งานและพลังงานความร้อน


งานและพลังงานความร้อน

09
พ.ย.
งานและพลังงานความร้อน


            การใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน พลังงานไม่มีตัวตน แต่สามารถทำงานได้ พลังงานมีอยู่ทั่วไป
เช่นเดียวกับสสาร พลังงานเกี่ยวข้องกับมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ในระยะแรกมนุษย์ใช้พลังงานแสงและพลัง-
งานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ต่อมาจึงใช้พลังงานจากสัตว์ พลังงาน จากการเผาไหม้เชื้อเพลิง

            พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้ งาน คือ ผลจากการกระทำของแรงซึ่งทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไป
สิ่งใดก็ตามที่สามารถทำให้ วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวของแรงหรือเปลี่ยนตำแหน่งเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่
หรือหยุดการเคลื่อนที่ได้ สิ่งนั้นย่อมมีพลังงาน3
.



คุณสมบัติทั่วไปของพลังงานมี 2 ประการ คือ

          1. สามารถทำงานได้
          2. สามารถเปลี่ยนรูปได้

      ความสามารถในการทำงานของพลังงานมีทั้งทางตรงและทางอ้อมกรณีที่
พลังงานกล้ามเนื้อทำให้เรามีแรงเคลื่อนย้าย วัตถุได้ถือว่าเป็นตัวอย่างที่แสดงถึง
ผลทางตรงของพลังงงานกล้ามเนื้อ กรณีที่พลังงานความร้อนทำให้น้ำกลายเป็น
ไอแล้วความดันของได้น้ำไปขับให้เครื่องกลทำงานได้เป็นตัวอย่างที่แสดงว่าการ
ทำงานของเครื่องกลเป็นผลทางอ้อมของพลังงานความร้อนที่ให้แก่น้ำ





           ค่าของพลังงานที่ใช้ไปวัดได้จากค่าของงานที่เกิดขึ้นซึ่งมีค่าเท่ากับผลคูณของแรง
ที่กระทำต่อวัตถุกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวแรงเนื่องจากการใช้พลังงาน
แต่ละครั้งจะทำให้เกิดงานมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสองอย่าง คือ แรงที่ใช้
กับระยะทางที่วัตถุถูกกระทำให้เคลื่อนที่ไป โดยทั่วไปแล้วหน่วยของงานคือ จูล



รูปแบบของพลังงาน

     1. พลังงานจลน์ ขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่จะมีพลังงานจลน์เกิดขึ้น วัตถุใด ๆก็ตามไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือ
ขนาดใหญ่ล้วนมีพลังงานจลน์ทั้งสิ้น ขณะที่มีการเคลื่อนที่ วัตถุใดมีความเร็วมากขึ้นก็จะมีพลังงานจลน์มากขึ้น
วัตถุสองอันที่มีความเร็วเท่ากัน วัตถุที่มีมีมวลมากกว่าจะมีพลังงานจลน์มากกว่า
      2. พลังงานศักย์ คือพลังงานที่วัตถุมีเนื่องตำแหน่งหรือการจัดการของวัตถุนั้น หรืออาจจะบอกได้ว่า เป็น
พลังงานในขณะที่วัตถุหยุดนิ่งนั้นเอง
      นอกจากนี้ยังมีพลังงานรูปอื่นอีก เช่น พลังงานความร้อน พลังงานแสง    พลังงานเสียง  พลังงานเคมี ฯลฯ
ซึ่งพลังงานเหล่านี้จะเกี่ยวข้องในกิจกรรมในชีวิตประจำวันของนักเรียนและพลังงานเหล่านี้สามารถเปลี่ยนรูป

ที่มา  http://www.jv.ac.th/webteacher/Teacher_R/S_1.html

ไม่มีความคิดเห็น: