ฟิสิกส์คืออะไร

ฟิสิกส์ คือ อะไร
 
ความอยากรู้อยากเห็นและความช่างสังเกตเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการศึกษา ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาด้วยวิธีการต่างๆ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้สำหรับทุกคน โดยเฉพาะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า ฟิสิกส์
ฟิสิกส์ (Physics) เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาธรรมชาติของสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การค้นคว้าหาความรู้ทางฟิสิกส์ทำได้โดยการสังเกต การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี หลักการหรือกฎ ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และความรู้นี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

 
 
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
กฏการเคลื่อนที่ข้อที่ 1
วัตถุจะรักษาสภาพนิ่งหรือเคลื่อนที่สม่ำเสมอในแนวตรงนอกจากจะมีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำจะได้สมการการเคลื่อนที่เป็น  
                  บางครั้งเรียกว่า กฏแห่งความเฉื่อยกฏการเคลื่อนที่ข้อที่2
ถ้ามีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในทิศทางเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำขนาดของความเร่งจะแปรโดยตรงกับแรงลัพธ์ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุนั้นจะได้ สมการของการเคลื่อนที่เป็น  

กฏการเคลื่อนที่ข้อที่ 3
เมื่อมีแรงกิริยา ย่อมมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากัและมิทศทางตรงกันข้ามเรียกแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาคู่ใด ๆ ว่า แรงคู่ปฏิกิริยา แรงคู่ปฏิกิริยาใดมีสมบัติ 4 ประการคือ
    1. เกิดขึ้นพร้อมกัน
    2. มีขนาดเท่ากัน
    3. ทำซึ่งกันและกัน
แรงที่เกี่ยวข้องกับวิชากลศาสตร์ 
    1.                   แรงโน้มถ่วงของโลก     (Gravitational force : คือแรงที่โลกกระทำต่อมวลของวัตถุ ทำให้ วัตถุมีน้ำหนัก โดยที่ หรือ 
    2. แรงตึงในเส้นเชือก (Tension force  ) คือแรงที่เกิดขึ้นในเส้นเชือกที่ถูกขึงตึง โดยที่ ในเส้นเชือกเดียวกันย่อมมีแรงตึงเท่ากันทุกจุด และทิศทางของแรงตึง   มีทิศทางอยู่ในแนวของเส้นเชือก
    3. แรงต้านของอากาศ (Air resistance force) คือแรงที่อากาศต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุแรงต้านของอากาศจะมีขนาดแปรโดยตรงกับอัตราเร็วของวัตถุยกกำลังต่าง ๆ และมีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
    4. แรงหนืด (Viscosity force) คือแรงที่ ของเหลวต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ สำหรับวัตถุทรงกลม รัศมี r เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v ในของเหลวหรือก๊าซ ที่มีความหนืด
    5. แรงเสียดทาน (Friction force  ) คือแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ เกิดขึ้น ระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ กับพื้นผิวใด ๆ มี 2 ประเภทคือ
      •      แรงเสียดทานสถิต (Static friction : ) เกิดขึ้นในวัตถุที่หยุดนิ่ง ในขณะที่วัตถุเริ่มเคลื่อนที่ แรงเสียดทานสถิต จะมีค่าสูงสุดเรียกว่า  starting friction or limiting friction
      • แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic friction : ) เกิดขึ้นในวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
  •   sliding friction เกิดจากการไถลของวัตถุชนิดหนึ่งบนวัตถุอีกชนิดหนึ่ง
  • rolling                    friction เกิดจากการกลิ้งไปของวัตถุชนิดหนึ่งบนวัตถุอีกชนิดหนึ่ง
กฎของแรงเสียดทาน
    • มีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ผิวสัมผัส
    • ขนาดของแรงขึ้นกับชนิดของคู่ผิวสัมผัสนั้น ๆ
    • ขนาดของแรงไม่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวสัมผัสหรือรูปร่างของวัตถุในระหว่างผิวสัมผัสคู่ใด ๆ
    • ขนาดของแรงเสียดทานจะแปรผกผันกับแรงปฏิกิริยาที่ตั้งฉากกับผิวสัมผัส
  สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
คือ อัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่อแรงปฏิกิริยาที่ตั้งฉากกับผิวสัมผัส มี 2 ชนิด
  • สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานสถิต 
  • สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจลน์ 
สมบัติของสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
    • เป็นอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่อแรงปฏิกิริยา
    • ไม่ขึ้นกับขนาดของพื้นที่ผิวสัมผัส
    • ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุที่เป็นคู่ผิวสัมผัส
    • ขึ้นกับลักษณะของคู่ผิวสัมผัส
    • ขึ้นกับอุณหภูมิของผิวสัมผัส ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจะลดลง

แนะนำเว็บไซต์ รับตรง 57 สอบตรง 57

รับตรง56,สอบตรง56,admissions56,
รับตรง,สอบตรง56,ข่าวสอบตรง,รวม
สอบตรงทุกมหาวิทยาลัย ทุกสาขาวิชา

http://gotoadmission.blogspot.com/