แผนการสอน

แผนการสอน

ชื่อวิชา:                   เคมีอินทรีย์  (Organic Chemistry)

รหัสรายวิชา:                          1102 110

จำนวนหน่วยกิต:    3  หน่วย

กลุ่มผู้เรียน:                            Section 1 นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์

                                                Section 2 นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

ภาคการศึกษา:                        ภาคต้น

จำนวนชั่วโมงเรียน:              45 ชั่วโมงบรรยาย (3 ชั่วโมง/สัปดาห์) 

เวลาเรียน                                Section 1    วันพุธ 08.00-09.00 น. และวันศุกร์  10.00-12.00 น.

                                                Section 2    วันอังคาร 10.00-12.00 น. และวันพุธ 08.00-09.00 น.

ห้องเรียน                                Section 1   ห้อง CLB 4105

Section 2   ห้อง CLB 2214  

ผู้จัดการรายวิชา:    ดร.ประนอม แซ่จึง               

อาจารย์ผู้สอน                         Section 1:  1. ดร.ทินกร  แก้วอินทร์   ตึกเคมี ชั้น 4

                                                                     2. รศ.ดร.โชติ  จิตรังษี                      ตึกเคมี ชั้น 2          

Section 2:  1. ดร.ประนอม แซ่จึง                        ตึกเคมี ชั้น 3

                                                                     2. รศ.ดร.วินิช พรมอารักษ์              ตึกวิจัย ชั้น 3         

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

                โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี ความเป็นกรด-เบสและปฏิกิริยาของสารอินทรีย์ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน  สารประกอบแฮไลด์อินทรีย์ อัลกอฮอล์และฟีนอล อีเทอร์ อัลดีไฮด์และคีโตน กรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ และเอมีน สเทอริโอเคมีและสารชีวโมเลกุล

แนวคิด (Course Concept)

                การเรียนวิชาเคมีอินทรีย์ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่างๆ ซึ่งจำแนกตามหมู่ฟังก์ชัน นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านชื่อ คุณสมบัติทางกายภาพ และการเปลี่ยนทางเคมีที่สามารถเกิดขึ้นได้กับสารประกอบประเภทนั้นๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาขั้นสูงและสามารถเลือกใช้สารเคมีและปฏิกิริยาได้อย่างเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้วิชาอื่นต่อไป

วัตถุประสงค์ (Course Objective)

                เมื่อเรียนจบรายวิชานี้แล้วนักศึกษาสามารถ

                1. อธิบายความหมายและแนวคิดในแต่ละบทเรียนได้

                2. เขียนโครงสร้าง จำแนกและอ่านชื่อสารอินทรีย์ได้

                    3. เขียนและประยุกต์ปฏิกิริยาเคมีที่เรียนได้

4. มีพื้นฐานในการเรียนวิชาในระดับสูงต่อไปได้

วัตถุประสงค์ประจำบท (Lesson Objective)

                เมื่อเรียนรายวิชานี้จบแล้วนักศึกษาสามารถ

บทที่ 1 โครงสร้างอะตอม  พันธะเคมีและความเป็นกรดเบสของสารอินทรีย์ (4 hr)

1.1         เขียนโครงแบบเชิงอิเล็กตรอนของธาตุได้

1.2         อธิบายการเกิดไฮบริไดเซชันแต่ละแบบได้

1.3         อธิบายการเกิดพันธะเคมี ได้แก่ พันธะซิกมาและพันธะไพได้

1.4         อธิบายพลังงาน มุม และความยาวของพันธะแต่ละประเภทได้

1.5         อธิบายนิยามกรด-เบสและจำแนกความเป็นกรด-เบสของสารอินทรีย์ได้

1.6         เปรียบเทียบความแรงของกรด-เบสแต่ละชนิดได้

บทที่ 2 ปฏิกิริยาเคมีของสารอินทรีย์ (3 hr)

2.1 อธิบายการแตกพันธะแบบโฮโมและเฮเทอโรไลติก

                2.2 อธิบายปฏิกิริยาการเติมได้

                2.3 อธิบายปฏิกิริยาการแทนที่ได้

                2.4 อธิบายปฏิกิริยาการขจัดได้

                2.5 อธิบายปฏิกิริยาการออกซิเดชัน-รีดักชันได้

                2.6 อธิบายการสร้างพันธะ ละการทำลายพันธะแบบต่างๆ

       2.7 เขียนโครงสร้างของอิเล็กโตรไฟล์ (electrophiles) นิวคลีโอไฟล์ (nucleophiles) และอธิบายลักษณะที่สำคัญได้

           2.8 อธิบายชนิดของสารตัวกลางระหว่างปฏิกิริยาประเภทต่างๆ ได้แก่ คาร์โบแคทไอออน คาร์แบนไอออน และคาร์บอนแรดดิคัลได้

                2.9 สามารถเขียนแผนผังพลังงานของปฏิกิริยาแบบขั้นตอนเดียวและปฏิกิริยาหลายขั้นตอนได้

บทที่ 3 ไฮโดรคาร์บอน อัลเคน ัลคีน ัลไคน์ และสารอะโรมาติก (6 hr)

3.1         จำแนกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้

3.2         อธิบายโครงสร้าง และเรียกชื่ออัลเคน อัลคีล อัลไคน์และสารอะโรมาติกได้

3.3         อธิบายคุณสมบัติทางกายภาพ สารประกอบอัลเคน อัลคีน อัลไคน์และอะโรมาติกได้

3.4         อธิบายปฏิกิริยาแทนที่ของอัลเคนได้

3.5         อธิบายปฏิกิริยาเติมของอัลคีน และอัลไคน์ได้

3.6         อธิบายปฏิกิริยาแทนที่ของสารอะโรมาติกได้

บทที่ 4 สเทอริโอเคมี (5 hr)

                5.1 เขียน structural isomer  ของสารประกอบอินทรีย์ได้

                5.2 เขียน conformational isomer ของสารประกอบอัลเคนได้

                5.3 เขียน geometrical isomer ของสารประกอบอัลคีนได้

                5.4 สามารถหา  E-isomer หรือ Z-isomer ของสารประกอบอัลคีลและสารในธรรมชาติอื่นๆได้

                5.5 บอกลักษณะของสารประกอบไครัลคาร์บอนได้

                5.6 สามารถหาโครงแบบสัมบูรณ์ของโมเลกุลน้ำตาลและสารธรรมชาติได้

5.7 เขียนโครงสร้าง 3 มิติของอิแนนทิโอเมอร์ และไดแอสเทอริโอเมอร์ได้

5.8 อธิบายความหมายของแอบโซลูตคอนฟิกุเรชันได้

5.9 อธิบายสมบัติทางแสงของสเตอริโอเคมี ด้แก่ optical rotation การคำนวณ specific rotation

บทที่ 5 แฮไลด์อินทรีย์ (4 hr)

                4.1 อธิบายโครงสร้าง และเรียกชื่อแฮไลด์อินทรีย์ได้

                4.2 อธิบายคุณสมบัติสารประกอบแฮไลด์อินทรีย์ได้

                4.3 อธิบายปฏิกิริยาของแฮไลด์อินทรีย์ได้

บทที่ 6 อัลกอฮอล์ ฟีนอล และอีเทอร์ (5 hr)

                6.1 อธิบายโครงสร้าง และเรียกชื่ออัลกอฮอล์ ฟีนอล และอีเทอร์ได้

                6.2 อธิบายคุณสมบัติสารประกอบอัลกอฮอล์ ฟีนอล และอีเทอร์ได้

                6.3 อธิบายปฏิกิริยาการแทนที่และการขจัดของอัลกอฮอล์ ฟีนอล และอีเทอร์ได้

                6.4 อธิบายปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชันของอัลกอฮอล์ ฟีนอล และอีเทอร์ได้

บทที่ 7 อัลดีไฮด์และคีโตน (4 hr)

                7.1 อธิบายโครงสร้าง และเรียกชื่ออัลดีไฮด์และคีโตนได้

                7.2 อธิบายคุณสมบัติสารประกอบอัลดีไฮด์และคีโตนได้

                7.3 อธิบาย Keto-enol tautomerism

                7.4 อธิบายปฏิกิริยาการเติมของอัลดีไฮด์และคีโตนได้

                7.5 อธิบายปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชันของอัลดีไฮด์และคีโตนได้

บทที่ 8 กรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ (4 hr)

                8.1 อธิบายโครงสร้าง และเรียกชื่อกรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ได้

                8.2 อธิบายคุณสมบัติสารประกอบกรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ได้

                8.3 สามารถทำนายความเป็นกรดของสารประกอบกรดคาร์บอกซิลิกได้

                8.4 อธิบายปฏิกิริยาการแทนที่และอื่นๆของกรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ได้

บทที่ 9 เอมีนและเอไมด์ (4 hr)

                9.1 อธิบายโครงสร้าง และเรียกชื่อเอมีนและเอไมด์ได้

                9.2 อธิบายคุณสมบัติของสารประกอบเอมีนและเอไมด์ได้

                9.3 สามารถทำนายความเป็นเบสของสารประกอบเอมีนและเอไมด์ได้

                9.4 อธิบายปฏิกิริยาการแทนที่และอื่นๆของเอมีนและเอไมด์ได้

บทที่ 10 สารชีวโมเลกุล (6 hr)

                10.1 จำแนกประเภทสารชีวโมเลกุลที่มีความสำคัญในสิ่งมีชีวิตได้

                10.2 เขียนสูตรทั่วไปของสารชีวโมเลกุลประเภทต่างๆได้

                10.3 เขียนสูตรโครงสร้างทั่วไปของสารชีวโมเลกุลที่สามัญและสำคัญบางตัวได้

                10.4 เขียนสูตรโครงสร้างแบบ 3 มิติเพื่อแสดงสเทอริโอเคมีของสารชีวโมเลกุลที่นำมาเป็นตัวอย่างได้

                10.5 จำแนกสารชีวโมเลกุลประเภทต่างๆที่แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ เช่น โมโนแซคคาไรด์

                ไดแซคคาไรด์ โพลีแซคคาไรด์ ในคาร์โบไฮเดรต เป็นต้น

                10.6 อธิบายโครงสร้างปฐมภูมิ โครงสร้างทุติยภูมิของสารชีวโมเลกุลบางประเภทได้

                10.7 อธิบายสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของสารชีวโมเลกุลได้

                10.8 อธิบายความสำคัญและประโยชน์ด้านต่างๆของสารชีวโมเลกุลต่อสิ่งมีชีวิตได้

วิธีการสอน

                การสอนแบบบรรยายโดยใช้เอกสารประกอบ นักศึกษาสามารถถามคำถามทั้งในและนอกห้องเรียนได้

สื่อประกอบการสอน

                เอกสารประกอบการสอน ตำราเคมีอินทรีย์ แผ่นใส แผนภาพ แบบจำลองโมเลกุล

 วิธีการวัดผล

1.               คะแนนการบ้าน   10%

2.               คะแนนสอบย่อย   20%

3.               สอบกลางภาค  35%   โดยข้อสอบจะคลอบคลุมเนื้อหาบทที่ 1 - 5

4.               สอบปลายภาค  35%   โดยข้อสอบจะคลอบคลุมเนื้อหาบทที่ 6 - 10

วิธีการประเมินผล        ใช้การประเมินแบบ letter grade (A, B+, B, C+, C, D+, D, F)

ระบบการประเมินผลการเรียนใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม โดยผู้ที่สอบได้คะแนนรวมตํ่ากว่า 35 จะได้เกรด F ส่วนผู้ที่ได้คะแนนสูงกว่าร้อยละ 35 จะได้เกรด A, B+, B, C+, C, D+ และ D โดยพิจารณาจากคะแนนรวมที่ได้แบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่มคะแนน  เกณฑ์ดังกล่าวอาจปรับลงตามความเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

1. S.H. Pine Organic chemistry, McGraw-Hill Company Inc. 5th edition, 1987.

2. F.A. Carey Organic chemistry, McGraw-Hill Company Inc. 3rd edition, 1996.

3. สุนันทา วิบูลจันทร์ เคมีอินทรีย์ โครงการเอกสารวิชาการ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ครั้งที่ 3 (2538)

 

 

 

ตารางเรียนรายวิชา 1102 110 (เคมีอินทรีย์)

Section 1  วันพุธ 08.00-09.00 น. และวันศุกร์ 10.00-12.00 น. (ห้อง CLB4105) โดย ดร.ทินกรและ รศ.ดร.โชติ

Section 2  วันอังคาร 10.00-12.00 น. และวันพุธ 08.00-09.00 น. (ห้อง CLB 2214) โดย ดร.ประนอมและ รศ.ดร.วินิช   

วันที่

เนื้อหา

จำนวน (ชม.)

ผู้สอน

Sec. 1  3, 5 และ 10 มิ.ย.

Sec. 2  2, 3 และ 9 (1 ชม.) มิ.ย.

บทที่ 1 โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี

และความเป็นกรดเบสของสารอินทรีย์

4

Sec. 1 ดร.ทินกร

Sec. 2 ดร.ประนอม

Sec. 1  12 และ 17 มิ.ย.

Sec. 2  9 (1 ชม.), 10 และ 16 (1 ชม.) มิ.ย.

บทที่ 2 ปฏิกิริยาเคมีของสารอินทรีย์

3

Sec. 1 ดร.ทินกร

Sec. 2 ดร.ประนอม

Sec. 1  19, 24, 26 มิ.ย. และ 1 ก.ค.

Sec. 2  16 (1 ชม.), 17, 23, 24 และ 30 มิ.ย. (1 ชม.)

บทที่ 3 สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
อัลเคน อัลคีน อัลไคน์ และอะโรมาติก

6

Sec. 1 ดร.ทินกร

Sec. 2 ดร.ประนอม

Sec. 1  3, 10 และ 15 ก.ค.

Sec. 2  30 มิ.ย. (1 ชม.), 1, 14 และ 15 ก.ค.

บทที่ 4 สเทอริโอเคมี

5

Sec. 1 ดร.ทินกร

Sec. 2 ดร.ประนอม

Sec. 1  17, 22 และ 24 ก.ค.

Sec. 2  21 และ 22 ก.ค.  (เพิ่มเติม 1 ชม.)

บทที่ 5 แฮไลด์อินทรีย์

4

Sec. 1 ดร.ทินกร

Sec. 2 ดร.ประนอม

สอบกลางภาค บทที่ 1-5   วันที่ 31 กรกฏาคม  2552   เวลา  8.00-11.00 น.

Sec. 1  5, 7 และ 14 ส.ค.

Sec. 2  4, 5 และ 11 ส.ค.

บทที่ 6 อัลกอฮอล์ ฟีนอล และอีเทอร์

5

Sec. 1 รศ.ดร.โชติ

Sec. 2 รศ.ดร.วินิช

Sec. 1  19, 21 และ 26 ส.ค.

Sec. 2  19, 25 และ 26 ส.ค.

บทที่ 7 อัลดีไฮด์และคีโตน

4

Sec. 1 รศ.ดร.โชติ

Sec. 2 รศ.ดร.วินิช

Sec. 1  28 ส.ค., 2 และ 4 ก.ย.(1 ชม.)

Sec. 2  1, 2 และ 8 ก.ย. (1 ชม.)

บทที่ 8 คาร์บอกซิลิกและเอสเทอร์

4

Sec. 1 รศ.ดร.โชติ

Sec. 2 รศ.ดร.วินิช

Sec. 1  4 (1 ชม.), 9 และ 11 ก.ย.

Sec. 2  8 (1 ชม.), 9 และ 15 ก.ย.

บทที่ 9 เอมีนและเอไมด์

4

Sec. 1 รศ.ดร.โชติ

Sec. 2 รศ.ดร.วินิช

Sec. 1  16, 18, 23 และ 25 ก.ย.

Sec. 2  16, 22 และ 23 ก.ย. (เพิ่มเติม 2 ชม.)

บทที่ 10 สารชีวโมเลกุล

6

Sec. 1 รศ.ดร.โชติ

Sec. 2 รศ.ดร.วินิช

สอบปลายภาคบทที่ 6-10   วันที่  9 ตุลาคม 2552   เวลา  8.00-11.00 น.

 

ไม่มีความคิดเห็น: