1. ความไม่รู้
2. ความกลัว
3. ความศรัทธา
4. ต้องการที่พึ่ง
2 คำถาม : ถ้ากล่าวถึงประเภทของศาสนาแล้ว
ศาสนาในข้อใดต่อไปนี้ที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ๆ
1. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
2. ศาสนาคริสต์
3. ศาสนาอิสลาม
4. ศาสนาพุทธ
3 คำถาม : หลักธรรมคำสอนต่อไปนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาประกอบด้วยพระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก
2. คัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ประกอบด้วย ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท
3. คัมภีร์ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ประกอบด้วย
พระธรรมคัมภีร์เดิมและพระธรรมคัมภีร์ใหม่
4. คัมภีร์อัลกุระอานของศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยนูอาห์ ญิบรอฮีล อาร์บูบัค
4 คำถาม : ในขณะที่นักเรียนกำลังอยู่ในวัยเรียนและมีหน้าที่ในการเรียนหนังสือ
หรือศึกษาหาความรู้ ซึ่งมี ลักษณะคล้ายกับลักษณะข้อใดในศาสนาพราหมณ์ -
ฮินดู
1. พรหมจรรย์
2. สันยาสิน
3. กรรมมรรค
4. ชญาณโยคะ
5 คำถาม : หลักตรีเอกภาพเป็นหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ที่บ่งบอกลักษณะสำคัญของศาสนาคริสต์ประการใด
1. องค์ประกอบคำสอนหลักมาจากองค์ประกอบย่อย ๆ
2. ลักษณะของความยืดหยุ่นของศาสนาคริสต์
3. ศาสนาคริสต์มีหลักคำสอนที่เน้นพระเจ้าเป็นสำคัญ
4. ศาสนาคริสต์ประกอบด้วยนิกายสำคัญ 3 นิกายแต่มีพระเจ้าองค์เดียวกัน
6 คำถาม : หลักศรัทธาของศาสนาอิสลามมีหลายประการ ยกเว้น ข้อใด
1. การปฏิญาณตนว่าจะนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว
2. คัมภีร์อัลกุระเป็นพระวจนะของพระเจ้า
3. ศาสดาของศาสนาอิสลามพระเจ้าต้องมีพระโองการแต่งตั้ง
4. โลกนี้ต้องมีการแตกดับไปในวันข้างหน้า
7 คำถาม : การที่ตาได้เห็นสิ่งสวย ๆ งาม ๆ
หูได้ยินเสียงที่ไพเราะแล้วจิตรู้สึกสุขกายสบายใจ
เกี่ยวข้องกับหลักคำสอนเรื่องขันธ์ 5 ในข้อใด
1. สุขเวทนา
2. รูปวิญญาณ
3. ปุญญาสังขาร
4. รูปสัญญา
8 คำถาม : พระธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์
สามารถสรุปเป็นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาตามข้อใด
1. การละเว้นความชั่ว การกระทำแต่ความดี การมีจิตใจบริสุทธิ์
2. การสำรวมกาย วาจา การฝึกฝนอบรมจิตให้มั่นคง โดยการใช้ปัญญา
3. สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นต้องดับ การไม่มีตัวตนแห่งตน
การคงสภาพเดิมของสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้
4. กายคือ รูปที่เกิดจากธาตุทั้งสี่ แต่ถูกควบคุมโดย สัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ
9 คำถาม : อุปสรรคสำคัญของพุทธศาสนิกชนในการฝึกฝนอบรมจิตใจให้มั่นคง คืออะไร
1. ไตรลักษณ์
2. นิวรณ์ 5
3. สาราณียธรรม 6
4. ขันธ์ 5
10 คำถาม : การใช้สติกำหนดอารมณ์ของวิปัสสนาที่เป็นปัจจุบันจนเกิดปัญญาการรู้แจ้งรู้เท่าทันความเป็นจริงที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่าง
ๆ นั้นเรียกว่าอะไร
1. มรรค
2. นิวรณ์
3. ขันธ์ 5
4. สติปัฏฐาน 4
11 คำถาม : ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิด
1. การทอดกฐินสามารถทำได้ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
โดยมีกำหนดระยะเวลา 1 เดือน
2. การถวายผ้าอาบน้ำฝนเป็นพิธีกรรมที่นางวิสาขาเป็นผู้ขออนุญาตจากพระพุทธเจ้า
3. การทำบุญขึ้นบ้านใหม่จัดเป็นบุญพิธี
ซึ่งการนิมนต์พระสงฆ์จะนิมนต์อย่างน้อย 5 รูป
4. การเข้าใจถึงกฎธรรมชาติ คือการเข้าถึงหลักไตรลักษณ์นั่นเอง
12 คำถาม : พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ในวันใด และ ชื่อหลักธรรมอะไร
1. วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 - หลักโอวาทปาติโมกข์
2. วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 - หลักอนันตลักขณสูตร
3. วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 - หลักธรรมจักกัปวัตนสูตร
4. วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 - หลักอนุปุพพีกถา
13 คำถาม : หลักธรรมของศาสนาพุทธที่สอนเรื่องนรก - สวรรค์
สอดคล้องกับหลักธรรมของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
ตรงกับหลักธรรมใด
1. อาทิตปริยายสูตร
2. อนันตลักขณสูตร
3. ธัมจักกัปวัตนสูตร
4. อนุปุพพีกถา
14 คำถาม : เมื่อนักเรียนใกล้สอบปลายภาค
นักเรียนส่วนใหญ่ตั้งใจจะอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบแต่บางครั้ง
จะเกิดอาการง่วงเหงา หาวนอน ความเบื่อหน่าย เกียจคร้าน
ซึ่งเป็นอุปสรรคที่จะทำให้นักเรียนไม่ ประสบผลสำเร็จตามหลักพระพุทธศาสนา
เรียกว่า นิวรณ์ 5 อยากทราบว่า ความง่วง เกียจคร้านนั้น อยู่ในนิวรณ์ 5
ข้อใด
1. กามฉันทะ
2. ถีนมิทธะ
3. อุทธัจจกุกกุจจะ
4. วิจิกิจฉา
15 คำถาม : หลักคำสอนในศาสนาสากล ที่มีความสอดคล้องกันมากที่สุดคือ
1. ความสุขนิรันดร
2. ความจงรักภักดีต่อพระเจ้า
3. ความเมตตากรุณาไม่เบียดเบียน
4. ความศรัทธาต่อพระเจ้า
16 คำถาม : กระบวนการใดทำให้วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคม
1. การขัดเกลาทางสังคม
2. การจัดระเบียบทางสังคม
3. การผสมผสานทางสังคม
4. การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม
17 คำถาม : การที่สมชายแต่งงานโดยจดทะเบียนสมรสกับสมหญิง
ถือเป็นการจัดระเบียบสังคมในข้อใด
1. บรรทัดฐาน
2. สถานภาพ
3. บทบาท
4. ค่านิยม
18 คำถาม : ข้อใดที่ ไม่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมย่อยในสังคมไทย
1. การเล่นโปงลางของคณะโปงลางสะออน
2. การแห่นางแมวของท้องถิ่นต่าง ๆ ในสังคมไทย
3. การบรรพชาอุปสมบทของผู้ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน
4. การแข่งเรือของท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทย
19 คำถาม : ข้อใด ไม่ใช่ พฤติกรรมที่เป็นค่านิยมของสังคมไทย
1. การแต่งกายตามแฟชั่นนิยม
2. ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม
3. การเรียนกวดวิชา
4. การฝึกโยคะ
20 คำถาม : ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของสังคมไทยในปัจจุบัน
1. เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม แต่เป็นปัจเจกสังคม ไม่ใช่พหุสังคม
2. การดำเนินชีวิตของคนไทย ส่วนใหญ่ยึดหลักคำสอนพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน
3. สังคมไทยสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงช้า แต่สังคมไทยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว
4. สังคมไทยมีการแบ่งชนชั้นทางสังคมโดยพฤตินัย
21 คำถาม : สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ข้อใดที่ควรมีการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน
1. วิถีชีวิตแบบไทย ๆ ที่ลดลง โดยไปใช้ชีวิตแบบตะวันตกมากขึ้น
2. ระบบกฎหมายที่ล้าหลังไม่เหมาะกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน
3. ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาต่างประเทศมากเกินไป
4. การแตกแยกทางความคิด และการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายขาดความสมานฉันท์ของคนไทย
22 คำถาม : องค์ประกอบสำคัญของรัฐไทยคือข้อใด
1. การมีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย
2. การมีรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชน
3. การมีอิสระเสรีในการบริหาร - จัดการภายใน - ภายนอกรัฐ
4. การมีอาณาเขตที่แน่นอน และความสงบสุขของประชาชน
23 คำถาม : รัฐเดี่ยวกับรัฐรวม มีความแตกต่างกันมากที่สุดในลักษณะใด
1. ขนาดพื้นที่ของรัฐรวมต้องมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ๆ
2. ความมีอิสระของรัฐบาลที่ใช้อำนาจของรัฐได้อย่างเต็มที่
3. ประชากรของรัฐที่มีจำนวนมากและแตกต่างชาติพันธุ์กัน
4. การมีรัฐบาลที่มีการบริหารจัดการทั้งแบบรวมอำนาจกับแบบกระจายอำนาจ
24 คำถาม : รัฐที่มีการปกครองแบบเผด็จการจะมีหลายรูปแบบ ยกเว้น ข้อใด
1. เผด็จการเบ็ดเสร็จ
2. เผด็จการสาธารณรัฐ
3. เผด็จการฟัสซิสต์
4. เผด็จการอำนาจนิยม
25 คำถาม : ลักษณะสำคัญของรัฐที่ปกครอบแบบประชาธิปไตย คือข้อใด
1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
2. การบริหาร - จัดการแบบกระจายอำนาจ
3. ความเป็นอิสระของรัฐในการจัดการปกครอง
4. รัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชน
26 คำถาม : พรรคการเมืองมีความสำคัญอย่างไรในการปกครองแบบประชาธิปไตย
1. เป็นสถาบันทางการเมืองที่ทำให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด
2. เป็นองค์กรทางการเมืองที่มีแนวนโยบาย การบริหารประเทศที่แน่นอน
3. เป็นกำลังสำคัญของระบบประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง
4. คอยตรวจสอบ สนับสนุนและชี้แนะฝ่ายรัฐบาลในการบริหารประเทศ
27 คำถาม : ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
1. ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ออกกฎหมายแต่งตั้งและตรวจสอบการบริหารของฝ่ายบริหาร
2. ฝ่ายบริหารมีหน้าที่คอยชี้แนะและตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติ
3. ฝ่ายตุลาการทำหน้าที่คอยชี้แนะ และตรวจสอบทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
4. ฝ่ายองค์กรอิสระตรวจสอบฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบองค์กรอิสระ
28 คำถาม : ที่มาของกฎหมายไทยมีที่มาจากส่วนใดมากที่สุด
1. ศาสนา
2. จารีตประเพณี
3. ลายลักษณ์อักษร
4. ข้อเสนอแนะของนักกฎหมาย
29 คำถาม : ถ้ามีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 23 ธันวาคม
2550 ข้อใดต่อไปนี้ที่ กล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับ ส.ส.
1. จำนวน ส.ส. มีทั้งหมด 480 คน
2. จำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน แบ่งเป็น 400 เขตเลือกตั้ง
3. ส.ส. แบบสัดส่วน แบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน
4. ผู้สมัคร ส.ส. ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด และเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
30 คำถาม : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
กำหนดให้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติได้หลายฝ่าย ยกเว้นข้อใด
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3. สมาชิกวุฒิสภา
4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน
31 คำถาม : ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
2. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
3. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
4. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ
32 คำถาม : กฎหมายประเภทสารบัญญัติ ได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
1. กฎหมายวิธีพิจารณาความเพ่ง
2. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3. ประมวลกฎหมายแพ่ง
4. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
33 คำถาม : สมศักดิ์ จดทะเบียนสมรสกับ น.ส.นาตาลี เกี่ยวข้องกับกฎหมายใด
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
4. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีแพ่ง
34 คำถาม : การที่เด็กได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้ใหญ่โดยการบอก ตักเตือน
ลงโทษ หรือทำตัวอย่างให้ดู
เรียกว่าเป็นกระบวนการจัดระเบียบทางสังคมด้านใน
1. กฎศีลธรรม
2. กฎหมาย
3. ค่านิยม
4. การขัดเกลา
35 คำถาม : รัฐที่มีขนาดใหญ่และมีอาณานิคม จัดเป็นรัฐในรูปแบบใด
1. รัฐจักรวรรดิ
2. รัฐเดี่ยว
3. รัฐนคร
4. รัฐประชาชาติ
36 คำถาม : การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีลักษณะสำคัญอย่างไร
1. ฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารทำงานอย่างอิสระแต่มีการคานอำนาจกัน
2. ฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
3. หากฝ่ายนิติบัญญัติมีมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารต้องลาออกทั้งคณะยกเว้นประธานาธิบดีอยู่ครบวาระ
4. ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ออกกฎหมายและจะนำออกมาใช้บังคับได้เมื่อประธานาธิบดีลงนาม
37 คำถาม : เมืองลูกหลวงที่อยู่ทางทิศเหนือของอาณาจักรสุโขทัย คือ
1. สองแคว
2. สระหลวง
3. ศรีสัชนาลัย
4. นครชุม
38 คำถาม : การแบ่งหน้าที่ดูแลทางทหารและพลเรือนเปลี่ยนมาเป็นการดูแลหัวเมืองแทน
เกิดขึ้นในสมัยใด
1. พระบรมไตรโลกนาถ
2. พระเพทราชา
3. พระรามาธิบดีที่ 1
4. พระเจ้าตากสินมหาราช
39 คำถาม : ข้อใดไม่ใช่การจัดระบบการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
1. แยกอำนาจทางทหารและพลเรือนออกจากกัน
2. ยกเลิกตำแหน่งจตุสดมภ์ตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง
3. ยกเลิกหัวเมืองจัดตั้งเป็นมณฑล
4. จัดรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า สุขาภิบาล
40 คำถาม : ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของกฎหมาย
1. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจทางการเมือง
ดังนั้นผู้มีอำนาจจึงอยู่เหนือกฎหมาย
2. รัฐย่อมมีอำนาจอยู่เหนือกฎหมาย
3. กฎหมายเป็นกลไกสำคัญในการจัดองค์การทางสังคม ยกเว้น รัฐบาล
4. รัฐย่อมมีรูปแบบกระบวนการตามกฎหมายที่กำหนด เพราะกฎหมายมีอำนาจควบคุมรัฐ
41 คำถาม : ระบบกฎหมายที่ใช้คำพิพากษาของศาลเป็นหลักในการวินิจฉัย คือ
กฎหมายของประเทศใด
1. ฝรั่งเศส
2. อังกฤษ
3. ไทย
4. ญี่ปุ่น
42 คำถาม : ข้อใดจัดเป็นกฎหมายมหาชนทั้งหมด
1. กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง
2. กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา
3. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายครอบครัว กฎหมายอาญา
4. กฏหมายอาญา กฎหมายปกครอง กฎหมายแพ่ง
43 คำถาม : นายอนันต์ถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์ตัดสิน 10
ปี และ ศาลฎีกา ตัดสินจำคุก 14 ปี นายอนันต์ จะต้องถูกจำคุก กี่ปี
1. 4 ปี
2. 10 ปี
3. 14 ปี
4. 28 ปี
44 คำถาม : บุคคลใดไม่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง
1. พนักงานบังคับคดี
2. ศาล
3. ทนายความ
4. พนักงานอัยการ
45 คำถาม : กฎหมายแพ่งรับรองสภาพบุคคลเมื่อใด
1. เริ่มเมื่อคลอดจากครรภ์มารดา
2. เริ่มเมื่อคลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก
3. เริ่มตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์
4. เริ่มตั้งแต่เด็กในครรภ์มีอวัยวะครบถ้วน
46 คำถาม : ผู้เยาว์ สามารถทำสิ่งใดต่อไปนี้
ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
1. การทำพินัยกรรม เมื่อ อายุครบ 15 ปี บริบูรณ์
2. การจดทะเบียนสมรสเมื่ออายุครบ 17 ปี บริบูรณ์
3. การหมั้นเมื่อ อายุ 18 ปี บริบูรณ์
4. การเป็นบุตรบุญธรรม
47 คำถาม : ถ้าทายาทโดยธรรมยังมีชีวิตอยู่ทั้ง 6 ลำดับ
ทายาทลำดับใดมีสิทธิรับมรดก และ ลำดับใดไม่มีสิทธิ
1. ลำดับที่ 1-2 มีสิทธิ ลำดับที่ 3 - 6 ไม่มี
2. ลำดับที่ 1-3 มีสิทธิ ลำดับที่ 4 - 6 ไม่มี
3. ลำดับที่ 1 มีสิทธิ ลำดับที่ 2 - 6 ไม่มี
4. ทุกลำดับมีสิทธิเท่ากัน
