12-1 สถิตศาสตร์ของไหล________________________________________
ของไหล หมายถึงของเหลว และแก๊ส แก๊สสามารถถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กลงได้ง่าย ของเหลวถูกอัดให้มีปริมาตรน้อยลงได้บ้างเหมือนกันแต่ได้น้อยมาก ในบทนี้จะไม่คำนึงถึงปริมาตรของของเหลวที่หายไปเนื่องจากการอัดตัว เพราะถือว่ามีค่าน้อยมากจนสามารถตัดทิ้งได้ กลศาสตร์ของไหลแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือสถิตศาสตร์ของไหล เป็นการศึกษาของไหลที่อยู่นิ่ง ซึ่งอยู่ในสภาวะสมดุล เป็นไปตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตัน พลศาสตร์ของไหล เป็นการศึกษาของไหลที่เคลื่อนที่ มีลักษณะซับซ้อนกว่าเรื่องวัตถุเกร็งมาก
ความหนาแน่น (Density)
ความหนาแน่นของวัตถุคือ มวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ดังนั้นความหนาแน่นมีหน่วยเป็น kg×m-3 แทนด้วยสัญลักษณ์กรีก r (อ่านว่า rho,โร)
กำหนดให้มวล m มีปริมาตร V จะได้
ความหนาแน่น r = , m = rV ................... (12-1)
วัสดุที่มีความหนาแน่นมากที่สุดในโลกเป็นโลหะชื่อออสเมียม (osmium) มีค่าประมาณ 22.5 g×cm-3 (1 g×cm-3 = 1,000 kg×m-3) ความหนาแน่นของอากาศมีค่าประมาณ 0.0012 g×cm-3 ความหนาแน่นของดาวแคระขาว (White dwarf start) ประมาณ 106 g×cm-3
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (เดิมเรียกว่าความถ่วงจำเพาะ) คือ ความหนาแน่นของวัสดุนั้นเทียบกับความหนาแน่นของวัสดุที่ใช้เป็นมาตรฐาน ว่ามีค่าเป็นกี่เท่าของความหนาแน่นของวัสดุมาตรฐาน โดยทั่วไปถ้าเป็นของแข็งหรือของเหลวเราจะให้น้ำเป็นวัสดุมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นแก๊สนิยมใช้ออกซิเจนเป็นวัสดุมาตรฐาน
ตาราง 12.1 แสดงความหนาแน่นของวัสดุชนิดต่าง ๆ
วัสดุ | ความหนาแน่น g×cm-3 | วัสดุ | ความหนาแน่น g×cm-3 |
อะลูมิเนียม | 2.7 | เงิน | 10.5 |
ทองเหลือง | 8.6 | เหล็กกล้า | 7.8 |
ทองแดง | 8.9 | ปรอท | 13.6 |
ทอง | 19.3 | เอทิลแอลกอฮอล์ | 0.81 |
น้ำแข็ง | 0.92 | เบนซิน | 0.90 |
เหล็ก | 7.8 | กลีเซอรีน | 1.26 |
ตะกั่ว | 11.3 | น้ำ | 1.00 |
ทองคำขาว | 21.4 | น้ำทะเล | 1.03 |
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ =
=
=
ความหนาแน่นสัมพัทธ์เป็นสัดส่วนของปริมาณเดียวกันจึงเป็นตัวเลขที่ไม่มีหน่วย เนื่องจากเทียบกับน้ำ ดังนั้น ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของน้ำจึงเท่ากับ 1 เพราะเทียบกับตัวมันเอง ถ้าต้องการทราบความหนาแน่นของวัสดุใดก็ให้นำเอา 103 kg×m3คูณกับค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของวัสดุนั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของเหล็ก = 7.8 จะได้ความหนาแน่นของเหล็ก 7.8 ´ 103 kg×m-3 เป็นต้น
12-2 ความดันในของไหล________________________________________
ในหัวข้อ 11-2 ได้นิยามความดันของของไหลสถิต ดังสมการ (11-5) จะเห็นว่าความดันที่กระทำ ณ ส่วนใด ๆ ของของเหลวมีค่าเท่ากันทุกจุด โดยที่ยังไม่ได้คิดน้ำหนักของของไหล ในความเป็นจริงจะเห็นว่า ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเลจะมีค่ามากกว่าบนภูเขาและความดันของน้ำใต้ท้องทะเลลึกจะสูงกว่าที่ระดับน้ำทะเล ความดันของน้ำทะเลเพิ่มขึ้นตามความลึก ยิ่งลึกมากความดันก็ยิ่งมาก เป็นเพราะว่าของไหลมีน้ำหนักนั่นเอง จากนิยามของความดัน แรงกดขนาดเล็ก dF ที่กระทำบนพื้นที่ผิวของไหลขนาด dA คือ
p =
dF = pdA ................... (12-2)
ถ้าพื้นที่ A เป็นพื้นที่ราบ ความดันจะเท่ากันตลอด เมื่ออินทิเกรตสมการ (12-2) จะได้
p =
F = pA
เหมือนกับสมการ (12-2) ที่กล่าวมาแล้ว
หน่วยมาตรฐานของความดันคือ นิวตันต่อตารางเมตร (N×m-2) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปาสคาล เขียนด้วยอักษรย่อ Pa
1 Pa = 1 N×m-2
หน่วยวัดความดันอื่น ๆ ที่นิยมใช้
1 bar ( dyne / cm2 ) = 105 Pa
1 ทอร์ (Tor, Toricelli) = 1 mmHg
ความดันบรรยากาศมาตรฐานหรือความดันอากาศปกติ = 1 atm
= 1.01325 ´ 105 Pa
จะหาความดันที่จุดต่าง ๆ ภายในของเหลวซึ่งอยู่นิ่ง บรรจุอยู่ในภาชนะดังรูป12-1 โดยจะเลือกพิจารณาความดันที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนหนึ่งของของไหล ซึ่งอยู่สูงจากก้นภาชนะเท่ากับ y ให้ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของของไหลหนา = dy มีพื้นที่ผิว = A ถ้า r เป็นความหนาแน่นของของไหล มวลของชิ้นของไหลปริมาตรนี้ก็คือ rAdy และน้ำหนัก dw = rgAdy
แรงที่กระทำต่อชิ้นของไหลที่เกิดจากของไหลที่อยู่ล้อมรอบย่อมตั้งฉากกับผิวชิ้นของไหล อาศัยลักษณะสมมาตร แรงลัพธ์ในแนวระดับที่กระทำตรงขอบของชิ้นของไหลจะหักล้างเป็นศูนย์ เนื่องจากชิ้นปริมาตรอยู่ในสภาวะสมดุล
แรงดันขึ้นที่กระทำกับผิวด้านล่าง = pA แรงดันลงที่กระทำกับผิวด้านบน = (p + dp) A ดังนั้น
|
pA - (p + dp) A - rgAdy = 0
จะได้ = -rg ................ (12-3)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น