วรทัศน์ สถิรสถาพร: การจับก้อนและการจับกลุ่มตะกอนของน้ำเสียจากของไหลตัดกลึงโลหะด้วยพอลิอะคริลาไมด์ และพอลิอะลูมินัมคลอไรด์. (COAGULATION AND FLOCCULATION OF METALWORKING FLUID WASTEWATER BY POLYACRYLAMIDE AND POLYALUMINUM CHLORIDE) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: ดร.พุทธรักษา วรานุศุภากุล, อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม: ผศ.ดร.ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี, 83 หน้า. ศึกษาการบำบัดน้ำเสียจากของไหลตัดกลึงโลหะด้วยกระบวนการจับก้อน โดยใช้ พอลิอะคริลาไมด์ชนิดประจุบวก (CPAM) หรือ พอลิอะลูมินัมคลอไรด์ (PAC) เป็นสารก่อการจับก้อน ตามด้วยการจับกลุ่มด้วยพอลิอะคริลาไมด์ชนิดประจุลบ (APAM) ประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ของของไหลตัดกลึงโลหะ และน้ำเสียจริงจากอุตสาหกรรมตัดกลึงโลหะพิจารณาจากการลดค่าความขุ่น ค่าซีโอดี และค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด รวมทั้งค่า pH หลังการบำบัด ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการลดค่ามลพิษดังกล่าว เพิ่มขึ้นตามปริมาณสารก่อการจับก้อนที่สูงขึ้น โดยน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของไหลตัดกลึงโลหะ 10% โดยปริมาตร ต้องใช้ปริมาณสารก่อการจับก้อนทั้งสองชนิดสูงกว่าที่ความเข้มข้น 3% โดยปริมาตร แต่ปริมาณของสารก่อการจับกลุ่มไม่ค่อยมีผลกระทบมากต่อการลดค่ามลพิษ แต่ทำให้ตะกอนที่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะการจับก้อนตะกอนจาก PAC การใช้ CPAM ร่วมกับ APAM บำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่ความเข้มข้น 3% และ 10% โดยปริมาตร สามารถลดค่าความขุ่น ค่าซีโอดี และค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมดได้มากกว่า 96% สำหรับ PAC เมื่อใช้ร่วมกับ APAM สามารถลดค่าความขุ่น ค่าซีโอดี และค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมดได้มากกว่า 97% นอกจากนี้ pH ของน้ำเสียมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียด้วย PAC แต่ไม่มีผลสำหรับการบำบัดด้วย CPAM โดยการใช้ PAC เป็นสารก่อการจับก้อนให้ประสิทธิภาพที่ดีในช่วงค่า pH 6-9 นอกจากนั้นค่า pH ของน้ำเสียหลังการบำบัดด้วย PAC จะมีค่าลดลงแต่ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อใช้ CPAM ในกรณีน้ำเสียจริงการใช้ PAC ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดค่ามลพิษต่างๆ สูงกว่าการใช้ CPAM อย่างไรก็ตามตะกอนที่เกิดขึ้นโดยใช้ PAC ไม่เสถียรและมีขนาดเล็กกว่าการจับก้อนด้วย CPAM |
สาขาวิชา ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ลายมือชื่อนิสิต...................................................นิสิต…………………………………. |
ปีการศึกษา 2551 ลายมือชื่ออ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก..................หลัก....................ปรึกษา………………………ปรึกษา……………….……… |
ลายมือชื่ออ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม.................. |
## 4973414123: MAJOR PETROCHEMISTRY AND POLYMER SCIENCE
KEY WORD: METALWORKING FLUID / COAGULATION / FLOCCULATION /
POLYACRYLAMIDE / POLYALUMINUM CHLORIDE
WORATAT SATHIRASATHAPORN: COAGULATION AND FLOCCULATION OF METALWORKING FLUID WASTEWATER BY POLYACRYLAMIDE AND POLYALUMINUM CHLORIDE. THESIS PRINCIPAL ADVISOR: PUTTARUKSA VARANUSUPAKUL, Ph.D., THESIS COADVISOR: ASST.PROF. NATTAYA PONGSTABODEE, Ph.D., 83 pp.
A coagulation/flocculation process was studied for treatment of metalworking fluid (MWF) wastewater, using cationic polyacrylamide (CPAM) or polyaluminum chloride (PAC) as coagulant with the flocculant, anionic polyacrylamide (APAM). The removal efficiency of turbidity, chemical oxygen demand (COD) and total suspended solid (TSS) as well as the effluent pH were the main evaluating parameters for the treatment of synthetic and real MWF wastewater. The results revealed that all removal increased as coagulant dose increased. For synthetic wastewater at 10% oil-in-water (O/W) emulsion, the optimum doses of both coagulants used were higher than at 3% O/W emulsion. Flocculant dose showed slight effect but beneficial of floc size, especially coagulated by
Field of study: Petrochemistry and Polymer Science Student’s signature: ………….…
Academic year: 2008 Principal Advisor’s signature: ….
Co-advisor’s signature: ...............
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น