ไฟฟ้าสถิต

การถ่ายเทประจุไฟฟ้าบนตัวนำทรงกลม การถ่ายเทประจุไฟฟ้าบนตัวนำประจุทรงกลม ที่จะศึกษาในหัวข้อนี้เพียงเพื่อจะนำไปใช้ในการคำนวณเกี่ยวกับแรงกระทำระหว่างประจุ ส่วนรายละเอียดจะศึกษาอีกครั้งในตอนต่อๆ ไปหลักการถ่ายเทประจุไฟฟ้ามี ดังนี้ ในการถ่ายเทปริมาณประจุไฟฟ้าคงที่เสมอ คือ ประจุไฟฟ้ารวมก่อนถ่ายเทจจะเท่ากับประจุไฟฟ้าหลังถ่ายเท หลังการถ่ายเทประจุไฟฟ้าบนตัวนำจะเป็นประจุไฟฟ้าประเภทเดียวกัน หลังการถ่ายเท วัตถุที่มีขนาดเท่ากันจะมีประจุไฟฟ้าเท่ากัน ถ้าวัตถุมีขนาดไม่เท่ากัน วัตถุที่มีขนาดใหญ่จะมีประจุไฟฟ้ามากกว่าวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่า กรณีตัวนำทรงกลมประจุบนตัวนำหลังถ่ายเทแล้วจะแปรผันตรงกบรัศมีของทรงกลม แรงระหว่างประจุและกฎการเคลื่อนที่ของคูลอมบ์ Charles Augustin de Coubomb นักวิทยาสาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับแรงระหว่างประจุแล้วตั้งทฤษฏีขึ้นมาโดยอาศัยหลักการที่ว่าประจุเหมือนกันจะผลักกัน ประจุต่างกันจะดึงดูดกัน คูลอมบ์สรุปได้ว่า แรงที่เกิดขึ้นระหว่างประจุจะเป็นสัดส่วนกับผลคูณของประจุ และแปรผกผันกับระยะห่างระหว่างประจุยกกำลังสอง ซึ่งเขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ว่า จากสมการที่ได้เรียกว่า กฎของคูลอมบ์ (Coulomb’s law) ใช้คำนวณหาแรงที่กระทำระหว่างประจุบนอนุภาคทั้งสอง ซึ่งเรียกว่า จุดประจุ เมื่อหน่วยของประจุเป็นคูลอมบ์(C) แรงมีหน่วยนิวตัน ระยะทางมมีหน่วยเปนเมตร เมื่อประจุทั้งสองอยู่ในสุญญากาศ หรือ อากาศแล้ว ค่าK หาได้จากการทดลองมีค่า ดยค่า K หาได้จาก ก่อนหน้า: การทดลอบที่แสดงว่าประจุจะกระจายอยู่เฉพาะผิวนอกของตัวนำเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น: