ใบความรู้ เรื่อง ปฏิกิริยานิวเคลียร์
ปฏิกิริยานิวเคลียร์
(Nuclear Reaction) ส่วนมากเกิดจากการยิงอนุภาคแอลฟา โปรตอนและนิวตรอนเข้าไปในชน Nucleus ทำให้ Nucleus แตกออก ปฏิกิริยานิวเคลียร์
มีส่วนสำคัญคือ
1. ปฏิกิริยา Nuclear เกิดในนิวเคลียส ต่างจากปฏิกิริยาเคมี
ซึ่งเกิดกับอิเลกตรอนภายในอะตอม
2. ปฏิกิริยา Nuclear ต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากเพื่อจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนิวเคลียส
3. แรงจากปฏิกิริยา Nuclear เป็นแรงแบบใหม่ เรียก แรงนิวเคลียร์ ซึ่งมีอันตรกริยาสูง
และอาณาเขตกระทำสั้นมากและแรงนี้เกิดระหว่างองค์ประกอบของนิวเคลียสเท่านั้น
4. ในปฏิกิริยานิวเคลียส เราสามารถนำกฎต่างๆ มาใช้ได้เป็นอย่างดี คือ กฎการคงที่ของพลังงาน กฎทรงมวล
และการคงที่ของประจุไฟฟ้า
สมการ Nuclear จะเขียนอยู่ในรูปของ
x + a à y + b
x
= นิวเคลียสที่เป็นเป้า , y = นิวเคลียสที่เกิดใหม่
a = อนุภาคที่วิ่งชน , b = อนุภาคที่เกิดใหม่
จากข้างบน สามารถเขียนย่อได้ว่า x(a,b)y และเรียกปฏิกิริยาว่า
(a,b)
ของ Nucleus x
ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission) เป็นปฏิกิริยาแยกตัวของนิวเคลียส โดยมีนิวตรอนเป็นตัววิ่งเข้าชนนิวเคลียสหนัก (A>230)
เป็นผลทำให้ได้นิวเคลียสที่มีขนาดปานกลาง และมีนิวตรอนที่มีความเร็วสูงเกิดขึ้นประมาณ 2-3
ตัว
ทั้งมีการคายพลังงานออกมาด้วย เช่น
ปฏิกิริยาลูกโซ่
เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์
โดยที่เราสามารถควบคุมการเกิดฟิชชันและปฏิกิริยาลูกโซ่ได้
พลังงานที่ได้เราสามารถนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้
ปฏิกิริยาฟิวชัน
(Fusion)
เป็นปฏิกิริยาหลอมตัวของนิวเคลียสและมีพลังงานคายออกมาด้วย นิวเคลียสที่ใช้หลอดจะต้องเป็นนิวเคลียสเล็กๆ (A<20)
หลอมรวมกลายเป็นนิวเคลียสเบาที่ใหญ่กว่าเดิม ในปัจจุบันเชื่อกันว่าบนดาวฤกษ์ต่างๆ
พลังงานมหาศาลที่ปล่อยออกมาเกิดจากปฏิกิริยาฟิวชันทั้งสิ้น
ในแต่ละปฏิกิริยาของฟิชชันและฟิวชันเมื่อเทียบพลังงานแล้ว
ในฟิชชันหนึ่งปฎิกิริยาจะให้พลังงานมากกว่าฟิวชันหนึ่งปฏิกิริยา แต่ในขนาดมวลที่พอกันของสารที่ทำให้เกิดฟิวชัน
(เช่น 1H1) กับ สารที่ทำให้เกิดฟิชชัน (เช่น U235)
จำนวนปฏิกิริยาฟิวชันจะมากกว่าฟิชชันมากเป็นผลทำให้พลังงานรวมที่ได้จากฟิวชันมากกว่าฟิชชัน
สรุป
1) ปฏิกิริยานิวเคลียร์
1.1 การหานิวเคลียสของธาตุจากปฏิกิริยา ใช้หลักดังนี้
1) ผลรวมของประจุทางซ้ายมือและขวามือของสมการมีค่าเท่ากัน
2) จำนวนนิวคลีออนทางซ้ายมือและขวามือของสมการมีค่าเท่ากัน
1.2
การคำนวณพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ มีหลักดังนี้
1) ถ้ามวลรวมก่อนเกิดปฏิกิริยา
> มวลรวมหลักเกิดปฏิกิริยา ; ปฏิกิริยานี้จะคายพลังงาน
ถ้ามวลรวมก่อนเกิดปฏิกิริยา <
มวลรวมหลังเกิดปฏิกิริยา ; ปฏิกิริยานี้จะดูดพลังงาน
2) พลังงานที่คายหรือดูดจะหาได้จาก
ผลต่างของมวลรวมก่อนทำปฏิกิริยากับหลังทำปฏิกิริยาคูณด้วย 931 โดยมวลอยู่ในหน่วย amu และพลังงานอยู่ในหน่วย MeV
3) มวลที่ใช้อาจเป็นมวลนิวเคลียสโดยตรง
หรือ มวลอะตอมก็ต้องเป็นมวลอะตอมหมดจะปนกันไม่ได้
นิวเคลียสก็ต้องเป็นนิวเคลียสหมด
หรือมวลอะตอมก็ต้องเป็นมวลอะตอมหมดจะปนกันไม่ได้
2) ปฏิกิริยาฟิชชัน เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการยิงนิวตรอนเข้าชนนิวเคลียสของธาตุหนัก
(A>230)
เป็นผลให้ได้นิวเคลียสที่มีขนาดปานกลาง 2 นิวเคลียส พร้อมทั้งนิวตรอนประมาณ 2-3 ตัว และการมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาด้วย
3) ปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นปฏิกิริยาฟิชชันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องหลังจากยิงนิวตรอนตัวแรกเข้าชนนิวเคลียสของธาตุหนัก
4) ปฏิกิริยาฟิวชัน เป็นปฏิกิริยาหลอมตัวของนิวเคลียสธาตุเบากลายเป็นนิวเคลียสธาตุเบาที่หนักกว่าเดิม
และมีการคายพลังงานออกมาด้วย
ข้อควรจำ 1) ปฏิกิริยาฟิชชัน 1 ปฏิกิริยา จะให้พลังงานมากกว่าปฏิกิริยาฟิวชัน
1 ปฏิกิริยา
2) ขนาดของมวลนิวเคลียสที่เท่ากันเข้ากันทำปฏิกิริยาฟิชชั่นและปฏิกิริยาฟิวชั่น
พลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิวชั่นจะมากกว่าพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิชชั่น
JJJJJJJJJJJJJJJJJJJJJJJJJJJJJ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น