แบบทดสอบ กล้องโทรทรรศน์


คำชี้แจง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  กล้องโทรทรรศน์ผลิดขึ้นในปี พ.ศ.ใด

 ก. พ.ศ.2184
 ข. พ.ศ.2248
 ค. พ.ศ.2284
 ง. พ.ศ.2148
 จ. พ.ศ.2150

2. ประเทศใดส่งดาวเทียมสปุตนิกดวงที่ 1 ในปี 2500 ได้สำเร็จ

 ก. จีน
 ข. อังกฤษ
 ค. เยอรมัน
 ง. สหรัฐอเมริกา
 จ. สหภาพโซเวียต

3. ประเทศใดส่งดาวเทียมเอ็กซ์พลอเรอร์เข้าสู่วงโคจรของโลกในปี พ.ศ.2501

 ก. สวีเดน
 ข.สหรัฐอเมริกา
 ค.เยอรมัน
 ง.อังกฤษ
 จ. สหภาพโซเวียต

4. กล้องโทรทรรศน์คืออะไร
 ก. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินทางในป่า
 ข. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินเรือสมัยก่อน
 ค. อุปกรณ์ที่ช่วยในย่อภาพวัตถุในท้องฟ้า
 ง. อุปกรณ์ที่ช่วยในการถ่ายภาพเคลื่อนไหว
 จ. อุปกรณ์ที่ช่วยในขยายภาพวัตถุในท้องฟ้า

5.  กล้องโทรทรรศน์ประเภทหักเหแสงใช้หลักการอย่างไร
 ก. ใช้หลักการหักเหแสงผ่านกล้องจุลทรรศน์
 ข. ใช้หลักการหักเหของแสงผ่านเลนส์นูน 2 ชุด
 ค. ใช้หลักการสะท้อนแสงผ่านเลนส์นูน 1ชุด
 ง.ใช้หลักการหักเหของแสงผ่านเลนส์เว้า 2 ชุด
   จ. ใช้หลักการสะท้อนแสงผ่านเลนส์เว้า 1ชุด

6. ข้อใดเป็นประโยชน์ของกล้องโทรทรรศน์ที่ถูกต้องที่สุดิ
 ก. ช่วยให้เห็นวัตถุที่อยู่ไกลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
 ข. ช่วยในการค้นหาสิ่งของที่มองไม่เห็น
 ค.ช่วยให้สามารถเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้อย่างชัดเจน
 ง. ช่วยในการถ่ายภาพที่เล็กๆ
 จ.ช่วยในการทำงานที่มีความละเอียดที่สุด

 7. ใครเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขึ้น
 ก. ดาวินซี
 ข.กาลิเลโอ
 ค.ชารจ์แบบเบจ
 ง. เซอร์ไอแซก นิวตัน
  จ. แฮรินสัน ชมิต

8. กล้องโทรทรรศน์วิทยุคืออะไร                                         

 ก. กล้องที่ตรวจรับคลื่นวิทยุจากใต้พี้นดิน
 ข.กล้องที่ตรวจรับคลื่นวิทยุจากดวงดาว
 ค. กล้องที่ใช้ในการส่งสัญญาณ
 ง. กล้องที่ช่วยในการฟังเสียง
 จ.กล้องที่ใช้ฟังวิทยุ

 9.  คลื่นวิทยุเป็นคลื่นลักษณะใด

 ก.เป็นคลื่นเสียงในอากาศที่มีช่วงคลื่นยาว
 ข. เป็นคลื่นเสียงบนพื้นดินที่มีช่วงคลื่นสั้น
 ค. เป็นคลื่นเสียงใต้พื้นดินที่มีช่วงคลื่นยาว
 ง. เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้น
 จ. เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นยาว

10.  กล้องโทรทรรศน์วิทยุใดที่ทำหน้าที่รับพลังงานในช่วงคลื่นรังสีเอ็กซ
  ก.  กล้องโทรทรรศน์อวกาศ
  ข.กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
  ค.กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา
  ง. กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปินเดิล
 จ.  กล้องโทรทรรศน์แฮร์ดิสัน

11. ข้อใดไม่ใช้ประโยชน์ของดาวเทียม
 ก. ใช้ในการสื่อสารและการวิจัย
 ข. ใช้ในการสำรวจทรัทยากรธรรมชาติ
 ค. ใช้ในการสำรวจสภาพอากาศ
 ง. ใช้ในการทำงานที่มีการลงทุนต่ำ
 จ.ใช้ในด้านการจารกรรมหรือสงคราม

12.  ดาวเทียมถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกโดยอาศัยวิธีใด
  ก. ใช้เครื่องบิน
 ข. ใช้จรวดนำวิถี
 ค. ใช้จรวดหรือยานขนส่งอวกาศ
 ง. ใช้เครื่องบินไอน้ำ
 จ. ใช้เฮริคอปเตอร์

13.  ดาวเทียมแบ่งตามระดับความสูงจากพื้นโลกเป็นกี่ระดับ
  ก. 6 ระดับ
  ข. 5 ระดับ
  ค. 4 ระดับ
  ง. 3 ระดับ
  จ. 2 ระดับ

14. โครงการใดที่ส่งยานอวกาศขึ้นไปโดยไม่มีมนุษย์

 ก. โครงการเรนเจอร์
 ข.โครงการเจมินี
 ค. โครงการอะพอลโล
 ง. โครงการสถานีอวกาศ
 จ. โครงการยานขนส่งอวกาศ

15.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช้เทคโนโลยีอวกาศ
 ก.ดาวเทียม
 ข. เครื่องบิน
 ค. ยานอวกาศ
 ง.กล้องโทรทรรศน์
 จ.กล้องโทรทรรศน์วิทยุ

 

เฉลย 
1. d
2. e
3. b
4. e
5. b
6. a
7. d
8. b
9. e
10. c
11. d
12. c
13. d
14. a
15. b

อนุภาคมูลฐาน เลขมวล เลขอะตอม และสัญลักษณ์นิวเคลียร์

อนุภาคมูลฐาน เลขมวล เลขอะตอม และสัญลักษณ์นิวเคลียร์



1) อนุภาคมูลฐาน ประกอบด้วย อนุภาค 3 ชนิด นั้นก็คือ โปรตอน นิวตรอน และ อิเล็กตรอน
   มีสมบัติดังตาราง
 
 
2) เลขอะตอม เลขมวล สัญลักษณ์นิวเคลียร์
 
2.1 สัญลักษณ์นิวเคลียร์ คือ สัญลักษณ์ของธาตุที่เขียนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอนุภาคมูลฐานของอะตอม
 
2.2 เลขอะตอม (Z) แสดงจำนวนโปรตอนของธาตุ ซึ่งไม่ซ้ำกับธาตุอื่น

    เลขอะตอม = โปรตอน = อิเล็กตรอน
 

2.3 เลขมวล (A) คือ ผลรวมของจำนวนโปรตอน กับ นิวตรอน

    เลขมวล (A) =  p + n
 
 
3) ไอโซโทป ไอโซอิเล็กทรอนิก ไอโซโทน ไอโซบาร์
 
3.1 ไอโซโทป (Isotope) คือ อะตอมของธาตุเดียวกัน มีเลขอะตอม(โปรตอน) เท่ากัน
    แต่มีเลขมวลต่างกัน(นิวตรอนต่างกัน) หรือ มีตัวเลขตัวบนต่างกัน แต่เลขตัวล่างเหมือนกัน
    เช่น 166C , 136C , 146C
 
     การหามวลอะตอมเฉลี่ยนของธาตุที่มีหลายไอโซโทป
1. ใช้เครื่องมือแมสสเปกโทรมิเตอร์ (Mass Spectrometer) หรือ แมสสเปกโทรกราฟ
   (Mass Spectorgraph)
2. หามวลอะตอมเฉลี่ยจากสูตร
 
 
    มวลอะตอมเฉลี่ย = (% ในธรรมชาติ x เลขมวลหรือมวลไอโซโทป) / 100
 
    มวลอะตอมเฉลี่ย = (จำนวนส่วน x เลขมวลหรือมวลไอโซโทป) / ผลบวกของจำนวนส่วนทั้งหมด
 

 
Ex1) ธาตุ X มี 3 ไอโซโทป คือ 20X มี 40%  20.5X มี 25% ที่เหลือ เป็น 21X มวลอะตอม
     เฉลี่ยของ X เป็นเท่าใด
 
วิธีคิด  ธาตุ 21X มีปริมาณ = 100 - 40 -25 = 35%
      จากสูตร
         มวลอะตอมเฉลี่ย = (% ในธรรมชาติ x เลขมวลหรือมวลไอโซโทป) / 100

                      =(40x20) + (25x20.5) + (35x21) / 100
 
                      = 800 + 512.5 + 735 / 100

                      = 2047.5/100

                      = 20.475  
 
      ดังนั้น มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ X = 20.475
 
 
Ex2) ธาตุ A มี 2 ไอโซโทป คือ 28A มี 3 ส่วน และ 28.5A มี 2 ส่วน มวลอะตอม
     เฉลี่ยของ A เป็นเท่าใด

วิธีคิด จากสูตร
 
 มวลอะตอมเฉลี่ย = (จำนวนส่วน x เลขมวลหรือมวลไอโซโทป) / ผลบวกของจำนวนส่วนทั้งหมด
 
              = (3x28) + (2x28.5)/(3+2)
 
              = 84-57/5

              = 28.2
 
ดังนั้น มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ A = 28.2
 
 
 
3.2 ไอโซอิเล็กทรอนิก (Isoelectronic) หมายถึง ธาตุหรือไออนของธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอน
    เท่ากัน เช่น S2- กับ Ar มีอิเล็กตรอนเท่ากับ 18
 
3.3 ไอโซโทน (Isotone) หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันมีนิวตรอนเท่ากัน แต่มีเลขอะตอม
    และเลขมวลต่างกัน คือ มีผลต่างของเลขมวลกับเลขอะตอม (เลขตัวบน - เลขตัวล่าง) เท่ากัน
    เช่น 136C กับ 147N
 
    ธาตุ C มี นิวตรอน = เลขมวล - เลขอะตอม = 13 - 6 = 7
    ธาตุ N มี นิวตรอน = เลขมวล - เลขอะตอม = 14 - 7 = 7
 
3.4 ไอโซบาร์ (Isobar) หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันมีเลขมวลเท่ากัน แต่เลขอะตอมต่างกัน
    (เลขตัวบนเท่ากัน แต่เลขตัวล่างต่างกัน เช่น 146C กับ 147N)

แบบทดสอบ อนุภาคมูลฐานของอะตอม เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป


แบบทดสอบ อนุภาคมูลฐานของอะตอม เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ข้อสอบแต่ละข้อสามารถคลิกคำตอบได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

1.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

    ก.  จำนวนโปรตอนเรียกว่าเลขอะตอม
    ข.  ผลรวมของโปรตอนและนิวตรอนเรียกว่าเลขมวล
    ค.  อะตอมของธาตุต่างชนิดกันจะมีเลขมวลเท่ากันได้เรียกว่า ไอโซโทป
    ง.  อะตอมของธาตุชนิดหนึ่งจะมีโปรตอนเฉพาะตัวไม่ซ้ำกับธาตุอื่น 

     

2. ข้อใดเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ได้ถูกต้อง
    ก.  
    ข.  
    ค.  
    ง.  
     
3. จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ    ข้อใดถูกต้อง
    ก.  p=13  ,  e=13  ,  n=13
    ข.  p=14  ,  e=14  ,  n=13
    ค.  P=13  ,  e=13  ,  n=14
    ง.  P=14  ,  e=14  ,  n=13
     
4. ธุาตุ X  มี 80  อิเล็กตรอนและ 130  นิวตรอน  ข้อใดเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ถูกต้อง
    ก.  
    ข.  
    ค.  
    ง.   

 

5. ข้อใดคือไอโซโทปของไฮโดรเจน

    ก.  โปรเทียม  ,  ดิวทีเรียม  ,  ไตรเลียม
    ข.  โปรเทียม  ,  ดิวทีเรียม  ,  ทริเทียม
    ค.  โปรเทียม  ,  ดิวเรียม  ,  ไตรเลียม
    ง.  
    ดิวทีเรียม  ,  ทริเทียม  ,  ไทเทเนียม
     

6. ข้อใดคือไอโซโทป

    ก.  ธาตุชนิดเดียวกันมีนิวตรอนต่างกัน
    ข.  ธาตุต่างชนิดมีนิวตรอนเท่ากัน
    ค.  ธาตุต่างชนิดมีเลขมวลเท่ากัน
    ง.  
    ธาตุชนิดเดียวกันมีเลขมวลเท่ากัน
     
7. สิ่งใดแสดงว่าธาตุหนึ่งแตกต่างจากธาตุหนึ่ง
    ก.  จำนวนนิวตรอน
    ข.  จำนวนนิวเคลียส
    ค.  จำนวนอิเล็กตรอน
    ง.  
    จำนวนโปรตอน
     
8. จาก  2+  ข้อใดถูกต้อง
    ก.  p 10  ,  n 12  ,  e 12
    ข.  p 12  ,  n 12  ,  e 12
    ค.  p 12  ,  n 12  ,  e 10
    ง.  p 10  ,  n 10  ,  e 12
     
9. ข้อใดคือไอโซโทน

    ก.    ,  
    ข.    ,  
    ค.    ,  
    ง.  
      ,  
     

10. ข้อใดคือไอโซบาร์

    ก.    ,  
    ข.
        ,  
    ค.
        ,  
    ง.
       ,  

     

กฎของฮับเบิล ( Hubble law )

กฏของฮับเบิ้ล (The Hubble Law)

            ในปี ค.ศ. 1920 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เอ็ดวิน ฮับเบิ้ล (Edwin Hubble, 1889-1953) ได้ค้นพบความรู้เรื่องขิงเอกภพที่มีความสำคัญมากที่สุดอันหนึ่งนั่นคือ เขาได้ค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบัน จากการที่นักดาราศาสตร์ต่างๆได้ทำการสังเกตการณ์กาแลกซีต่างๆจำนวนมากและพบว่ากาแลกซีต่างๆนั้นจะเกิดปรากฏการณ์การเลื่อนทางแดง (redshift) ของเส้นเสปกตรัมแบบดูดกลืนที่พบเสมอ ฮับเบิ้ลได้สนใจข้อมูลการเลื่อนทางแดงของกาแลกซีต่างๆนี้และเขาได้ใช้ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (Doppler’s effect) 


ในการหาอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ถอยห่างของกาแลกซีต่างๆนั้นออกจากโลก (radial velocity) นอกจากนั้นเขาได้ทำการคำนวณหาระยะห่าง (distance) ระหว่างโลกกับกาแลกซีต่างๆโดยใช้หลักเกณฑ์ของการลดลงของความสว่างของดาวฤกษ์มาตรฐานเมื่อระยะห่างเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดเขาได้พล็อตกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วของการแลกซีในการเคลื่อนที่ถอยห่างออกจากผู้สังเกตนี้ในหน่วยของ กิโลเมตรต่อวินาที (km/s) กับระยะห่างระหว่างผู้สังเกตกับกาแลกซีนั้นในหน่วยของ เมกะพาร์เซก (Mpc) ความสัมพันธ์ของข้อมูลในกราฟดังกล่าวมีลักษณะเป็นเส้นตรงซึ่งมีความหมายว่าอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ออกห่างจากผู้สังเกต (v) แปรผันโดยตรงกับระยะห่างจากกาแลกซีนั้น (D) ซึ่งความสัมพันธ์นี้เองที่ทำให้ฮับเบิ้ลได้สรุปว่าในปัจจุบันนี้เอกภพกำลังขยายตัวออก ซึ่งเรารู้จักความสันพันธ์นี้กันป็นอย่างดีในชื่อของ “กฏของฮับเบิ้ล (Hubble Law)”

V = H0 x D

   ค่า H0 คือ ค่าคงที่ของฮับเบิ้ลมีหน่วยเป็น กิโลเมตรต่อวินาทีต่อเมกะพาร์เซก (km s-1 /Mpc   ) ซึ่งในปัจจุบันค่าคงที่ของฮับเบิ้ลมีค่า 75 km s-1 /Mpc    ซึ่งมีความหมายว่าทุกๆอณูของเอกภพกำลังขยายตัวออกด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 75 km/s ในทุกๆระยะห่าง 1 Mpc จากผู้สังเกต
              ข้อมูลที่แสดงอยู่ด้านล่างคือข้อมูลจริงจากรายงานทางวิชาการของเอ็ดวิน ฮับเบิ้ลที่เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1929 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้แสดงการแปรผันโดยตรง หรือความสัมพันธ์ที่มีกราฟเป็นเส้นตรง (ดังแสดงในกราฟด้านล่าง) ฮับเบิ้ลได้ใช้ความสัมพันธ์นี้เพื่อแสดงว่าเอกภพกำลังขยายตัวออกในปัจจุบัน (Hubble, Edwin, "A Relation between Distance and Radial Velocity among Extra-Galactic Nebulae", Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, Volume 15, Issue 3, pp. 168-173, 1929)

ผลการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ว33205

ผลการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ว33205


ผลการเรียนรู้
1.      สังเกต และอธิบายเส้นสนามแม่เหล็ก อธิบายและคำนวณฟลักซ์แม่เหล็กในบริเวณที่กำหนด รวมทั้งสังเกตและอธิบายสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำเส้นตรงและโซเลนอยด์ได้
2.      อธิบาย และคำนวณแรงแม่เหล็กที่กระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็ก แรงแม่เหล็กที่กระทำต่อเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านและวางในสนามแม่เหล็ก รัศมีความโค้งของการเคลื่อนที่เมื่อประจุเคลื่อนที่ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก รวมทั้งอธิบายแรงระหว่างเส้นลวดตัวนำคู่ขนานที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านได้
3.      อธิบายหลักการทำงานของแกลแวนอมิเตอร์และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
4.      สังเกต และอธิบายการเกิดอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนำความรู้เรื่องอีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำไปอธิบายการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้
5.      อธิบาย และคำนวณความต่างศักย์อาร์เอ็มเอส และกระแสไฟฟ้าอาร์เอ็มเอสได้
6.      อธิบายหลักการทำงานและประโยชน์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส การแปลงอีเอ็มเอฟของหม้อแปลง และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
7.      อธิบายและคำนวณความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิ ความร้อนที่ทำให้สสารเปลี่ยนสถานะ และความร้อนที่เกิดจากการถ่ายโอนตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน
8.      อธิบายกฎของแก๊สอุดมคติและคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
9.      อธิบายแบบจำลองของแก๊สอุดมคติ ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส และอัตราเร็วอาร์เอ็มเอสของโมเลกุลของแก๊ส รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
10.  อธิบายและคำนวณงานที่ทำโดยแก๊สในภาชนะปิดโดยความดันคงตัว และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความร้อน พลังงานภายในระบบ และงานรวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ เรื่อง พลังงานภายในระบบไปอธิบายหลักการทำงานของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
11.  อธิบายสภาพยืดหยุ่นและลักษณะการยืดและหดตัวของวัสดุที่เป็นแท่ง เมื่อถูกกระทำด้วยแรงค่าต่าง ๆ รวมทั้งทดลอง อธิบาย และคำนวณความเค้นตามยาว ความเครียดตามยาวและมอดุลัสของยัง และนำความรู้เรื่องสภาพยืดหยุ่นไปใช้ในชีวิตประจำวัน
12.  อธิบาย และคำนวณความดันเกจ ความดันสัมบูรณ์ และความดันบรรยากาศ รวมทั้งอธิบายหลักการทำงานของแมนอมิเตอร์ บารอมิเตอร์ และเครื่องอัดไฮดรอลิกได้
13.  ทดลอง อธิบาย และคำนวณขนาดแรงพยุงจากของไหลได้
14.  ทดลอง อธิบาย และคำนวณความตึงผิวของของเหลว รวมทั้งสังเกตและอธิบายแรงหนืดของของเหลวได้
15.  อธิบายสมบัติของของไหลอุดมคติ สมการความต่อเนื่อง และสมการแบร์นูลลี รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำความรู้เกี่ยวกับสมการความต่อเนื่องและสมการแบร์นูลลีไปอธิบายหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้


                                                 คำอธิบายรายวิชา


          ศึกษา วิเคราะห์ และอธิบายหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก ฟลักซ์แม่เหล็ก การเคลื่อนที่ของอนุภาคในสนามแม่เหล็ก แรงกระทำต่อลวดตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านเมื่อวางอยู่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ แกลแวนอมิเตอร์ มอเตอร์กระแสตรง กระแสเหนี่ยวนำ กฎการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของฟาราเดย์และกฎของเลนซ์ หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลงวงจรพื้นฐานของไฟฟ้ากระแสสลับ การแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ความร้อน อุณหภูมิ ความจุความร้อน การขยายตัวของวัตถุเนื่องจากความร้อน สถานะและการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การถ่ายโอนความร้อน แก๊สอุดมคติ กฎของบอยล์ กฎของชาร์ล กฎของเกย์-ลูสแซก กฎของแก๊สอุดมคติ ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ความดันและพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊ส อัตราเร็วของโมเลกุลของแก๊ส พลังงานภายในระบบ กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ การประยุกต์เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ สภาพยืดหยุ่นของวัสดุ ความเค้น ความเครียด มอดุลัสของยัง ความดันในของไหลและกฎพาสคัล แรงพยุงและหลักอาร์คิมีดีส ความตึงผิว การเคลื่อนที่ในของไหล สมบัติของของไหลอุดมคติ สมการความต่อเนื่อง และสมการแบร์นูลลี
          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การอภิปราย การอธิบายและการสรุปผล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด และความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตตนเอง ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่ถูกต้อง


ตัวชี้วัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี) ม.4-6

ตัวชี้วัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี)

1. ระบุว่าสารเป็นธาตุหรือสารประกอบ และอยู่ในรูปอะตอม โมเลกุล หรือไอออนจากสูตรเคมี
2. เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของแบบจาลองอะตอมของโบร์กับแบบจาลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
3. ระบุจานวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนของอะตอม และไอออนที่เกิดจากอะตอมเดียว
4. เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุและระบุการเป็นไอโซโทป
5. ระบุหมู่และคาบของธาตุ และระบุว่าธาตุเป็นโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ กลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ หรือกลุ่มธาตุแทรนซิชัน จากตารางธาตุ
6. เปรียบเทียบสมบัติการนาไฟฟ้า การให้และรับอิเล็กตรอนระหว่างธาตุในกลุ่มโลหะกับอโลหะ
7. สืบค้นข้อมูลและนาเสนอตัวอย่างประโยชน์และอันตรายที่เกิดจากธาตุเรพรีเซนเททีฟและธาตุแทรนซิชัน
8. ระบุว่าพันธะโคเวเลนต์เป็นพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม และระบุจานวนคู่อิเล็กตรอนระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะจากสูตรโครงสร้าง
9. ระบุสภาพขั้วของสารที่โมเลกุลประกอบด้วย 2 อะตอม
10. ระบุสารที่เกิดพันธะไฮโดรเจนได้จากสูตรโครงสร้าง
11. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างจุดเดือดของสารโคเวเลนต์กับแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลตามสภาพขั้วหรือการเกิดพันธะไฮโดรเจน
12. เขียนสูตรเคมีของไอออนและสารประกอบ ไอออนิก
13. ระบุว่าสารเกิดการละลายแบบแตกตัวหรือ ไม่แตกตัว พร้อมให้เหตุผลและระบุว่าสารละลายที่ได้เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ หรือนอนอิเล็กโทรไลต์
14. ระบุสารประกอบอินทรีย์ประเภทไฮโดรคาร์บอนว่าอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัวจากสูตรโครงสร้าง
15. สืบค้นข้อมูลและเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพระหว่างพอลิเมอร์และมอนอเมอร์ของพอลิเมอร์ชนิดนั้น
16. ระบุสมบัติความเป็นกรด-เบส จากโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์
17. อธิบายสมบัติการละลายในตัวทาละลายชนิดต่าง ๆ ของสาร
18. วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับสมบัติเทอร์มอพลาสติกและเทอร์มอเซตของพอลิเมอร์ และการนาพอลิ-เมอร์ไปใช้ประโยชน์
19. สืบค้นข้อมูลและนาเสนอผลกระทบของการใช้ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม พร้อมแนวทางป้องกันหรือแก้ไข
20. ระบุสูตรเคมีของสารตั้งต้น ผลิตภัณฑ์ และแปลความหมายของสัญลักษณ์ในสมการเคมีของปฏิกิริยาเคมี
21. ระบุสูตรเคมีของสารตั้งต้น ผลิตภัณฑ์ และแปลความหมายของสัญลักษณ์ในสมการเคมีของปฏิกิริยาเคมี
22. สืบค้นข้อมูลและอธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันหรือในอุตสาหกรรม
23. อธิบายความหมายของปฏิกิริยารีดอกซ์
24. อธิบายสมบัติของสารกัมมันตรังสี และคานวณครึ่งชีวิตและปริมาณของสารกัมมันตรังสี
25. ระบุสูตรเคมีของสารตั้งต้น ผลิตภัณฑ์ และแปลความหมายของสัญลักษณ์ในสมการเคมีของปฏิกิริยาเคมี