รับประทาน peptein 4000 ทุกวันจะบำรุงสมองตามที่โฆษณาไว้จริงหรือไม่

กรดอะมิโน (amino acid) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน ซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือ ด้านการทำงานของสมอง เนื่องจากกรดอะมิโนเป็นสารตั้งต้นสำหรับสร้างสารสื่อประสาทในสมอง (neurotransmitter) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนกับผู้รับ-ส่งข้อมูลไปยังส่วนต่างๆเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานของสมองและร่างกาย ดังนั้นหากร่างกายขาดกรดอะมิโนก็อาจทำให้การทำงานของสมองหรือร่างกายถดถอยลงไปได้ 

กรดอะมิโนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 

- กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (non-essential amino acid) คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้

- กรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid ) คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป 

จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่ากรดอะมิโนเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน ดังนั้นในสภาวะปกติหากร่างกายของเราได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีนอย่างเพียงพอตามหลักโภชนาการก็จะทำให้เราได้รับกรดอะมิโนอย่างเพียงพอเช่นกัน 

อาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์ เช่น หมู วัว ปลา ไก่ เป็นต้น ไข่ ถั่วเหลือง สาหร่าย spirulina ชีส ซึ่งปริมาณของโปรตีนและชนิดของกรดอะมิโนในแต่ละแหล่งจะแตกต่างกันออกไป 

จากกการศึกษาพบว่าถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีนที่ให้กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกายครบถ้วน จึงทำให้มีการนำถั่วเหลืองมาทำเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับรับประทานเพื่อเสริมโปรตีนหรือกรดอะมิโนให้แก่ร่างกาย

โดยปกติเมื่อเรารับประทานอาหารจำพวกโปรตีน ร่างกายจะทำการย่อยให้อยู่ในรูปของกรดอะมิโนหรือเปปไทด์ (peptide; หมายถึง สารที่เกิดจากการจับกันของกรดอะมิโนตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป) ก่อนจึงจะดูดซึมได้ และเมื่อเปปไทด์ถูกดูดซึมไปแล้วก็จะถูกย่อยกลายเป็นกรดอะมิโนให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ในที่สุด ยกเว้นในกรณีของเปปไทด์ที่เกิดจากการรวมกันของกรดอะมิโนมากกว่า 4 ตัวขึ้นไปพบว่าร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมได้เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ร่างกายไม่ได้รับกรดอะมิโนจากเปปไทด์ดังกล่าว ดังนั้นในผลิตภัณฑ์บางชนิดจึงทำการผลิตให้เปปไทด์มีขนาดเล็กลง เพื่อให้ถูกดูดซึมและถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนได้เต็มที่

ในบางสภาวะ ร่างกายจะมีการใช้สารอาหาร วิตามิน รวมถึงกรดอะมิโนในร่างกายมากกว่าปกติ เช่น การบาดเจ็บ อาการป่วย หรือเครียด เป็นต้น เพื่อช่วยในกระบวนการซ่อมแซมหรือชดเชยให้กระบวนการทำงานของร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ ดังนั้นการรับประทานอาหารตามปกติจึงไม่สามารถที่จะให้สารอาหารที่เพียงพอได้ จึงจำเป็นที่จะต้องรับประทานสารอาหารเสริมเข้าไป ซึ่งการรับประทานสารอาหารเสริมเข้าไปนี้ไม่ได้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายให้ดีขึ้น แต่เป็นไปเพื่อป้องกันไม่ให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายเสื่อมลงจากการขาดสารอาหารเหล่านั้น

ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเปปไทด์ที่ดูดซึมได้หรือกรดอะมิโนนั้นไม่สามารถที่จะช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้นกว่าสภาวะปกติที่เป็นอยู่ได้ แต่จะมีประโยชน์ในการช่วยไม่ให้ร่างกายขาดกรดอะมิโนจากภาวะที่ร่างกายมีความเครียดเพื่อช่วยให้การทำงานของสมองหรือร่างกายเป็นปกติมากกว่า ดังนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะไม่มีความจำเป็นหากร่างกายไม่อยู่ในสภาวะที่มีความเครียดหรือเจ็บป่วย นอกจากนี้การรับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือการทำสมาธิก็สามารถช่วยบริหารความเครียดให้ลดลงได้เช่นกัน

ส่วนในเรื่องของผลข้างเคียงร้ายแรงจากการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกรดอะมิโนหรือเปปไทด์ในขนาดปกตินั้นยังไม่มีการรายงานไว้ แต่อย่างไรก็ดีควรรับประทานตามขนาดที่ผู้ผลิตระบุไว้เท่านั้น นอกจากนี้ผู้รับประทานควรเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังรับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านั้นด้วย เนื่องจากผู้รับประทานอาจเกิดการแพ้ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ได้ หากมีอาการแพ้เกิดขึ้น เช่น เป็นผื่นแดงตามตัว หายใจลำบาก มีอาการบวมตามปากหรือใบหน้า ให้หยุดรับประทานและรีบไปพบแพทย์ทันที



อ้างอิงจาก: 
1. Michelfelder AJ. Soy: A Complete Source of Protein. Am Fam Physician. 2009;79(1):43-47.
2. Bowen R. Absorption of Amino Acids and Peptides [Online]. 2006 Jul 8 [cited 2009 Nov 12]. Available from: URL: http://www.vivo.colostate.edu/hbooks/pathphys/digestion/smallgut/absorb_aacids.html

PEPTEIN 4000-8000

กาลิเลโอ

กาลิเลโอ ได้ทำการทดลองให้เห็นว่า วัตถุที่ตกลงสู่พื้นโลกอย่างอิสระ จะเคลื่อนที่ภายใต้แรงดึงดูดของโลก ต่อมานิวตันสังเกตุเห็นว่า ทำไมดวงจันทร์ไม่ลอยหลุดออกไปจากโลก ทำไมผลแอปเปิ้ลจึงตกลงสู่พื้นดิน นิวตันได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่อ จนในที่สุดก็สามารถพิสูจน์ในเรื่องกฎแห่งการดึงดูดของ สสาร โดยโลกและดวงจันทร์ต่างมีแรงดึงดูดซึ่งกันและ กัน แต่เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก จึงมีแรงหนีสู่ศูนย์กลางซึ่งต่อต้านแรงดึงดูดไว้ ทำให้ดวงจันทร์ลอยโคจรรอบโลกได้ แต่ผลแอปเปิ้ลกับโลกก็มีแรงดึงดูดระหว่างกัน ผลแอปเปิ้ลเมื่อหลุดจากขั้วจึงเคลื่อนที่อิสระตามแรงดึงดูดนั้น
การตกอย่างอิสระนี้ วัตถุจะเคลื่อนตัวด้วยความเร่ง ซึ่งเรียกว่า Gravitational acceleration หรือ g ซึ่งมีค่าประมาณ 9.8 m/s
การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งนี้จึงเป็นไปตาม กฎการเคลื่อนที่ ดังนี้

ฟิสิกส์คืออะไร

ฟิสิกส์ คือ อะไร
 
ความอยากรู้อยากเห็นและความช่างสังเกตเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการศึกษา ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาด้วยวิธีการต่างๆ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้สำหรับทุกคน โดยเฉพาะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า ฟิสิกส์
ฟิสิกส์ (Physics) เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาธรรมชาติของสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การค้นคว้าหาความรู้ทางฟิสิกส์ทำได้โดยการสังเกต การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี หลักการหรือกฎ ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และความรู้นี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

 
 
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
กฏการเคลื่อนที่ข้อที่ 1
วัตถุจะรักษาสภาพนิ่งหรือเคลื่อนที่สม่ำเสมอในแนวตรงนอกจากจะมีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำจะได้สมการการเคลื่อนที่เป็น  
                  บางครั้งเรียกว่า กฏแห่งความเฉื่อยกฏการเคลื่อนที่ข้อที่2
ถ้ามีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในทิศทางเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำขนาดของความเร่งจะแปรโดยตรงกับแรงลัพธ์ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุนั้นจะได้ สมการของการเคลื่อนที่เป็น  

กฏการเคลื่อนที่ข้อที่ 3
เมื่อมีแรงกิริยา ย่อมมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากัและมิทศทางตรงกันข้ามเรียกแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาคู่ใด ๆ ว่า แรงคู่ปฏิกิริยา แรงคู่ปฏิกิริยาใดมีสมบัติ 4 ประการคือ
    1. เกิดขึ้นพร้อมกัน
    2. มีขนาดเท่ากัน
    3. ทำซึ่งกันและกัน
แรงที่เกี่ยวข้องกับวิชากลศาสตร์ 
    1.                   แรงโน้มถ่วงของโลก     (Gravitational force : คือแรงที่โลกกระทำต่อมวลของวัตถุ ทำให้ วัตถุมีน้ำหนัก โดยที่ หรือ 
    2. แรงตึงในเส้นเชือก (Tension force  ) คือแรงที่เกิดขึ้นในเส้นเชือกที่ถูกขึงตึง โดยที่ ในเส้นเชือกเดียวกันย่อมมีแรงตึงเท่ากันทุกจุด และทิศทางของแรงตึง   มีทิศทางอยู่ในแนวของเส้นเชือก
    3. แรงต้านของอากาศ (Air resistance force) คือแรงที่อากาศต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุแรงต้านของอากาศจะมีขนาดแปรโดยตรงกับอัตราเร็วของวัตถุยกกำลังต่าง ๆ และมีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
    4. แรงหนืด (Viscosity force) คือแรงที่ ของเหลวต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ สำหรับวัตถุทรงกลม รัศมี r เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v ในของเหลวหรือก๊าซ ที่มีความหนืด
    5. แรงเสียดทาน (Friction force  ) คือแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ เกิดขึ้น ระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ กับพื้นผิวใด ๆ มี 2 ประเภทคือ
      •      แรงเสียดทานสถิต (Static friction : ) เกิดขึ้นในวัตถุที่หยุดนิ่ง ในขณะที่วัตถุเริ่มเคลื่อนที่ แรงเสียดทานสถิต จะมีค่าสูงสุดเรียกว่า  starting friction or limiting friction
      • แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic friction : ) เกิดขึ้นในวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
  •   sliding friction เกิดจากการไถลของวัตถุชนิดหนึ่งบนวัตถุอีกชนิดหนึ่ง
  • rolling                    friction เกิดจากการกลิ้งไปของวัตถุชนิดหนึ่งบนวัตถุอีกชนิดหนึ่ง
กฎของแรงเสียดทาน
    • มีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ผิวสัมผัส
    • ขนาดของแรงขึ้นกับชนิดของคู่ผิวสัมผัสนั้น ๆ
    • ขนาดของแรงไม่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวสัมผัสหรือรูปร่างของวัตถุในระหว่างผิวสัมผัสคู่ใด ๆ
    • ขนาดของแรงเสียดทานจะแปรผกผันกับแรงปฏิกิริยาที่ตั้งฉากกับผิวสัมผัส
  สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
คือ อัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่อแรงปฏิกิริยาที่ตั้งฉากกับผิวสัมผัส มี 2 ชนิด
  • สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานสถิต 
  • สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจลน์ 
สมบัติของสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
    • เป็นอัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานต่อแรงปฏิกิริยา
    • ไม่ขึ้นกับขนาดของพื้นที่ผิวสัมผัส
    • ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุที่เป็นคู่ผิวสัมผัส
    • ขึ้นกับลักษณะของคู่ผิวสัมผัส
    • ขึ้นกับอุณหภูมิของผิวสัมผัส ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจะลดลง

แนะนำเว็บไซต์ รับตรง 57 สอบตรง 57

รับตรง56,สอบตรง56,admissions56,
รับตรง,สอบตรง56,ข่าวสอบตรง,รวม
สอบตรงทุกมหาวิทยาลัย ทุกสาขาวิชา

http://gotoadmission.blogspot.com/