร็วของคลื่นในสายลวดเป็นเท่าไร
ก. 204.8 m/s
ข. 256.0 m/s
ค. 409.6 m/s
ง. 512.0 m/s

11. ลวดยาว 100 ซม. ขึงหม้ตึงที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อดีดตรงกลางจะเกิดเสียงบีตส์ 4 ครั้งต่อวินาที กับส้อมเสียงอันหนึ่ง และเมื่อเปลี่ยนความยาวของ
ลวดเป็น 102 ซม. โดยไม่เปลี่ยนความตึง จะเกิดเสียงบีตส์ 4 ครั้งต่อวินาที กับส้อมเสียงอันเดิม จงหาความเร็วของคลื่นในเส้นลวด
ก. 204 m/s
ข. 404 m/s
ค. 408 m/s
ง. 816 m/s

12. เส้นลวดยาว 1 เมตร ถูกดึงด้วยแรงดึงขนาดหนึ่ง เมื่อดีดจะทำให้เกิดเสียงที่มีค่าความถี่มูลฐานเป็น 200 Hz ถ้าเพิ่มแรงดึงอีก 900 N จะทำให้ความถี่มูลฐานของเสียงที่เกิดจากลวดเส้นนี้เปลี่ยนไปเป็น 400 Hz อยากทราบว่ามวลของเส้นลวดนี้เท่ากับเท่าไร
ก. 1.22 กรัม
ข. 1.44 กรัม
ค. 1.66 กรัม
ง. 1.88 กรัม

13. สายกีตาร์เส้นหนึ่งตรึงที่จุด 2 จุดที่มีระยะห่าง 50 ซม. ถ้าดีดสายกีต้าร์จะให้เสียงความถี่หลัก 400 Hz จะต้องใช้นิ้วกดที่จุดซึ่งห่างจากจุดตรึงข้างหนึ่งเป็นระยะเท่าใด
จึงจะทำให้เสียงความถี่หลัก 550 Hz
ก. 6.3 cm
ข. 7.5 cm
ค. 10.0 cm
ง. 15.0 cm

14. ระดับความเข้มเสียงในโรงงานแห้งหนึ่งมีค่า 80 เดซิเบล คนงานผู้หนึ่งใส่เครื่องครอบหู ซึ่งสามารถลดระดับความเข้มลงเหลือ 60 เดซิเบล เครื่องดังกล่าว
ลดความเข้มเสียงลงกี่เปอร์เซ็นต์
ก. 80 %
ข. 88 %
ค. 98 %
ง. 99 %

15. เครื่องเจาะถนนเครื่องหนึ่งอยู่ห่างจากนาย ก 10 เมตร เขาวัดระดับความเข้มเสียงได้เป็น 90 เดซิเบล ถ้ามีเครื่องเจาะ 3 เครื่องที่เหมือนกันทุกประการอยู่
ห่างจากเขา 10 เมตรเท่ากัน เมื่อเครื่องเจาะทั้ง 3 ทำงานพร้อมกันเขาจะวัดระดับความเข้มเสียงได้เป็นเท่าใด
ก. 93 เดซิเบล
ข. 95 เดซิเบล
ค. 120 เดซิเบล
ง. 270 เดซิเบล

16. มอเตอร์ไซค์เหมือนๆกัน 3 คันแล่นมาจากปากซอย พอถึงกลางซอย คันหนึ่งจอดและดับเครื่องยนต์ นาย ค ซึ่งมีบ้านอยู่สุดซอยจะวัดความแตกต่างของระดับความเข้มเสียงจากมอเตอร์ไซค์ที่ปากซอยกับกลางซอยได้กี่เดซิเบล
ก. 4.3 เดซิเบล
ข. 3.0 เดซิเบล
ค. 2.3 เดซิเบล
ง. 1.2 เดซิเบล

17. วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลายชนิด เมื่อเล่นพร้อมกันแต่เราสามารถแยกไว้ได้ว่า เสียงใดเป็นเสียงไวโอลิน เสียงใดเป็นเสียงขลุ่ย เสียงใดเป็นเสียงเปียโน เนื่องจากเสียงดนตรีแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะตามข้อใดที่ต่างกัน
ก. ระดับเสียง
ข. ระดับความเข้มเสียง
ค. ความถี่เสียง
ง. คุณภาพเสียง

18. รถพยาบาลแล่นด้วยความเร็ว 25 เมตร/วินาที ส่งเสียงไซเรนมีความถี่ 400 เฮิรตซ์ ถ้าอัตราเร็วเสียงในอากาศเป็น 350 เมตร/วินาที ความยาวคลื่นเสียงไซเรนด้านหน้ารถพยาบาลเป็นกี่เซนติเมตร
ก. 76
ข. 81
ค. 87
ง. 94

19. แหล่งเสียง A และ B ที่เป็นจุดมีกำลังเสียง 10 และ 40 วัตต์ ตามลำดับ เอกแหล่งเสียงมาทดลองวัดระดับความเข้มเสียงที่ระยะห่างจาก B 2 เมตร ต่างจากระดับความเข้มเสียงที่ระยะห่าง A 1 เมตร เท่ากับกี่เดซิเบล
ก. 0
ข. 4
ค. 10
ง. 16

20. ต่ำแหน่ง A และ B อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงซึ่งมีกำลังที่เป็นระยะทางไม่เท่ากันถ้าความเข้มของเสียงที่ต่ำแหน่ง A เป็น 1000 เท่าของความเข้มเสียงที่ต่ำแหน่ง B จงหาความแตกต่างของระดับความเข้มเสียงระหว่างต่ำแหน่งทั้งสอง
ก. 10 เดซิเบล
ข. 20 เดซิเบล
ค. 30 เดซิเบล
ง. 40 เดซิเบล

โมเมนตัม และ การดล

. นักกีฬาเตะลูกฟุตบอลมวล 200 กรัม อัดกำแพงแล้วลูกบอลสะท้อนออกมาด้วยอัตราเร็ว 5 เมตร/วินาที ซึ่งเท่ากับอัตราเร็วเดิม ถ้าแรงที่กำแพงกระทำต่อลูกบอลเป็น 40 นิวตัน ลูกบอลกระทบกำแพงอยู่นานเท่าใด
ก. 0.025 S
ข. 0.05 S
ค. 0.027 S
ง. 0.5 S

2. ก้อนหินมวล 2 Kg เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 6 เมตร/วินาที จะต้องใช้แรงขนาดเท่าใดจึงจะสามารถหยุดก้อนหินก้อนนี้ได้ในช่วงเวลา 5000 วินาที
ก. 1200 นิวตัน
ข. 2400 นิวตัน
ค. 3600 นิวตัน
ง. 4800 นิวตัน

3. ลูกฟุตบอลมวล 0.5 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 20 เมตร/วินาที ถ้าผู้รักษาประตูให้มือรับลูกบอลให้หยุดนิ่ง ภายในเวลา 0.04 วินาที แรงเฉลี่ยที่มือกระทำต่อลูกบอลมีขนาดเท่าใด
ก. 100 N
ข. 250 N
ค. 500 N
ง. 750 N

4. หากปล่อยลูกบอลมวล 50 กรัม จากต่ำแหน่งที่สูง 1.25 เมตรจากพื้น พบว่าลูกบอลกระทบพื้นแล้วกระดอนขึ้นสูง 0.8 เมตร ใหการกระทบพื้นโมเมนตัมของลูกบอลเปลี่ยนไปเท่าใด
ก. 0.45 kg m/s
ข. 0.80 kg m/s
ค. 0.90 kg m/s
ง. 1.60 kg m/s

5. เมื่อปลาอยลูกบอลมวล 200 กรัม ที่ความสูง 125 เซนติเมตร ลงบนพื้นราบ ปรากฎว่าหลังจากลูกบอลกระทบพื้นเป็นเวลา 0.06 วินาที ลูกบอลก็กระดอนกลับขึ้นตามแนวดิ่งวัดระยะสูงสุดได้เท่ากับ 80 เซยติเมตร จงหาแรงเฉลี่ยที่พื้นกระทำต่อลูกบอล
ก. 22 N
ข. 30 N
ค. 32 N
ง. 53 N

6. มวล 5 กิโลกรัม อยู่ในสภาพหยุดนิ่ง ถูกกระทำด้วยแรงคงที่ 6 นิวตัน เป็นเวลา 5 วินาที หลังจากนั้นแรงกระทำลดลงไปอย่างสม่ำเสมอจนเป็น 0 นิวตัน ในเวลา 3 วินาที ความเร็วของมวลก้อนนี้เมื่อแรงกระทำคือ 0 คือ
ก. 2.4 m/s
ข. 4.2 m/s
ค. 7.8 m/s
ง. 9.6 m/s

7. ลูกปืนมวล 3 กรัม มีความเร็ว 700 เมตร/วินาที วิ่งทะลุผ่านแท่งไม้มวล 600 กรัม เกิดการดลทำให้แท่งไม้มีความเร็ว 2 เมตร/วินาที จงหาความเร็วของลูกปืนหลังทะลุผ่าน
ก. 200 m/s
ข. 300 m/s
ค. 400 m/s
ง. 500 m/s

8. ยิงลูกปืนมวล 4 กรัม ด้วยความเร็ว 1000 เมตร/วินาที ให้ทะลุผ่านแผ่มไม้มวล 800 กรัม ซึ่งแขวนไว้ด้วยเชือกยาว ทันทีที่ลูกปืนทะลุแผ่นไม้ แผ่นไม้มีความเร็ว 3 เมตร/วินาที ค่าการเปลี่ยนโมเมนตัมของลูกปืนเป็นเท่าใด
ก. 1.6 Ns
ข. 2.4 Ns
ค. 3.2 Ns
ง. 4.0 Ns

9. ลูกเหล็กทรงกลมมวล 1 กิโลกรัม กลิ้งเข้าชนแท่งไม้หนัก 4 กิโลกรัม ที่วางอยู่บนพื้นด้วยความเร็ว 20 เมตร/วินาที ถ้าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างผิวของแท่งไม้กับพื้นเท่ากับ 0.2 กลังจากการชนแล้วลูกเหล็กหยุดนิ่งกับที่ แท่งไม้จะไถลไปได้ไกลเท่าไร
ก. 1.25 เมตร
ข. 6.25 เมตร
ค. 50.2 เมตร
ง. 222 เมตร

10. ลูกปืนมวล 4 กรัม มีความเร็ว 1000 เมตร/วินาที ยิงทะลุแผ่นไม้หนัก 800 กรัมที่ห้อยแขวนไว้ด้วยเชือกยาว หลังจากทะลุแผ่นไม้ ลูกปืนมีความเร็ว 400 เมตร/วินาที จงหาว่าแท่งไม้จะแกว่งขึ้นสูงจากจุดหยุดนิ่งเท่าใด
ก. 0.15 m
ข. 0.20 m
ค. 0.45 m
ง. 0.60 m

11. ชาย 2 คน มวล 50 และ 100 กิโลกรัม ยืนอยู่บนลานน้ำแข็งราบและลื่นผูกติดกันด้วยเชือกเบยาว 9 เมตร เมื่อชายมวล 100 กิโลกรัม ดึงเชือกเข้ากาตัวเอง เขาจะเลื่อนไปชนกัน ณ ตำแหน่งที่ห่างจากตำแหน่งที่ห่างจากตำแหน่งเดิมของเขาเป็นระยะเท่าใด
ก. 0 m
ข. 3 m
ค. 4.5 m
ง. 6 m

12. ช่างไม้ใช้ค้อนมวล 200 กรัม ตีตะปูมวล 2 กรัม ในแนวราบ โดยความเร็วของค้อนก่อนกระทบตะปูเป็น 10 เมตร/วินาที และค้อนไม่กระดอนจากหัวตะปู ถ้าเนื้อไม้มีแรงต้านทานเฉลี่ย 1000 นิวตัน ตะปูเจาะลึกในเนื้อไม้ที่เซนติเมตร
ก. 0.1
ข. 0.2
ค. 1.0
ง. 2.0

13. วัตถุเคลื่อที่แบบโพรเจกไทล์ด้วยอัตราเร็ว 4u ที่ตำแหน่งสูงสุด และขณะนั้นวัตถุได้แตกออกเป็น 2 ส่วนที่มีมวลเท่ากัน ส่วนหนึ่งตกลงในแนวดิ่ง อัตราเร็วในแนวราบของส่วนที่สองเป็นเท่าใด
ก. 2u
ข. 4u
ค. 6u
ง. 8u

14. มวล A วิ่งด้วยอัตราเร็ว 10 เมตร/วินาที เข้าชนมวล B ซึ่งอยู่นิ่ง หลังจากชนมวล B วิ่งไปในทิศ 30 องศา กับแนวเดิมของ A หลังการชนมวล A จะวิ่งด้วยอัตราเร็วเทาใด และในทิศทำมุมเท่าใดกับแนวเดิม
ก. 0.86 m/s และ 30 องศา
ข. 0.86 m/s และ 60 องศา
ค. 0.50 m/s และ 30 องศา
ง. 0.50 m/s และ 60 องศา

15. รถทดลองมวล M วิ่งด้วยความเร็ว v เข้าชนกับรถทดลองมวล m ซึ่งหยุดนิ่งและติดสปริงไว้ ถ้ามวล m1 และ m2 เท่ากันและการชนเป็นแบบยืดหยุ่น ภายหลังการชนมวล m 1 จะเคลื่อนที่ด้วยแอมพลิจูดเท่าใด
ก. 20 cm
ข. 16 cm
ค. 12 cm
ง. 8 cm

16. มวลขนาด 8 kg เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกด้วยคาวมเร็ว 20 m/s ไปชนกับมวลขนาด 2 kg ที่เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกด้วยความเร็ว 10 m/s พลังงานจลน์รวมเปลี่ยนไปกี่จูล
ก. 400 จูล
ข. 500 จูล
ค. 600 จูล
ง. 800 จูล

17. รถทดลองมวล 1.0 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2 เมตรต่อวินาที เข้าชนรถทดลองอีกคันหนึ่ง ซึ่งมวลเท่ากันและอยู่นิ่ง หลังการชนรถทดลองทั้งสองเคลื่อนที่ติดกันไป จงหาค่าพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้น
ก. 0.25 จูล
ข. 0.5 จูล
ค. 0.75 จูล
ง. 1 จูล

18. ยิงลูกปืนมวล 10 กรัม ในแนวระดับ ด้วยความเร็ว 1000 เมตร/วินาที เข้าไปฝังในเป้ามวล 5 กิโลกรัม ซึ่งผูกเชือกแขวนไว้ในแนวดิ่ง เป้าจะแก่งขึ้นไปสูงกว่าตำแหน่งเดิมที่เซนติเมตร
ก. 20
ข. 25
ค. 40
ง. 50

19. ยิงลูกปืนมวล 25 กรัม เข้าไปฝังอยู่ในถุงทรายมวล 6 กิโลกรัม ซึ่งแขวนอยู่ และทำให้ถุงทรายโยนสูงขึ้นเป็นระยะ 20 เซนติเมตร จงหาความเร็วของลูกปืนในหน่วยเมตร / วินาที
ก. 222 เมตรต่อวินาที
ข. 482 เมตรต่อวินาที
ค. 500 เมตรต่อวินาที
ง. 990 เมตรต่อวินาที

20. ชายสองคนมีมวลเท่ากัน นั่งอยู่บนหัวเรือและท้ายเรือของเรือพายขนาดเล็กซึ่งลอยนิ่งในน้ำนิ่ง ถ้าชายที่อยู่หัวเรือเดินไปหาชายคนที่อยู่ท้านเรือ เรือนี้จะเคลื่อนที่อย่างไร
ก. เรือจะเคลื่อนที่ไปทางด้านท้ายเรือ
ข. เรือจะเคลื่อนที่ไปทางด้านหัวเรือ
ค. เรือนี้จะอยู่นิ่ง
ง. เรือจะเคลื่อนที่ไปทางด้านท้ายเรือแล้วกลับที่เดิม

ว้าว นี่หรือข้อสอบฟิสิกส์ ! ง่ายจัง เย้.....

แบบทดสอบ คลื่น ปรากฏการณ์คลื่น

ชื่อ – สกุล ......................................................................................ชั้น ม.5/ ......... เลขที่ ............
คลื่นเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่ง คลื่นสามารถจำแนกตามลักษณะต่าง ๆได้ดังนี้
***จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง
1.คลื่นกล (Mechanical wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดย
......................................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................................
2.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดย
.......................................................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................
***จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่
3.คลื่นตามขวาง .............................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
4.คลื่นตามยาว...............................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................................
***จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่น
5.คลื่นดล ...................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................................
6.คลื่นต่อเนื่อง .................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................................
***ส่วนประกอบของคลื่น
7. สันคลื่น คือ ...............................................................................................................................................................................
8. ท้องคลื่น .คือ.............................................................................................................................................................................
9. แอมพลิจูด คือ.........................................................................................................................................................................
10. ความยาวคลื่น คือ...................................................................................................................................................................
11. ความถี่.คือ..............................................................................................................................................................................
12. คาบ (period) คือ.....................................................................................................................................................................
13. อัตราเร็วของคลื่น คือ ...........................................................................................................................................................
***สมบัติของคลื่น
14.การสะท้อนของคลื่น คือ..............................................................................................................................................................
15.คุณสมบัติการสะท้อนของคลื่น ……………………………………………………………………………………..……………………
.................................................................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................................................................
16. การหักเหของคลื่นจะเกิดขึ้นเมื่อ....................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................................
17. สรุป “กฎการหักเหของคลื่น” ได้ว่า..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
18. การเลี้ยวเบนของคลื่นมีลักษณะ.........................................................................................................................................................................
ตัวอย่าง ..................................................................................................................................................................................................................
19. การแทรกสอดของคลื่นจะเกิดขึ้นเมื่อ................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................มีต่อหน้า 2

20.การแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิดคลื่น 2 แหล่ง ถ้าต้องการให้เกิดลวดลายการแทรกสอดที่คงที่ตลอดเวลาแหล่งกำเนิดทั้งสองต้องมีค่าอะไรบ้าง
......................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................
21.แสง ถือเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ที่เกิดจากการแผ่รังสีของแหล่งกำเนิด แสงมีลักษณะพิเศษตรงที่สามารถพฤติตัวเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาค การที่เราสามารถจัดได้ว่าแสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งก็เพราะว่า......................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................................................
22. แสงสีปฐมภูมิ เป็น แสงสีที่ไม่สามารถแยกออกเป็นสีอื่นๆได้ มี …………. สี
ได้แก่ .................................................................................................................................................................................................
แสงสีทุติยมิ เป็นแสงสี ที่เกิดจาก.........................................................................................................................................................

23.เติมตำแหน่งของสีลงไป




24.สารสีทุติยภูมิ เป็นสารสีที่ เกิดจากการ................................................................................................................................................

เติมตำแหน่งของสีลงไป





25. คนเราสามารถมองเห็นวัตถุได้ดังนี้คือ ..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................
26. อานนท์อยากรู้ความสูงของเสาธงโรงเรียนครบุรี อานนท์จะมีวิธีการอย่างไร
..........................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................
27. หากเรามองเห็นวัตถุเป็นสีแดง แสดงว่าเซลล์รูปกรวยใดทำงาน …………………………………………………………………….……..
หากเรามองเห็นวัตถุเป็นสีเหลือง แสดงว่าเซลล์รูปกรวยใดทำงาน…………………………………………………………………….……
หากเรามองเห็นวัตถุเป็นสีม่วง แสดงว่าเซลล์รูปกรวยใดทำงาน.........................................................................................................
28. บีตส์ คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการ..........................ของคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่างกัน
29. วัตถุโปร่งแสง คือ (ยกตัวอย่างด้วย) ..............................................................................................................................................
วัตถุโปร่งใส คือ (ยกตัวอย่างด้วย) .................................................................................................................................................
วัตถุทึบแสง คือ (ยกตัวอย่างด้วย) .................................................................................................................................................
30. จากภาพ เป็นภาพของคลื่นอะไร




คลื่น ..................................... คลื่น ............................... คลื่น ........................... คลื่น ..................................

มีต่อหน้า 3








นักเรียนดูภาพแล้วตอบคำถามนะครับ
31. จากภาพจุด Y เราเรียกว่า .............................................................................................................................................................
32. จากภาพ จุด A จุด B จุด J เราเรียกว่า .......................................................................................................................................
33. จากภาพให้นักเรียนยกตัวอย่าง จุดที่มีเฟสตรงกัน 2 ตัวอย่าง ............................................................................................................
34. จากภาพให้นักเรียนยกตัวอย่าง จุดที่มีเฟสตรงข้ามกัน 2 ตัวอย่าง .....................................................................................................
35. จากภาพให้นักเรียนยกตัวอย่าง ความยาวคลื่น มา 5 ตัวอย่าง .........................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................
36. แสงสีที่มีความถี่มากที่สุดคือ ..................................... แสงสีที่มีความถี่น้อยที่สุดคือ ..........................................................................
37. ผู้หญิงคนหนึ่ง ทาปากสีแดง สวมเสื้อสีขาว กระโปรงสีเขียว ยืนอยู่กลางแสงไฟสีแดง ผู้คนที่ผ่านไปมาจะมองเห็นปาก เสื้อ และกระโปรงเป็นสีใด .................................................................................................................................................................................
38.
จากภาพตำแหน่งใดบ้างมีเฟสเดียว กับตำแหน่ง A
….......................................................................................................................................................................................................
พิจารณาจากภาพต่อไปนี้ ใช้ตอบคำถามข้อ 39 - 41




39. จากภาพมีคลื่นอยู่ทั้งหมดกี่ลูก …………………………………
40. จากภาพ ความยาวคลื่น คือตำแหน่งในข้อใด…………………………………….
41. จากภาพ แอมพลิจูด คือตำแหน่งในข้อใด …………………………………………………

จากภาพใช้ตอบคำถามข้อ 42 – 43

42. จงหาอัตราเร็วของคลื่นขบวนนี้ จงแสดงวิธีทำ
........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
43. ในเวลา 2 นาทีจะเกิดคลื่นทั้งหมดกี่ลูก จงแสดงวิธีทำ
.........................................................................................................................................................................................................




44. คลื่นขบวนหนึ่งมีอัตราเร็ว 20 เมตร / วินาที และมีคาบ 0.01 วินาที จงหาความยาวคลื่น จงแสดงวิธีทำ
........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
45. จากข้อ 44. จงหาความถี่ของคลื่น จงแสดงวิธีทำ
........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
46. จากภาพจงหาอัตราเร็วของคลื่นขบวนนี้ จงแสดงวิธีทำ

........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
47. ชาวประมง เวลาที่ออกไปหาปลาในน้ำทะเลลึก มีวิธีการวัดระดับความลึกของน้ำทะเลได้อย่างไร จงแสดงวิธีทำ
........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
48. ชาวประมง ใช้เครื่องโซนาร์ส่งคลื่นเสียงสะท้อนกลับมาภายในเวลา 30 วินาที อัตราเร็ว 10 เมตร / วินาที จงหาความลึกของน้ำทะเล จงแสดงวิธีทำ
........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
49. นักเรียนเรียนวิชา วิทยาศาสตร์4 เรื่องคลื่น มาแล้วอยากทราบว่า คลื่นมีบทบาท มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอะไรบ้าง
........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
50. นักเรียนเข้าห้องเรียนก็สาย ไม่ตั้งใจเรียน มานั่งเฉยๆให้มันพ้นไปวันๆ ง่วงก็หาว ติดสาวก็โดดเรียน กลับบ้านก็ไม่เคยทบทวนตำราเรียน สอบก็ตก ทำข้อสอบไม่ได้ บอกครูได้ไหมว่าเพราะอะไร เพื่ออะไร ทำไม แล้วไง
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................