สมบัติของกัมมันตภาพรังสี a , b , g
1. อนุภาค a (a - particles) คือนิวเคลียสของอะตอมของธาตุฮีเลียมซึ่งประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค
2. อนุภาค b (b - particle ) คืออิเล็กตรอน เป็นอนุภาคมีมวล , มีประจุไฟฟ้าลบ , เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากเกือบเท่าความเร็วแสง , มีมวลน้อยมากเมื่อเทียบกับอำนาจทะลุทะลวงปานกลาง
3. รังสี g ( g - gamma rays ) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความยาวช่วงคลื่นสั้นมาก , ความถี่สูง (มากกว่ารังสี X ) มีความเร็วเท่ากับแสงในสูญญากาศ , มีอำนาจทะลวงสูง , ไม่มีประจุไฟฟ้า ( จึงไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าหรือในสนามแม่เหล็ก ) ผ่านคอนกรีตหนา หนึ่งส่วนสามเมตร ได้เช่นเดียวกับรังสีเอกซ์
สรุป
1. สรุปอนุภาค a
( ก ) มีประจุ + 2 , มีมวล 4 amu
( ข ) มีอัตราเร็ว 1/15 ความเร็วแสง
( ค ) มีอำนาจทะลุทะลวงน้อยกว่ารังสีอื่น
2. สรุปอนุภาค b
( ก ) คือ electron , มีมวลน้อยมาก , ประจุ – 1
( ข ) ความเร็วสูงมาก เกือบเท่าแสง
( ค ) อำนาจทะลุทะลวงปานกลาง
3. สรุปรังสี g
( ก ) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า , มีความถี่สูงสุด
( ข ) มีความเร็วเท่าแสง
( ค ) อำนาจทะลุทะลวงสูง
แบบทดสอบ
1. พิจารณาข้อความต่อไปนี้สำหรับรังสีแอลฟา เบตา และแกมมา
1. มีความสามารถในการทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นไอออนได้ดีกว่า
2. ต้องใช้วัสดุที่มีความหนามากในการกั้นรังสี
3. เมื่อเคลื่อนที่ผ่านยริเวณที่มีสนามแม่เหล็กแนวการเคลื่อนที่เป็นแนวโค้ง
4. อัตราส่วนระหว่างประจุต่อมวลมีค่ามากที่สุด
ข้อความใดเป็นสมบัติของรังสีเบตา
ก. 1 และ 2 ข. 1 และ 3 ค. 2 และ 4 ง. 3 และ 4
2. ถ้ามีไอโซโทปกัมมันตรังสีเปรอะเปื้อนเข้ากบอาหาร โดยมีปริมาณกัมมันตภาพเท่า ๆ กัน รังสีใดจะมีอันตรายมากที่สุด
ก. เบตา ข. แอลฟา ค. แกมมา ง. เท่ากันทั้ง 3 ชนิด
3. ถ้านำสารกัมมันตรังสีซึ่งสลายตัวให้รังสีแอลฟา ไปใกล้อิเล็กโทรสโคปบนแผ่นทองคำเปลวซึ่งมีประจุลบอยู่ก่อนแล้ว จะเกิดผลอย่างไรกับแผ่นทองคำ
ก. แผ่นทองจะกางอ้าขึ้น แล้วยังคงค้างอยู่ ข. แผ่นทองจะกางอ้าขึ้น แล้วจะหุบลง
ค. แผ่นทองจะหุบอยู่ตลอด ง. แผ่นทองจะหุบแล้วกางอ้าออกอีกครั้ง
4. พิจารณาคำกล่าว
1. ในการปลดปล่อยรังสีแกมมาของธาตุกัมมันตรังสี จะไม่ทำให้เกิดธาตุใหม่ เพราะ
2. รังสีแกมมาไม่มีประจุ
คำตอบที่ถูกคือ
ก. ข้อ 1 และข้อ 2 ถูก และ 2 เป็นเหตุผลของ 1
ข. ข้อ 1 และข้อ 2 ถูก และ 2 ไม่ใช้เหตุผลของ 1
ค. ข้อ 1 ผิด แต่ 2 ถูก
ง. ข้อ 1 ถูก แต่ 2 ผิด
5. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสมบัติของรังสีเบตา ( เมื่อเทียบกับ a และg )
1. มีอำนาจทะลุทะลวงสูงสุด
2. เคลื่อนที่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กจะเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง
3. อัตราส่วนระหว่างประจุกับมวลมีค่ามากที่สุดในบรรดารังสีที่เป็นอนุภาค
4. ต้องใช้แผ่นตะกั่วหนาที่สุดในการกั้นรังสีนี้
ก. 2 และ 3 ข. 1 และ 3 ค. 1 , 2 และ 3 ง. 2 และ 4
6. อนุภาคเบตาลบ เกิดจาก
1. อิเล็กตรอนที่มีอยู่เดิมในนิวเคลียส
2. อิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียส
3. การเปลี่ยนแปลงโปรตอนเป็นนิวตรอนในนิวเคลียส
4. การเปลี่ยนแปลงนิวตรอนเป็นโปรตอนในนิวเคลียส
คำตอบที่ถูกคือ
ก. 1 , 2 และ 3 ข. 1 และ 3 ค. 2 และ 4 ง. เฉพาะ 4
7. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดที่เป็นสมบัติของรังสีแอลฟา
1. เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก แนวการเคลื่อนที่เป็นแนวโค้ง
2. มีความสามารถในการทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นอิออนได้
3. สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหนา ๆ ได้
คำตอบที่ถูกต้อง คือ
ก. 1 , 2 และ 3 ข. เฉพาะ 1 ค. ข้อ 1 , 2 ง. เฉพาะข้อ 2
8. ธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งออกมามีคุณสมบัติดังนี้
1. เมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องไกเกอร์เคาว์เตอร์จะไม่ทำงาน
2. เมื่อวัดระยะการผ่านทะลุสิ่งที่กีดขวางจะได้ไกลประมาณ 60 มิลลิเมตร ในอากาศ
3. ต้องใช้สนามแม่เหล็กที่มี Flux density สูงมาก ๆ จึงจะทำให้รังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุนี้เบี่ยงเบนได้
รังสีชนิดนี้คือ
ก. รังสีแอลฟา ข. รังสีเบตา ค. รังสีแกมมา ง. ทั้งรังสีแอลฟาและรังสีแกมมา
9. เหตุผลใดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดว่า การแผ่รังสีเบตาเกิดจากการเปลี่ยนสภาพนิวเคลียส
10. จากการศึกษาการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีพบว่า
ก. กัมมันตภาพของสารในขณะใดขึ้นกับมวลของสารที่มีอยู่ขณะนั้น
ข. สารกัมมันตรังสีสามารถสลายตัวให้รังสีเอกซ์ได้บ้างเล็กน้อย
ค. ถูกทั้ง ก. และ ข.
ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.
11. ในนิวเคลียสของธาตุใด ๆ ถ้าอัตราส่วนของจำนวนนิวตรอนต่อจำนวนโปรตอน เป็น X อัตราส่วนของจำนวนนิวคลีออน ต่อจำนวนโปรตอน จะมีค่าเท่าใด
ก. X + 2 ข. X + 3 ค. X + 6 ง. X + 1
12. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. รังสีแอลฟามีประจุไฟฟ้าบวก เป็นนิวเคลียสของอะตอมของธาตุฮีเลียม
2. รังสีเบตาคืออิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูง
3. รังสีเอกซ์อาจเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และอนุภาคที่ไม่มีประจุ
4. รังสีแกมมาไม่มีประจุไฟฟ้า มีมวลเท่ากับมวลของอิเล็กตรอน
ข้อที่ถูกต้อง คือ
ก. 1 , 2 และ 3 ข. 1 และ 3 ค. 2 และ 4 ง. เฉพาะ 4
13. จากความจริงที่ว่าเลขมวลของนิวเคลียสมีค่าใกล้เคียงกับมวลอะตอนมากนั้น ข้อใดต่อไปนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่เป็นไปได้
ก. นิวเคลียสประกอบด้วยนิวตรอนแลโปรตอน
ข. นิวเคลียสมีรัศมีเล็กกว่ารัศมีอะตอมประมาณ 10 - 15 เท่า
ค. อิเล็กตรอนอยู่ในนิวเคลียสไม่ได้เพราะขัดกับหลักความไม่แน่นอน
ง. นิวตรอนในนิวเคลียสเป็นคลื่นนิ่งเหมือนอิเล็กตรอนในอะตอม
14. จงเรียกอำนาจทะลุทะลวงของรังสีจากน้อยไปหามากตามลำดับ
ก. แกมมา เบตา แอลฟา ข. แอลฟา เบตา แกมมา
ค. เบตา แอลฟา แกมมา ง. เบตา แกมมา แอลฟา
15. ทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นอิออนได้น้อยที่สุด
ก. แกมมา ข. แอลฟา ค. เบตา ง. นิวตรอน
16. มีมวลใกล้เคียงโปรตอน และไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก
ก. แกมมา ข. แอลฟา ค. เบตา ง. นิวตรอน
17. มีสมบัติเป็นนิวเคลียสของธาตุหนึ่ง
ก. แกมมา ข. แอลฟา ค. เบตา ง. นิวตรอน
18. ข้อความใดถูกต้องที่สุด
ก. รังสีแอลฟามีอำนาจทะลุทะลวงรุนแรงกว่ารังสีเบตา และแกมมา
ข. อนุภาคเบตาไม่ใช้อิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสแต่ได้มาจากการเปลี่ยนสภาพของนิวเคลียส
ค. รังสีเบตามีอำนาจทะลุทะลวงมากที่สุด และมีความเร็วน้อยกว่าแสง
ง. รังสีแกมมามีประจุไฟฟ้าเท่ากับอิเล็กตรอนและมีอำนาจทะลุทะลวงมากกว่ารังสีแอลฟา
19. ข้อความใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
1. การสลายตัวของธาตุจะปลดปล่อยรังสีแอลฟา เบตา และแกมมาออกมาพร้อมกัน
2. ธาตุใหม่ที่ได้จากการสลายตัวนั้นมีเลขอะตอมน้อยกว่าเดิมเสมอ
3. รังสีทั้งหมดปลดปล่อยออกมาเบี่ยงเบนได้ในสนามแม่ไฟฟ้า
ก. ข้อ 1 เท่านั้น ข. ข้อ 2 เท่านั้น ค. ข้อ 3 เท่านั้น ง. ไม่มีข้อใดถูก
20. รังสีจากก้อนแร่ที่เบคเคอเรลทดลองพบกัมมันตภาพรังสีนั้น รังสีที่เป็นสาเหตุให้เขาคิดว่าก้อนแร่นั้นให้รังสีเอกซ์
ก. แอลฟา ข. เบตา ค. แกมมา ง. คาโทด
21. ถ้าปล่อยรังสีแอลฟาและรังสีเบตาที่ได้จากสารกัมมันตังสีเข้าไปในทิศตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กพร้อม ๆ กันโดยทดลองในสูญญากาศ ผลที่ได้ควรเป็นดังนี้
ก. รังสีทั้งสองจะเคลื่อนที่ในสูญญากาศไม่ได้เพราะต่างก็เป็นอนุภาค
ข. รังสีทั้งสองจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่คงที่
ค. รังสีทั้งสองเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง
ง. ไม่มีคำตอบใดถูก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น