แนวข้อสอบ คำศัพท์วิทยาศาสตร์ ศัพท์ฟิสิกส์

 physics (ฟิสิกส์) ศาสตร์ที่มุ่งทำความเข้าใจทุกสิ่งตั้งแต่ระดับเล็กกว่าอะตอมไปจนถึงเอกภพ

quantum (ฟิสิกส์ควอนตัม) ฟิสิกส์ของวัตถุขนาดเล็กระดับอะตอมและปรากฎการณ์ระดับอะตอม เช่น การแผ่รังสี

atom (อะตอม) ชิ้นส่วนเล็กๆที่รวมกันเป็นสสาร อะตอมมีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยอิเล็กตรอนหนึ่งตัวหรือมากกว่านั้น

particle (อนุภาค) ในฟิสิกส์ใช้เรียกสิ่งที่่ขนาดเล็กกว่าอะตอมมากๆ อนุภาคบางชนิดก็เป็นส่วนประกอบของอะตอม เช่น โปรตอน นิวตรอน

subatomic particle (อนุภาคย่อยของอะตอม) ใช้เรียกอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม เช่น โปรตอน อิเล็กตรอน หรืออนุภาคที่เล็กกว่านั้นคือควาร์ก

nucleus (นิวเคลียส) คือศูนย์กลางของอะตอมเกิดจากโปรตรอนและนิวตรอน มวลของนิวเคลียสถือเป็นมวลส่วนใหญ่ของอะตอม

electron (อิเล็กตรอน) หนึ่งในสามอนุภาคหลักของอะตอม มีประจุไฟฟ้าลบ

protron (โปรตรอน) หนึ่งในสองอนุภาคในนิวเคลียส มีประจุไฟฟ้าบวก

neutron (นิวตรอน) หนึ่งในสองอนุภาคหลักในนิวเคลียสไม่มีประจุไฟฟ้า

photon (โฟตอน) อนุภาคของแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อมองว่าคลื่นก็ประพฤติตัวเป็นอนุภาคด้วย

radioactive (กัมมันตรังสี) คืออนุภาคความเร็วสูงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากอะตอมเมื่อเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนอะตอมอยู่ในภาวะไม่เสถียร

wave (คลื่น) คือกระบวนการในการถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งหรือเป็นการถ่ายเทพลังงานจากแหล่งกำเนิดออกไปยังบริเวณโดยรอบ

wavelength (ความยาวคลื่น) คือระยะห่างระหว่างยอดคลื่นหนึ่งถึงอีกยอดคลื่นหนึ่ง

velocity (ความเร็วคลื่น) คือระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ในหนึ่งวินาที

frequency (ความถี่) คือจำนวนคลื่นที่ผ่านไปในหนึ่งวินาที

electromagnetic wave (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) คือรูปแบบของพลังงานที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงและมีสมบัติที่เป็นได้ทั้งคลื่นหรืออนุภาค เป็นคลื่นที่ไม่อาศัยตัวกลางในการถ่ายเทพลังงาน

radio wave (คลื่นวิทยุ) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง ซึ่งมีคุณสมบัติกระจายไปได้เป็นระยะทางไกล ด้วยความเร็วเท่ากับแสงคือ 300 ล้านเมตรต่อวินาที

microwave (ไมโครเวฟ) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยามคลื่นมากกว่ารังสีอินฟราเรด แต่สั้นกว่าคลื่นวิทยุส่วนใหญ่

Gamma rays (รังสีแกมมา) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งมีความยาวคลื่นสั้น สารกัมมันตรังสีสามารถแผ่รังสีแกมมาได้

Infrared ray (รังสีอินฟาเรด) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นมากกว่าคลื่นแสง สิ่งที่มาพร้อมกับรังสีอินฟาเรดก็คือความร้อน

X-rays (รังสีเอกซ์) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความยาวคลื่นอยู่ระหว่างรังสีแกมมาและรังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ทะลุผ่านส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ยกเว้นกระดูกและฟัน

ultraviolet (แสงอัลตราไวโอเลต) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าคลื่นแสง

light (แสง) คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แสงสีขาวเกิดจาการผสมกันของแสงทุกๆ สีที่เราเห็นในรุ้ง

reflection (การสะท้อน) คือการที่แสงเคลื่อนที่ไปตกกระทบกับสิ่งกีดขวางหรือรอยต่อระหว่างตัวกลางแล้วเปลี่ยนทิศสะท้อนกลับ มาในตัวกลางเดิม

refraction (การหักเห) คือการเลี้ยวเบนของลำแสงเมื่อผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน เช่น อากาศไปสู่น้ำ

index of refraction (ดรรชนีหักเห) คืออัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วของแสงในสุญญากาศกับอัตราเร็วของแสงในตัวกลางใดๆ

spectrum (สเปกตรัม) การจัดลำดับของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียงตามความยาวคลื่นจากสั้นที่สุดไปยาวที่สุด สีของรุ้งในสเปกตรัมก็คือสีของคลื่นแสงที่ตามองเห็น

sound (เสียง) การสั่นของโมเลกุล แผ่ออกจากจุดกำเนิดในรูปคลื่นผ่านออกหรือตัวกลาง ชนิดอื่น ๆ

infrasound (อินฟราซาวด์) คือเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์

ultrasound (อัลตราซาวน์) คือเสียงที่มีความถี่มากกว่า 20000 เฮิรตซ์

interference (การแทรกสอด) คืิอการรบกวนที่เกิดขึ้นเมื่อคลื่น 2 ชุดหรือมากกว่านั้น (เช่นคลื่นแสงหรือคลื่นเสียง) เคลื่อนชนกัน

heat (ความร้อน) คือพลังงานรูปหนึ่งที่สะสมอยู่ในรูปพลังงานจลน์ของโมเลกุลของวัตถุ

conduction (การนำความร้อน) คือการถ่ายเทความร้อนผ่านตัวกลาง โดยตัวกลางไม่เคลื่อนที่ ตัวกลางจึงมักเป็นของแข็ง

convection (การพาความร้อน) คือการถ่ายเทความร้อนผ่านของไหล (ของเหลวหรือก๊าซ) โดยของไหลมีการเคลื่อนที่ไปด้วย

radiation (การแผ่รังสีความร้อน) คือการถ่ายโอนพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่น แสง) รังสีชนิดต่าง ๆ ที่ออกมาจากสารกัมมันตรังสีก็เกิดจากการแผ่รังสีเช่นกัน

temperature (อุณหภูมิ) ระดับความร้อนหรือเย็นของวัตถุ

freezing point (จุดเยือกแข็ง) คืออุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง

boiling point (จุดเดือด) คืออุณหภูมิขณะที่ความดันสูงสุดของไอของของเหลวเท่ากับความกดของบรรยากาศ ณ อุณหภูมินี้ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอได้ทั่วทั้งก้อน

melting point (จุดหลอมเหลว) คืออุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะกลายเป็นของเหลว

matter (สสาร) สิ่งใดก็ตามที่มีมวลและต้องการที่อยู่

molecule (โมเลกุล) สสารที่ประกอบขึ้นจากอะตอมสองตัวขึ้นไปที่ยึดกันอย่างแข็งแรง

solid (ของแข็ง) สถานะของสสาร มีการจัดเรียงตัวของอนุภาคองค์ประกอบใกล้ชิดกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีค่ามาก อนุภาคของแข็งจึงเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่จะสั่นไปมาได้เล็กน้อย เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อยมาก

liquid (ของเหลว) คือสถานะของสสารที่อยู่ระหว่างของแข็งกับก๊าซ โมเลกุลเคลื่อนที่ได้แต่ยังคงมีแรงดึงดูดระหว่างกัน

gas (ก๊าซ) คือสถานะของสสาร แต่ละโมเลกุลอยู่ห่างกันมากและเคลื่อนที่อย่างอิสระ

fluid (ของไหล) คือสสารที่ไหลได้ ของเหลวและก๊าซต่างก็เป็นของไหล

evaporation (การระเหย) คือการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารจากของเหลวเป็นก๊าซ

sublimation หรือ primary drying (การระเหิด) คือเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารจากของแข็งกลายเป็นไอหรือก๊าซ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลว โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว

electricity (ไฟฟ้า) ผลที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า

electric current (กระแสไฟฟ้า) คือการไหลของประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำจนครบวงจร

charge (ประจุไฟฟ้า) คือปริมาณที่ทำให้วัตถุรู้สึกได้ถึงแรงทางไฟฟ้า มี 2 ชนิด คือ ประจุไฟฟ้าลบและบวก

electrical circuit (วงจรไฟฟ้า) คือเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

series circuit (การต่อวงจรแบบอนุกรม) กระแสไฟฟ้าจะไม่แยกไหล กระแสไฟฟ้าเท่ากันตลอด

parallel circuit (การต่อวงจรแบบขนาน) กระแสไฟฟ้าแยกไหล

resistor (ตัวต้านทาน) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อควบคุมกระแสและแรงดันภายในวงจรให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ

conductor (ตัวนำ) คือสิ่งที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี มีความต้านทานน้อย

insulator (ฉนวน) คือสิ่งที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน มีความต้านทานมาก

force (แรง) คือปริมาณเวกเตอร์ที่ประกอบด้วยขนาดและทิศทาง แรงจะทำให้ความเร็ว ทิศทาง หรือรูปร่างของวัตถุเปลี่ยน

gravitational force (แรงโน้มถ่วง) เช่นแรงดึงดูดของโลก มีเฉพาะแรงดูดเท่านั้น เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลทั้งหลายเข้าด้วยกัน

magnetic force (แรงแม่เหล็ก) เป็นแรงดูดและแรงผลักระหว่างขั้วแม่เหล็ก

magnetism (ความเป็นแม่เหล็ก) คือสมบัติหนึ่งของสสาร โดยเฉพาะโลหะในการดึงดูดหรือผลักโลหะอีกอัน

magnetic field (สนามแม่เหล็ก) อาณาบริเวณรอบๆ สารแม่เหล็กที่แรงแม่เหล็กส่งไปถึงได้

electric force (แรงไฟฟ้า) เป็นแรงดูดและแรงผลักระหว่างประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบ

electric field (สนามไฟฟ้า) บริเวณโดยรอบประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้าสามารถส่งอำนาจไปถึง

nuclear force (แรงนิวเคลียร์) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคต่างๆภายในนิวเคลียสของอะตอม

resultance force (แรงลัพธ์) คือผลรวมของแรงหลายแรงที่มากระทำต่อวัตถุในระนาบเดียวกันก็เปรียบเสมือนมีแรงเพียงแรงเดียวกระทำต่อวัตถุนั้นเอง

mass (มวล) เป็นปริมาณสเกลาร์ ในระบบเอสไอใช้หน่วยฐานของมวลเป็นกิโลกรัม เป็นสมบัติทางความเฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

weight (น้ำหนัก) เป็นแรงจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ซึ่งมีทิศเดียวกับความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง มีหน่วยเป็นนิวตัน

distance (ระยะทาง) คือ ความยาวตามเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด เป็นปริมาณสเกลาร์ 

displacement (การกระจัด) คือ เส้นตรงที่เชื่อมโยงระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่ เป็นปริมาณเวกเตอร์

speed (อัตราเร็ว) คือระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา

velocity (ความเร็ว) คือการกระจัดที่เปลี่ยนแปลงไปในหนึ่งหน่วยเวลา

acceleration (ความเร่ง) คือความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไปในหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งอาจจะคงที่หรือไม่คงที่ก็ได้

ticker timer (เครื่องเคาะสัญญาณเวลา) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หาอัตราเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ในระยะเวลาสั้นๆ

inertia (ความเฉื่อย) สมบัติของวัตถุที่พยายามรักษาสถานะการเคลื่อนที่ไว้

drag (แรงต้าน) แรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุเคลื่อนที่ผ่านก๊าซหรือของเหลว

lift (แรงยก) แรงยกวัตถุที่เกิดขึ้นเมื่อเคลื่อนที่ผ่านของไหล เช่น แรงยกที่ปีกเครื่องบิน

action force (แรงกิริยา) คือแรงใดๆที่กระทำต่อวัตถุที่จุดใดจุดหนึ่ง

reaction force (แรงปฏิกิริยา) คือแรงที่กระทำตอบโต้ต่อแรงกิริยาที่จุดเดียวกันโดยมีขนาดเท่ากับแรงกิริยา แต่มีทิศทางตรงข้าม

friction (แรงเสียดทาน) เป็นแรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อวัตถุมีพื้นผิวสัมผัสกันโดยมีทิศตรงข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ

static friction (แรงเสียดทานสถิต) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะวัตถุยังไม่เคลื่อนที่

kinetic friction (แรงเสียดทานจลน์) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะวัตถุเลื่อนที่

center of mass (จุดศูนย์กลางมวล) คือจุดที่เสมือนเป็นที่รวมมวลของวัตถุทั้งก้อน

centre of gravity (จุดศูนย์กลางโน้มถ่วง) หรือจุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เสมือนเป็นที่รวมน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน

montion in a circle (การเคลื่อนที่แบบวงกลม) วัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลม บนระนาบใดๆ อัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่งของวัตถุจะคงที่หรือไม่ก็ได้ แต่ความเร็วของวัตถุไม่คงที่แน่นอน

projectile (การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์) การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เคลื่อนที่ในแนวราบและแนวดิ่งพร้อมๆกันจนเกิดเป็นเส้นโค้งรูปพาราโบลา

energy (พลังงาน) คือความสามารถในการทำงาน

machanical energy (พลังงานกล) คือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ ที่กำลังเคลื่อนที่หรือพร้อมที่จะเคลื่อนที่แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ พลังงานจลน์และพลังงานศักย์

kinetic energy (พลังงานจลน์) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่

potential energy (พลังงานศักย์) เป็นพลังงานที่ถูกเก็บสะสมไว้ในวัตถุเมื่อวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง แบ่งเป็น 2 แบบคือ พลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานศักย์ยืดหยุ่น

power (กำลัง) งานที่ทำได้ในหนึ่งหน่วยเวลา

momentum (โมเมนตัม) เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่บอกสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ

moment (โมเมนต์) ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน โมเมนต์มี 2 ชนิดคือ โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาและโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

lever (คาน) คือเครื่องกลชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือการทำงานหรืออำนวยความสะดวกในการทำงาน

pulley (รอก) คือเครื่องกลชนิดหนึ่งซึ่งอาจช่วนผ่อนแรงหรือไม่ผ่อนแรงแต่อำนวยความสะดวก

mass density (ความหนาแน่น) คืออัตราส่วนระหว่างมวลของสารต่อปริมาตรของสาร

buayancy force (แรงลอยตัว) คือแรงที่ของเหลวพยุงวัตถุไว้ เมื่อวัตถุนั้นอยู่ในของเหลว

specific gravity (ความถ่วงจำเพาะ) อัตราส่วนระหว่างมวลหรือน้ำหนักของสารเทียบกับมวลหรือน้ำหนักของน้ำ หรืออัตราส่วนของความหนาแน่นของสารเทียบกับความหนาแน่นของน้ำ

atmosphere (บรรยากาศ) อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ หนาไม่เกิน 1000 กิโลเมตรจากผิวโลก

pressure (ความดันอากาศ) แรงดันของอากาศต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่

work (งาน) คือการวัดปริมาณพลังงานที่ใช้มีค่าเท่ากับแรงที่ใช้คูณระยะทางที่ออกแรง

ไม่มีความคิดเห็น: