กฎการหักเหของแสง (The Law of Refraction)

กฎการหักเหของแสง (The Law of Refraction)

เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งด้วยมุมๆ หนึ่งที่ไม่ใช่มุมฉากแล้ว แสงจะเกิดการหักเหขึ้น โดยถ้าแสงเดินทางเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า (โปร่งกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า (ทึบกว่า) แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงข้าม ถ้าแสงเดินทางจากยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า (ทึบกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า (โปร่งกว่า) แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ

ผลที่เกิดขึ้นจากการหักเหของแสง
เมื่อมองที่อยู่ในน้ำโดยนัยน์ตาของเราอยู่ในอากาศ จะทำให้มองเห็นวัตถุตื้นกว่าเดิม นอกจากนี้นักเรียนอาจจะเคยสังเกตว่าสระว่ายน้ำหรือถังใส่น้ำจะมองดูตื้นกว่าความเป็นจริง เพราะแสงต้องเดินทางผ่านน้ำและอากาศแล้วจึงหักเหเข้าสู่นัยน์ตา

มุมวิกฤตและการสะท้อนกลับหมด
1. มุมวิกฤตจะเกิดขึ้นได้เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่ทึบกว่าไปยังตัวกลางที่โปร่งกว่า
2. มุมวิกฤตคือ มุมตกกระทบที่ทำให้มุมหักเหเท่ากับ 90 องศา
3. เมื่อมุมตกกระทบในตัวกลางที่หนาแน่นมากกว่าใหญ่กว่ามุมวิกฤต แสงจะเกิดการสะท้อนกลับหมด
ผลจากการหักเหและการสะท้อนกลับหมดของแสง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติหลายอย่างเช่น การเกิด รุ้งกินน้ำและการเกิดภาพลวงตาหรือมิราจ
รุ้งกินน้ำ (Rainbow) คือ แถบสีสเปกตรัมของแสงสีขาวของแสงอาทิตย์ เกิดจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านเข้าไปในละอองน้ำในอากาศ แล้วเกิดการหักเหและสะท้อนกลับหมดในละอองน้ำ โดยแสงที่หักเหออกจากละอองน้ำจะกระจายออกเป็นสเปกตรัมของแสงขึ้น รุ้งกินน้ำมักเกิดขึ้นหลังฝนตก และผู้สังเกตต้องยื่นหันหลังให้กับดวงอาทิตย์จึงจะมองเห็นได้

ไม่มีความคิดเห็น: