แบบทดสอบโครงสร้างอะตอม


1.  อะตอมประกอบไปด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอนในจำนวนที่เท่า ๆ กัน คือ แบบจำลองอะตอมของใคร
     ก.  ดอลตัน
     ข.  ทอมสัน
     ค.  รัทเทอร์ฟอร์ด
     ง.  โบร์
2.  ข้อใดกล่าวถูกต้อง
     ก.  ธาตุต่างชนิดกันมีมวลต่างกันหรือมีนิวตรอนต่างกันเรียกว่าไอโซโทป
     ข.  มวลของอะตอม คือ มวลของโปรตอนกับอิเล็กตรอนในนิวเคลียส
     ค.  มวลของอะตอม คือ มวลของโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียส
     ง.  เลขอะตอมจะบอกถึงจำนวนโปรตอนและจำนวนนิวตรอนในอะตอม
3.  อนุภาคข้อใดที่มีมวลใกล้เคียงกัน
               ก.  โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน
                ข.  โปรตอนกับอิเล็กตรอน
                ค.  นิวครอนกับอิเล็กตรอน
                ง.  โปรตอนกับนิวตรอน
4.  ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
                ก.  โปรตอนและอิเล็กตรอนรวมกันเป็นนิวเคลียสของอะตอม
                ข.  นิวเคลียสมีขนาดเล็กมากและมีมวลมาก ภายในประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน
                ค.  นิวเคลียสเป็นกลางทางไฟฟ้าเพราะประจุของโปรตอนกับของอิเล็กตรอนเท่ากัน
                ง.   อะตอมของธาตุประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนกระจัดกระจายอยู่ภายในด้วยจำนวนเท่ากัน
5.  เลขอะตอมของธาตุ คือข้อใด
                ก.  จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุ
                ข.  จำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุ
                ค.  จำนวนนิวครอนในอะตอมของธาตุ
                ง.  จำนวนโปรตอนกับนิวตรอนในอะตอมของธาตุ




6.  ธาตุ P มีเลขอะตอม 15 มีนิวตรอน 16 จะมีเลขมวล โปรตอน และอิเล็กตรอนเท่าไรตามลำดับ
                ก.  31,  15,  15
                ข.  31,  16,  15
                ค.  16,  15,  15
                ง.  15,  31,  16
7.  ข้อใดอธิบายความหมายไอโซโทปของธาตุได้ถูกต้อง
                ก.  ธาตุชนิดเดียวกัน เลขมวลเหมือนกันแต่เลขอะตอมต่างกัน
                ข.  ธาตุชนิดเดียวกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน
                ค.  ธาตุต่างชนิดกันมีเลขอะตอมเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน
                ง.  ธาตุต่างชนิดกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน
8.  ธาตุโซเดียม (Na) มีเลขอะตอมเท่ากับ 11 จะมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังข้อใด
                ก.  2, 9
                ข.  2,  8,  1
                ค.  2,  6,  5
                ง.  1,  8,  2 
9.  ข้อใดบอกความหมายของเลขมวลได้ถูกต้อง
                ก.  จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม
                ข.  มวลรวมของนิวตรอนโปรตอน และอิเล็กตรอนในอะตอม
                ค.  มวลรวมของนิวตรอนและโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม
                ง.  มวลรวมของโปรตอน และอิเล็กตรอนในนิวเคลียสของอะตอม
10.  ธาตุคลอรีน (CI) มีเลขอะตอม 17 จะอยู่ในคาบและหมู่ละที่เท่าไรของตารางธาตุ
               ก.  คาบ 3 หมู่ 7
              ข.  คาบ 7 หมู่ 3
              ค.  คาบ 2 หมู่ 7
              ง.  คาบ 3 หมู่ 8
11.  แบบจำลองอะตอมของดอลตันเป็นอย่างไร
ก.       ทรงกลมตัน
ข.      ทรงกลงกลวง
ค.      ทรงกลมมีช่องตรงกลาง
ง.     ทรงกลมผิวขรุขระ




12. ทฤษฎีอะตอมดอลตันข้อใดถูกต้องตามหลักทฤษฎี
ก.  สารประกอบขึ้นด้วยอนุภาคที่สร้างขึ้น หรือทำลายไม่ได้
ข.  สารประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่แบ่งแยกได้
ค.  สารประกอบขึ้นด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่ยังไม่มีชื่อเรียก
ง. สารประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่แบ่งแยกไม่ได
13. แบบจำลองอะตอมของ Dalton ได้มาได้อย่างไร
ก. การทดลอง 
ข. การใช้หลักตรรกศาสตร์ 
ค. การทำแบบสอบถามนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ
ง.  การเสนอความคิด
14.  ทอมสันใช้วิธีใดที่จะทำให้ทราบประจุของรังสีแคโทด
ก.  เพิ่มความดัน ก๊าซ
ข.  ใช้สนามแม่เหล็ก
ค.  ลดความต่างศักย์
ง.  ใส่สนามไฟฟ้า         
15. ประจุต่อมวลของ  e
ก. 1.76 x 10x8  คูลอมบ์/กรัม 
ข. 1.6 x 10-19  คูลอมบ์/กรัม 
ค. 9.1 x 10-28  คูลอมบ์/กรัม
ง.  6.02 x 10-23  คูลอมบ์/กรัม
16. โกลโสตน์ ทำอะไรที่เป็นการทดลองขั้นต่อจากทอมสัน
ก.  เจาะรูที่ แคโทด
ข.  เจาะรูที่ แอโนด
ค.  เจาะรูที่ แคโทดและ แอโนด
ง. หาค่าประจุของ e ด้วยวิธี oil drop experiment (เม็ดน้ำมัน)
17. รัทเทอร์ฟอร์ด ยิงสิ่งใดใส่แผ่นโลหะบางๆ
ก.  รังสีแกมมา
ข.  42He
ค.  รังสีเอ็กซ์
 42He2+   


18.  สิ่งที่ยิงใส่แผ่นโลหะบาง ๆ เดินทางอย่างไร เรียงลำดับจากโอกาสมากไปยังโอกาสน้อย
ก.  ไม่เบี่ยงเบน     เบี่ยงเบน         สะท้อนกลับ
ข.  สะท้อนกลับ    เบี่ยงเบน         ไม่เบี่ยงเบน
ค.  ไม่เบี่ยงเบน     สะท้อนกลับ     เบี่ยงเบน
ง.  เบี่ยงเบน        ไม่เบี่ยงเบน      สะท้อนกลับ  
19. สิ่งใดทำให้อะตอมมีขนาดใหญ่ และมีมวลมากตามลำดับ
ก. อิเล็กตรอน              พื้นที่ตัน
ข. พื้นที่ว่าง                 โปรตอน
ค. โปรตอน                  อิเล็กตรอน
ง.  อิเล็กตรอน             โปรตอน
20. สิ่งใดที่ทำให้ เจ เจ ทอมสัน สรุปว่าอะตอม ซึ่งเดิมเข้าใจว่าแบ่งแยกไม่ได้นั้นความจริงสามารถแบ่งย่อยได้อีก
ก. หาค่าประจุต่อมวลได้  คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม
ข. ขั้วไฟฟ้าลบทุกชนิด สามารถให้อิเล็กตรอนได้ทั้งสิ้น
ค. รังสีแคโทดออกจากขั้วไฟฟ้าลบ
ง. มวลไอออนของไฮโดรเจนมากกว่ามวลอิเล็กตรอน ประมาณ 1,800 เท่า
21. การทดลองของทอมสันเกี่ยวกับรังสีแคโทดเพื่อหาอัตราส่วนประจุต่อมวลของอิเล็กตรอนนั้น ข้อใดที่ไม่ใช่ผลสรุปจากการทดลองนี้
ก. ขั้วไฟฟ้าลบที่เป็นโลหะทุกชนิดสามารถให้อิเล็กตรอนได้ทั้งนั้น
ข. อะตอมซึ่งเข้าใจกันแต่เดิมว่าแบ่งแยกไม่ได้นั้นที่จริงแบ่งย่อยลงไปอีกได้
ค. อิเล็กตรอนเป็นส่วนประกอบสำคัญอันหนึ่งของอะตอม
ง. อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียส มีอิเล็กตรอนวนอยู่รอบ
22. รังสีแคโทด
ก. มีอำนาจทะลุทะลวงสูง ข. เกิดจากการแตกตัวของแก๊ส
ค. ไม่มีประจุ ไม่มีมวล                      ง. เบี่ยงเบนได้ด้วยอำนาจของแม่เหล็ก

23. มวลของอนุภาครังสีแคโทด
ก. มากกว่าไฮโดรเจน                         ข. เท่ากับไฮโดรเจน
ค. น้อยกว่าไฮโดรเจนมาก                ง. ไม่มีมวล

24. การค้นพบอิเล็กตรอนของทอมสัน ทำลายแนวความคิดเดิมด้านไหนไป
ก. อะตอมเป็นหน่วยย่อยของสารที่ไม่สามารถแบ่งต่อไปอีกได้
ข. สารต่างๆ ในโลกประกอบด้วยธาตุเหล็กทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ค. อะตอมของธาตุทุกชนิดเหมือนกัน สารแตกต่างกันเพราะการจัดเรียงตัวต่างกัน
ง. การเรียงตัวกันของอะตอมทำให้เกิดช่องว่างระหว่างอะตอมที่เรียกว่าวอยด์ (Void)
25. รังสีแคโทดมีประจุไฟฟ้าเป็น
ก. ลบ                                     ข. บวก                                   ค. กลาง                                 ง. ไม่มีประจุ
26. ความเร็วของอิเล็กตรอนระหว่างขั้วไฟฟ้าของหลอดไดโอดขึ้นอยู่กับ
ก. ระยะห่างของขั้วหลอด                                 ข. ความต่างศักย์ระหว่างขั้วหลอด
ค. ธรรมชาติของขั้วหลอด                 ง. กระแสระหว่างขั้วหลอด

27. ในการทดลองของมิลลิแกน ประจุไฟฟ้าของหยดน้ำมันจะเป็นอย่างไร
ก. มีค่าคงที่เท่ากันหมดทุกหยด
ข. มีค่าไม่แน่นอน จะเป็นเท่าใดก็ได้
ค. มีค่าไม่แน่นอน แต่จะต้องเป็นจำนวนเต็มเท่าของตัวเลขค่าหนึ่งเสมอ
ง. เป็นเลขจำนวนเฉพาะที่ไม่สามรถแยกตัวประกอบได้

28. จากการทดลองหยดน้ำมัน ทำให้มิลลิแกนทราบ
ก. ประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน                         ข. มวลของอิเล็กตรอน
ค. ประจุต่อมวลของอิเล็กตรอน                       ง. ข้อ ก และ ข ถูก

29. ในการทดลองวัดประจุไฟฟ้าบนหยดน้ำมันจะพบว่าหยดน้ำมันส่วนใหญ่มีประจุไฟฟ้าชนิดใด
ก. บวก                                                   ข. ลบ                    
ค. ไม่แน่ว่าบวกหรือลบ                     ง. จะเป็นประจุชนิดใดขึ้นอยู่น้ำมันที่ใช้ทดลอง

30. การจัดสนามไฟฟ้าในการทดลองของมิลลิแกน จะต้องจัดให้สนามไฟฟ้าอยู่ในแนวใด
ก. แนวดิ่งขึ้น                                       ข. แนวดิ่งลง
ค. แนวระดับไปทางขวา                    ง. ข้อ ก และ ข ถูก
31. การทดลองโดยใช้หยดน้ำมันของมิลลิแกนประจุที่วัดได้คือ
1. ประจุอิเล็กตรอน 1 ตัว
2. ประจุของหยดน้ำมัน 1 หยด
3. ประจุของอิเล็กตรอนอิสระทั้งหมดบนหยดน้ำมัน
ข้อใดถูก
ก. ข้อ 1 ถูก                           ข. ข้อ 2 ถูก                           ค. ข้อ 3 ถูก                           ง. ข้อ 2,3 ถูก
32. หยดน้ำมันมวล m เคลื่อนที่ลงด้วยความเร็ว ในสนามไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากแผ่นโลหะขนาน มีความต่างศักย์ V มีระยะห่างกัน d ประจุบนหยดน้ำมันมีค่าเท่าใด ให้ g เป็นความเร่งเนื่องจากสนามโน้มถ่วง
ก.                               ข.                                ค.                               ง.
33. พลังงาน 1 eV มีค่ากี่จูล
ก.  จูล              ข.  จูล              ค.  จูล              ง.  จูล


34. พลังงานของอิเล็กตรอนที่เกิดจากแสงตกกระทบผิวโลหะขึ้นอยู่กับ
ก. ความเร็วของแสง           ข. ความเข้มของแสง          ค. ความถี่ของแสง              ง. ความยาวคลื่น

35. จำนวนอิเล็กตรอนที่หลุดจากผิว หรือค่ากระแสไฟฟ้าที่ได้จะมีค่าขึ้นอยู่กับ
ก. ความเข้มของแสง          ข. ความเร็วของแสง           ค. ความถี่แสง      ง. ความยาวคลื่น

36. ข้อใด เป็นปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
ก. เมื่อแสงความยาวคลื่นสั้น กระทบผิวโลหะ ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมา
ข. เมื่อแสงที่มีความยาวคลื่นยาว กระทบผิวโลหะทำให้เกิดความร้อน
ค. เมื่อแสงกระทบผิวโลหะ จะดูดกลืนรังสีความร้อน
ง. เมื่อแสงความยาวคลื่นสั้น กระทบผิวโลหะ จะเกิดการสะท้อน

37. ชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มก้อนของแสง และสูตรพลังงานของกลุ่มแสงดังกล่าวคือ
ก. ควานตา ,                                 ข. ควานตัม ,               ค. โฟตอน ,                  ง. โตโต ,

38. ความถี่ขีดเริ่ม คือค่าความถี่ที่ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากผิวโลหะได้พอดี ความถี่นั้นเป็น
ก. ความถี่ที่มีค่ามากที่สุด                                   ข. ความถี่ที่น้อยที่สุด
ค. ความถี่ที่ตาเริ่มมองเห็น                                ง. ความถี่ที่ให้ความยาวคลื่นสั้นที่สุด

39. จากการศึกษาปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก สรุปได้ว่า
ก. เมื่อแสงมีความถี่เท่ากับความถี่ขีดเริ่ม ตกกระทบผิวโลหะจะไม่มีอิเล็กตรอนหลุดจากผิวโลหะ
ค. แสงที่มีความถี่ค่าเดียวตกกระทบผิวโลหะต่างชนิดกัน จะให้โฟโตอิเล็กตรอนที่มีพลังงานจลน์สูงสุดเท่ากัน
ค. เมื่อเพิ่มความเข้มแสงที่ตกกระทบผิวโลหะ กระแสโฟโตอิเล็กตรอนจะมีค่าเพิ่มขึ้น
ง. เมื่อเพิ่มความเข้มแสงที่ตกกระทบผิวโลหะ จำนวนโฟโตอิเล็กตรอนจะเท่าเดิมแต่มีพลังงานสูงขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น: