หลักการเขียนข้อสอบ

หลักการเขียนข้อสอบ

                เนื่องจากสถานศึกษา กศน. อำเภอ จะต้องจัดทำข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2/2551 ส่งให้สำนักงาน กศน.  เพื่อพิจารณาการจัดทำชุดข้อสอบสำหรับภาคเรียนที่ 2/2551 ต่อไป ดังนั้น กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน จึงเขียนหลักการเขียนข้อสอบ ซึ่งเป็นหลักการทั่ว ๆ ไปให้สถานศึกษา ซึ่งมีครู ศรช. จำนวนมากที่ไม่ได้จบทางครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ได้ศึกษาเพื่อเป็นความรู้พื้นฐาน สำหรับช่วยพัฒนาในโอกาสต่อไป

 

หลักการเขียนข้อสอบเลือกตอบ

พรทิพย์  กล้ารบ 
ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

 

ข้อสอบเลือกตอบ มีส่วนประกอบ 2 ประการ คือ

1.               ส่วนที่เป็นคำถาม (Stem)

2.               ส่วนที่เป็นตัวเลือก (Choices) ประกอบด้วย ตัวถูก และตัวลวง ตัวเลือก อาจเป็นคำ วลี ประโยค จำนวน สัญลักษณ์ กราฟ รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ ฯลฯ

 

 

 

 

 

 

 


รูปแบบของข้อทดสอบเลือกตอบ

                ข้อทดสอบแบบเลือกตอบ นิยมใช้กันอยู่ 3 แบบ คือ

1.              

ตัวอย่าง

                1.  สิ่งใดไม่เป็นรูปเรขาคณิต

                     ก.  ดินสอ

                     ข.  ยางลบ

                     ค.  วงเวียน

                   ง.   ไม้บรรทัด

 
แบบคำถามเดี่ยว  เป็นคำถามเดียวพร้อมทั้งตัวเลือกจบสมบูรณ์ในข้อนั้น ๆ โดยแต่ละข้อแยกกันอย่างอิสระ เมื่อขึ้นข้อใหม่ก็มีคำถามและตัวเลือกชุดใหม่

 

 

 

 

 

2.               คำถามแบบสถานการณ์  มีการกำหนดสถานการณ์มาให้ ซึ่งอาจจะเป็นโคลง กลอน ข้อความ ตารางรูปภาพ แผนภูมิ ผลการทดลองตอนหนึ่งตอนใด ฯลฯ แล้วให้ตอบคำถามมากกว่า 1 ข้อ โดยยึดสถานการณ์หรือข้อความนั้นเป็นหลักในการตอบคำถาม

ตัวอย่าง

คำชี้แจง : จงตอบคำถามข้อ 1 ถึง 2 โดยใช้ข้อความต่อไปนี้

"ท่านเจ้าขาฉันพาลูกมาบวช ช่วยเด็กสวดสอนให้เป็นแก่นสาร"

1.             คำว่า "ท่าน" หมายถึง

ก.      ผู้มีอายุ

ข.      ผู้ทรงศีล

ค.      ผู้มีพระคุณ

ง.       ผู้ปกครอง

2.             ต้องการให้ผู้ใดเป็นแก่นสาร

ก.      ฉัน

ข.      ลูก

ค.      ท่าน

ง.       พระ

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3.               คำถามประเภทตัวเลือกคงที่  เป็นการกำหนดตัวเลือกคงที่ โดยกำหนดตัวเลือกไว้ให้ชุดหนึ่ง แล้วตั้งคำถามหลาย ๆ ข้อ โดยให้เลือกคำตอบจากตัวเลือกเท่านั้น

ตัวอย่าง

คำชี้แจง : ตั้งแต่ข้อ 1 3 ให้พิจารณาว่า ข้อความที่พิมพ์ตัวหนาในแต่ละข้อ
                เป็นวลีชนิดใดจากตัวเลือกต่อไปนี้

ก.      นามวลี

ข.      วิเศษวลี

ค.      บุพบท

ง.       สันธานวลี

1.             ผู้หญิงแต่งชุดสีน้ำเงิน  เป็นน้าของฉัน

2.             กระดาษแผ่นนี้ ใช้ห่อของขวัญนะค่ะ

3.             ฉันถีบจักรยานไปโรงเรียนทุกเช้า

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


หลักการสร้างข้อทดสอบแบบเลือกตอบ

1.               ควรเขียนคำถามให้เป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์

ตัวอย่าง

ไม่ดี : เหงือกปลาทำหน้าที่คล้าย

ก.      ไต

ข.      ปอด

ค.      สมอง

ง.       หัวใจ

ดีขึ้น : เหงือกปลาทำหน้าที่คล้ายอะไรของคน

ก.      ไต

ข.      ปอด

ค.      สมอง

ง.       หัวใจ

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


2.               ควรเขียนตัวเลือกให้มีลักษณะเป็นเอกพันธุ์ (homogeneous)

ตัวอย่าง

ไม่ดี :  เมืองหลวงของประเทศอังกฤษชื่ออะไร

ก.      โรม

ข.      ปารีส

ค.      ลอนดอน

ง.       แยงซีเกียง

ดีขึ้น :  เมืองหลวงของประเทศอังกฤษชื่ออะไร

ก.      โรม

ข.      ปารีส

ค.      มอสโค

ง.       ลอนดอน

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3.               ควรมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว

ตัวอย่าง

ไม่ดี :  สิ่งใดไม่เข้าพวก

ก.      ไข่

ข.      นม

ค.      ข้าว

ง.       ปลา

ดีขึ้น :  สิ่งใดไม่ใช่อาหารประเภทโปรตีน

ก.      ไข่

ข.      นม

ค.      ข้าว

ง.       ปลา

(คำตอบอาจจะเป็นข้อ 3 เพราะเป็นสัตว์น้ำหรืออาจจะเป็นข้อ ค เพราะคุณค่าของอาหารเป็นอาหารจำพวกแป้งหรืออาจจะเป็นข้อ ข เพราะเป็นของเหลว)

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


4.               เขียนตัวเลือกให้เป็นอิสระออกจากกัน คือ อย่าให้ตัวถูกและตัวลวงครอบคลุมเหลื่อมทับกัน

ตัวอย่าง

ไม่ดี  :  ปัจจุบันพลเมืองของประเทศไทยมีประมาณกี่ล้านคน

ก.      น้อยกว่า 45 ล้าน

ข.      น้อยกว่า 53 ล้าน

ค.      มากกว่า 45 ล้าน

ง.       มากกว่า 53 ล้าน

ดีขึ้น :  ปัจจุบันพลเมืองของประเทศไทยมีประมาณกี่ล้านคน

ก.      น้อยกว่า 40 ล้าน

ข.      ระหว่าง 40 45 ล้าน

ค.      ระหว่าง 46 50 ล้าน

ง.       มากกว่า 50 ล้าน

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


5.               หลีกเลี่ยงคำถามที่เป็นประโยคปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ

ตัวอย่าง

ไม่ดี :  ถ้าคนไม่รับประทานไขมันร่างกายจะไม่มีอะไร

ก.      เกลือแร่

ข.      ไขสันหลัง

ค.      พลังความร้อน

ง.       แรงกล้ามเนื้อ

ดีขึ้น : ไขมันช่วยร่างกายด้านใด

ก.      เพิ่มเกลือแร่

ข.      บำรุงไขสันหลัง

ค.      เพิ่มพลังความร้อน

ง.       เพิ่มสมรรถภาพกล้ามเนื้อ

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


6.               อย่าให้คำถามและตัวเลือกแนะคำตอบซึ่งกันและกัน

ตัวอย่าง

ไม่ดี : กระเพาะอาหารมีหน้าที่อะไร

ก.      ย่อยอาหาร

ข.      สูบฉีดโลหิต

ค.      ระบายอากาศ

ง.       หายใจเข้าออก

ดีขึ้น : กระเพาะอาหารมีหน้าที่อะไร

ก.      ดูดอาหาร

ข.      ย่อยอาหาร

ค.      เก็บอาหาร

ง.       ถ่ายเทอาหาร

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


7.               เขียนคำถามโดยใช้ข้อความสั้น ๆ แต่ได้ใจความสมบูรณ์

ตัวอย่าง

ไม่ดี : เขาเป็นคนไทย ไม่ใช่คนต่างชาติ จึงควรมีมารยาทอย่างไร
          ข้อใดเป็นมารยาทการทักทายอย่างไทย

ก.      การไหว้

ข.      การกอด

ค.      การจับมือ

ง.       การโอบไหล่

ดีขึ้น : ข้อใดเป็นการแสดงมารยาทการทักทายแบบไทย

ก.      การไหว้

ข.      การกอด

ค.      การจับมือ

ง.       การโอบไหล่

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


8.               ระวังอย่าให้ตัวเลือกบางตัวถูกกำจัดออกไปได้โดยไม่ต้องอาศัยความรู้ในเรื่องนั้น

ตัวอย่าง

ไม่ดี  :  ข้อใดเป็นวีรสตรีไทย

ก.      คุณหญิงโม

ข.      นางนพมาศ

ค.      ท้าวแสนปม

ง.       พระยาพิชัยดาบหัก

ดีขึ้น : ข้อใดเป็นวีรสตรีไทย

ก.      นางเสือง

ข.      คุณหญิงโม

ค.      ท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ง.       คุณหญิงแสงเดือน

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


9.               ระวังอย่าให้คำถามข้อแรกแนะคำตอบข้างหลัง

ตัวอย่าง

ข้อแรก : คุณหญิงโมเป็นวีรสตรีสมัยใด

ก.      สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ข.      สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ค.      สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ง.       สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ข้อหลัง : ข้อใดเป็นวีรสตรีไทย

ก.      นางเสือง

ข.      คุณหญิงโม

ค.      ท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ง.       คุณหญิงแสงเดือน

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


10.         ควรจัดเรียงตัวเลือกตามลำดับระยะเวลาและปริมาณ

ตัวอย่าง

ไม่ดี  :  เราควรฆ่าเชื้อโรคในน้ำนมด้วยการอุ่นให้ร้อนกี่องศา

ก.      70  องศา

ข.      50  องศา

ค.      80  องศา

ง.       60  องศา

ดีขึ้น : เราควรฆ่าเชื้อโรคในน้ำนมด้วยการอุ่นให้ร้อนกี่องศา

ก.      50  องศา

ข.      60  องศา

ค.      70  องศา

ง.       80  องศา

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


11.         ถ้าตัวเลือกมีข้อความยาวไม่เท่ากัน ควรเรียงลำดับตัวเลือกที่มีข้อความสั้นไปหาตัวเลือกที่มีข้อความยาว

ตัวอย่าง

ไม่ดี : มัชฌิมเลขคณิตเป็นค่าในการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
          ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นค่าในการวัดอะไร

ก.      การกระจาย

ข.      ความถี่

ค.      คะแนน

ง.       การพยากรณ์

ดีขึ้น :  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้วัดอะไร

ก.      ความถี่

ข.      คะแนน

ค.      การกระจาย

ง.       การพยากรณ์

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


12.         ข้อสอบควรถามในสิ่งที่ดี มีประโยชน์และสร้างสรรค์ เพื่อช่วยให้ผู้ตอบได้พบตัวอย่างที่ดี และเกิดค่านิยมที่ดีต่อสิ่งนั้น

ตัวอย่าง

ไม่ดี : การตกเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่นให้ประโยชน์ในด้านใด

ก.      ได้ใช้ภาษาของชาตินั้น

ข.      ส่งสินค้าไปขายยังชาติอื่นได้

ค.      ปลอดภัยจากการรุกรานของชาติอื่น

ง.       ผู้นำของชาตินั้นมาเยี่ยมเยียนเสมอ

ดีขึ้น : การเป็นประเทศอิสระไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่นดีอย่างไร

ก.      มีการซื้อขายอาวุธได้มากขึ้น

ข.      มีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเอง

ค.      มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ง.       มีอิสรภาพไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับชาติอื่น

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


13.         ควรเขียนแบบฟอร์มของคำถามให้เป็นระเบียบและอ่านง่าย คำถามและตัวเลือกไม่ควรอยู่บนบรรทัดเดียวกัน หรืออยู่คนละหน้า

ตัวอย่าง

ไม่ดี : ส่วนใดของพืชใช้ปรุงอาหาร

ก.      ใบ

ข.      ดอก

ค.      ราก

ง.       ลำต้น

ดีขึ้น : ส่วนใดของพืชใช้ปรุงอาหาร

ก.      ใบ

ข.      ดอก

ค.      ราก

ง.       ลำต้น

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


14.         ไม่ควรใช้ตัวเลือกประเภท "ผิดทุกข้อ" หรือ "ไม่มีข้อใดถูก" หรือ "ถูกทุกข้อ" หรือ "ถูกหมด"

15.         ไม่ควรใช้คำว่า เท่านั้น ทั้งหมด ทุก ๆ เสมอ แน่นอน ฯลฯ กับตัวลวง เพราะจะทำให้เห็นผิดเด่นชัดเกินไป

 

 

--------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น: