แผนการสอน

แผนการสอน

- การรวมเวคเตอร์: โดยวิธีทางกราฟ และโดยวิธีใช้เวคเตอร์องค์ประกอบ

- เวคเตอร์และกฎทางฟิสิกส์: การหาเวคเตอร์องค์ประกอบเมื่อมีการเปลี่ยนแกนอ้างอิงเวคเตอร์หนึ่งหน่วย

- การคูณเวคเตอร์: ผลคูณแบบสเกลาร์ และผลคูณแบบเวคเตอร์

- ระบบอนุภาค: การหาจุดศูนย์กลางมวลในระบบที่มีอนุภาคหลายตัว

- กฎข้อที่สองของนิวตัน สำหรับระบบอนุภาค หาความเร่งใรนระบบที่ประกอบด้วย

อนุภาคหลายตัวเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำกับอนุภาคเหล่านั้น

- โมเมนตัมเชิงเส้นของระบบ และ กฎการคงตัวของโมเมนตัมเชิงเส้น

- การชน: ทบทวนเรื่องการดล และแรงดล อธิบายการชนแบบยืดหยุ่นและไม่ยืดหยุ่นของ

วัตถุสองก้อนหนึ่งมิติ

- กฎการคงที่ของโมเมนตัมในการชน รวมทั้งการหาจุดศูนย์กลางมวลของระบบก่อนและ

หลังการชน

- การชนใน 2 มิติ: อธิบายถึงกฎการคงที่ของโมเมนตัมในแต่ละแกนที่ตั้งฉากกัน ยกตัวอย่าง

และการประยุกต์ใช้งาน

- การหมุนของวัตถุเกร็ง: ใความแตกต่างระหว่างการเลื่อนตำแหน่งและการหมุน,

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเชิงมุม และปริมาณเชิงเส้น, และการหมุนด้วยอัตราเร่ง

เชิงมุมคงที่

- พลังงานจลน์เนื่องจากการหมุน: โมเมนต์ความเฉื่อยของวัตถุเกร็ง, การคำนวณหาค่า

โมเมนต์ความเฉื่อยของวัตถุเกร็งรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ และทฤษฎีแกนขนาน

- ทอร์ก: ผลหมุนเนื่องจากแรงที่กระทำบนวัตถุเกร็ง, กฎข้อที่สองของนิวตันสำหรับการ

หมุน, ความสัมพันธ์ระหว่างงานและพลังงานจลน์เนื่องจากการหมุนของวัตถุตัวอย่าง

- การกลิ้ง: มวลและการหมุนรอบจุดศูนย์กลางมวล

- ลูกดิ่ง: ตัวอย่างของระบบที่มีการเคลื่อนที่เป็นแบบการกลิ้ง และการแก้ปัญหาโจทย์,

หาปริมาณต่างๆของการหมุนด้วย 2 วิธีการ คือ ใช้หลักการคงที่ของพลังงาน และการใช้

กฎของนิวตัน

- ทอร์กและโมเมนตัมเชิงมุม: ความสัมพันธ์ระหว่างทอร์กและโมเมนตัมเชิงมุมโดยใช้กฎ

ข้อที่สองของนิวตัน, โมเมนตัมเชิงมุมของระบบอนุภาคและของวัตถุเกร็งที่หมุนรอบ

แกนหมุนคงที่

- กฎการคงที่ของโมเมนตัมเชิงมุม: เมื่อระบบไม่มีทอร์กภายนอกมากระทำ โมเมนตัม

เชิงมุมของระบบจะคงที่

- กลศาสตร์ของไหล: หลักการของปาสคาล และการประยุกต์ใช้งานกับเครื่องยกไฮโดรลิก, หลักการของอาร์คิมีดีส

- การไหลของของไหลอุดมคติ สายกระแส และ สมการความต่อเนื่อง: สายกระแสจะไม่ตัด

กัน และปริมาตรของของไหลต่อหน่วยเวลาจะมีค่าคงที่เสมอ

- สมการเบอร์นูลี: สมการที่บอกให้ทราบว่าเมื่อความเร็วของของไหลในท่อเพิ่มขึ้น ความ

ดันของของไหลจะลดลง

- การแกว่ง: การแกว่งของวัตถุโดยมากในชีวิตประจำวัน มีลักษณะของการสั่นแบบซ้ำรอย

เดิม แต่จะมีการลดขนาดของการสั่นลงเรื่อยๆ จนหยุด เนื่องจากมีแรงเสียดทาน

- การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิคอย่างง่าย: การสั่นที่ไม่มีแรงต้านจากภายนอก มีคาบและแอม

ปลิจูดของการสั่นคงที่ หาสมการการกระจัด ความเร็ว และความเร่งของวัตถุได้

- ตัวอย่างของระบบที่มีการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิคอย่างง่าย: ได้แก่ ลูกตุ้มอย่างง่าย

ลูกตุ้มนาฬิกาฟิสิกัล และการประยุกต์การแกว่งเพื่อหาค่าความเร่ง หรือโมเมนต์ความ

เฉื่อย

- ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิคและการเคลื่อนที่แบบวงกลม

- การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิคที่มีแรงต้านทานภายนอก

- คลื่น: คลื่นตามยาว และคลื่นตามขวาง, ความยาวคลื่น และความถี่ อัตราเร็วของคลื่นตาม

ขวาง และคลื่นในเส้นเชือก หลักการรวมกันได้ของคลื่น และเฟเซอร์

- คลื่นยืนนิ่งและการเรโซแนนซ์: การเกิดคลื่นยืนนิ่งเนื่องจากคลื่นที่สะท้อนจากปลายตรึง

และปลายอิสระ สมการแสดงแอมปลิจูดของคลื่นยืนนิ่ง จำนวนบัพ และปฏิบัพที่เกิดขึ้น

เมื่อความตึงในเส้นเชือก หรือความถี่ของคลื่นเปลี่ยนไป

- คลื่นเสียง: คลื่นตามยาว สมการแสดงความเร็วของคลื่นเสียงในของไหล ความดันที่

เกิดขึ้นในตัวกลางที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่าน และการแทรกสอดของคลื่นเสียง

- ความเข้มของเสียงและระดับความเข้มของเสียงเครื่องดนตรี

- บีต ปรากฎการณ์ที่เสียงมีความถี่คลื่นกระแทก: เสียงมีความถี่เปลี่ยนไป เมื่อมีการ

เคลื่อนที่ของต้นกำเนิดเสียง หรือผู้ฟังเคลื่อนที่ และจะเกิดเป็นคลื่นกระแทกเมื่อต้นกำเนิด

คลื่นเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าความเร็วของคลื่นในตัวกลางนั้น

- อุณหพลศาสตร์: กฎข้อที่ศูนย์ทางเทอร์โมไดนามิค และการขยายตัวของวัตถุเนื่องจาก

ความร้อน, อุณหภูมิและความร้อน, การดูดกลืนความร้อนของของไหล และของแข็ง,

ความร้อน และงาน

- กฎข้อที่หนึ่งทางเทอร์โมไดนามิค: การใช้กฎข้อที่หนึ่งทางเทอร์โมไดนามิคในกระบวน

ต่างๆ ได้แก่ กระบวนการความร้อนคงที่, กระบวนการอุณหภูมิคงที่, กระบวนการความ

ดันคงที่, กระบวนการปริมาตรคงที่

- กลศาสตร์ของการส่งผ่านความร้อน: ได้แก่ การนำความร้อน, การพาความร้อน และการ

แผ่รังสี

- ทฤษฎีจลน์ของก๊าซ: ก๊าซอุดมคติ และกฎของก๊าซ, ระยะปลอดการชน และกฎการ

กระจายอัตราเร็วของโมเลกุลของแมกซ์เวลล์

- ความจุความร้อนโมลาร์ของก๊าซอุดมคติ: ในกรณีปริมาตรคงที่, ความจุความร้อนโมลาร์

และ degree of freedom

- การขยายตัวด้วยกระบวนการความร้อนคงที่ของก๊าซอุดมคติ

- เอนโทรปี: การเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีในกระบวนการผันกลับได้ และผันกลับไม่ได้

- กฎข้อที่สองทางเทอร์โมไดนามิค

- เอนโทรปีในเครื่องยนต์ที่ใช้งานจริง

- สถิติของเอนโทรปี

ไม่มีความคิดเห็น: