แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลางภาคเรียน รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ

1. ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง
1.       ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร
2.       ทฤษฎีต่าง ๆ อาจถูกล้มเลิกได้ เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่เชื่อถือได้มากกว่า
3.       แนวความคิดต่าง ๆ อาจถูกล้มเลิกได้ เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่เชื่อถือได้มากกว่า
4.       กฎและทฤษฎีเป็นสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับแล้วว่าเป็นจริงจึงล้มเลิกไม่ได้
2. โครงสร้างโลกแบ่งตามลักษณะมวลสารได้ชั้นใหญ่ ๆ 3 ชั้น คือข้อใด
1.       ชั้นเปลือกโลก ใต้เปลือกโลก แก่นโลก
2.       ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก ธรณีภาค
3.       ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก แก่นโลก
4.       ชั้นเปลือกโลก เนื้อโลก หินหนืด
3. เปลือกโลกแบ่งออกได้เป็น 2 บริเวณ คือข้อใด
1.       เปลือกโลกภาคพื้นทวีป เปลือกโลกภาคพื้นน้ำ
2.       เปลือกโลกภาคพื้นทวีป เปลือกโลกภาคพื้นดิน
3.       เปลือกโลกชั้นนอก เปลือกโลกชั้นใน
4.       เปลือกโลกภาคพื้นทวีป เปลือกโลกใต้มหาสมุทร
4. เปลือกโลกภาคพื้นทวีป ประกอบด้วยธาตุใดบ้าง
          1. ธาตุซิลิคอน และซิลิกา           2. ธาตุซิลิคอน และอลูมิเนียม
          3. ธาตุเหล็ก และทองแดง          4. ธาตุซิลิคอน และเหล็ก
 
5. ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลกรวมกันเรียกว่า
          1. แมนเทิล                2.  ธรณีภาค     3. ธรณีภาคพื้นทวีป       4. ธรณีภาคพื้นเปลือกโลก
6. เปลือกโลกใต้มหาสมุทร ประกอบด้วยธาตุใดบ้าง
          1.ธาตุซิลิคอน และแมกนีเซียม               2.ธาตุซิลิคอน และซิลิกา
          3.ธาตุซิลิคอน และอลูมิเนียม                 4.ธาตุซิลิคอน และเหล็ก
7. หินหลอมละลายในชั้นเนื้อโลกเรียกว่าอะไร
          1.ลาวา                     2.แมกมา                   3.หินหนืด                  4.หินใหม่
8. ข้อใดเรียงลำดับชั้นโลกจากผิวโลกไปยังศูนย์กลางได้ถูกต้อง
1.       เปลือกโลก แมนเทิล เนื้อโลก
2.       เปลือกโลก เนื้อโลก แก่นโลก
3.       เปลือกโลก แก่นโลก เนื้อโลก
4.       เปลือกโลก แก่นโลกชั้นนอก แก่นโลกชั้นใน
9. ชั้นใดของโลกที่มีความแตกต่างของลักษณะทางกายภาพมากที่สุด
          1.เนื้อโลก                  2. เปลือกโลก              3.แก่นโลกชั้นนอก         4. แก่นโลกชั้นใน

10. แก่นโลกหมายถึงข้อใด
1.       ส่วนของโลกที่มีความแข็งมากที่สุด
2.       ส่วนที่อยู่ชั้นในสุดของโลก
3.       ส่วนที่อยู่ระหว่างชั้นเปลือกโลกกับชั้นแมทเทิล
4.       ส่วนของโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
11. แก่นโลกประกอบด้วยธาตุใดมากที่สุด
          1. ธาตุเหล็ก และนิเกิล                       2. ธาตุเหล็ก และซิลิคอน
          3. ธาตุซิลิคอน และอลูมิเนียม                4. ธาตุซิลิคอน และแมกนีเซียม

12. เพราะเหตุใดบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกจึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากกว่าบริเวณอื่น
           1. การเคลื่อนที่ของหินหนืด                 2. แรงสั่นสะเทือนของภูเขาไฟระเบิด
           3. เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา 4. โครงสร้างของหินมีความแตกต่างกันมาก
13. การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวระหว่างรอยต่อของแผ่นธรณีภาคมีการถ่ายโอนพลังงานศักย์ให้กับชั้นหินในรูปของคลื่นอะไร
          1. คลื่นแสง                                   2. คลื่นสั่นสะเทือน
          3. คลื่นไหวสะเทือน                          4. คลื่นแผ่นดินไหว
14. จุดกำเนิดการไหวสะเทือนของแผ่นดินไหว เรียกว่าอะไร
          1. จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว                  2.ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
          3. จุดกำเนิดของแผ่นดินไหว                 4. จุดศูนย์กลางการสะเทือนของแผ่นดิน
15. ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ที่บริเวณใด
          1.  ใต้เนื้อโลก                                 2. ใต้เปลือกโลก
          3. แก่นโลกชั้นใน                             4. จุดศูนย์กลางการสะเทือนของแผ่นดิน
16. ผู้ที่ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นผืนแผ่นเดียวกันคือผู้ใด
          1. จอห์น ดัลตัน                              2. อัลเฟรด เวเกเนอร์์
          3. คานท์ และลาพลาส                       4. เจมส์ ยีนส์
17. อัลเฟรด เวเกเนอร์ได้ตั้งชื่อแผ่นดินทั้งหมดบนโลก ผืนแผ่นดินเดียวกันว่าอะไร
          1. พันเจีย        2. ทวีป           3. วงแหวนแห่งไฟ         4. แผ่นดินมีพลัง

18. แผ่นธรณีภาคที่เป็นแผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทรมีกี่แผ่น
          1. 5 แผ่น                  2. 6 แผ่น       
          3. 9 แผ่น                  4. 13 แผ่น

19. แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่รองรับส่วนใด
          1. ทวีป           2. มหาสมุทร              3. ทวีปและมหาสมุทร     4. เกาะในมหาสมุทร
20. แผ่นธรณีภาคใดที่รองรับทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
          1. แผ่นยูเรเซีย   2. แผ่นแปซิฟิก            3.แผ่นออสเตรเลีย         4. แผ่นแอฟฟริกา
21. ข้อใดคือประโยชน์ของการศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก                                                             
          1. ทำให้รู้ส่วนประกอบต่างๆ ภายในโลก    2. เตรียมหาวิธีป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว
          3. เตรียมหาวิธีป้องกันการเกิดภูเขาไฟระเบิด        
          4. เตรียมที่จะป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
22. ทฤษฎีที่ใช้อธิบายการเกิดของแผ่นดิน มหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตที่ตายทับถมอยู่ในหินบนเปลือกโลกคือ
          1. ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป              2. ทฤษฎีการขยายตัวของพื้นทวีป
          3. ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค     4. ผิดหมดทุกข้อ
23. หลักฐานที่นักธรณีวิทยาและนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกของเรามีกระบวนการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
          1. การปรากฏรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก            2. การเกิดแผ่นดินไหว
          3. การเกิดภูเขาและภูเขาไฟ                           4. ถูกหมดทุกข้อ
24. สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง คือข้อใด
         
1. มนุษย์                   2. ธรรมชาติ               3. สัตว์และพืช             4. สิ่งแวดล้อม
25. สาเหตุที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ คือข้อใด
          1. การปะทุของหินแข็งในชั้นเปลือกโลก               2. การไหลวนของหินหนืดในชั้นเนื้อโลก
          3. การเคลื่อนที่ของแร่ธาตุในแก่นโลกชั้นใน    4. การแทรกตัวขึ้นมาของแร่ธาตุจากแก่นโลกชั้นนอก
26. ผู้ที่ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน คือผู้ใด
          1. จอห์น ดัลตัน           2. อัลเฟรด เวเกเนอร์      3. คานท์ และลาพาส     4. เจมส์ ยีนส์
27. อัลเฟรด เวเกเนอร์ ได้ตั้งชื่อแผ่นดินทั้งหมดบนโลกผืนแผ่นดินเดียวว่าอะไร
          1. พันเจีย                  2. ทวีป                     3. วงแหวนแห่งไฟ         4.  แผ่นดินมีพลัง

28. ผืนแผ่นดินเดียวบนโลกต่อมาแยกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือข้อใด
          1. ยุโรปและอเมริกา                                   2. เอเชียและยุโรป
          3. ลอเรเซียและกอนด์วานา                            4. ออสเตรเลียและอัฟริกา
29. แผ่นดินของทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปและทวีปอัฟริกาแยกห่างกันมากขึ้นตลอดเวลา เพราะเหตุใด
          1. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เนื่องจากการไหลของแมกมาในชั้นเนื้อโลก
          2. หินหนืดในชั้นเนื้อโลกดันแทรกขึ้นมาตามรอยแตกระหว่างเปลือกโลก
          3. เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟและแผ่นดินไหวบริเวณนี้บ่อยครั้ง
          4. ข้อ 1 และ 2 ถูก
30. หลักฐานข้อใดสนับสนุนแนวคิดของ อัลเฟรด เวเกเนอร์
          ก. สภาพทางภูมิศาสตร์ของทวีปต่างๆ ที่เคลื่อนต่อกันได้
          ข. การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ตามชายฝั่งที่สอดคล้องกัน
          ค. โครงสร้างของหินที่มีลักษณะเหมือนกัน
          ง. การเปลี่ยนแปลงของอากาศที่ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณต่างๆ ของโลก
     ข้อใดถูกต้อง
                    1. ข้อ ก และ ข                              2. ข้อ ก , ข และ ค
                   3. ข้อ ก , ข และ ง                 4. ข้อ ก , , ค และ ง
31. ผิวโลกในบริเวณต่างๆ มีลักษณะเป็นอย่างไร
          1. ที่ราบมีลักษณะเหมือนกัน                 2. ส่วนที่เป็นภูเขามีลักษณะที่เหมือนกัน
          3. มีความแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ 
          4. ส่วนที่เป็นที่เป็นพื้นน้ำจะมีอุณหภูมิปกติที่เหมือนกัน
32. ปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปอัฟริกามีการเคลื่อนที่อย่างไร
          1. เคลื่อนที่เข้าหากัน                         2. เคลื่อนที่แยกออกจากกัน
          3. เคลื่อนที่ในทิศทางที่แตกต่างกัน           4. ยังไม่มีการเคลื่อนที่แต่อย่างใด
33. เมื่อนำแผ่นภาพทวีปมาต่อกัน ทวีปใดที่สามารถต่อกันได้พอดี
          1. อเมริกากับยุโรป                           2. เอเชียกับออสเตรเลีย
          3. อเมริกาใต้กับอัฟริกา                       4. อัฟริกากับออสเตรเลีย
34. แนวหินใหม่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก เกิดใต้มหาสมุทรอะไร
          1. แอตแลนติก             2. อาร์กติก                3. แปซิฟิก                 4. อินเดีย
35. แผ่นธรณีภาคที่เป็นแผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทรมีกี่แผ่น
          1. 5 แผ่น                  2. 6 แผ่น                  3. 9 แผ่น                  4. 13 แผ่น
36. นักธรณีวิทยาแบ่งเปลือกโลกออกเป็นแผ่นๆ ทั้งที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่   มีกี่แผ่น
          1. 5 แผ่น                  2. 6 แผ่น                  3. 8 แผ่น                  4. 9 แผ่น
37. แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่รองรับส่วนใด
          1. ทวีป                     2. มหาสมุทร              3. ทวีปและมหาสมุทร     4. เกาะในมหาสมุทร
38. จากการพบหินบะซอลต์ที่รอยแยกบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก อายุของหินที่อยู่บริเวณดังกล่าวเป็นอย่างไร
                1. หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้รอยแยก
                2. หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุน้อยกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้รอยแยก
                3. หินบะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุน้อยกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ในรอยแยก
                4. ข้อ 2 และ 3 ถูก
39. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค มีลักษณะเป็นอย่างไร
          ก. บางส่วนแยกห่างออกจากกัน                       ข. บางส่วนเข้าใกล้กันหรือกระทบกัน
          ค. บางส่วนมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง                        ง. บางส่วนถูกดันให้โค้งงอขึ้น
          จ. บางส่วนหลอมตัวเป็นแมกมาในชั้นเนื้อโลก
ข้อใดถูกต้อง

          1. ข้อ ก , ข และ ง                           2. ข้อ ก , , ง และ จ
          3. ข้อ ก , , ค และ ง                       4.  ข้อ ก , , , ง และ จ
40. การที่แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง เนื่องจากแมกมาแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแตก พื้นทะเลจะขยายกว้างออกไปทั้งสองด้าน เรียกกระบวนการเกิดนี้ว่าอะไร
          1. การขยายตัวของพื้นทะเล                 2. การขยายตัวของมหาสมุทร
          3. การขยายตัวของพื้นทวีป                  4. การขยายตัวของแผ่นธรณีภาค
41. ชั้นแก่นโลกประกอบด้วยธาตุชนิดใดเป็นส่วนใหญ่
          ก. เหล็ก  และ  อลูมิเนียม                    ข. สังกะสี  และ  ปรอท
          ค. นิกเกิล และ เหล็ก                         ง. อลูมิเนียม  และ  นิกเกิล
42. เครื่องบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวมีชื่อเรียกว่าอะไร
          ก. ไซสโมกราฟ             ข. บารอมิเตอร์       ค. สเฟียร์โรมิเตอร์       ง. ไกเกอร์  มูเลอร์  เคาเตอร์
43. คาบอุบัติซ้ำมีความหมายตรงกับข้อใด
          ก. ระยะเวลาของการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละครั้ง
          ข. รอบเวลาของการเกิดแผ่นดินไหว ณ บริเวณหนึ่งๆ
          ค. บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นประจำ
          ง. การเกิดแผ่นดินไหวหลังภูเขาไฟระเบิด
44. เหตุใดจึงต้องมีการกำหนดขนาดของแผ่นดินไหว
          ก. เพื่อตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้า   
          ข. เพื่อทราบถึงศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว
          ค. เพื่อทราบผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
          ง. เพื่อป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว
45. ภูเขาไฟมีพลังมีความหมายตรงกับข้อใด
          ก. ภูเขาไฟที่มีการระเบิดอย่างรุนแรง        ข. ภูเขาไฟที่กำลังก่อตัวแต่ยังไม่มีการระเบิด
          ค. ภูเขาไฟที่เกิดขึ้นมานานมาก               ง. ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่
46. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
          ก. ขอบแผ่นธรณีแยกออกจากกัน            ข. ขอบธรณีซ้อนทับกัน
          ค. ขอบแผ่นธรณีเคลื่อนเข้าหากัน   ง. ขอบแผ่นธรณีเคลื่อนผ่านกัน

47. ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวกำหนดชื่อหินตะกอนภูเขาไฟ
          ก. ขนาดและลักษณะของชิ้นส่วนที่พ่นออกมา         ข. ขนาดของภูเขาไฟ
          ค. ส่วนประกอบของหิน                      ง. ปริมาณของแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของหิน
48. แผ่นธรณีภาคของโลกแบ่งย่อยเป็นกี่แผ่น
          ก.
11 แผ่น       ข. 12 แผ่น       ค. 13 แผ่น       ง. 14แผ่น

49. ข้อใดคือความสำคัญของการศึกษาค้นคว้าทางธรณีวิทยา
          ก. เพื่อหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
          ข. เพื่อหาวิธีการปรับปรุงแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
          ค. เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
          ง. ถูกทุกข้อ
50. หลักฐานทุกข้อต่อไปนี้สนับสนุนว่าแผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่ยกเว้นข้อใด
          ก. ลักษณะการเกิดเทือกเขาหิมาลัย
          ข. ปรากฏการณ์น้ำพุร้อน
          ค. รอยโค้งเว้าของแผนอเมริกาใต้และแผ่นแอฟริกาเชื่อมกันได้พอดี
          ง. สิ่งมีชีวิตริมชายฝั่งแผ่นธรณีภาคด้านเดียวกันมีความคล้ายคลึงกัน
51. อายุทางธรณีวิทยาแบ่งออกเป็นกี่แบบ
          ก.
1 แบบ              ข. 2 แบบ                 ค. 3 แบบ             ง. 4 แบบ
52. อายุเปรียบเทียบ (Realative age) บอกเกี่ยวกับอะไร
          ก. บอกว่าหินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน  แล้วนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยา
          ข. เป็นอายุของหินที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน
          ค. บอกความเป็นมาของหินในชั้นต่างๆ
          ง. เป็นอายุเปรียบเทียบโครงสร้างหิน
53. ซากดึกดำบรรพ์ หมายถึง
          ก. ซากที่เน่าเปื่อยผุพัง                  
          ข.ไม่สามารถบอกช่วงอายุหินได้
          ค. ร่องรอยแหล่งที่อยู่อาศัย         
          ง. ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
54. ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี ตรงกับภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
          ก.
Index fossil            ข. Trace-fossil           ค. Mold-fossil             ง. Absolute-fossil
55. จังหวัดใดในภาคอีสานที่สามารถพบซากดึกดำบรรพ์ได้
          ก.ชัยภูมิ                          ข. สกลนคร                   ค. นครราชสีมา             ง. ถูกทุกข้อ
56.  หิน มี 3 ประเภท ข้อใดไม่ใช่ประเภทของหิน
          ก. หินอัคนี                 ข. หินแปร                           ค. หินตะกอน              ง. หินปูน
57. โครงสร้างปฐมภูมิ (Primary Structure) หมายถึง
          ก. โครงสร้างก่อนการกำเนิดหิน            ข. โครงสร้างหลังการกำเนิดหิน
          ค. โครงสร้างพร้อมการกำเนิดหิน          ง. ไม่มีข้อใดถูก
58.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงสร้างทุติยภูมิ
          ก. เป็นโครงสร้างที่เกิดภายหลังการกำเนิดหิน
          ข.  เกิดจากการมีแรงภายนอกมากระทำ เช่น กระแสลม กระแสน้ำ
          ค. เป็นโครงสร้างที่เกิดพร้อมการกำเนิดหิน
          ง. Secondary Structure
59. ผู้ที่คิดค้นหลักการลำดับชั้นหินคือใคร
          ก. นิโครัส โจเซฟ                                        ข. นิโครัส เตอร์โน
          ค. นิโครัส สติโน                                         ง. เอลวิน นิโครัส

60.  “ซากที่อยู่ในตระกูลเดียวกันเป็นไปตามกฎข้อใด
          ก. กฎการวางตัวแนวราบ                            
          ข. กฎการวางซ้อน
          ค. กฎการต่อเนื่องของบรรพชีวิน               
          ง. ถูกมากกว่า
2 ข้อ

ไม่มีความคิดเห็น: