เนื้อหาสาระ O-NET ภาษาไทย
เนื้อหาสาระ O-NET ภาษาไทย
1. การอ่าน : - การตีความ แปลความ เข้าใจความหมาย ขยายความ และสรุปความ - การใช้ข้อมูลจากการอ่านให้เป็นประโยชน์ ( เพื่อหาข้อมูลความรู้ , เพื่อกิจธุระ ) - การวิเคราะห์คุณค่าเรื่องที่อ่าน |
2. การเขียน : - การเขียนอธิบาย บรรยาย พรรณนา - การเขียนสรุปความ - การลำดับความคิด - การเขียนเชิงวิชาการ - การเขียนเชิงกิจธุระ - การแสดงทรรศนะ - การใช้เหตุผล - การโต้แย้ง |
3. การพูด : - การพูดในโอกาสต่างๆ ที่เหมาะสมตามกาละ เทศะ และบุคคล |
4. หลักการใช้ภาษา : - ธรรมชาติของภาษา - ลักษณะของภาษาไทย เสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การสร้างคำ ความหมาย หน้าที่ของคำ ชนิดของคำ การเรียงประโยค ชนิดของประโยค การใช้สำนวนไทย ระดับภาษา - ความเปลี่ยนแปลงของภาษา คำยืม สำนวนต่างประเทศ ภาษาถิ่นที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม ภาษาเฉพาะกลุ่ม เช่น ภาษาสื่อมวลชน ภาษาการเมือง ภาษาธุรกิจ |
5. วรรณคดีและวรรณกรรม : - องค์ประกอบของงานประพันธ์ - ฉันทลักษณ์ - พัฒนาการของวรรณคดีไทย - ประเภทของวรรณคดี - คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ( กลวิธีการประพันธ์ ภาษา โวหารภาพพจน์ ) - คุณค่าด้านเนื้อหาและแนวคิด - คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม |
สัดส่วนเนื้อหาข้อสอบ O-NET วิชาภาษาไทย
เนื้อหา | จำนวนข้อ |
การอ่าน | 15 |
การเขียน | 17 |
การฟัง การดู การพูด | 4 |
หลักการใช้ภาษา | 29 |
วรรณคดี วรรณกรรม | 15 |
รวม | 80 |
เนื้อหาสาระ O-NET สังคมศึกษา
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
1. ประวัติและความสำคัญของศาสนาต่างๆ
2. หลักธรรมของศาสนาต่างๆ
3. พุทธศาสนสุภาษิต
4. พระไตรปิฎก
5. ศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ควรทราบ
6. ชาดก
7. หน้าที่ชาวพุทธ
8. วันสำคัญทางศาสนาและศาสนพิธี
9. ศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา
10. หลักธรรมในการดำเนินชีวิต และจริยธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติสุข
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
1. การเป็นพลเมืองดี
2. สิทธิมนุษยชน
3. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย
4. สังคม สังคมไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญา
5. ความรู้เกี่ยวกับรัฐ
6. ระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยและเผด็จการ
7. การเมืองการปกครองไทย และความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์
- ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์
- ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ
- ความหมายและความสำคัญของหน่วยเศรษฐกิจ ครัวเรือน, ธุรกิจ, รัฐบาล
- แนวคิดพื้นฐานของหน่วยธุรกิจและหน่วยรัฐบาลเกี่ยวกับการจัดการ
2. การวางแผนในการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างเหมาะสม
- ปัญหาและประโยชน์
3. กระบวนการและผลการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการผลิตสินค้าและการบริการ
4. ระบบสหกรณ์
5. เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
6. การใช้เทคโนโลยีและการแข่งขัน
7. ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ
8. กลไกราคา
9. หน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลและแหล่งรายได้ของรัฐบาล
- การเสียภาษีอากร
10. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
1. ยุคสมัยและวิธีการทางประวัติศาสตร์
- พัฒนาการประวัติศาสตร์ไทย
- พัฒนาการประวัติศาสตร์สากล
- ความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์ไทย + สากล
2. พัฒนาการของมนุษยชาติ
- ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ + สภาพแวดล้อม
- พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ศิลปกรรม
- ผลกระทบของการสร้างสรรค์ต่อการเปลี่ยนแปลง
3. ความร่วมมือ ความขัดแย้ง และการสร้างสันติภาพของมนุษยชาติ และผลกระทบต่อประเทศไทยและโลก
4. ความเป็นมาของชาติ โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
5. บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์
6. วัฒนธรรมภูมิปัญญาไทย
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
1. ภูมิศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
2. การเลือกใช้และวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่ชนิดต่างๆเครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางภูมิศาสตร์กับ การจัดการ
- แผนที่ชนิดต่างๆ
- ภาพถ่ายทางอากาศ
- ภาพถ่ายจากดาวเทียม/ยานอวกาศ
- ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
3. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและการสร้างสรรค์วัฒนธรรม
4. การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
5. วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรการแก้ไข
- บทบาทขององค์กรต่างๆ
6. กฎหมายสิ่งแวดล้อม
7. สิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาไทยกับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
8. จิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
9. การติดตามเลือกรับข่าวสารด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจากแหล่งความรู้ต่างๆเพื่อการเฝ้าระวังและ
ติดตามสถานการณ์ ในระดับประเทศและโลก
สัดส่วนเนื้อหาข้อสอบสังคมศึกษา
1. สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม 12 ข้อ
2. สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม 17 ข้อ
3. สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 17 ข้อ
4. สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ 17 ข้อ
5. สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ 17 ข้อ
หมายเหตุ : ข้อสอบทั้งหมดเป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ไม่มีข้อสอบอัตนัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น