ข้อสอบสังคม ม.5

1. โครงสร้างที่อยู่นอกสุดของโลกเรียกว่าอะไร
ก. ชั้นเปลือกโลก ข. ชั้นเนื้อโลก ค. ชั้นแก่นโลก ง. ชั้นนอกโลก
2. จังหวัดใดในประเทศไทยที่มีปริมาณฝนตกน้อยที่สุดเฉลี่ยต่อปี
ก. ระนอง พังงา ข. ตราด จันทบุรี ค. ตาก กาญจนบุรี ง. เชียงใหม่ เชียงราย
3. ภาคใดของประเทศไทยที่มีปริมาณฝนตกมากที่สุด
ก. ภาคใต้ ข. ภาคเหนือ ค. ภาคตะวันตก ง. ภาคตะวันออก
4. จังหวัดใดในประเทศไทยที่บ่งบอกถึงหลักฐานของการกำเนิดภูเขาไฟ
ก. บุรีรัมย์ ข. ศรีษะเกศ ค. นครราชสีมา ง. อุบลราชธานี
5. การกระทำใดเป็นสาเหตุของการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลก
ก. การฉีดยาปราบศัตรูพืช ข. การก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ
ค.การตัดไม้ทำลายป่า ง. การใช้ก๊าซหุงต้มอาหาร
6. แบบจำลองที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของประเทศ และสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนผิวโลกคือสิ่งใด
ก. กราฟ ข. แผนที่ ค. แผนผัง ง. ลูกโลก
7. เครื่องหมายหรือสิ่งที่ใช้แทนรายละเอียดต่าง ๆ ในแผนคือข้อใด
ก. รูปแทน ข. รูปลักษณะ ค. สัญลักษณ์ ง. ตราสัญลักษณ์
8. ระยะทาง 1 หน่วยในแผนที่เท่ากับระยะทาง 50,000 หน่วยบนพื้นโลกเขียนเป็นมาตราส่วนตัวเลขในแผนที่อย่างไร
ก. 1 : 50,000 ข. 1 / 50,000 ค. 1 = 50,000 ง. 50,000/1
9. ประเทศไทยเริ่มทำแผนที่แบบชาวตะวันตกขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. 2512 ข. พ.ศ. 2514 ค. พ.ศ. 2516 ง. พ.ศ. 2518
10. ข้อใด ไม่ เกี่ยวกับชนิดของแผนที่ที่แบ่งตามลักษณะของการใช้งาน
ก. แผนที่ภูมิประเทศ ข. แผนที่ภูมิภาค ค. แผนที่เฉพาะเรื่อง ง. แผนที่เล่ม
11. ข้อใดจัดจัดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ก. โทรศัพท์เคลื่อนที่ ข. วิทยุ โทรทัศน์ ค. จานดาวเทียม ง. แผนที่ เข็มทิศ
12. เมื่อต้องการหาตำแหน่งที่ตั้งของทวีปและประเทศต่าง ๆ ควรใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในข้อใด
ก. แผนผัง ข. แผนที่ ค. เข็มทิศ ง. ลูกโลก
13. ประเทศไทยได้ทดลองทำแผนที่ด้วยการถ่ายภาพทางอากาศเป็นครั้งแรกที่จังหวัดใด
ก. สุรินทร์ ข. อยุธยา ค. นครนายก ง. สมุทรปราการ
14. การถ่ายภาพจากดาวเทียมเกิดจากการดำเนินการตามกระบวนการในข้อใด
ก. เทคโนโลยี ข. อินฟราเรด ค. รีโมทเซนซิง ง. คอมพิวเตอร์
15. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ก. ระบบฮาร์แวร์ ข. ระบบซอฟต์แวร์ ค. ระบบข้อมูล ง. ระบบเทคโนโลยี
16. สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือก่อให้เกิดอันตรายได้
เรียกว่าอะไร
ก. เหตุการณ์ ข. สถานการณ์ ค. วิกฤตการณ์ ง. ปรากฏการณ์
17. ข้อใดคือทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป
ก. ป่าไม้ ข. อากาศ ค. แสงอาทิตย์ ง. ก๊าซธรรมชาติ
18. ข้อใดคือทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
ก. ป่าไม้ ข. อากาศ ค. แสงอาทิตย์ ง. ก๊าซธรรมชาติ
19. ข้อใดจับคู่แหล่งทรัพยากรกับจังหวัดที่ตั้งได้ถูกต้อง
ก. ถ่านหิน – บุรีรัมย์ ข. ทรายแก้ว – ระยอง
ค. หินอ่อน – เชียงใหม่ ง. เกลือสินเธาว์ - กำแพงเพชร
20. ป่าไม้ประเภทใดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด
ก. ป่าดิบชื้อ ข. ป่าชายเลน ค. ป่าเต็งรัง ง.ป่าเบญจพรรณ
21. วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมของโลกที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อใด
ก. การเพิ่มของจำนวนประชากรโลก ข. การเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ค. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ ง. การเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
22. ประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรมาก ที่สุดในโลกคือประเทศอะไร
ก. ประเทศจีน ข. ประเทศอินเดีย ค. ประเทศอินโดนีเซีย ง. ประเทศสหรัฐอเมริกา
23. จำนวนประชากรที่พอเหมาะหมายถึงอะไร
ก. จำนวนประชากรวัยทำงานไม่มีการว่างงาน
ข. จำนวนประชากรสมดุลกับธรรมชาติ
ค. อัตราการเกิดและอัตราการตายของจำนวนประชากรสมดุลกัน
ง. ความหนาแน่นเฉลี่ยของประชากรราว 100 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
24. เครื่องมือทางการตลาดที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใช้ฉลากสีอะไร
ก. สีแดง ข. สีดำ ค. สีเขียว ง. สีเหลือ
25. ฉลากเขียวเริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศอะไร
ก. สหรัฐอเมริกา ข. อังกฤษ ค. สวีเดน ง. เยอรมนี
26. ข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มปัญหาวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
ก. ปัญหาการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ข. ปัญหาจากการทำลายระบบนิเวศ
ค. ปัญหาการเกิดมลภาวะหรือมลพิษต่าง ๆ ง.ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ
27. ข้อใดเป็นอำนาจ หน้าที่ บทบาท และภารกิจของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ก. ส่งเสริม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม
ข. ให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ
ค. บริการข้อมูลสารสนเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยป่าไม้
ง. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยแร่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
28. หน่วยงานใดต่อไปนี้ที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการบริหารที่ดิน
ก. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ข. กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
ค. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ง. สนง.นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
29. ปรากฏการณ์เรือนกระจกเกิดจากการปล่อยก๊าซใดสู่ชั้นบรรยากาศ
ก. ออกซิเจน ข. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ค. คาร์บอนไดออกไซด์ ง. ไนโตรเจนออกไซด์
30. องค์กรเอกชนในประเทศไทยเริ่มมีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เมื่อปี พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. 2516 ข. พ.ศ. 2518 ค. พ.ศ. 2520 ง. พ.ศ. 2522
31. ใครเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์เป็นครั้งแรก
ก. นายสุเมธ ตันติเวชกุล ข. พลตรีจำลอง ศรีเมือง
ค. นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ง. นายอานันท์ ปันยารชุน
32. กฎหมายต่อไปนี้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ยกเว้น ข้อใด
ก. พ.ร.บ. ชลประทานหลวง ข. พ.ร.บ. ผังเมือง
ค. พ.ร.บ. สวนผัก ง. พ.ร.บ. ประมง
33. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีชื่อเรียกทั่วไปว่าอะไร
ก. รัฐธรรมนูญฉบับสีขาว ข. รัฐธรรมนูญฉบับสีแดง
ค.รัฐธรรมนูญฉบับสีน้ำเงิน ง. รัฐธรรมนูญฉบับสีเขียว
34. เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันแก้ไขแหล่งกำเนิดมลพิษมีโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
35. กลุ่มกฎหมายใดที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
ก. กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรม ข. กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับมลพิษ
ค...กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและป่าไม้ ง. กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับอาคารและผังเมือง



36. ผู้ใดฝ่าฝืน พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 16, 19, 20 มีบทกำหนด
โทษตามหมวดที่ 8 ไว้อย่างไร
ก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
37. ปัจจัยสำคัญประการแรกที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาที่ยั่งยืนคือสิ่งใด
ก. มนุษย์ ข. สัตว์ป่าสงวน ค. สิ่งแวดล้อม ง. ทรัพยากรธรรมชาติ
38. ปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2548) ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่เท่าไร
ก. ฉบับที่ 3 ข. ฉบับที่ ค. ฉบับที่ 7 ง. ฉบับที่ 9
39. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ใดที่ได้กำหนดให้การพัฒนาคนเป็นวัตถุประสงค์
หลักของการพัฒนา
ก. ฉบับที่ 6 ข. ฉบับที่ 8 ค. ฉบับที่ 7 ง. ฉบับที่ 9
40. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้อใดที่เน้นเรื่องการตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ก. ทางสายกลาง ข. การเสริมสร้างคุณภาพคน
ค. ความสมดุลและความยั่งยืน ง.ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล

ไม่มีความคิดเห็น: