แบบทดสอบกลางภาคเรียน
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. สมบัติเฉพาะของสารได้แก่ข้อใด
ก. เกลือมีสถานะเป็นของแข็ง ข. เกลือมีรสเค็ม
ค. เกลือเป็นผลึกสีขาว ง. เกลือละลายน้ำได้
2. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสาร
ก. การสังเคราะห์แสงของพืช ข. การเกิดหินงอกหินย้อย
ค. การย่อยอาหารของคน ง. การเกิดวัฏจักรของน้ำ
จงพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้
การระเหยของน้ำในแหล่งน้ำ
การเกิดน้ำค้าง
การเกิดหมอก
การคายน้ำของพืชทางปากใบ
3. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบคายพลังงาน
ก. 1 และ 2 ข. 3 และ 4 ค. 2 และ 3 ง. 1 และ 4
จงพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 4-5
- สาร A มีจุดหลอมเหลว 2oC จุดเดือด 105 oC
- สาร B มีจุดหลอมเหลว -39oC จุดเดือด 375 oC
- สาร C มีจุดหลอมเหลว -219 oC จุดเดือด -183 oC
- สาร D มีจุดหลอมเหลว 419 oC จุดเดือด 906 oC
4. สารในข้อใดมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
ก. A ข. B ค. C ง. D
5. สารในข้อใดมีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง
ก. A ข. B ค. C ง. D
จงใช้แผนภาพต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 6-7
6. ข้อใดแทนโมเลกุลของสารประกอบ
ก. A ข. B ค. C ง. D
7. ข้อใดแทนสารเนื้อผสม
ก. A ข. B ค. C ง. D
จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 8-9
A นาก B แก๊สไนโตรเจน C น้ำแป้ง
D กำมะถัน E น้ำอบไทย F น้ำตาลทราย
8. สารในข้อใดเป็นสารเนื้อเดียวทั้งหมด
ก. A B C ข. A D F ค. B E F ง. C D E
9. สารในข้อใดเป็นสารบริสุทธิ์
ก.B D F ข.A C D ค.B E F ง.A D F
10. จงพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้
น้ำ เกลือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำปูนใส แอลกอฮอล์
สารในข้อใดเมื่อผสมกันแล้วได้สารเนื้อผสม
ก. 1 กับ 5 ข. 3 กับ 4 ค. 1 กับ 2 ง. 1 กับ 4
11. จงพิจารณารูปต่อไปนี้
สาร A 10 กรัม
น้ำ 90 กรัม
สาร A 10 กรัม
น้ำ 90 กรัม
สาร A 3 กรัม
น้ำ 25 กรัม
สาร A 5 กรัม
น้ำ 45 กรัม
ข้อสรุปใดถูกต้อง
ก. สารละลายรูป ง เข้มข้นมากที่สุด
ข. สารละลายรูป ข เข้มข้นเท่ากับสารละลายรูป ง
ค. สารละลายรูป ง เข้มข้นน้อยที่สุด
ง. สารละลายรูป ข เข้มข้นมากที่สุด
12. จงพิจารณาสมบัติของสารละลายต่อไปนี้ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
จุดเดือดต่ำกว่าตัวทำลายบริสุทธิ์ จุดเยือกแข็งต่ำกว่าตัวทำลายบริสุทธิ์
จุดเดือดเท่ากับตัวทำละลายบริสุทธิ์ จุดเยือกแข็งสูงกว่าตัวทำละลายบริสุทธิ์
ก. 1 และ 2 ข. 3 และ 4
ค. 2 และ 3 ง. เฉพาะข้อ 2
13. สารละลายชนิดหนึ่ง มีสถานะแก๊สประกอบด้วยสาร A ร้อยละ 65 สาร B ร้อยละ 20
และสาร C ร้อยละ 15 ตัวละลายได้แก่ข้อใด
ก. สาร A และ B ข. สาร B และ C
ค. เฉพาะสาร A ง. เฉพาะสาร C
14. สารละลาย X เข้มข้นร้อยละ 7 โดยมวล ถ้าต้องการเตรียมสารละลายจำนวน 75 กรัม จะต้องใช้สาร X กี่กรัม
ก. 3.5 กรัม ข. 4.25 กรัม
ค. 5.25 กรัม ง. 6 กรัม
15. ในสารละลาย A 400 cm3 มีสาร A ละลายอยู่ 120 cm3 สารละลาย A มีความเข้มข้นร้อยละเท่าไร
ก. 27 โดยมวล ข. 30 โดยมวล
ค. 27 โดยปริมาตร ง. 30 โดยปริมาตร
16. นำเกลือแกง 12 กรัม ผสมกับน้ำ 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร สารละลายมีความเข้มข้นร้อยละเท่าไร
ก. 12 โดยมวลต่อปริมาตร ข. 12 โดยปริมาตร
ค. 15 โดยมวล ง. 15 โดยมวลต่อปริมาตร
17. จงพิจารณาข้อมูลในตารางต่อไปนี้
สาร ละลายน้ำได้ (g/น้ำ 100 g)
30OC 100OC
X 32 38.7
จากข้อมูลในตาราง ละลายสาร X อิ่มตัวที่ 30OC ถ้าต้องการทำให้สารละลาย X อิ่มตัวที่อุณหภูมิ 100OC จะต้องเติมสาร X อีกกี่กรัม
ก. 6.7 กรัม ข. 5.7 กรัม
ค. 6 กรัม ง. 4.5 กรัม
18. จงพิจารณารูปต่อไปนี้
ถ้าลดอุณหภูมิสารละลายอิ่มตัว A จาก 100OC เป็นอุณหภูมิห้อง สาร A จะตกผลึกได้เท่าไร
ก. 15.5 กรัม ข. 16.7 กรัม ค. 17.3 กรัม ง.18.7 กรัม
19. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 15 โดยปริมาตร
จำนวน 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทำได้ดังข้อใด
ก. ใช้เอทานอล 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผสมน้ำ 425 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข. ใช้เอทานอล 15 กรัม ผสมน้ำ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ค. ใช้เอทานอล 75 กรัม ผสมน้ำ 425 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ง. ใช้เอทานอล 75 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผสมน้ำ 425 ลูกบาศก์เซนติเมตร
20. ความเข้มข้นของสารละลายที่นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันข้อใดถูกต้อง
ก. น้ำส้มสายชูที่ใช้ปรุงแต่งอาหารในชีวิตประจำวันเข้มข้นร้อยละ 5 โดยมวล
ข. แอลกอฮอล์ใช้ฆ่าเชื้อโรคล้างแผลเข้มข้นร้อยละ 50 โดยปริมาตร
ค. น้ำเกลือใช้ล้างแผลเข้มข้นร้อยละ 15 โดยมวลต่อปริมาตร
ง. เอทานอลที่บรรจุขวดขายมีความบริสุทธิ์สูงสุดร้อยละ 90 โดยปริมาตร
21. ข้อใดถูกต้อง
ก. กรด+โลหะ เกลือ+แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ข. กรด+เบส เกลือ+แก๊สไฮโดรเจน
ค. กรด+สารประกอบคาร์บอเนต เกลือ+น้ำ+แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ง. กรด+เบส เกลือ+แก๊สแอมโมเนีย
22. ข้อใดคือกรด
ก. NaCl ข. H2O ค. CO2 ง. HCl
23. ข้อใดคือเบส
ก. NaCl ข. H2SO4 ค. HCl ง. CH3COOH
24. สมการในข้อใดถูกต้อง
ก. Zn+H2SO4 ZnSO4+H2 ข. Zn+H2SO4 NaCl+H2
ค. Zn+HCl NaCl+Zn ง. Zn+H2CO3 ZnCO3+CO2
25. เมื่อนำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินไปจุ่มในน้ำมะนาว สีของกระดาษลิตมัสจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก. ไม่เปลี่ยนสี ข. เปลี่ยนสีเป็นสีแดง
ค. เปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ง. เปลี่ยนสีเป็นสีส้ม
26. ฟีนอล์ฟทาลีนซึ่งเป็นสารละลายที่ไม่มีสี เมื่อปฏิกิริยากับกรดแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีอะไร
ก. สีน้ำเงิน ข. สีแดง
ค. สีชมพู ง. ไม่เปลี่ยนสี
27. การกัดกร่อนของกรดที่กระทำต่อหินปูนที่เห็นในธรรมชาติคือข้อใด
ก. หินก้อนกลมเกลี้ยงที่พบได้ตามน้ำตกต่างๆ ข. หินก้อนกลมเกลี้ยงซึ่งพบได้ตามชายหาด
ค. หินที่แตกเป็นก้อนซึ่งพบได้ตามภูเขา ง. หินงอกหินย้อยซึ่งพบได้ในถ้ำ
28. pH ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก. potential of hydrogen ion ข. peak of helium ion
ค. protein of hydrogen ion ง. potential of helium ion
29. ข้อใดไม่ใช่อินดิเคเตอร์ของกรดและเบส
ก. บรอมไทมอลบลู ข. เมทิลออเรนจ์
ข. เมทิลออเรนจ์ ง. เมทิลเรด
30. เราสามารถทำยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ได้อย่างไร
ก. นำอินดิเคเตอร์มาปรับปรุง ข. นำอินดิเคเตอร์หลายชนิดมารวมกัน
ข. นำอินดิเคเตอร์หลายชนิดมารวมกัน ง. นำอินดิเคเตอร์ 2 ชนิดมารวมกัน
ใช้วิธีการแยกสารที่กำหนดให้ตอบคำถามข้อ 31-33
ก. การกรอง ข. การระเหย
ค. การระเหิด ง. ใช้อำนาจแม่เหล็ก
จ. การกลั่น ฉ. โครมาโทกราฟี
31. ถ้าต้องการแยกเกลือแกงออกจากของผสมที่มีน้ำ เกลือแกง และหินปูนปนอยู่ด้วยกันควรใช้วิธีใด
ก. ข้อ ก และ ข ข. ข้อ ข และ ค
ค. ข้อ ค และ จ ง. ข้อ ก เท่านั้น
32. ถ้าต้องการผลิตน้ำบริสุทธิ์จากน้ำบาดาลควรใช้วิธีการใด
1. ข้อ ก ข. ข้อ ข
3. ข้อ จ ง. ข้อ ฉ
33. ถ้าต้องการแยกสีเขียวออกจากน้ำสีที่สกัดได้จากใบไม้ ควรใช้วิธีการใด
ก. ข้อ ก ข. ข้อ ข
ค. ข้อ จ ง. ข้อ ฉ
34. ถ้าต้องการสกัดสีของใบเตยเพื่อนำมาทำขนมควรทำอย่างไร
ก. ใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย
ข. โขกให้ละเอียดแล้วใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
ค. หั่นใบเตยเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย
ง. สกัดโดยการกลั่น
35. การกลั่นเกี่ยวข้องกับข้อใด
ก. การระเหย ข. การควบแน่น
ค. การระเหิด ง. ข้อ 1 และข้อ 2 ถูกต้อง
36. อาหารดังข้อใดที่แสดงให้เห็นว่ามีการแยกของสารเมื่อตั้งทิ้งไว้
ก. ขนมปัง ข. ต้มยำ
ค. กาแฟ ง. ข้อ 2 และข้อ 3 ถูกต้อง
37. การสกัดน้ำมันจากพืชควรใช้สารใดเป็นตัวทำละลาย
ก. น้ำ ข. เอกเซน
ค. โบรมีน ง. คิวติน
38. สารในข้อใดที่ควรนำมาแยกโดยวิธีการกลั่น
ก. น้ำที่มีเศษผงเจือปน ข. น้ำเกลือ
ค. น้ำโคลน ง. น้ำประปา
39. โครมาโทกราฟีเป็นวิธีการแยกสารดังข้อใด
ก. ระเหยให้แห้ง ข. กลั่นหลายๆ ครั้ง
ค. กรองด้วยกระดาษกรองชนิดละเอียด ง. ให้สารเดินทางผ่านตัวกลาง
40. วิธีการแยกสารในข้อใดที่มีขั้นตอนยุ่งยากมากที่สุด
ก. การต้ม ข. การกลั่น
ค. การกรอง ง. โครมาโทกราฟี
41. ของเหลวในข้อใดที่นิยมนำมาบรรจุในกระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์
ก. น้ำ ข. ทินเนอร์
ค. ปรอท ง. น้ำมัน
42. หน่วยวัดอุณหภูมิในข้อใดที่แบ่งช่วงระหว่างจุดเยือกแข็งและจุดเดือดของน้ำเท่ากัน
ก. องศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์ ข. องศาเซลเซียสและเคลวิน
ค. องศาฟาเรนไฮต์และเควิน ง. ถูกต้องทุกข้อ
43. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
ก. จุดคงที่ต่ำสุดคือจุดเดือด ข. จุดคงที่สูงสุดคือจุดเยือกแข็ง
ค. จุดคงที่ต่ำสุดคือจุดเยือกแข็ง ง. จุดคงที่สูงสุดคือจุดควบแน่น
44. อุณหภูมิ 7.9 องศาเซลเซียสมีค่าเท่ากับกี่เควิน
ก. 280.8 เคลวิน ข. 280.9 เคลวิน
ค. 290.9 เคลวิน ง. 300.8 เคลวิน
45. อุณหภูมิ 41 องศาฟาเรนไฮต์มีค่าเท่ากับกี่องศาเซลเซียส
ก. 4 องศาเซลเซียส ข. 5 องศาเซลเซียส
ค. 6 องศาเซลเซียส ง. 7 องศาเซลเซียส
46. ทองเหลือง อะลูมิเนียม และเหล็กมีการถ่ายโอนความร้อนด้วยวิธีใด
ก. การแผ่รังสีความร้อน ข. การนำความร้อน
ค. การพาความร้อน ง. ข้อ 2 และ 3 ถูกต้อง
47. เตารีดใช้หลักการถ่ายโอนความร้อนวิธีใด
ก. การนำความร้อน ข. การพาความร้อน
ค. การสั่นสะเทือน ง. การแผ่รังสีความร้อน
48. สมดุลความร้อนให้ประโยชน์ในเรื่องใด
ก. ความอบอุ่นและความเย็น ข. การปรุงอาหารให้สุก
ค. การอุ่นอาหารให้ร้อน ง. ถูกต้องทุกข้อ
49. สารในสถานะใดเมื่อได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ก. ของแข็ง ข. ของเหลว
ค. แก๊ส ง. ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
50. ภาชนะที่ใส่ของร้อนควรมีสมบัติดังข้อใด
ก. ไม่ขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ข. ขยายตัวมากเมื่อได้รับความร้อน
ค. ขยายตัวน้อยเมื่อได้รับความร้อน ง. ขยายตัวได้รวดเร็วเมื่อได้รับความร้อน
51. อากาศเป็นของผสมที่มีแก๊สออกซิเจนและไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบรวมกันร้อยละเท่าไร
ก. 21 ข. 78
ค. 90 ง. 99
52. อากาศชื้นหมายถึงอากาศที่มีสิ่งใดเป็นองค์ประกอบ
ก. CO2 ข. H2O
ค. N2 ง. O2
53. ข้อใดเป็นลักษณะของบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์
มีไอน้ำมาก มีอุณหภูมิลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น
มีแก๊สโอโซนมาก มีปรากฏการณ์ฝนดาวตก
ก. 1 และ 2 ข. 2 และ 3
ค. 3 และ 4 ง. 1 และ 4
54. นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าโดยเฉลี่ยทุกระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นระดับความดันอากาศจะลดลง 1 มิลลิเมตรของปรอท ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 22 เมตร จะมีความดันอากาศเท่าไร
ก. 75 มิลลิเมตรของปรอท ข. 79 มิลลิเมตรของปรอท
ค. 758 มิลลิเมตรของปรอท ง. 762 มิลลิเมตรของปรอท
55. เครื่องมือวัดความชื้นของอากาศเรียกว่าอะไร
ก. บาร์รอมิเตอร์ ข. แอลติมิเตอร์
ค. ศรลม ง. ไฮโกรมิเตอร์
56. เช้าวันหนึ่งอากาศเย็นสบายวัดอุณหภูมิได้ 25OC ความชื้นสัมพัทธ์ 62% จงหาอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียกบนเครื่องมือวัดความชื้น
ก. 15 OC ข. 20 OC
ค. 25 OC ง. 30 OC
57. กราฟในข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความกดอากาศกับระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลได้ถูกต้อง
ก. ความกดอากาศ
ข. ความกดอากาศ
ค. ความกดอากาศ
ง. ความกดอากาศ
58. อักษร H และ L บนแผนที่อากาศจะบอกข้อมูลใดแก่ผู้อ่าน
ก. ทิศทางการเคลื่อนที่ของลม ข. ปริมาณน้ำฝน
ค. อุณหภูมิของอากาศ ง. ปริมาณเมฆ
59. การก่อตัวของเมฆคิวมูโลนิมบัสในบรรยากาศมักจะเกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุการณ์ใด
ก. ลมมรสุม ข.พายุฟ้าคะนอง
ค. พายุดีเปรสชั่น ง. ลมสินค้า
60. การที่ลมสินค้าแรงกว่าปกติจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ใด และมีผลอย่างไร
ก. เอลนิโน ฝนตกมากขึ้นในบริเวณที่มีฝนตกชุก
ข. เอลนิโน ฝนตกน้อยมากในบริเวณที่เคยแห้งแล้ง
ค. ลานีนา ฝนตกมากขึ้นในบริเวณที่เคยมีฝนชุก
ง. ลานีนา ฝนตกน้อยลงในบริเวณที่เคยแห้งแล้ง
เรียนเพื่อพ่อภาคภูมิใจในดวงจิต เรียนเพื่อแม่ยอดชีวิตเกษมสรรค์
เรียนญาติพี่น้องเราได้ชื้นชมพร้อมหน้ากัน เรียนเพื่อวันข้างหน้าจะก้าวไกล
เรียนเพื่อน้องเราได้เอาเยื้องอย่าง เรียนเพื่อสร้างอนาคตที่สดใส
เรียนเพื่อคนที่เรารักภาคภูมิใจ เรียนเพื่อได้สักวันหนึ่งที่ต้องการ
……….ขอให้นักเรียนทุกคนโชคดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น