1. กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีประมาณกี่ปี
ก. 217 ปี ข. 317 ปี
ข. 417 ปี ง. 517 ปี
2. หลังเสียกรุงศรีอยุธยาบ้านเมืองไทยมีสภาพเป็นอย่างไร
ก. พม่าส่งขุนนางมาปกครองอยุธยา
ข. กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายเสียหาย หัวเมืองต่างๆ ตั้งตนเป็นอิสระ
ค. กรุงศรีอยุธยากลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ผลิตเสบียงอาหารส่งคืนพม่า
ง. พม่าแต่งตั้งเจ้านายไทยปกครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราช
3. ชุมนุมต่างๆที่ตั้งตัวขึ้นหลังเสียกรุงศรีอยุธยาชุมนุมใดตั้งอยู่อีสาน
ก. ชุมนุมเจ้าพิมาย
ข. ชุมนุมพระยาตาก
ค. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
ง. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
4. ข้อใดเป็นข้อเปรียบเทียบของทำเลที่ตั้งกรุงธนบุรี
ก. เป็นเมืองขนาดใหญ่มีกำลังคนมาก
ข. มีปราสาทราชวังใหญ่โตสมพระราชฐานะของกษัตริย์
ค. อยู่ทางเหนือของอยุธยาทำให้ไม่ได้รับความเสียหายจากพม่า
ง. อยู่ใกล้ปากแม่น้ำมีทางหนีทีไล่ดี ค้าขายกับต่างประเทศได้สะดวก
5. เมืองใดไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศราชของไทยสมัยธนบุรี
ก. ลาว
ข. ล้านนา
ค. ญวน
ง. เวียดนาม
6. เพราะเหตุใดจึงกล่าวกรุงธนบุรีเป็นเมืองอกแตก
ก. มีลักษณะเป็นเกาะ
ข. ตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ
ค. มีแม่น้ำผ่ากลางเมือง
ง. มีถนนหนทางสะดวก
7. รัชการที่ 1 ทรงมีนโยบายสร้างกรุงรัตนโกสินทร์อย่างไร
ก. สร้างบ้านเมืองขนาดเล็กเพื่อง่ายแก่การป้องกัน
ข. สร้างบ้านเมืองอย่างรวดเร็วเพื่อเตรียมรับศึกพม่า
ค. สร้างบ้านเมืองให้มีความยิ่งใหญ่งดงามทัดเทียมกรุงศรีอยุธยา
ง. สร้างบ้านเมืองยิ่งใหญ่เป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวโดยไม่ยึดแบบอยุธยา
8. วัดใดเป็นวัดในเขตพระราชฐานของกรุงรัตนโกสินทร์
ก. วัดอรุณราชวราราม
ข. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ค. วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม
ง. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
9. ข้าราชการตำแหน่งใดมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการทหารในราชธานี
ก. สมุหนายก
ข. สมุหกลาโหม
ค. เจ้าพระยายมราช
ง. เจ้าพระยาพระคลัง
10. การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในราชธานีเป็นหน้าที่ของจตุสดมภ์ฝ่ายใด
ก. กรมเวียง
ข. กรมวัง
ค. กรมคลัง
ง. กรมนา
11. เมืองระดับชั้นใดมี"ผู้รั้ง"เป็นผู้ดูแล
ก. เมืองราชธานี
ข. หัวเมืองชั้นใน
ค. หัวเมืองชั้นนอก
ง. ประเทศราช
12. หน่วยงานใดทำหน้าที่ผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ
ก. วังหน้า
ข. เอกชนทั่วไป
ค. พระคลังข้าง
ง. พระคลังสินค้า
13. เงินหรือสิ่งของที่ไพร่นำมาเสี่ยให้หลวงแทนการนำ
ก. ส่วย
ข. อากร
ค. ฤชา
ง. จังกอบ
14. สนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับชาติตะวันตกคือข้อใด
ก. สนธิสัญญาเบอร์นี
ข. สนธิสัญญาเบาว์ริง
ค. สนธิสัญญาวอร์ซอร์
ง. สนธิสัญญากฏบัติแมกนาคาร์ดา
15. เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
ก. กบฏบวรเดช
ข. กบฎร.ศ.130
ค. ปัญหาเค้าโครงเศรษฐกิจ
ง. รัชการที่ 7 สละราชสมบัติ
16. สาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ก. ต้องการเป็นผู้กุมอำนาจ
ข. แนวคิดที่ได้จากตะวันตก
ค. คณะราษฎรต้องการอำนาจ
ง. นักเรียนไทยในฝรั่งเศสเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง
17. หัวหน้ากลุ่มราษฎรคือข้อใด
ก. จอมพลแปลกพิบูลสงคราม
ข. พ.อ. พระยาทรงสุรเดช
ค. พ.อ. พระยาหล พลพยุเสนา
ง. นายปรีดี พนมยงค์
18. การปฎิวัติเริ่มขึ้นเมื่อวันที่เท่าไหร่
ก. 24 มิถุนายน 2475
ข. 24 มิถุนายน 2476
ค. 24 มิถุนายน 2477
ง. 24 มิถุนายน 2478
19. รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฉบับแรกคือข้อใด
ก. 27 มิถุนายน 2475
ข. 27 มิถุนายน 2476
ค. 10 ธันวาคม 2475
ง. 10 ธันวาคม 2476
20. หลักเอกราชของกลุ่มคณะราษฎรคือข้อใด
ก. หลักความปลอดภัย
ข. หลักเศรษฐกิจ
ค. หลักเอกราช
ง. ถูกทุกข้อ
21. การตั้งดุสิตธานีเป็นเมืองจำลองประชาธิปไตยเกิดขึ้นในรัชกาลใด
ก. รัชกาลที่ 4
ข. รัชกาลที่ 5
ค. รัชกาลที่ 6
ง. รัชกาลที่ 7
22. ปีพุทธศักราชใดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์
ก. 2325
ข. 2367
ค. 2394
ง. 2411
23. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการปกครองสมัยราชกาลใด
ถือได้ว่าเป็นการปฎิรูปยิ่งใหญ่และสำคัญของประเทศ
ก. รัชกาลที่ 4
ข. รัชกาลที่ 5
ค. รัชกาลที่ 6
ง. รัชกาลที่ 7
24. อะไรเป็นเครื่องกำหนดศักดินาของคนในสังคมไทย
ก. จำนวนที่ดินที่ครอบครองและสถานภาพโดยกำเนิด
ข. สถานภาพโดยกำเนิดและฐานะทางเศรษฐกิจ
ค. สถานภาพโดยกำเนิดและตำแหน่งหน้าที่
ง. ฐานะทางเศรษฐกิจและจำนวนไพร่ในความควบคุม
25. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯให้ยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎหมายบางอย่างที่เห็นว่าล้าหลัง
อยากทราบว่าการยกเลิกข้อใดที่ชาวตะวันตกเห็นชอบมากที่สุด
ก. การหมอบคลาน
ข. จารีตนครบาล
ค. การไม่สวมเสื้อเข้าเฝ้า
ง. ระบบไพร่
26. ในสมัยรัตนโกสินทร์มีคนไทยพยายามที่จะเรียนภาษาอังกฤษศิลปะศาสตร์
และรับวัฒนธรรมแบบตะวันตกบางอย่างมาใช้เริ่มแต่สมัยใด
ก. รัชกาลที่ 1
ข. รัชกาลที่ 2
ค. รัชกาลที่ 3
ง. รัชกาลที่ 4
27. การสืบราชสันตติวงศ์ตามราชประเพณีไทยมีกฎเกณฑ์ที่สำคัญคือต้องเป็นไปตาม
ก. กฎมนเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
ข. กฎมนเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์และความเห็นชอบของคณะองคมนตรี
ค. กฎมนเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์และความเห็นชอบของรัฐสภา
ง. กฎมนเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของสภาผู้แทนราษฎร
28. ไทยนำแบบอย่างการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางแบบจตุสดมภ์มาจากชาติใด
ก. พม่า
ข. จีน
ค. ขอม
ง. ญี่ปุ่น
29. จตุสดมภ์ประกอบด้วย
ก. เวียง วัง ธรรมาธิกรณ์ และโกษาธิบดี
ข. พระมหากัษตริย์ พระมหาอุปราช สมุหกลาโหม และสมุหนายก
ค. พระมหาอุปราช พระมหากษัตริย์ มหาราชครู และสมุหกลาโหม
ง. นครบาล ธรรมาธิกรณ์ โกษาธิบดี และเกษตรธิการ
30. หัวหน้าฝ่ายพลเรือนของคณะราษฎรคือข้อใด
ก. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
ข. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ค. ประยูรภรมนตรี
ง. หลวงพิบูลสงคราม
31. พระราชบัญญัติทุกฉบับจะสมบูรณ์ต่อเมื่อถึงขั้นตอนใด
ก. ผ่านสภาผู้แทนราษฎร
ข. ผ่านวุฒิสภา
ค. ผ่านนายกรัฐมนตรี
ง. ผ่านการลงพระปรมาภิไธย
32. ความเป็นเจ้าในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นสิ้นสุดลงเมื่อใด
ก. สมรสกับสามัญชน
ข. ตาย
ค. บวช
ง. ทำศึกสงครามพ่ายแพ้
33. ปีงบประมาณตามประมวลรัษฎากรหมายถึง
ก. เดือนที่มีรายได้ทุกเดือน
ข. 1 ต.ค. - 30 ก.ย. ของทุกปี
ค. 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปี
ง. 1 ก.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปี
34. ชาติตะวันตกชาติใดที่ปกครองดินแดนในเอเชียได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เป็นอย่างดี
ก. ฝรั่งเศส
ข. ฮอลันดา
ค. อังกฤษ
ง. สเปน
35. ชาติที่ทำการค้าสมันรัตนโกสินทร์ตอนต้นมากที่สุดคือ
ก. จีน
ข. อาหรับ
ค. พม่า
ง. อินเดีย
36. ผลการประชุมอาเซียน ( Asian Summit ) 1995 สหรัฐอเมริกาไม่เห็นด้วยในข้อใด
ก. การค้าเสรี
ข. การเปิดพรหมแดนเสรี
ค. การกำหนดเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์
ง. ความเป็นเอกภาพของกลุ่มสมาชิก
37. ปี ค.ศ. 1995 ตรงกับพุทธศักราชใด
ก. 2535
ข. 2536
ค. 2537
ง. 2538
38. ข้อใดเกี่ยวข้องกับสงครามเย็น
ก. สงครามอินโดจีน
ข. สงครามอ่าวเปอร์เชีย
ค. การปฎิวัติสังคมนิยมในรัฐเซีย
ง. สงครามโดลกครั้งที่ 2
39. ตัวอย่างโบสถ์วิหารแบบพระราชนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหาชมได้ที่ใด
ก. วัดราชบพิตร
ข. วัดราชประดิษฐ์
ค. วัดราชโอรสาราม
ง. วัดเบญจมบพิตร
40. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านใคร
ก. ผ่านคณะรัฐมนตรี
ข. ผ่านรัฐสภา
ค. ผ่านสภาผู้แทนราษฎร
ง. ผ่านคณะองคมนตรี
คมอดีต
ความผิดพลาดคือเรื่องราวคราวอดีต ปล่อยให้กรีดปัจจุบันจนหวั่นไหว
ผลิตซ้ำความทุกข์มาซุกใจ คนอะไรช่างขลาดเขลาเบาปัญญา
--
*ข้อสอบครูชำนาญการพิเศษ *
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น