48 คำถาม : การกระทำของผู้เยาว์ในข้อใดต่อไปนี้ที่ทำได้โดยลำพังและไม่ตกเป็นโมฆียะ
1. การทำพินัยกกรมเมื่ออายุ 14 ปี
2. การจดทะเบียนรับรองบุตรของผู้เยาว์อายุ 17 ปี
3. การขายบ้านที่ได้รับจากกองมรดก
4. การหมั้นที่ชายอายุ 18 ปี กับหญิงอายุ 16 ปี
49 คำถาม : การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใครเป็นผู้มีหน้าที่พิพากษา
1. ศาลรัฐธรรมนูญ
2. ศาลปกครอง
3. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
4. ศาลทหาร
50 คำถาม : ข้อใดถือว่าเป็นสินส่วนตัวภายหลังการสมรส
1. ดอกผลของสินส่วนตัว
2. เงินสินสอดที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง
3. ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับมรดก
4. ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส
51 คำถาม : ผู้ใดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินคดีอาญา
1. พนักงานราชทัณฑ์
2. พนักงานพิทักษ์ทรัพย์
3. พนักงานปกครอง
4. พนักงานสอบสวน
52 คำถาม : ข้อใด ไม่ใช่ สิทธิและเสรีภาพขั้นมูลฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
1. การชุมนุมในถนนสาธารณะ
2. การเขียนและพูด
3. การแสดงความคิดเห็น
4. การรวมกลุ่มทางการเมือง
53 คำถาม : กฎหมายในข้อใดไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็สามารถใช้บังคับได้
1. พระราชบัญญัติ
2. กฎกระทรวง
3. พระราชกฤษฎีกา
4. เทศบัญญัติ
54 คำถาม : "วัง" ในการปกครองแบบจตุสดมภ์ทำหน้าที่คล้ายกระทรวงใดในปัจจุบัน
1. กระทรวงพาณิชย์
2. กระทรวงมหาดไทย
3. กระทรวงยุติธรรม
4. กระทรวงกลาโหม
55 คำถาม : สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะมีมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับข้อใด
1. รัฐธรรมนูญ
2. รัฐบาล
3. ระบอบการปกครอง
4. วัฒนธรรมทางการเมือง
56 คำถาม : นายนทีกู้ยืมเงินนายทองเป็นเงิน 10,000 บาท
ทำสัญญากู้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายนทีและนายทองใน
สัญญาระบุให้นายทองคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี
กำหนดให้นายนทีชำระหนี้ภายใน 1 ปี ดังนี้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ
นายนทีจะต้องชำระหนี้หรือไม่
1. ไม่ต้องชำระหนี้ทั้งหมด เพราะสัญญากู้เป็นโมฆะ
2. ต้องชำระหนี้ทั้งหมด เพราะได้ทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐาน
3. ต้องชำระหนี้เฉพาะดอกเบี้ย ส่วนเงินต้น 10,000บาทไม่ต้องชำระเพราะเป็นโมฆะ
4. ต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้น 10,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยไม่ต้องชำระเพราะตกเป็นโมฆะ
57 คำถาม : ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
1. ฟ้องคดีอาญาที่ผู้เสียหายร้องขอ
2. ฟ้องคดีอาญาและเป็นทนายโจทก์หรือทนายจำเลยให้ส่วนราชการในคดีแพ่ง
3. ฟ้องคดีอาญาที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนมาให้ฟ้อง
4. เป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล
58 คำถาม : การผิดสัญญาหมั้น
ฝ่ายที่เสียหายย่อมมีสิทธิเรียกร้องจากฝ่ายที่ผิดสัญญาได้ ยกเว้นเรื่องใด
1. เรียกค่าทดแทนความเสียหาย
2. ร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการสมรส
3. ถ้าไม่มีการสมรสอันเนื่องมาจากฝ่ายหญิงผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย
4. ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนจากฝ่ายหญิงได้
ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง
59 คำถาม : ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดให้การเลือกตั้งเป็น....ของบุคคล
1. สิทธิ
2. เสรีภาพ
3. หน้าที่
4. ถูกทั้งข้อ 1. และ 2.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น