นวนิยายรักที่ดีที่สุด "ใจของฉันเป็นของนาย"

ใจของเป็นของนาย
นวนิยายนี้แต่งจากเรื่องจริงแอบอิงนวนิยายนิดหน่อย นวนิยายสำหรับผู้ชายที่มีความรักแท้
เชิญ
รับ
อ่าน
ได้
เลย










...... บทนำ
“ภูมิ” เด็กหนุ่มชื่อสั้นๆเพียงพยางค์เดียว จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ทางด้านการศึกษาได้รับวุฒิการศึกษา ก็รีบหางานทำทันที ฟ้าสวรรค์เป็นใจ ให้โอกาสคนดี สอบบรรจุครูครั้งแรกก็ผ่าน เด็กหนุ่มไปติดต่อรายงานตัวกับทางโรงเรียนก่อนล่วงหน้า 1 เดือนก่อนที่จะเปิดเทอม พร้อมศึกษาพื้นที่ ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนดังกล่าว ฟ้าสวรรค์เป็นใจ แต่ใยต้องแกล้งกัน ณ โรงเรียนแห่งนั้นไม่มีบ้านพักครูให้
“ภูมิ ไปพักบ้านครูไหมละ ครูมีห้องว่างห้องหนึ่ง เป็นบ้านชั้นเดียวเล็กๆ อยู่ติดๆกับบ้านครูนั้นแหละ” ครูดวงใจมีเมตตา เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่เด็กหนุ่มกำลังประสบอยู่ นั้นคือ ที่พักที่สะดวกในการเดินทางมาทำงานนั้นเอง
“ภูมิ....เออ...ภูมิว่า ภูมิจะลองหาบ้านเช่าแถวนี่ดูครับผม..เกรงใจอาจารย์ครับ”
“ไม่ต้องหรอกภูมิ ไปพักบ้านครูนั้นแหละดีแล้วจะได้ทีคนช่วยดูแล ที่สำคัญเปลืองเงินเปล่าๆ อยู่ใกล้นี่เอง เดินไม่ถึงห้านาทีก็ถึงโรงเรียนแล้ว นะ...โอเคนะ” ครูดวงใจแสดงความช่วยเหลืออย่างจริงใจ พร้อมกับมีเสียงสนับสนุนสมทบจากคณะครูที่อยู่บริเวณในห้องธุรการ อีกหลายคน


















ตอนที่ 1 บ้านหลังใหม
วันนี่เป็นวันแรกที่ภูมิขนข้าวของสำคัญไม่กี่ชิ้น เข้ามาพักในบ้านเล็กๆชั้นเดียว อย่างที่ครูดวงใจบอก บ้านชั้นเดียว สองห้องนอน บริเวณบ้านตกแต่งด้วยต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับน่าอยู่มากมาย ภูมิสังเกตจากตัวบ้านที่ดูเหมือนกับว่ามีใครสักคนพักอยู่ที่นี่อยู่แล้ว เพราะข้างในบ้านสะอาดสะอ้าน ผ่านการทำความสะอาดดูแลเป็นอย่างดี
“ภูมิ ... ครูลืมบอกไปว่า บ้านหลังนี่ลูกชายครูชอบมานอนเล่น มานั่งทำงานที่นี่แหละ พี่เขาทำงานรับออกแบบบ้าน อาคาร ตึกรามบ้านช่อง นี่แหละ”
“ครับผม”
“พี่เขาชื่อ แซม... อายุมากกว่าภูมิ 3-4 ปีนี่แหละ แซมเป็นคนที่เก่งมากเลยนะ มีบริษัท อสังหาริมทรัพย์หลายบริษัท จ้างแซมออกแบบโครงการบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียมมากมายเลยละ” ครูดวงใจกล่าวถึงลูกชายตน อย่างภาคภูมิใจ
“แล้วภูมิมาพักที่นี่ พี่เขา..เออ..พี่แซมรู้ไหมครับ”
“ครูโทรศัพท์ไปบอกแล้วละ ไม่ต้องเกรงใจนะ พี่แซมเป็นคนง่ายๆ สบายๆ”
“ครับ” ภูมิพูดเสร็จก็ ถอนใจ ยังไงก็ตามภูมิเองก็ยังรู้สึกเกรงใจ และทราบซึ่งในพระคุณของคุณครูดวงใจคนนี้อยู่ดี
เขาเป็นใครลูกเต้าเหล่าใคร นิสัยเป็นเช่นใด เป็นคนดีหรือเปล่าครูดวงใจเองก็ไม่ทราบ ทั้งๆที่ไม่รู้ตัวตนที่แท้จริงแต่ก็ยังมีน้ำใจ
นี้แหละคือน้ำใจของคนไทย ที่ปัจจุบันน้ำใจของคนไทย เพื่อนบ้านเรือนเคียงมีน้อยลง.....
หลังจากที่จัดข้าวของเสร็จ ครูดวงใจก็ขอตัวกลับไปทำธุระต่อ
“เดี่ยวครูไปก่อนนะ ยังไงก็คิดซะว่าบ้านหลังนี่เป็นของภูมิไปเลยนะจ๊ะ เออ ลืมบอกไปพี่แซมเขาไปเล่นบาส เย็นๆถึงกลับ”
“ขอบพระคุณครูดวงใจมากมากครับ”
“จ้า”
กว่าจะจัดข้าวของเสร็จ เล่นเอาเหงื่อแตกซิก เหนื่อยเหมือนกันนะนี่
“เดี่ยวไปอาบน้ำก่อนดีกว่า”
ภูมิอาบน้ำชำระร่างกายเสร็จ ก็รู้สึกสบายตัวมากขึ้น เลยมานั่งอ่านหนังสือที่บริเวณห้องรับแขก ที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกที่ค่อนข้างดีพอสมควร ขณะที่อ่านไปได้ครูหนึ่งสายตาก็ชำเลืองไปเห็นใครคนหนึ่งในรูปภาพ ในชุดครุยขณะที่กำลังเตรียมตัวเข้ารับพระราชทานปริญญา
“หน้าตายังกะพระเอกหนังแนะ”
ภูมิพูดคนเดียวในห้อง วางรูปนั้นวางลงที่ตำแหน่งเดิม แล้วหันมาสนใจกับหนังสือในมือต่อไป
รถจักรยานยนต์เวสป้าคันเท่ห์ ขับเข้ามาในบริเวณบ้าน แซมมักไปออกกำลังกายด้วยการเล่นบาสเก็ตบอลเป็นประจำ เขาถอดเสื้อกีฬาออก เปลือยกายท่อนบน อวดกล้ามเนื้อเครียดตึง บ่ากว้าง ตัวสูงสง่า หน้าท้องแบนราบเป็นลอนกล้ามเนื้อแข็งๆเป็นที่ถูกตาต้องใจสาวๆ มากมายแต่แซมกลับยังไม่คิดที่จะสนใจใครสักคน
ชายหนุ่มก้าวเข้ามาในบ้าน สายตาเหลือบไปเห็นร่างๆหนึ่ง นอนหลับในท่านอนที่อลังการมากมาย (เซกซี่)
ท่อนขาขาวนวล เรียวสวยราวกับแท่งเทียน แสงไฟในบ้าน ส่องแสงกระทบเข้ากับผิวพรรณของร่างที่นอนหลับอยู่
เผยให้ชายหนุ่มพึ่งประจักษ์รับรู้แก่สายตาเป็นครั้งแรกว่า ผิวสวย เป็นอย่างไร
เขาก้าวเข้าไปใกล้มากยิ่งขึ้น มองไปที่ใบหน้าก็ต้องตกใจอย่างมาก
“เฮ้ย.. ไหนแม่บอกว่ามีครูใหม่ ผู้ชายมาพักด้วยนี่หนา แล้วผู้หญิงคนนี่เป็นใคร”
แซมคิดในใจ ขณะที่มองไปยังใบหน้ามนต์ นอนหลับตาสนิท ขนตาหนาเป็นแพยาว ดวงหน้ารูปไข่จมูกโด่ง รับกับพวงแก้มป่องขาวเนียน ริมฝีปากสีชมพูอ่อนเต็มอิ่มระเรื่อ ลำตัวมีส่วนโค้งเว้าระหง ผู้หญิงคนนี้ไม่แต่งหน้า ไม่ตัดโกนคิ้วเหมือนหญิงคนอื่นๆ
แถมยังตัดผมสั้นซะด้วย ชายหนุ่มเหลือบตามองอย่างเพลิดเพลินโดยไม่รู้ตัว จนกระทั้งร่างที่หลับสนิทลืมตาขึ้นมา
“สวัสดีครับ พี่ใช่พี่แซมใช่ไหมครับ” ภูมิรีบลุกขึ้นมายกมือไหว้ สวัสดีชายหนุ่มที่ยืนจ่องมองตนอยู่
“เธอเป็นใคร” แซมไม่ได้ตอบคำถาม แต่กลับเป็นฝ่ายถามสวนกลับซะเอง จนอีกคนทำสีหน้างงงัน
“เธอที่ไหนครับ... ใครหรือครับ.. พี่หมายถึงผมหรือเปล่า” เขาหันหน้ามองซ้ายมองขวา สีหน้าบ่งบอกอย่างชัดเจนโดยไม่มีการเสแสร้งแต่อย่างไร ทำให้แซมเริ่มเอะใจอะไรขึ้นมาบางอย่าง
“อย่าบอกนะว่า เธอคือคนที่คุณแม่ บอกว่าจะมาพักที่นี่”
ภูมิพยักหน้าแทนคำตอบ เล่นเอาซะแซมใจหาย เพราะเคยมีผู้หญิงหลายคนที่จ่องจะจับชายหนุ่มไปครอบครอง
แซมมองสำรวจไปที่ดวงหน้าเนียนอีกครั้ง มีเค้าของความเป็นชายอยู่บ้าง แต่น้อยซะเหลือเกิน
“เธอ...เฮ้ย...นายเป็นกะเทยหรือเปล่า”
“ไม่ใช่ครับ”
ภูมิตอบคำถามที่ถามตรงๆ ซะเหลือเกินอย่างไม่ต้องคิดอะไรมากมาย เพราะใครก็ตามที่ไม่พบคบเคยเห็น รู้จักภูมิ
มาก่อนมักจะเข้าใจผิดแบบนี้เสมอ มันไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะผู้ชายหลายคนเข้าใจผิดยังเคยมาจีบภูมิซะด้วยซ้ำ แต่ภูมิเองรู้แก่ใจตัวเองว่า ตัวเองไม่ได้เป็นคนที่รักชอบเพศเดียวกัน




“แน่นะ” แซมถามอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ
“แน่นอนครับผม”
แซมจ่องมองอย่างละเอียดถี่ยิบ ตั้งแต่หัวจรดเท้า จนกระทั้งหน้าอกของหนุ่มน้อยที่แบนราบ จนแน่ใจว่าไม่ได้โกหก
“โห......” แซมพูดพร้อมกับทำสีหน้าไม่อยากจะเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อ
“อะไรหรือครับ”
“นายเหมือนผู้หญิงมาก เหมือนทอมดี้ หรือก็กะเทยเลยนั้นแหละ”
“ผมไม่ได้เป็นอย่างที่พี่แซมพูดซักอย่างเลยครับ”
“อื้ม....... เชื่อ........พี่เชื่อ...........แล้ว”
“ที่พี่ถามไม่ใช่อะไรหรอก พี่ชอบแบบนั้น ...” แซมพูดทีเล่นทีจริง
“ไหนขอพิสูจน์หน่อย”
“อยู่นิ่งๆนะ”
แซมก้าวเดินเข้าไปอย่างชิดใกล้ พร้อมกับจับตัวภูมิหมุนตัว พร้อมกับลูบคลำตามเนื้อตามตัว บีบแขน บีบขา แกล้งรับน้องใหม่อย่างสนุกสนาน ท้ายสุดก็เอามือใหญ่ขยี้ผม ให้กระเซอะกระเซิง ยุ่งเหยิงแล้วหัวเราะชอบใจ
“พี่แซม ภูมิเจ็บนะ”
“โห..แค่นี่เจ็บ..พี่ทำค่อยๆเอง..”
“ค่อยๆของพี่ แต่กับคนอื่นมันไม่ค่อยนะครับ “
“ได้ ๆงั้นเดี่ยวพี่ทำเบาๆ” แซมพูดแล้วยิ้ม เขาพูดกำกวมซะจนไม่กลัวว่าเพื่อนบ้านจะได้ยินแล้วเข้าใจผิด
ก่อนที่จะบีบแก้มเบาๆ อย่างสุขใจ
“แล้วนี้เรากินอะไรบ้างแล้วยัง”
ภูมิสายหน้า เขายังไม่ได้กินอะไรเลยนอกจากมื้อเช้า และตอนนี้ก็รู้สึกหิวเหมือนกัน
“รอพี่อาบน้ำ 5 นาทีเดี่ยวจะพาออกไปหาอะไรกินที่ตลาดกัน ฉลองรับน้องใหม่” เขาพูดเสร็จก็เปิดประตูห้องของเขาเองที่อยู่ติดๆกัน ครู่หนึ่งก็ออกมาพร้อมกับผ้าขนหนูที่พันกายส่วนล่างเท่านั้น
พี่แซมหุ่นดีจังเลย ทำไมเราไม่เป็นแบบนี่บ้างนะ ...ช่างเหอะ ว่าแต่ว่าพี่แซมชอบแบบนั้นจริงหรือเปล่า ..
ภูมินั่งคิดในใจขณะที่นั่งรอชายหนุ่มชำระร่างกาย ภูมิออกมานั่งรอที่ม้านั่งนอกบ้าน หัวสมองคิดอะไรมากมาย เกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง ที่ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร อนาคตจะดีหรือร้ายแรงขนาดไหน
“ป่ะ” เสียงนั้นออกมาพร้อมกับตัว แซมเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ เขาสวมเสื้อยืดสีขาวกับยีนต์สีซีด เท่ห์มากมาย
“รอแปบนะ” แซมวิ่งเข้าไปในบ้านอีกครั้งเหมือนว่าลืมอะไรบางอย่าง ครูหนึ่งก็ออกมาพร้อมกับเสื้อแขนยาวตัวใหญ่ของเขาเอง
“เดี่ยวภูมิขับรถให้พี่หน่อยนะ จะได้รู้จักถนนหนทางไง”
“ได้ครับ”
“อะ นี่เสื้อใส่ซะ อากาศเย็นเดี่ยวจะไม่สบาย”
ภูมิสวมเสื้อแจ๊กเก็ตสีดำตัวใหญ่ของเขา ที่ตัวใหญ่ยาวจนพ้นชายกางเกงที่ใส่อยู่ มองดูเผินๆเหมือนคนไม่ใส่กางเกงเลย ในขณะที่มัวยืนลังเลอยู่
.............................................................................................................................
ผู้คนในตลาดโต้รุ่ง ต่างเพ่งมองไปยังคู่หนุ่มสาวที่เดินเคียงคู่กัน ในตัวตลาด
“ภูมิช่วยไรพี่อย่างสิ”
ภูมิมองหน้าคนที่เอ๋ยขอร้อง
“ช่วยแสดงตัวเป็นแฟนพี่หน่อย”
“อะไรนะ”
“พี่บอกว่า ช่วยทำตัวเป็นแฟนพี่หน่อย”
“มันจะดีหรือพี่แซม”
“นะ นะ พี่ขอร้อง แล้วพี่จะเล่าให้ฟังทีหลัง”
แซมเดินกอดคอ เดินจับมือภูมิเดินไปทั่วตลาด จนสาวๆที่เห็นเป็นต้องอิจฉาตาร้อนกันเป็นแถบๆ การเดินควงกันครั้งนี้เหมือนเป็นการเปิดตัวคู่รักคู่หวาน ไปในตัว เป็นการประกาศให้ทุกคนรับรู้โดยทั่วกันไปเลยทีเดียว
“ภูมิเลยกลายเป็นไม้เลย เฮื้อ!!”
“หือ” อีกฝ่ายทำหน้างงขณะที่กำลังหยิบแก้วน้ำดื่ม หลังจากที่อิ่มท้อง
“ไม้กันหมาไง แม่สาวๆพวกนั้นไม่รุมทำร้ายภูมิแย่เหรอ” ภูมิเอ๋ยด้วยสีหน้าทุกข์ร้อนใจยิ่งนัก ตรงข้ามกับแซมที่หัวเราะออกมาอย่างชอบใจ
“เดี่ยวพี่จะคุ้มครองน้องเอง ที่รักของพี่” ชายหนุ่มพูดไปพลางหัวเราะไป อย่างขำขำ แต่ภูมินี่สิไม่ขำด้วย นั่งหน้าเครียดจัด
“คิดมากน้า ไอ้เจ้าภูมิ พี่นะชายแท้ พี่มีคนรักแล้วตอนนี้เรียนอยู่ที่เมืองนอก กลับมาเราก็จะแต่งงานกันมีลูกซัก 11 คนเป็นทีมฟุตบอลเลย” แซมพูดขณะที่เดินเลือกซื้อของใช้ที่จะเป็นสำหรับสมาชิกในบ้านคนใหม่ ในมินิมาร์ท
ภูมิเดินมาหยุดอยู่ที่กระจกบานใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้ทั้งตัว ดูสารรูปตัวเองในกระจกเงา แซมเห็นภูมิยืนอยู่หน้ากระจกเป็นนาน เลยเดินเข้ามา
“หล่อแล้ว” แซมให้กำลังใจ เด็กหนุ่มที่มีสีหน้าเครียด เมือมองเห็นสารรูปของตัวเองในกระจกเงา
“ป่ะ ..กลับบ้านกัน” เขาพูดพร้อมกับเอามือขยี้ผมให้ยุ่งเหยิงกระเซอะกระเซิง พร้อมกับยิ้มหัวเราะชอบใจ
“สาวเกาหลี” ผู้คนที่พบเห็นต่างต้องพูดออกมาเป็นเสียงเดียวกันแน่ ว่าภูมิเป็นสาวเกาหลี น่ารักซะน่ามอง
..........................
ขากลับแซมทำหน้าที่เป็นคนขับรถ ไม่ถึง 5 นาทีก็ถึงบ้าน เล่นเอาซะจนภูมิแปลกใจ
“พี่... พี่แกล้งภูมิตลอดเลยนะ” ภูมิตัดพ้อขณะที่วางของใช้ส่วนตัวที่ซื้อมา วางลงบนโต๊ะ
“แกล้ง เกลิ้อง อะไรกัน”
“เนียนมากเลย พี่แซม.....ตลาดอยู่ใกล้แค่นี่เอง ขาไปให้ภูมิขับอ้อมเป็นชั่วโมง”
“ฮ่าๆๆๆๆ ทำไมไม่คิดว่าพี่อยากให้ภูมิรู้จักถนนหนทาง แถวนี่บ้างละ คิดบวกเป็นไหม”
“อื้มๆ ครับๆ บวกก็บวก” ภูมิพูดพร้อมกับเตรียมจะเปิดประตูห้องนอน แต่ต้องชะงัก เมื่อต้นแขนถูกมือใหญ่แข็งแรง รั้งเอาไว้ซะก่อน พร้อมกับส่งสายตากวนๆ
“มานอนด้วยกันข้างนอกไหม นอนในห้องอึดอัดนะ ต้นไม้ในบ้านมีเยอะ ครูวิทยาศาสตร์น่าจะรู้นะว่าต้นไม้คายก๊าซอะไรในตอนกลางคืน”
“แล้วปกติพี่นอนตรงไหน”
“นอนหน้าทีวีไง”
ภูมิมองไปยังหลังตู้ที่มีชุดเครื่องนอนคุณภาพดี พับเก็บไว้หลังตู้
“หุหุ.....ภูมิว่าภูมินอนในห้องดีกว่า”
“ตามใจแล้วกัน แล้วอย่าหาว่าพี่ไม่บอกน้า........”
********************************************************************************************




ภูมินอนหลับกระสับกระส่ายไปมา รู้สึกตัวอีกที ก็อยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง.....ที่นี่ช่างน่ากลัวเหลือเกิน
“เฮ้ย” ภูมิตกใจ ก้าวถอยหลังอย่างหวาดผวา สิ่งสิ่งหนึ่งที่มองดู เป็นปีศาจร้ายตนหนึ่งที่น่ากลัวเหลือเกิน
มันมีแววตาที่เกรี้ยวกราด...หน้าตาขาวซีดเผือดเหี่ยวย่น ดวงตามีสีแดงคม.... ส่งเสียงแผดร้องดังก่องไปทั่วท้องบริเวณแห่งนั้น มันพุ่งหน้ามา ภูมิอยากจะวิ่งหนีมันเสียให้พ้นๆ แต่ทำไมขาทั้งสองไม่เป็นใจเลย อยากจะวิ่งแต่ก็วิ่งไม่ได้ ได้แต่กระเถิบร่างตัวเองถอยหนี
ปีศาจร้ายเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ทุกที ยิ่งเข้ามาใกล้เท่าไร รูปร่างหน้าตาของมันก็เผยรูปลักษณ์อันน่าเกลียดน่ากลัว เป็นเท่าตัว
“ช่วยด้วย ช่วยด้วย” เสียงตะโกนขอความช่วยเหลือดังก้องไปทั่วแต่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะมีใครสักคนมาช่วยเลย
“เลือด เลือด ข้าอยากกินเลือด” เสียงแจ๊ดๆแสบแก้วหู เป็นเสียงร้องของปีศาจร้ายตนนั้น
“เจ้าหนุ่มน้อย ทำไมตัวเจ้าช่างน่ากินซะเหลือเกิน เลือดของเจ้าคงเข้มข้น หวานกลมกล่อมเป็นแน่แท้ ฮ้าๆๆ”
ปีศาจร้ายตนนั้นพูด พร้อมกับแผดเสียงร้องดังก้องไปทั่ว ช่างน่ากลัวซะเหลือเกิน
“ได้โปรดเถิด อย่าทำอะไรผมเลย”
“ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า เจ้าจะร้องขอความช่วยเหลือ ให้มากความไปทำไม ยังไงซะ เจ้าก็ต้องเป็นอาหารของข้า”
พูดเสร็จ ปีศาจร้ายก็แผดเสียงร้องดังก่องกังวานไปทั่ว
“อย่า อย่า” ภูมิร้องตะโกนอย่างสุดเสียง
“ภูมิ..ภูมิ...เป็นอะไรหรือเปล่า”
เสียงเคาะประตูห้อง ถูกเคาะอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีวี่แววว่า คนในห้องนอนจะตื่น แซมตัดสินใจนำกุญแจห้องสำรองที่เก็บเอาไว้
ไขประตูห้องเข้าไป ภาพที่เห็นทำให้ชายหนุ่มหัวเราะชอบใจเป็นที่สุด ชายหนุ่มยื่นมือของตนตบที่แก้มของภูมิเบาๆ ครูหนึ่งร่างที่กำลังหลับตาสนิท นอนกระสับกระส่ายดิ้นไปดิ้นมาก็ลืมตาขึ้น
“เป็นไงบ้าง .. ร้องซะดังลั่นบ้านไปหมด”
ภูมิค่อยๆลืมตาขึ้น บุคคลที่อยู่ตรงหน้าเป็นบุคคลที่คุ้นหน้าคุ้นตาเหลือเกิน ภูมิค่อยๆ เรียกสติกลับคืนมา
“พี่แซม” ภูมิพูดเสร็จก็ลุกขึ้นสองมือคว้าลำตัวของแซมกอดกุมซบหน้าที่แผ่นหลังของชายหนุ่ม เหมือนว่าเป็นเกราะกำบังตนอย่างดี
“ภูมิ ... ตื่นได้แล้ว ..ฝันร้ายนะเรานิ” แซมเรียกสติของภูมิให้กลับคืนมา มือลูบหัวและเนื้อตัวของเด็กหนุ่มไปมา
“ฝัน... ฝันเหรอ....” สองมือที่โอบกอดซบหน้าที่แผ่นหลังของชายหนุ่ม ผละออกอย่างรวดเร็ว หากแต่อีกฝ่ายกลับไม่ยอมปล่อยลำแขนที่กอดกลับ



ภูมิมีความรู้สึกอาย มือทั้งสองของภูมิ แกะมือของชายหนุ่มที่กอดกุมร่างของตนไว้ออกจากตัว
“ฮ้า ๆๆๆ ฝันเห็นอะไรเหรอภูมิ”
“ฝันร้ายอะพี่”
“อื้ม.. ฝันน่ากลัวมากไหม”
ภูมิมองไปที่อีกฝ่ายที่กำลังหัวเราะชอบใจ กับอาการวิตกกังวล หวาดกลัวของตน
“ไม่ตลกนะพี่”
“ตลกดิ” แซมพูดไป หัวเราะไป
จนภูมิต้องเมินหน้าหนี มีสีหน้างอน ไม่ชอบใจที่มีคนมาหัวเราะเยาะ ร่างบางลุกขึ้นก้าวเดินไปยังห้องน้ำล้างหน้าล้างตา แล้วเดินกลับมาที่ห้องนอนของตนอีกครั้ง เวลาพึ่งผ่านมาไม่นานนี่เองแสดงว่าทันทีที่เข้านอน แล้วก็หลับภูมิก็ฝันร้ายทันทีเลยหรือนี่
แล้วนี่จะกล้านอนต่อไหมหนอ คืนแรกก็ฝันร้ายซะแล้ว คิดไปคิดมาภูมิก็ทอดตัวลงนั่งบนเตียงนอน ซึ่งตอนนี่โล่งปราศจากเครื่องนอน หมอน ผ้าห่ม แม้แต่ชิ้นเดียว ภูมิรู้ทันทีว่าใครเป็นคนย้ายไป
ประตูห้องถูกเปิดอีกครั้ง พร้อมกับร่างของเด็กหนุ่มนามว่านายภูมิ ยืนมองมาที่ตน แซมแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ชายหนุ่มเปิดโคมไฟเล็กๆ นั่งทำงานของตน
ภูมิก้าวเดินช้าๆ ไปยังพื้นที่ที่แซมจัดใช้เป็นที่นอน ก็พบชุดเครื่องนอนของตนถูกปูวางไว้ข้างๆแนบชิดกันกับชุดเครื่องนอนของพี่เขา ภูมิไม่พูดอะไรต่อไปทิ้งตัวลงนอนบนที่นอนที่แซมจัดไว้ให้ หัวถึงหมอนไม่นานก็หลับไปอีกครั้ง......หลับสนิทและฝันอีกครั้ง หากแต่คราวนี่เปลี่ยนจากฝันร้ายกลายเป็นฝันหวานแทน
แซมนั่งทำงานของตนเองไปเรื่อยๆ พร้อมๆกับชำเลืองมองไปที่ร่างที่หลับสนิทนอนด้วยท่านอนที่..........
ครู่หนึ่งเขาก็เก็บงานของตน เตรียมตัวเข้านอน แซมถอดเสื้อยืดที่ใส่ออก เขาชอบนอนถอดเสื้อ เพราะว่ามันเย็นสบาย โล่งตัวดี
แล้วชายหนุ่มก็ทิ้งตัวลงนอนเคียงข้าง กลิ่นหอมจางๆ ของคนที่นอนข้างๆ กระตุ้นต่อมประสาทส่วนหนึ่งในกายของชายหนุ่ม อย่างที่แซมไม่เคยรู้สึกแบบนี่มาก่อน ยามใดที่ภูมินอนขยับตัว ไปสัมผัสกับกายของชายหนุ่ม ยิ่งเพิ่มความรู้สึกพิเศษตามธรรมชาติเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เนื้อตัวของภูมิ นุ่มเนียนมากมาก ก็ผิวเขาสวยนี่หนา แต่แปลกที่เป็นผู้ชายเท่านั้นเอง ถ้าเป็นสตรีเพศ แซมคงไม่ปล่อยให้เธอนอนลอยนวลเป็นแน่แท่







ตอนที่ 2. มากมาย
แสงแดดยามเช้า ส่องแสงผ่านม้านหน้าต่าง กระทบกับเปลือกตาของภูมิ
“เข้าแล้วหรือนี่” ภูมิคิดในใจ เตรียมตัวที่จะลุกขึ้นนอน แต่ก็ต้องตกใจในสภาพการนอนของตนเอง ภูมินอนตะแคง มือข้างหนึ่งของตัวเองพาดวางไว้ที่บริเวณอกกว้างของเขา โดยมีมือของแซมกุมมือนั้นไว้อย่างอ่อนโยน
“กรรม!! นี่เรานอนกอดพี่แซมทั้งคืนเลยหรือนี่”
ว่าแล้วภูมิก็ค่อยๆ แกะมือออกจากการกุมมือของเขาออกอย่างเบามือ รู้สึกหัวใจเต้นแรงขึ้นอย่างหวั่นไหว
****************************************************************************************
วันนี่ภูมิขอตัวออกไปทำธุระ โดยที่แซมเองขออาสาพาไป แต่ภูมิก็ปฏิเสธ กลัวว่าตัวเองจะโดนพี่ชายคนนี่แกล้งอีกเหมือนตอนที่อยู่ในตลาด
เสียงโทรศัพท์บ้านดังขึ้นมา คุณครูดวงใจนั้นเองโทรมา แซมกำลังนั่งเขียนแบบบ้านอยู่ ก็ลุกขึ้น
“ว่าไงแซม น้องเขาเป็นยังไงบ้าง”
“ก็ดีครับ น่ารักดี มาตอนแรกนึกว่าผู้หญิง”
“น่ารักแบบไหน เรานิ พูดจาแปลกๆ น้องเขาเป็นผู้ชายจริงๆ ”
“แซมหมายถึง นิสัยน่ารักนะครับแม่”
“ยังไงก็ฝากดูแลน้องหน่อยนะ แล้วอย่าไปแกล้งเขาละ”
“ครับผม ผมจะดูแลอย่างดีเลยครับ”
“เดี่ยวเหอะ... แม่หวังว่าแม่คงไม่ได้นำปลาย่างไปให้แมวนะ ”
“ไม่หรอกครับ ผมไม่ใช่คนแบบนั้นซะหน่อย”
“ก็ดี งั้นแค่นี่ก่อนนะ แม่จะไปทำธุระซะหน่อย”
“ครับผม”
สิ้นเสียงจากการวางสายโทรศัพท์ ชายหนุ่มก็กลับมานั่งทำงานของตัวเองต่อ ซึ่งใกล้จะเสร็จแล้ว
ทำงานไปก็คิดถึงคำพูดของผู้เป็นแม่ไป ที่กำชับตน แซมมองไปที่ประตูบ้าน ไม่มีวี่แววว่าคุณครูน้องภูมิจะกลับมาซะที






ตอนที่ 3.พี่ชายที่แสนดี
ระหว่างที่นั่งออกแบบโครงสร้างตึกอยู่ ครูหนึ่งต้องหันหน้ามองไปที่ประตูบ้าน นับสิบครั้ง รอคอยการกลับมาของเจ้าน้องชาย ชายหนุ่มมีความรู้สึกดีที่มีใครสักคนมาเป็นเพื่อนของเขา ในฐานะน้องหรือเพื่อน ……
บ่ายโมงกว่าๆ ประตูบ้านก็ถูกเปิด พร้อมกับร่างของภูมิ ซึ่งแซมมองไปในระยะไกล ผิวกาย รูปร่าง ทรงผมของเด็กคนนี่ ทำให้หัวใจหนุ่มเต้นกระชุ่มกระชวยขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก
“ไปไหนมาทำไมกลับมาซะนานขนาดนี่.... ภูมิ” แซมส่งเสียงเข้มดุ จนคนที่ได้ยินถึงกับหยุดนิ่ง
“ไปหาซื้อของใช้ส่วนตัวครับ” ภูมิกล่าวออกไปอย่างคนสำนึกผิด
“ภูมิขอโทษนะครับที่ไปข้างนอกนานไปหน่อย”
“อื้ม” แซมส่งเสียงซีเรียส ทั้งๆที่ในใจอยากจะหัวเราะ
“ภูมิขอตัวไปอาบน้ำก่อนนะครับ”
ภูมิเดินเข้าห้องของตน ด้วยความรู้สึกผิดมากมาก เราเป็นเพียงแค่คนอาศัยไม่น่าจะทำให้เจ้าของบ้านต้องมาเดือดร้อน นี่แหละคือปัญหา ที่ภูมิเองปฏิเสธการมาพักที่บ้านของครูดวงใจ แต่ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้ภูมิต้องอยู่ที่นี่ เด็กหนุ่มสัญญาว่า จะไม่ทำให้ตัวเองเป็นต้นเหตุของความวุ่นวายอีก
แซมมองไปยังร่างๆหนึ่งที่กำลังเดินมาที่ตน เสื้อยืดธรรมดาสีขาวกับกางเกงขาสั้น ทรงผมบ๊อบที่พึ่งเสร็จจากการสระ
มาใหม่ๆ ยังไม่แห้งดี ยุ่งเหยิงเล็กน้อย ของเจ้าน้องชาย
ภูมิเดินมาเห็นชายหนุ่ม มองตัวเองตั้งแต่หัวจรดเท้า จึงก้มสำรวจตัวเองเป็นการใหญ่
“ภูมิมีอะไรผิดปกติหรือเปล่าครับพี่แซม”
“มี”
“อะไรครับ ตรงไหน” พูดไปก็ก้มสำรวจดูตัวเองเป็นการใหญ่ หมุนตัวซ้ายขวา
“พี่พูดเล่น ไม่มีอะไรผิดปกติหรอก” แซมหัวเราะยิ้ม
รอยยิ้มที่หน้าคมเข้ม ทำให้ชายหนุ่มดูหล่อมากขึ้นเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว .ร่างสูงสง่าในเสื้อยืดสีขาว ช่างเข้ากับยีนส์สีกรมเข้มตัวนี้เหลือเกิน อาจเป็นเพราะว่ามีพื้นฐานดีอยู่แล้ว ภูมิดีใจที่พี่แซมยิ้มได้ เพราะก่อนหน้านี่ยังทำเสียงซีเรียส ดุดุ
“ภูมิกวนหรือเปล่า”
“ไม่นิ ดีออก มีเพื่อนคุย”
แซมมองไปยังน้องชายของตนเอง ที่กำลังนั่งลงใกล้ๆ
“ภูมิขอโทษนะครับ ที่ไม่ได้เก็บที่นอน”
“ไม่เป็นไร พี่รู้ว่าภูมิคงกลัวว่าจะทำให้พี่ตื่น ใช่ไหม”
“แหม พี่แซมนี่น่ารักจังเลยนะครับ ไม่น่าละ สาวสาวถึงได้มองตาไม่กะพริบ”
ภูมิกล่าวชมพี่ชายอย่างจริงใจ พร้อมๆกับทิ้งตัวลงนอนเล่นใกล้ๆกับแซม บนเสื้อกกผืนใหญ่ที่ถูกปูไว้อยู่แล้ว โดยหารู้ไม่ว่าการนอนเล่นของตนเอง อวดรูปร่างอรชร แขนขาวขาว ขาเนียนเนียน ที่ยกขึ้นไปมา ท่วงท่านอนที่พลิกตัวไปมา มันช่างดูสวยงามราวกับดอกไม้ไหวยามปะทะกับสายลมพลิ้ว
ชายหนุ่มหลบสายตามองไปที่แผนงานของตนทันที ที่ภูมิหันหน้ามาที่ตน
“พี่แซมมีอะไรให้ภูมิช่วยไหม”
“ไม่ดีกว่า พี่ว่าเรานอนเล่นไปเถอะ”
“แต่ภูมิอยากช่วยพี่จริงๆนะ นอนเฉยๆน่าเบื่อออก”
“ว่างนักเหรอไง” เขาตอบในขณะที่ตายังมองไปที่แผนงานอยู่ และดูเหมือนจะก้มหน้าก้มตา วาดขีดเขียนอะไรต่อมิอะไรวุ่นวายไปหมด
“ก็อีกตั้งหลายวัน ถึงจะเปิดเทอม”
“แน่ใจนะว่าจะช่วยพี่จริง”
“แน่ใจ”
“สัญญา”
“โอ้โห พี่แซมถึงกับต้องสัญญาเลยหรือนี่ ได้สิครับ สัญญาก็สัญญา”
“งั้นนอนรอแปบหนึ่ง” แซมนั่งทำงานตรวจดูรายละเอียดแบบโครงสร้างบ้านจัดสรร อยู่ครู่หนึ่งก็เก็บอุปกรณ์ทำงานไปเก็บ พร้อมกับเดินกลับมา ในมือถือหมอนใบหนึ่ง เขาขยับตัวเข้าไปนอนคู่กันแบบชิดใกล้ ซะจนภูมิต้องขยับตัวลุกขึ้น
“มะ ได้เวลาทำตามสัญญาแล้ว” พูดยังไม่ทันขาดคำ ชายหนุ่มก็ถอดเสื้อยืดของตัวเองออก นอนคว่ำหน้าฟุบลงที่หมอนนุ่ม
มองไปยังใบหน้าเนียน ที่ทำหน้างงงันอยู่
“นวดให้พี่หน่อย”
“นวด” ภูมิย้อนถามเพื่อความนั่นใจ
“นวดหลังให้พี่หน่อย นวดให้ทั่วๆเลยนะ ทุกส่วนเลยยิ่งดี”
“ครับ”
กว่าที่จะตัดสินใจนำมือของตนเองเข้าไปสัมผัส บีบเค้น นวดผิวกายที่แน่นเครียดไปด้วยกล้ามเนื้อ ภูมิต้องตั้งสมาธิก่อน
มือน้อยๆ พยายามบีบนวดที่ที่หลัง บ่ากว้าง ช่วงเอว ให้มีน้ำหนักมากที่สุด
“เอาตรงนั้นแรงๆหน่อยๆ
“อะ ดีดี”
ครู่หนึ่งภูมิก็ต้องหยุดพัก การบีบนวด การเป็นหมอนวดจำเป็นคราวนี่ เล่นเอาซะนิ้วมือชาไปหมด
“ภูมิพักแปบนะพี่ ตัวพี่แข็งจังเลย “
“พี่ก็ตัวแข็งทั้งตัวนั้นแหละ ยกเว้นใจ”
“พี่แซมกำลังจะบอกว่า ใจอ่อน ใช่ไหม หุหุ มุขนี้แป๊กนะพี่ ”ภูมิยิ้มชอบใจ
“รู้ใจพี่ดีจังเลยเนาะ” แซมพูดพร้อมกับหันหน้ามามอง คนที่กำลังยิ้มเล็กยิ้มน้อยต้องหุบปาก เลิกยิ้มทันที
แซมพลิกตัวนอนหงาย พร้อมกับเอามือชี้มาที่อกของตัวเอง เป็นสัญญานบอกว่า ได้เวลานวดตัวด้านหน้าแล้ว
ภูมิเริ่มทำการนวดให้คุณพี่ชายอีกครั้ง ไล่จากนิ้วมือยาว แขน ไหล ทั้งสองข้าง ไปมาหลายรอบ
แล้วหยุดนิ่ง แต่อีกฝ่ายกลับชี้นิ้วไปที่อกกว้าง เป็นสัญญานบอกอีกครั้งว่า ต้องนวดอกกว้าง ตลอดจนหน้าทอง เอวของเขาด้วย
“โห...พี่แซมมีตังจ่ายค่านวด เปล่า”
“โหหหหห ภูมิรู้ตัวไหมว่าเป็นคนโชคดีมากเลยนะ ที่ได้สัมผัสลูบคลำเนื้อตัวคนหล่อหล่ออย่างพี่”
“หุหุ แสดงว่ามีสาวๆหลายคนจองตัวอยากนวดพี่แหงๆ”
“แต่พี่เลือกภูมินะ” แซมพูดเป็นนัยๆแฝงไปด้วยความหมายหลายอย่าง แต่คนที่ฟังนี่สิ กลับไม่รับรู้อะไรเลย
มิน่าละ ครูดวงใจหรือว่าแม่ของแซมถึงได้กำชับนักหนา “ดูแลน้องดีดีนะ” ชายหนุ่มคิดไปถึงคำสั่งของแม่
“อยากได้หุ่นแบบพี่แซมจังเลย”
“ทำไมเหรอ” ชายหนุ่มถามขณะที่มองมือนุ่ม ที่กำลังบีบนวดที่บริเวณหน้าท้อง และเอวของตนเอง ซึ่งสร้างความรู้สึกพิเศษตามประสาชายหนุ่มขึ้นมาห้ามใจตัวเองไม่ได้ แต่ก็ต้องข่มมันไว้
“อยากได้หุ่นพี่เหรอ งั้นเอาไปเลย พี่ยกให้”
“เอาได้ก็ดีสิ” ภูมิพูดพลางน้อยใจชีวิตตัวเองที่เกิดมารูปกายไม่สมชายชาตรี แต่กลับเหมือนสตรีเพศแทน
“ได้สิ ทำไมจะไม่ได้”
“พูดเป็นการ์ตูนไปได้พี่แซม”
“หุ่นของพี่ พี่ยกให้ภูมิ แต่หุ่นของภูมิพี่ขอนะ เรามาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน”
คำพูดที่กำกวนแฝงไปด้วยความหมายหลายอย่างของชายหนุ่มได้ผล เมื่ออีกฝ่ายมีสีหน้าวิตกกังวล
ภูมิไม่อยากได้แล้ว ...พี่แซมชอบแกล้งภูมิอยู่เรื่อยเลย”
“ก็เพราะว่าพี่ชอบไง พี่ถึงได้แกล้ง”
“อื้ม” ภูมิพูดในลำคอ เพิ่มแรงนวดสุดแรง บีบไปที่หน้าทองแข็งๆของชายหนุ่มอย่างแรง
“โอ๊ย” แซมร้องออกมาด้วยความเจ็บ ตาจ่องมองยังอีกฝ่ายที่กำลังหัวเราะชอบใจ
“แกล้งพี่ใช่ไหม”
“อ้าว ทีพี่ยังแกล้งภูมิได้ ภูมิขอคืนบ้างไม่ได้หรือครับ หุหุ” ภูมิหัวเราะชอบใจ
หน้าท้องของแซมตอนนี้มีรอยเขียวช้ำเล็กน้อย แซมเลยคิดที่จะเอาคืน แกล้งเจ้าน้องชายแสนซื่อคนนี้ซักหน่อย
“ภูมิพี่นวดให้ไหม”
“ไม่เป็นไรครับพี่ ภูมิไม่เมื่อย”
ภูมิพูดเสร็จก็ลุกขึ้นวิ่งหนีทันที รู้ทันว่าแซมต้องแกล้งคืนแหงๆ ทำให้แซมต้อง นั่งเซ็ง ได้แต่นอนมองดูเจ้าน้องชายรดน้ำต้นไม้ พร้อมๆกับเล่นน้ำไปด้วย ในบ้านอย่างเพลิดเพลินตา
*************************************************
“ภูมิ...ไปดูพี่เล่นบาสไหม”
“ที่ไหนเหรอพี่”
“ก็ที่สนามกีฬากลาง นะ ไปด้วยกันนะ”
“ได้ๆ แต่ภูมิไม่มีชุดกีฬาอะ”
“ไม่เห็นเป็นไร ไปชุดนี่ก็ได้ป่ะ”
แซมพูดเสร็จก็เดินเข้าไปในห้องของเขา ครูหนึ่งก็ออกมาพร้อมกับเสื้อแจ๊คเก็ต ตัวโตที่สวมเมื่อวาน ยื่นให้กับภูมิ
“ใส่ซะ เดี่ยวจะดำ แล้วก็นี่ด้วยแว่นตาดำ”
“ทำไมต้องใส่แว่นตาด้วยละพี่แซม”
“ภูมิไม่รู้ตัวเหรอ ภูมิเหมือนผู้หญิงมากขนาดไหน พี่อยากขับรถซ้อนสาวสวย อวดชาวบ้านเขาซักหน่อย”
“ฮ่าๆๆๆ เล่นงี้เลยเหรอพี่”
“อื้ม”
“ภูมิควรจะดีใจหรือเสียใจกันแน่ละเนี้ยะ”
“เหอะน่า”
************************************************************************
“แซมได้สาวที่ไหนมาว่ะ น่ารักว่ะ”
แซมไม่ตอบ แต่กลับยิ้มให้กับสมาชิกเพื่อนพี่น้องชาวบาสเก็ตบอล เท่านั้นพร้อมกับมองไปยังใครคนหนึ่ง
ตัวขาวๆ ใส่แวนตาดำ ทรงผมบ๊อบสั้น สวมเสื้อแจ๊กเก็ตสีดำ นั่งอ่านหนังสืออยู่บนสแตนเชียร์ นานนานทีก็พักหน้าหนังสือไว้มองคนเล่นบาส อย่างคล่องแคล่ว
ฟ้าเริ่มมืด ทั้งสองก็ไปกินข้าวเย็นที่ตลาดกัน
“ภูมิขับดีกว่า เดี่ยวเหม็นเหงื่อพี่”
“ภูมิกำลังจะบอกพี่พอดี ว่าภูมิขอขับเอง” ภูมิพูดพร้อมกับขับรถมุ่งหน้าไปตลาดโต้รุ่ง
“ร้ายนักนะเรา”
“ร้ายแรงสูงเลยละพี่แซม พี่ยังไม่รู้เหรอ”
“เออ...ตั้งใจขับไป..อย่าโม้”
บรรยากาศตลาดโต้รุ้ง ที่เป็นธรรมชาติ ต้นไม่เขียวขจี น้อยใหญ่ยังมีอยู่ให้พบเห็น ผู้คนที่เดินผ่านไปมา ต่างมองมาที่คู่หนุ่มสาวคู่นี่ ที่เหมาะสมกันยังกะกิ่งทองใบหยก พูดคุยกันอย่างสนิทสนม
“พี่แซม ไม่ต้องพูดใกล้ๆหูภูมิก็ได้ มันจั๊กกะจี่” ภูมิบอกขณะที่กินข้าวอิ่มท้องเรียบร้อย
“จักกะจี่ หรือ เสียวกันแน่” แซมพูดไปมองไป ทำตายั่วยวน
“คือ ภูมิเหม็นปากพี่อะ” ภูมิสวนกลับทันที เล่นเอาอีกฝ่ายอึ้งพูดไม่ออก เมื่อโดนประโยคนี่
หลังจากที่จัดการกับอาหารเย็นเรียบร้อย ทั้งสองก็ขับรถกลับบ้าน และตกดึก ก็นอนด้วยกันหน้าทีวีจอแบนขนาดใหญ่ ที่เดิม และเช่นเคย ทันทีที่หัวถึงหมอน ก็หลับทันที ปล่อยให้ชายหนุ่มนอนกระสับกระส่าย เขาอยากจะกอดคนที่นอนข้างๆเป็นที่สุด แต่กลัวว่าไก่จะตื่น วิ่งหนีกลับบ้านไปซะก่อน ที่ทำได้ก็แค่เพียงนอนมองเท่านั้น แซมรู้ดีว่าภูมิชอบนอนกอดหมอนข้าง
จึงนำหมอนข้าง ขว้างไปที่อื่นแล้วขยับตัวเข้าใกล้ เอาตัวเองเป็นหมอนข้างแทน จนเช้า
กาลเวลาผ่านไปนานวันเข้า ยิ่งสร้างความผูกพันให้กับคนทั้งสอง โดยเฉพาะชายหนุ่ม ที่รู้สึกสุขใจที่ได้อยู่ใกล้ ..”ภูมิ”






ตอนที่ ..5. ระยะทางพิสูจน์รัก เวลาพิสูจน์ใจ ใครรักใคร (งง)
เช้านี้เป็นเช้าที่สองพี่น้องตื่นสายมากที่สุด หลังจากที่เมื่อคืนไปเช่าหนังผีมาดูซะจนตีสี่กว่าๆ
แซมลืมตาขึ้นมามองคนที่นอนข้างๆ ซึ่งเช้านี่ภูมิไม่ได้นอนกอดแซมเหมือนทุกที แต่เปลี่ยนจากมือเป็นขาแทน ขาขาวขาวเรียวสวยพาดทับตัวแซมไว้ ชายหนุ่มไม่กล้าแม้แต่กระดิกเนื้อกระดิกตัว กลัวว่าภูมิจะตื่นนั้นเอง จึงนอนเล่นต่อไปแต่ดูเหมือนยิ่งนอนนานขึ้น อารมณ์อย่างหนึ่งก็ก่อตัวขึ้นกับชายหนุ่มขึ้นมาอย่างมากมาย
แซมจับขาของน้องชายออกจากตัว แล้วลุกขึ้นออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ และอีกเหตุผลหนึ่งเพื่อลบล้างอารมณ์รักให้ซาไป ครู่หนึ่งชายหนุ่มก็ไปอาบน้ำชำระร่างกาย ออกจากห้องน้ำก็ไม่พบเจ้าน้องชายอีก ชุดเครื่องนอนถูกพับเก็บไว้เรียบร้อย
แซมเดินเข้าไปเปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องของตนเรียบร้อยก็ออกมานั่งดูทีวี
“พี่แซม”
“ว่าไง” แซมขานรับเสียงเรียกที่ดังมาจากในห้องน้ำ
“พี่ช่วยหยิบผ้าขนหนูให้ภูมิหน่อยสิ”
“ลืมละสิ” แซมพูดพร้อมกับเดินก้าวเข้าไปในห้องส่วนตัวของภูมิ หยิบผ้าขนหนูผืนใหญ่ สายตามองไปเห็นเป้ใบหนึ่ง ที่ถูกแพ๊กไว้เป็นอย่างดี ต่อมสงสัยทำงานขึ้นมาทันที
“อะ ภูมิ เปิดประตูสิ”
ภูมิเปิดประตูแง้มๆ มาเล็กน้อย โผล่ออกมาแค่เพียงหัว ส่วนลำตัวแอบหลบไว้หลังประตู
“อายไร.... ผู้ชายด้วยกัน” แซมพูดพร้อมกับแกล้งดันประตูห้องน้ำ เล่นเอาอีกฝ่ายร้องจ๊าก
แซมหัวเราะชอบใจ เขายื่นผ้าขนหนูให้แล้วกลับมานั่งดูทีวีคืน ครูหนึ่งภูมิก็ออกมา ผ้าขนหนูผืนใหญ่มาก สามารถคลุมได้ทั้งตัววิ่งเข้าไปในห้องอย่างรวดเร็ว
“พี่แซม ... พี่ไปส่งภูมิที่ท่ารถได้ไหม”
“จะหนีพี่ไปไหน”
“ก็ภูมิเบื่อหน้าพี่นี่หนา .... พี่เองก็คงจะเบื่อภูมิเหมือนกันละมั่ง”
“ใครว่าละ ภูมิคือความสุขของพี่W
“โอ้โห... พูดยังกะพระเอกละครทีวีแนะ อยากรู้จังเลยว่านางเอกคือใครกันหนอ”
“ภูมิไง”
“ฮ่าๆๆๆๆ พี่แซมนี่ชอบพูดเล่นตลกอยู่เรื่อยเลย ...ไปเถอะภูมิพร้อมแล้ว” ภูมิยืนสะพายกระเป๋าเตรียมพร้อมที่จะเดินทาง
เสื้อยืดสีดำ กับยีนขาเดบ สวมหมวกแก๊ป มองดูแล้วดูน่ารักไปอีกแบบ เหมือนผู้หญิงที่ปลอมตัวเป็นผู้ชายยังไงยังงั้น
ชายหนุ่มมองไปที่ร่างบางที่ยืนรอ ใจหายไปเลยทีเดียวอยู่ๆ ก็จะไปไหนก็ไม่รู้ไม่บอกกล่าว ล่วงหน้า
“สวมเสื้อตัวนี่ซะ อากาศเย็นเดียวจะไม่สบายเอา”
แซมยื่นเสื้อแจ๊คเก็ต ตัวเดิมให้กับภูมิ
“เกรงใจจังเลยอะพี่แซม เสื้อตัวนี่ภูมิยึดเลยละกาน”
“ได้เลย แต่ภูมิต้องเอาตัวภูมิมาแลกนะ” ชายหนุ่มพูดจากำกวมอีกแล้วเล่นเอาแซม งงกับคำพูดของพี่ชาย
“พี่หมายถึง อย่าหนีพี่ไปไหนก็พอ”
“อ๋อ ... นึกว่าอะไร พี่นิ..ชอบพูดอะไรงง งง อยู่เรื่อยเลย”
แซมยิ้มให้กับภูมิ พร้อมกับขับรถไปยังท่ารถ เช่นเคยภูมิเป็นคนขับ
“จะไปไหนเหรอ” ชายหนุ่มเอ๋ยถามแนบชิดกับใบหู จนภูมิต้องยกไหล่ขึ้นมาด้วยความจั๊กกะจี่
“ภูมิจะไปบ้านไปหาแม่ซะหน่อย”
“ไปกี่วัน”
“พี่แซมอะ............... ภูมิหูหนวกพี่รับผิดชอบนะ............. เดี่ยวเหอะ........ไปประมาณสองสามวัน”
แซมมีสีหน้าเศร้าลงไปในทันที ชายหนุ่มนั่งนิ่งเงียบจนถึงท่ารถ เหมือนโดนแกล้งยังไงไม่รู้ รถบัสมาพอดิบพอดี
“พี่แซมภูมิไปก่อนนะ เดี่ยวเอาของมาฝาก” ภูมิยิ้มให้ โบกมือ ก่อนที่จะวิ่งขึ้นไปบนรถ หาที่นั่งได้ก็มองมาผ่านกระจก โบกมือให้กับชายหนุ่มอีกครั้ง แซมมองไปที่รถบัสที่เคลื่อนตัวออกไป เรื่อยๆจนลับตา
ตลอดระยะเวลาที่ต้องอยู่โดยไม่มีภูมิ มันเป็นอะไรที่ช่างยาวนานเหลือเกิน ชายหนุ่มอยากให้เวลาผ่านไปให้เร็วที่สุด ภาพเด็กผู้ชายหน้าหวานๆ สวยใสยิ่งกว่าสตรีเพศนางใด ทำให้หัวใจของชายหนุ่มเต้นไม่เป็นจังหวะ
ชายหนุ่มไม่เข้าใจความรู้สึกของตัวเองเอาซะเลย ว่าทำไมต้องคิดถึง ห่วงหาเขาได้มากมายขนาดนี่ บางครั้งถึงกับไม่มีสมาธิในการทำงานเลย แซมกลัวเหลือเกิน กลัวความรู้สึกตัวเองกับเจ้าน้องชายคนนี่




เพื่อนๆ ที่สนใจอยากอ่านต่อนะค่ะ
ตอนนี้แต่งจบแล้ว หลายเรื่องมาก บางเรื่องก็ส่งสำนักพิมพ์



เป็นเรื่องที่สมบูรณ์มาก 100 บาท ค่าจัดส่งอีก 50 บาท
รวมเป็น 150 บาท



การจ่ายเงิน
โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
โทรศัพท์แจ้งการโอนเงิน เก็บสลิปไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 316-0-17844-7
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี ภูมิภัทร



เพียง โทรศัพท์มาที่ 084-4714186
ให้เพื่อนๆพูดก่อนผู้เขียนค่ะ....ถ้าไม่พูดก่อน ผู้เขียนจะไม่เงียบ
โอเค
ตี๊ดๆๆๆ
ขอสายคุณ ถั่วพู หน่อยค่ะ
_________________
pooh_physics@hotmail.com
พูดคุยสาระดีดี

แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัด

ชื่อ.......................................................................................................ชั้น................เลขที่.................

1. ถ้าใช้สถานะเป็นเกณฑ์ในการแบ่งสารจะแบ่งได้กี่สถานะ อะไรบ้าง
ตอบ .................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
2. สาร A มีรูปร่างไม่คงที่ แต่มีปริมาตรคงที่ แสดงว่าสาร A อยู่ในสถานะ...............................................
3. ให้นักเรียนจำแนกสารต่อไปนี้โดยใช้เกณฑ์ เป็นผงและไม่เป็นผง
แป้งมัน น้ำมันพืช น้ำตาลทราย น้ำปลา พริกไทยป่น ผงซักฟอก พริกแห้ง กะปิ หัวหอม
ตอบ ที่เป็นผงคือ.............................................................................................................................................
4. สารที่สังเกตดูเนื้อสารผสมกลมกลืนกันเป็นเนื้อเดียว เราเรียกสารนี้ว่า...........................................................
5. ถ้านำเกลือกับน้ำตาลมาคลุกผสมกันจะได้เป็นสารเนื้อเดียวหรือไม่ อย่างไร
ตอบ .................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
6. รายชื่อสารต่อไปนี้ อะไรบ้างที่เป็นสารเนื้อเดียว น้ำ น้ำหวาน น้ำตาลทราย ดิน น้ำปลา แป้ง ผงซักฟอก
ตอบ ................................................................................................................................................................

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 7 – 8
สาร การกรอง ห่อด้วยกระดาษเซลโลเฟน
A ผ่านได้ ผ่านไม่ได้
B ผ่านไม่ได้ ผ่านไม่ได้
C ผ่านได้ ผ่านไม่ได้
D ผ่านไม่ได้ ผ่านไม่ได้
E ผ่านได้ ผ่านได้

7. สารใดมีขนาดอนุภาคเล็กที่สุด..................................................................................................................
8. สารใดบ้างมีขนาดอนุภาคใหญ่ที่สุด........................................................................................................
9. สารใดบ้างที่มีขนาดอนุภาคใกล้เคียงกัน.................................................................................................
10. สารใดน่าจะเป็นสารละลาย...................................................................................................................
คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมคำในช่องว่างให้สมบูรณ์

สาร สถานะ ผลการสังเกตลักษณะสาร
สารเนื้อเดียว ไม่เป็นเนื้อเดียว
เมล็ดข้าวสุก
แป้งมัน
เกลือแกง
น้ำตาลทราย
น้ำพริก
ถ่าน
น้ำเกลือ
น้ำหวาน
น้ำส้มสายชู
ดิน
ลอดช่องน้ำกะทิ
ส้มตำ
แกงเขียวหวาน
ผงซักฟอก
น้ำมัน












แบบฝึกหัด

ชื่อ................................................................................................................................ชั้น..............เลขที่............

1. สารเนื้อเดียว หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ................................................................................................................................................................
2. สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด เรียกว่าอะไร จงยกตัวอย่างมา 3 ชนิด
ตอบ ................................................................................................................................................................
3. สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว เรียกว่าอะไร จงยกตัวอย่างมา 3 ชนิด
ตอบ ...............................................................................................................................................................
4. ถ้านักเรียนพบน้ำตาลและผงถ่านผสมปนกันอยู่ในถ้วย นักเรียนจะแยกผงถ่านและน้ำตาลออกจากกันได้โดยวิธีการใดจึงจะเหมาะสมที่สุด
ตอบ ...............................................................................................................................................................
5. นักเรียนคิดว่า การแยกน้ำที่ผสมรวมกับเอทานอล จะใช้วิธีการระเหยแห้งได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ ...............................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 6 – 8
เมื่อนำน้ำหมึกสีดำไปแยกหาองค์ประกอบโดยวิธีโครมาโทรกกราฟี ซึ่งใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย และใช้กระดาษกรองเป็นตัวดูดซับ ปรากฏว่า ได้ผลดังภาพ คือได้สารที่มีสีแยกออกมาเป็น






สาร A B และ C ตามลำดับ
6. จากผลการทดลอง สารที่มีสีชนิดใดละลายน้ำได้ดีที่สุด
ตอบ...............................................................................................................................................................
7. ในน้ำหมึกสีดำมีสารที่เป็นองค์ประกอบอยู่กี่ชนิด
ตอบ ..........................................................................................
8. สารที่มีสีเป็นองค์ประกอบในน้ำหมึกสีดำชนิดใดถูกกระดาษกรองดูดซับไว้ได้มากที่สุด
ตอบ ...............................................................................................................................................................
9. น้ำมันปิโตรเลียมที่สูบขึ้นมาจะใช้ประโยชน์ได้ทันทีหรือไม่ ต้องทำอย่างไรจึงจะใช้ประโยชน์ได้เลย
ตอบ................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................
10. ถ้านักเรียนจะสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืช นักเรียนจะใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อย่างไร
ตอบ .............................................................................................................................................................

ให้นักเรียนตอบคำถามข้อ 11 – 15 โดยใช้คำที่กำหนดให้ต่อไปนี้
การกลั่น การระเหยแห้ง การกรอง วิธีโครมาโทรกราฟี ใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้กรวยแยก
11. การแยกสารต่าง ๆ ในหมึกสีแดง ควรใช้วิธีใด
ตอบ ...........................................................................................................................................................
12. การแยกเกลือจากน้ำทะเล ควรใช้วิธีใด
ตอบ ............................................................................................................................................................
13. การแยกเหล็กออกจากอลูมิเนียม ควรใช้วิธีใด
ตอบ .............................................................................................................................................................
14. การแยกฝุ่นผงที่ลอยปะปนอยู่ในน้ำ ควรใช้วิธีใด
ตอบ .............................................................................................................................................................
15. การแยกน้ำออกจากน้ำมัน ควรใช้วิธีการใด
ตอบ .............................................................................................................................................................
16 กรดจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสี..................................เป็นสี........................................
17. จงบอกสมบัติของกรดมาโดยสังเขป
ตอบ ............................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
18. จงบอกสมบัติของเบส มาโดยสังเขป
ตอบ ............................................................................................................................................................
19. เพราะเหตุใดจึงไม่ควรบีบมะนาวลงไปในครกหินเวลาตำน้ำพริกหรือตำส้มตำ
ตอบ ...........................................................................................................................................................
20. สารชนิดใดที่ทำปฏิกิริยากับน้ำมันพืชแล้วจะได้สารคล้ายสบู่
ตอบ ...........................................................................................................................................................

แบบทดสอบวิชาฟิสิกส์ 4

ชื่อ- สกุล.........................................................................ชั้น.................................เลขที่......................

1. ลวดทองแดงเส้นหนึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 mm มีประจุไฟฟ้า 9.6 x 10- 6 C เคลื่อนที่ผ่านในเวลา 6 วินาที ทำให้อิเลคตรอนมีความหนาแน่น 1 x 1020 ตัว/m3 จงหาความเร็วอิเลคตรอนที่เคลื่อนที่ผ่านลวดตัวนำนี้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………

2. ลวดเงินเส้นหนึ่งมีพื้นที่ภาคตัดขวาง 10 cm2 ให้ปลายทั้งสองของลวดมีความต่างศักย์ 48 V ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 4 A ถ้าให้สภาพนำไฟฟ้าของลวดเงินเส้นนี้เท่ากับ 2 x104 S/m จงหาความยาวของลวดเงินเส้นนี้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
...................................................................................................................................................................................
3. ตัวต้านทานตัวหนึ่งมีแถบสีดังนี้อ เขียว ม่วง ส้ม ทอง มีค่าความต้านทานเท่าไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………

4. ตัวต้านตัวหนึ่งอ่านค่าความต้านทานได้ 8,080 ถึง 7,920 โอห์ม ตัวต้านทานตัวนี้มีแถบสีอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….......
แบบทดสอบวิชาฟิสิกส์ 2

ชื่อ- สกุล .........................................................................ชั้น.................................เลขที่......................

1. วัตถุเคลื่อนที่แบบ S.H.M ดังสมการ v = 144 COS 6 t วัตถุมีความเร่งสูงสุดเท่าไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. วัตถุเคลื่อนที่แบบ S.H.M ได้ 10 รอบ ในเวลา 2 วินาที ทำให้ได้การกระจัดสูงสุด 20 m ถ้าให้วัตถุเคลื่อนที่เป็น
เวลา 12 วินาที จงหาความเร็วของการเคลื่อนที่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
3. นำมวล 16 kg มาติดปลายสปริงแล้วออกแรง 20 N ดึงสปริงให้ยืดออกจากตำแหน่งสมดุล 5 m
จงหาคาบของการเคลื่อนที่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม รัศมี 2 m ได้ 40 รอบ ในเวลา 8 วินาที จงหาอัตราเร็วเชิงเส้น และอัตราเร็วเชิงมุม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

แบบทดสอบกลางภาคเรียน

แบบทดสอบกลางภาคเรียน




ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. สมบัติเฉพาะของสารได้แก่ข้อใด
ก. เกลือมีสถานะเป็นของแข็ง ข. เกลือมีรสเค็ม
ค. เกลือเป็นผลึกสีขาว ง. เกลือละลายน้ำได้
2. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสาร
ก. การสังเคราะห์แสงของพืช ข. การเกิดหินงอกหินย้อย
ค. การย่อยอาหารของคน ง. การเกิดวัฏจักรของน้ำ

จงพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้
การระเหยของน้ำในแหล่งน้ำ
การเกิดน้ำค้าง
การเกิดหมอก
การคายน้ำของพืชทางปากใบ
3. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบคายพลังงาน
ก. 1 และ 2 ข. 3 และ 4 ค. 2 และ 3 ง. 1 และ 4

จงพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 4-5
- สาร A มีจุดหลอมเหลว 2oC จุดเดือด 105 oC
- สาร B มีจุดหลอมเหลว -39oC จุดเดือด 375 oC
- สาร C มีจุดหลอมเหลว -219 oC จุดเดือด -183 oC
- สาร D มีจุดหลอมเหลว 419 oC จุดเดือด 906 oC
4. สารในข้อใดมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
ก. A ข. B ค. C ง. D
5. สารในข้อใดมีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง
ก. A ข. B ค. C ง. D





จงใช้แผนภาพต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 6-7



6. ข้อใดแทนโมเลกุลของสารประกอบ
ก. A ข. B ค. C ง. D
7. ข้อใดแทนสารเนื้อผสม
ก. A ข. B ค. C ง. D

จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 8-9
A นาก B แก๊สไนโตรเจน C น้ำแป้ง
D กำมะถัน E น้ำอบไทย F น้ำตาลทราย
8. สารในข้อใดเป็นสารเนื้อเดียวทั้งหมด
ก. A B C ข. A D F ค. B E F ง. C D E
9. สารในข้อใดเป็นสารบริสุทธิ์
ก.B D F ข.A C D ค.B E F ง.A D F
10. จงพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้
 น้ำ  เกลือ  แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำปูนใส  แอลกอฮอล์
สารในข้อใดเมื่อผสมกันแล้วได้สารเนื้อผสม
ก. 1 กับ 5 ข. 3 กับ 4 ค. 1 กับ 2 ง. 1 กับ 4
11. จงพิจารณารูปต่อไปนี้



สาร A 10 กรัม
น้ำ 90 กรัม


สาร A 10 กรัม
น้ำ 90 กรัม


สาร A 3 กรัม
น้ำ 25 กรัม


 สาร A 5 กรัม
น้ำ 45 กรัม
ข้อสรุปใดถูกต้อง
ก. สารละลายรูป ง เข้มข้นมากที่สุด
ข. สารละลายรูป ข เข้มข้นเท่ากับสารละลายรูป ง
ค. สารละลายรูป ง เข้มข้นน้อยที่สุด
ง. สารละลายรูป ข เข้มข้นมากที่สุด

12. จงพิจารณาสมบัติของสารละลายต่อไปนี้ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
 จุดเดือดต่ำกว่าตัวทำลายบริสุทธิ์  จุดเยือกแข็งต่ำกว่าตัวทำลายบริสุทธิ์
 จุดเดือดเท่ากับตัวทำละลายบริสุทธิ์  จุดเยือกแข็งสูงกว่าตัวทำละลายบริสุทธิ์
ก. 1 และ 2 ข. 3 และ 4
ค. 2 และ 3 ง. เฉพาะข้อ 2
13. สารละลายชนิดหนึ่ง มีสถานะแก๊สประกอบด้วยสาร A ร้อยละ 65 สาร B ร้อยละ 20
และสาร C ร้อยละ 15 ตัวละลายได้แก่ข้อใด
ก. สาร A และ B ข. สาร B และ C
ค. เฉพาะสาร A ง. เฉพาะสาร C
14. สารละลาย X เข้มข้นร้อยละ 7 โดยมวล ถ้าต้องการเตรียมสารละลายจำนวน 75 กรัม จะต้องใช้สาร X กี่กรัม
ก. 3.5 กรัม ข. 4.25 กรัม
ค. 5.25 กรัม ง. 6 กรัม
15. ในสารละลาย A 400 cm3 มีสาร A ละลายอยู่ 120 cm3 สารละลาย A มีความเข้มข้นร้อยละเท่าไร
ก. 27 โดยมวล ข. 30 โดยมวล
ค. 27 โดยปริมาตร ง. 30 โดยปริมาตร
16. นำเกลือแกง 12 กรัม ผสมกับน้ำ 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร สารละลายมีความเข้มข้นร้อยละเท่าไร
ก. 12 โดยมวลต่อปริมาตร ข. 12 โดยปริมาตร
ค. 15 โดยมวล ง. 15 โดยมวลต่อปริมาตร
17. จงพิจารณาข้อมูลในตารางต่อไปนี้
สาร ละลายน้ำได้ (g/น้ำ 100 g)
30OC 100OC
X 32 38.7
จากข้อมูลในตาราง ละลายสาร X อิ่มตัวที่ 30OC ถ้าต้องการทำให้สารละลาย X อิ่มตัวที่อุณหภูมิ 100OC จะต้องเติมสาร X อีกกี่กรัม
ก. 6.7 กรัม ข. 5.7 กรัม
ค. 6 กรัม ง. 4.5 กรัม
18. จงพิจารณารูปต่อไปนี้





ถ้าลดอุณหภูมิสารละลายอิ่มตัว A จาก 100OC เป็นอุณหภูมิห้อง สาร A จะตกผลึกได้เท่าไร
ก. 15.5 กรัม ข. 16.7 กรัม ค. 17.3 กรัม ง.18.7 กรัม
19. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 15 โดยปริมาตร
จำนวน 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทำได้ดังข้อใด
ก. ใช้เอทานอล 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผสมน้ำ 425 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข. ใช้เอทานอล 15 กรัม ผสมน้ำ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ค. ใช้เอทานอล 75 กรัม ผสมน้ำ 425 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ง. ใช้เอทานอล 75 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผสมน้ำ 425 ลูกบาศก์เซนติเมตร
20. ความเข้มข้นของสารละลายที่นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันข้อใดถูกต้อง
ก. น้ำส้มสายชูที่ใช้ปรุงแต่งอาหารในชีวิตประจำวันเข้มข้นร้อยละ 5 โดยมวล
ข. แอลกอฮอล์ใช้ฆ่าเชื้อโรคล้างแผลเข้มข้นร้อยละ 50 โดยปริมาตร
ค. น้ำเกลือใช้ล้างแผลเข้มข้นร้อยละ 15 โดยมวลต่อปริมาตร
ง. เอทานอลที่บรรจุขวดขายมีความบริสุทธิ์สูงสุดร้อยละ 90 โดยปริมาตร
21. ข้อใดถูกต้อง
ก. กรด+โลหะ  เกลือ+แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ข. กรด+เบส  เกลือ+แก๊สไฮโดรเจน
ค. กรด+สารประกอบคาร์บอเนต เกลือ+น้ำ+แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ง. กรด+เบส  เกลือ+แก๊สแอมโมเนีย
22. ข้อใดคือกรด
ก. NaCl ข. H2O ค. CO2 ง. HCl
23. ข้อใดคือเบส
ก. NaCl ข. H2SO4 ค. HCl ง. CH3COOH
24. สมการในข้อใดถูกต้อง
ก. Zn+H2SO4 ZnSO4+H2 ข. Zn+H2SO4  NaCl+H2
ค. Zn+HCl  NaCl+Zn ง. Zn+H2CO3  ZnCO3+CO2
25. เมื่อนำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินไปจุ่มในน้ำมะนาว สีของกระดาษลิตมัสจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก. ไม่เปลี่ยนสี ข. เปลี่ยนสีเป็นสีแดง
ค. เปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ง. เปลี่ยนสีเป็นสีส้ม
26. ฟีนอล์ฟทาลีนซึ่งเป็นสารละลายที่ไม่มีสี เมื่อปฏิกิริยากับกรดแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีอะไร
ก. สีน้ำเงิน ข. สีแดง
ค. สีชมพู ง. ไม่เปลี่ยนสี
27. การกัดกร่อนของกรดที่กระทำต่อหินปูนที่เห็นในธรรมชาติคือข้อใด
ก. หินก้อนกลมเกลี้ยงที่พบได้ตามน้ำตกต่างๆ ข. หินก้อนกลมเกลี้ยงซึ่งพบได้ตามชายหาด
ค. หินที่แตกเป็นก้อนซึ่งพบได้ตามภูเขา ง. หินงอกหินย้อยซึ่งพบได้ในถ้ำ


28. pH ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก. potential of hydrogen ion ข. peak of helium ion
ค. protein of hydrogen ion ง. potential of helium ion
29. ข้อใดไม่ใช่อินดิเคเตอร์ของกรดและเบส
ก. บรอมไทมอลบลู ข. เมทิลออเรนจ์
ข. เมทิลออเรนจ์ ง. เมทิลเรด
30. เราสามารถทำยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ได้อย่างไร
ก. นำอินดิเคเตอร์มาปรับปรุง ข. นำอินดิเคเตอร์หลายชนิดมารวมกัน
ข. นำอินดิเคเตอร์หลายชนิดมารวมกัน ง. นำอินดิเคเตอร์ 2 ชนิดมารวมกัน

ใช้วิธีการแยกสารที่กำหนดให้ตอบคำถามข้อ 31-33
ก. การกรอง ข. การระเหย
ค. การระเหิด ง. ใช้อำนาจแม่เหล็ก
จ. การกลั่น ฉ. โครมาโทกราฟี
31. ถ้าต้องการแยกเกลือแกงออกจากของผสมที่มีน้ำ เกลือแกง และหินปูนปนอยู่ด้วยกันควรใช้วิธีใด
ก. ข้อ ก และ ข ข. ข้อ ข และ ค
ค. ข้อ ค และ จ ง. ข้อ ก เท่านั้น
32. ถ้าต้องการผลิตน้ำบริสุทธิ์จากน้ำบาดาลควรใช้วิธีการใด
1. ข้อ ก ข. ข้อ ข
3. ข้อ จ ง. ข้อ ฉ
33. ถ้าต้องการแยกสีเขียวออกจากน้ำสีที่สกัดได้จากใบไม้ ควรใช้วิธีการใด
ก. ข้อ ก ข. ข้อ ข
ค. ข้อ จ ง. ข้อ ฉ
34. ถ้าต้องการสกัดสีของใบเตยเพื่อนำมาทำขนมควรทำอย่างไร
ก. ใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย
ข. โขกให้ละเอียดแล้วใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
ค. หั่นใบเตยเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย
ง. สกัดโดยการกลั่น
35. การกลั่นเกี่ยวข้องกับข้อใด
ก. การระเหย ข. การควบแน่น
ค. การระเหิด ง. ข้อ 1 และข้อ 2 ถูกต้อง
36. อาหารดังข้อใดที่แสดงให้เห็นว่ามีการแยกของสารเมื่อตั้งทิ้งไว้
ก. ขนมปัง ข. ต้มยำ
ค. กาแฟ ง. ข้อ 2 และข้อ 3 ถูกต้อง
37. การสกัดน้ำมันจากพืชควรใช้สารใดเป็นตัวทำละลาย
ก. น้ำ ข. เอกเซน
ค. โบรมีน ง. คิวติน
38. สารในข้อใดที่ควรนำมาแยกโดยวิธีการกลั่น
ก. น้ำที่มีเศษผงเจือปน ข. น้ำเกลือ
ค. น้ำโคลน ง. น้ำประปา
39. โครมาโทกราฟีเป็นวิธีการแยกสารดังข้อใด
ก. ระเหยให้แห้ง ข. กลั่นหลายๆ ครั้ง
ค. กรองด้วยกระดาษกรองชนิดละเอียด ง. ให้สารเดินทางผ่านตัวกลาง
40. วิธีการแยกสารในข้อใดที่มีขั้นตอนยุ่งยากมากที่สุด
ก. การต้ม ข. การกลั่น
ค. การกรอง ง. โครมาโทกราฟี
41. ของเหลวในข้อใดที่นิยมนำมาบรรจุในกระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์
ก. น้ำ ข. ทินเนอร์
ค. ปรอท ง. น้ำมัน
42. หน่วยวัดอุณหภูมิในข้อใดที่แบ่งช่วงระหว่างจุดเยือกแข็งและจุดเดือดของน้ำเท่ากัน
ก. องศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์ ข. องศาเซลเซียสและเคลวิน
ค. องศาฟาเรนไฮต์และเควิน ง. ถูกต้องทุกข้อ
43. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
ก. จุดคงที่ต่ำสุดคือจุดเดือด ข. จุดคงที่สูงสุดคือจุดเยือกแข็ง
ค. จุดคงที่ต่ำสุดคือจุดเยือกแข็ง ง. จุดคงที่สูงสุดคือจุดควบแน่น
44. อุณหภูมิ 7.9 องศาเซลเซียสมีค่าเท่ากับกี่เควิน
ก. 280.8 เคลวิน ข. 280.9 เคลวิน
ค. 290.9 เคลวิน ง. 300.8 เคลวิน
45. อุณหภูมิ 41 องศาฟาเรนไฮต์มีค่าเท่ากับกี่องศาเซลเซียส
ก. 4 องศาเซลเซียส ข. 5 องศาเซลเซียส
ค. 6 องศาเซลเซียส ง. 7 องศาเซลเซียส
46. ทองเหลือง อะลูมิเนียม และเหล็กมีการถ่ายโอนความร้อนด้วยวิธีใด
ก. การแผ่รังสีความร้อน ข. การนำความร้อน
ค. การพาความร้อน ง. ข้อ 2 และ 3 ถูกต้อง
47. เตารีดใช้หลักการถ่ายโอนความร้อนวิธีใด
ก. การนำความร้อน ข. การพาความร้อน
ค. การสั่นสะเทือน ง. การแผ่รังสีความร้อน

48. สมดุลความร้อนให้ประโยชน์ในเรื่องใด
ก. ความอบอุ่นและความเย็น ข. การปรุงอาหารให้สุก
ค. การอุ่นอาหารให้ร้อน ง. ถูกต้องทุกข้อ
49. สารในสถานะใดเมื่อได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ก. ของแข็ง ข. ของเหลว
ค. แก๊ส ง. ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง
50. ภาชนะที่ใส่ของร้อนควรมีสมบัติดังข้อใด
ก. ไม่ขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ข. ขยายตัวมากเมื่อได้รับความร้อน
ค. ขยายตัวน้อยเมื่อได้รับความร้อน ง. ขยายตัวได้รวดเร็วเมื่อได้รับความร้อน
51. อากาศเป็นของผสมที่มีแก๊สออกซิเจนและไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบรวมกันร้อยละเท่าไร
ก. 21 ข. 78
ค. 90 ง. 99
52. อากาศชื้นหมายถึงอากาศที่มีสิ่งใดเป็นองค์ประกอบ
ก. CO2 ข. H2O
ค. N2 ง. O2
53. ข้อใดเป็นลักษณะของบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์
 มีไอน้ำมาก  มีอุณหภูมิลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น
มีแก๊สโอโซนมาก มีปรากฏการณ์ฝนดาวตก
ก. 1 และ 2 ข. 2 และ 3
ค. 3 และ 4 ง. 1 และ 4
54. นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าโดยเฉลี่ยทุกระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นระดับความดันอากาศจะลดลง 1 มิลลิเมตรของปรอท ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 22 เมตร จะมีความดันอากาศเท่าไร
ก. 75 มิลลิเมตรของปรอท ข. 79 มิลลิเมตรของปรอท
ค. 758 มิลลิเมตรของปรอท ง. 762 มิลลิเมตรของปรอท
55. เครื่องมือวัดความชื้นของอากาศเรียกว่าอะไร
ก. บาร์รอมิเตอร์ ข. แอลติมิเตอร์
ค. ศรลม ง. ไฮโกรมิเตอร์
56. เช้าวันหนึ่งอากาศเย็นสบายวัดอุณหภูมิได้ 25OC ความชื้นสัมพัทธ์ 62% จงหาอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียกบนเครื่องมือวัดความชื้น
ก. 15 OC ข. 20 OC
ค. 25 OC ง. 30 OC



57. กราฟในข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความกดอากาศกับระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลได้ถูกต้อง
ก. ความกดอากาศ




ข. ความกดอากาศ




ค. ความกดอากาศ




ง. ความกดอากาศ




58. อักษร H และ L บนแผนที่อากาศจะบอกข้อมูลใดแก่ผู้อ่าน
ก. ทิศทางการเคลื่อนที่ของลม ข. ปริมาณน้ำฝน
ค. อุณหภูมิของอากาศ ง. ปริมาณเมฆ
59. การก่อตัวของเมฆคิวมูโลนิมบัสในบรรยากาศมักจะเกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุการณ์ใด
ก. ลมมรสุม ข.พายุฟ้าคะนอง
ค. พายุดีเปรสชั่น ง. ลมสินค้า
60. การที่ลมสินค้าแรงกว่าปกติจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ใด และมีผลอย่างไร
ก. เอลนิโน ฝนตกมากขึ้นในบริเวณที่มีฝนตกชุก
ข. เอลนิโน ฝนตกน้อยมากในบริเวณที่เคยแห้งแล้ง
ค. ลานีนา ฝนตกมากขึ้นในบริเวณที่เคยมีฝนชุก
ง. ลานีนา ฝนตกน้อยลงในบริเวณที่เคยแห้งแล้ง


เรียนเพื่อพ่อภาคภูมิใจในดวงจิต เรียนเพื่อแม่ยอดชีวิตเกษมสรรค์
เรียนญาติพี่น้องเราได้ชื้นชมพร้อมหน้ากัน เรียนเพื่อวันข้างหน้าจะก้าวไกล
เรียนเพื่อน้องเราได้เอาเยื้องอย่าง เรียนเพื่อสร้างอนาคตที่สดใส
เรียนเพื่อคนที่เรารักภาคภูมิใจ เรียนเพื่อได้สักวันหนึ่งที่ต้องการ
……….ขอให้นักเรียนทุกคนโชคดี

การดุลสมการรีดอกซ์

K2Cr2O7 + H2O + S ------------> SO2 + KOH + Cr2O3

แบบทดสอบ พันธุกรรม

แบบทดสอบ

ชื่อ.......................................................................................................................ชั้น.................เลขที่................
1. ลักกษณะที่ถ่ายทอดได้ทางการสืบพันธุ์ คนทั่วไปเรียกว่า..........................................................................
2. พันธุกรรม หมายถึง.................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................3. ลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจาดพ่อแม่ไปยังลูกหลาน หรือถ่ายทอดไปตามสายพันธุ์
เรียกว่า.......................................................................................................................................................
4. สาเหตุสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน มีลักษณะบางลักษณะแตกต่างกัน คือ .................................
...................................................................................................................................................................
5. ดอกไม้ชนิดเดียวกันจากต้นเดียวกันมีลักษณะต่าง ๆ ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะ...................................
....................................................................................................................................................................
6. สีตา สติปัญญา นิ้วเท้าขาด นิ้วเท้ายาวกว่าหัวแม่เท้า หนังตา จมูกโด่ง น้ำหนักตัว ลักษณะที่
ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือ ....................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
7. เซลล์ที่ทำหน้าที่นำลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง คือ............................................
....................................................................................................................................................................
8. สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อลักษณะทางพันธุกรรม เช่น .................................................................
....................................................................................................................................................................
9. ลักษณะในข้อใดต่อไปนี้ ที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม เพราะเหตุใด จงอธิบาย
1. ติ่งหู 2. ลักษณะเส้นผม 3. ความยาวของนิ้วเท้า 4. น้ำหนักและส่วนสูง
ตอบ ..........................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
10. ถ้านำถั่วพันธุ์สูงแท้และพันธุ์เตี้ยแท้มาผสมกัน ลูกในรุ่น F1 จะแสดงฟีโนไทป์เพียงลักษณะเดียวคือ
................................................................................................................................................................
11. จีโนไทป์ คือ .........................................................................................................................................
12. ฟีโนไทป์ คือ ........................................................................................................................................
13. ถ้า TT , Tt และ tt เรียกว่า จีโนไทป์ ลักษณะความสูง –เตี้ย ดำ – ขาว เรียกว่า ............................
14. จีโนไทป์ TT กับ Tt แสดงฟีโนไทป์เหมือนกัน เพราะ...................................................................
................................................................................................................................................................
15. ลูกได้รับยีนจากพ่อแม่โดยผ่านทาง..........................................................................................................

ข้อสอบ ฟิสิกส์

-3 -
18. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. ชายคนหนึ่งแบกสิ่งของแล้วเดินทางไปตามแนวราบงานที่ทำได้มีค่าเท่ากับศูนย์
2. เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุ แต่วัตถุไม่เคลื่อนที่งานของแรงที่กระทำมีค่าเท่ากับศูนย์
3. เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุและวัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมงานของแรงที่กระทำนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์
4. ชายคนหนึ่งถือสิ่งของและนั่งอยู่บนรถที่กำลังเคลื่อนที่ไปตามถนนราบงานที่ชายคนนี้กระทำมีค่าเท่ากับศูนย์
ข้อใดถูกต้อง
ก. 1, 2 , 3 ข. 1, 3 , 4
ค. 2, 3, 4 ง. 1, 2, 3, 4
19. กรณีใดไม่มีการทำงานเนื่องจากการออกแรง
ก. หิ้ววัตถุเดินลงบันได
ข. ใช้ช้อนตักอาหารใส่ปาก
ค. ยืนแบกวัตถุบนรถที่กำลังวิ่งบนทางเลียบ
ง. วัตถุตกในแนวดิ่งด้วยความเร่งคงที่
20. ,มีแรง 2 แรง ขนาด 8 N กระทำต่อวัตถุไปทางขวาแรง 2 N กระทำกับวัตถุไปทางซ้ายทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางขวา ได้ระยะทาง 5m จงหางานที่ทำได้กี่จูล
ก. 10 ข. 20
ค. 30 ง. 40
21. ออกแรง 20 N ลากวัตถุในทิศมุม 600 กับแนวนอนทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามพื้นราบได้ระยะทาง 4 m จงหางานที่ทำได้มีค่ากี่จูล

ก. 10 ข. 20
ค. 30 ง. 40
22. ชายคนหนึ่งหิ้วของมีมวล 50 Kg แล้วเดินไปตามพื้นที่ราบเป็นระยะทาง 8 m แล้วเดินขึ้นบันไดด้วยความเร็วคงที่ไปชั้นบนซึ่งสูงกว่าพื้นล่าง 3 m จงหางานที่ชายคนนี้ทำ
ก. 150 J ข. 1,500 J
ค.15,000J ง. 150,000J



- 4 -
23. วัตถุมวล 5 Kg ถูกลากด้วยแรง 20 N ไปบนพื้นราบฝึดด้วยความเร็วคงที่เป็นระยะทาง 10 m โดยแนวแรงทำมุม 450 กับพื้นถ้าให้สัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างพื้นกับวัตถุเท่ากับ 0.2
จงหางานเนื่องจากการลากวัตถุนี้
ก. 40 J ข. 50 J
ค. 60 J ง. 70 J
24. วัตถุมวล 1 Kg วางอยู่บนพื้นราบขรุขระมีสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน 0.4 ออกแรงดึงวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามพื้นที่ราบได้ระยะทาง 5 m จงหางานของแรงเสียดทาน
ก. 10 J ข. 20 J
ค. 30 J ง. 40 J
25. วัตถุมวล 4 Kg มีพลังงานจลน์ 200J จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วกี่เมตรต่อวินาที่
ก. 10 m/s ข. 20 m/s
ค. 30 m/s ง. 40 m/s
26. สปริงมีพลังงานศักย์ยืดหยุ่น 160 J ถ้าออกแรงดึงให้สปริงยืดออกจากตำแหน่งสมดุล 8 mจงหาค่านิลของสปริง
ก.6 N/ m ข. 5 N/ m
ค.4 N/ m ง. 3 N/ m
27. วัตถุมวล 2 Kg ขณะนั้นวัตถุมีพลังงานศักย์โน้มถ่วง 400 J วัตถุอยู่สูงจากตำแหน่งอ้างอิงเท่าไร
ก. 10 m ข. 20 m
ค. 30 m ง. 40 m
28.วัตถุมวล1 Kg อยู่สูงจากพื้น 40 m ถูกปล่อยให้ตก เมื่อวัตถุตกกระทบพื้นจะมีพลังงานกลเท่าไร
ก. 400 J ข. 500 J
ค. 600 J ง. 700 J
29. จากข้อ 28 จุดที่ปล่อยวัตถุมีพลังงานกลเท่าไร
ก. 400 J ข. 500 J
ค. 600 J ง. 700 J
30.ลูกปืนมีมวล 0.5 Kg เคลื่อนที่ออกจากลำกล้องด้วยความเร็ว 30 m/s จงหาพลังงานจลน์ของลูกปืนกี่จูล
ก. 215 J ข. 225 J
ค. 235 J ง. 245 J

............................................................................................................................................................

กระแสไฟฟ้า

แบบทดสอบผลการเรียนรู้คาดหวัง
เรื่อง กระแสไฟฟ้า
1. กำหนดข้อมูลดังนี้
A = ประจุไฟฟ้าบวก B = ประจุไฟฟ้าลบ
C = อิเล็กตรอน D = อะตอม
E = นิวตรอน
กระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของสิ่งใด
ก. A, B, C ข. A, C, D
ค. C, D, E ง. B, D, E
2. ถ่านไฟฉายผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการเปลี่ยนรูปพลังงานอย่างไร
ก. พลังงานไฟฟ้า พลังงานเคมี
ข. พลังงานเคมี พลังงานไฟฟ้า
ค. พลังงานเคมี พลังงานแสง
ง. พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสง
3. เราสามารถใช้ไฟฟ้ากระแสสลับจากแหล่งใด
ก. ถ่านไฟฉาย ข. แบตเตอรี่
ค. ไฟฟ้าตามบ้าน ง. เซลล์สุริยะ
4. ไดนาโมผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการเปลี่ยนรูปพลังงานอย่างไร
ก. พลังงานเคมี พลังงานไฟฟ้า
ข. พลังงานไฟฟ้า พลังงานเคมี
ค. พลังงานไฟฟ้า พลังงานกล
ง. พลังงานกล พลังงานไฟฟ้า
5. เซลล์สุริยะผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการเปลี่ยนรูปพลังงานอย่างไร
ก. พลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า
ข. พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง
ค. พลังงานเคมี เป็นพลังงานแสง
ง. พลังงานแสงเป็นพลังงานกล
6. ข้อใดไม่ใช่การใช้พลังงานไฟฟ้า
ก. การเปิดโทรทัศน์ ข. การสังเคราะห์ด้วยแสง
ข. การใช้คอมพิวเตอร์ ง. การรีดผ้า
7. คำกล่าวในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. กระแสไฟฟ้าผ่านโลหะเงินได้ดีกว่าโลหะทองแดง
ข. กระแสไฟฟ้าผ่านน้ำบริสุทธิ์ไม่ได้
ค. ผ้าเปียกยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านเหมือนแกรไฟต์
ง. พื้นดินชื้นช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ดี
8. เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าในข้อใดที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำได้
ก. ไดนาโม ข. เซลล์สุริยะ
ค. แบตเตอรี่รถยนต์ ง. ถ่านไฟฉาย
9. วัตถุที่มีอำนาจทางไฟฟ้าจะต้องมีสมบัติตามข้อใด
1. มีอำนาจดึงดูดวัตถุอื่นได้
2. มีจำนวนประจุไฟฟ้าเท่ากัน
3. มีจำนวนประจุไฟฟ้าลบมากกว่าประจุไฟฟ้าบวก
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3
ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
10. กระแสไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเป็นกระแสไฟฟ้าชนิดใด และใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้าเท่าใด
ก. กระแสตรง และ 110 โวลต์
ข. กระแสตรง และ 220 โวลต์
ค. กระแสสลับ และ 110 โวลต์
ง. กระแสสลับ และ 220 โวลต์

แบบทดสอบระหว่างภาควิทยาศาสตร์

5. ข้อใดคือหน่วยของความเร่ง
ก. เมตร / (นาที)2 ข. เมตร / นาที
ค. เมตร / (วินาที)2 ง. เมตร / วินาที 6.
7. การกระจัด หมายถึงอะไร
ก. ระยะทางที่วัดได้จากการเคลื่อนที่จริงของวัตถุ
ข. ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ในแนวตรงจากตำแหน่ง
เริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้าย
ค. การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยมีเส้นทางให้เลือกหลายเส้นทาง
ง. การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้เส้นทางเพียงทางเดียว
8. รถยนต์คันหนึ่งแล่นได้ระยะทาง 480 กม. ในเวลา 6 ชม. อัตราเร็วของรถคันนี้เป็นเท่าใด
ก. 60 กม. / ชม. ข. 70 กม. / ชม.
ค. 80 กม. / ชม. ง. 90 กม. / ชม.
9. วัตถุชิ้นหนึ่งหนัก 60 กิโลกรัม เมื่อนำไปชั่งบนดวงจันทร์จะหนักเท่าใด
ก. 10 กิโลกรัม ข. 20 กิโลกรัม
ค. 40 กิโลกรัม ง. 60 กิโลกรัม

10. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. เปลี่ยนอัตราเร็วของวัตถุ
2. เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
3. เปลี่ยนขนาดและรูปร่างของวัตถุ
แรงมีผลต่อวัตถุอย่างไรบ้าง
ก. เฉพาะข้อ 1 ข. ข้อ 1 และ 2
ค. ข้อ 2 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
11. เมื่อไม่มีแรงโน้มถ่วงของโลก แล้วทดลองยิงวัตถุในแนวราบ ข้อความใดกล่าวถูกต้อง
ก. วัตถุจะตกทันทีที่ยิง
ข. วัตถุจะไม่ตกลงสู่พื้นเลย
ค. วัตถุจะไปไกลมากแล้วจึงตก
ง. เมื่อหมดแรงยิงวัตถุจึงตก
12. เพราะเหตุใดวัตถุทุกชนิดจึงตกลงสู่พื้นโลกเสมอ
ก. วัตถุนั้นมีพลังงานศักย์
ข. วัตถุนั้นมีพลังงานเคมี
ค. วัตถุนั้นมีพลังงานจลน์
ง. เพราะแรงโน้มถ่วงของโลก
13. นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบกฎความโน้มถ่วง คือใคร
ก. เอช จี เวลล์ ข. เจมส์ วัตต์
ค. เซอร์ ไอแซคนิวตัน ง. กาลิเลโอ
14. เมื่อยิงวัตถุออกไปในแนวราบ วัตถุจะเคลื่อนที่อย่างไร เพราะเหตุใด
ก. ตกในแนววิถีโค้ง เพราะวัตถุมีความเร็วตามแนวราบและตามแนวดิ่ง
ข. ตกในแนววิถีโค้ง เพราะวัตถุมีความเร็วแบบวงกลม
ค. ตกในแนวดิ่ง เพราะวัตถุมีความเร็วในแนวดิ่ง
ง. ตกในแนวราบ เพราะวัตถุมีความเร็วตามแนวราบ
15. เมื่อปล่อยดาวเทียมโคจรรอบดาวเคราะห์จะเกิดแรงดึงดูดระหว่างดาวเทียมกับดาวเคราะห์นั้น แรงดึงดูดนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งใด
1. ระยะทางระหว่างดาวเคราะห์กับดาวเทียม
2. มวลของดาวเทียม
3. มวลของดาวเคราะห์
4. ขนาดของดาวเทียมและดาวเคราะห์
ก. ข้อ 1 ข. ข้อ 1 และ 2
ค. ข้อ 1 , 2 และ 3 ง. ข้อ 1 , 2 , 3 และ 4
16. เพราะเหตุใดการยิงจรวดขึ้นจากฐานจึงต้องยิงในแนวดิ่ง
ก. ใช้ฐานการยิงเล็กได้
ข. ใช้การเดินทางสั้นที่สุด
ค. ถ้ายิงในแนวราบจะชนอาคารบ้านเรือน
ง. ต้องเดินทางรอบโลกก่อนจึงเข้าสู่อวกาศ
17. ถ้าจรวดมีความเร็วน้อยกว่าความเร็วโคจรรอบโลก จรวดจะเป็นอย่างไร
ก. หลุดหายไปสู่อวกาศ
ข. หยุดนิ่งในอวกาศ
ค. ตกลงมาสู่พื้นโลก
ง. เคลื่อนที่เข้าสู่ดวงจันทร์
18. เมื่อวัตถุอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก จะมีผลอย่างไรกับวัตถุนั้น
ก. วัตถุนั้นจะมีน้ำหนักเท่าศูนย์
ข. มวลของวัตถุจะมีค่าสูงขึ้น
ค. วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด
ง. วัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร่งคงที่



19. ข้อใดหมายถึง แรงเสียดทาน
ก. แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ ทำให้วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงรูปพลังงาน
ข. แรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ และมีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ค. แรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ และมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ง. แรงที่เกิดขึ้นเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อมวลของวัตถุ
20. เพราะเหตุใดเมื่อกลิ้งวัตถุไปบนพื้นสักครู่หนึ่ง วัตถุจะหยุดเคลื่อนที่
ก. แรงที่กลิ้งวัตถุเป็นศูนย์
ข. วัตถุสัมผัสและถ่ายเทพลังงานให้กับพื้น
ค. วัตถุไม่มีความเร็ว
ง. มีแรงเสียดทานบนพื้นต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ
21. ยางรถยนต์ที่มีดอกยางซึ่งมีลวดลายมาก ๆ จะทำให้แรงเสียดทานระหว่างล้อกับถนนเป็นอย่างไร
ก. แรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้น
ข. แรงเสียดทานจะลดลง
ค. แรงเสียดทานไม่ได้เกิดจากดอกยาง
ง. ดอกยางไม่ได้ช่วยในการเพิ่มหรือลดของแรงเสียดทาน
22. เหตุการณ์ใดสนับสนุนข้อความที่บ่งว่า ถ้าไม่มีแรงเสียดทาน รถจะแล่นไม่ได้
ก. รถที่วิ่งขึ้นเขาต้องเร่งเครื่องมากกว่ารถที่แล่นในที่ราบ
ข. ขณะรถวิ่งลงจากเขา เมื่อดับเครื่องรถยังวิ่งได้ต่อไป
ค. เมื่อรถวิ่งผ่านถนนที่มีน้ำมันเครื่องหกอยู่เต็ม รถจะหมุนคว้าง
ง. รถแล่นเร็วจะต้องใช้ระยะเบรกไกลกว่ารถแล่นช้า ให้พิจารณาแรงต่าง ๆ แล้วตอบคำถามข้อ 23 – 24
ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
แรง ง
แรง ค
แรง ก
แรง ข
23. แรงคู่ใดมีขนาดเท่ากัน
ก. แรง ก = แรง ข ข. แรง ข = แรง ง
ค. แรง ก = แรง ค ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
24. ข้อใดกล่าวถึงรงต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
ก. แรง ก คือ แรงเสียดทาน
ข. แรง ข คือ แรงต้านการเคลื่อนที่
ค. แรง ค คือ แรงปฏิกิริยา
ง. แรง ง คือ แรงกิริยา
25. แรงเสียดทานในระยะใดมีค่ามากที่สุด
ก. เมื่อรถวิ่งเร็วที่สุด
ข. เมื่อรถวิ่งช้าที่สุด
ค. เมื่อรถเริ่มจะเคลื่อนที่
ง. เนื่องจากเป็นรถคันเดียวกัน แรงเสียดทานจะเท่ากัน
26.
A B


จากรูป ถ้าคานยาว 10 เมตร จุด B ควรอยู่ห่างจากจุดหมุนกี่เมตร
ก. 2 เมตร ข. 3 เมตร
ค. 4 เมตร ง. 6 เมตร
27. คานในข้อใดต่างจากพวก
ก. คีมตัดลวด ข. กรรไกรตัดผ้า
ค. ไม้กระดานหก ง. คีมคีบถ่าน

28. ไม้เมตรอันหนึ่งมีจุดหมุนอยู่ที่จุดกึ่งกลางของไม้ ที่จุด A และ B แขวนน้ำหนัก 40 และ 20 นิวตัน ตามลำดับ จุด A ห่างจากจุดหมุน 20 ซม. จุด B ห่างจากจุดหมุน d ซม. จงหาค่าของ d
A B


ก. 50 ซม. ข. 40 ซม.
ค. 30 ซม. ค. 20 ซม.
29. เครื่องใช้ชนิดใดมีหลักการเช่นเดียวกับคีมคีบน้ำแข็ง
ก. ไม้กวาด ข. กระดานหก
ค. คีมตัดลวด ง. ที่ตัดกระดาษ
30. เครื่องใช้ชนิดใดที่ช่วยผ่อนแรง
ก. เครื่องตัดกระดาษ รถเข็นทราย
ข. เครื่องตัดกระดาษ แหนบถอนหนวด
ค. คันเบ็ดตกปลา แหนบถอนหนวด
ง. ไม้กวาด รถเข็นทราย

































1. ข้อใดคือความหมายของแรง
ก. สิ่งที่สามารถเปลี่ยนอัตราเร็วของวัตถุ
ข. สิ่งที่สามารถเปลี่ยนมวลของวัตถุ
ค. สิ่งที่สามารถเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และ ค

แบบทดสอบกลางภาค

แบบทดสอบกลางภาค
โรงเรียน.....
รหัสวิชา ว 4122 วิชาฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


1. นักเรียนคนหนึ่งดีดเหรียญบาทออกไปจากขอบโต๊ะ ปริมาณใดต่อไปนี้เป็นศูนย์ นับจากเหรียญบาทที่หลุดออกจากโต๊ะจนตกกระทบพื้น
ก. ความเร็วในแนวระดับ
ข. ความเร็วในแนวดิ่ง
ค. ความเร่งในแนวระดับ
ง. ความเร่งในแนวดิ่ง
2. ลักษณะที่สำคัญของการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์ อากาศสู่พื้นดิน คือข้อใด
ก. ความเร็วในแนวดิ่งมีค่าคงที่
ข. ความเร็วในแนวราบมีค่าคงที่
ค. ความเร็วต้นในแนวราบมีค่าเป็นศูนย์
ง. ระยะการกระจัดในแนวราบเท่ากับในแนวดิ่ง
3. สมศักดิ์ สมชาย สมบูรณ์ ยืนอยู่บนหน้าผาแห่งหนึ่งแล้ว สมศักดิ์ก็ปล่อยก้อนหินให้ตกลงมา สมชายขว้างก้อนหินในแนวราบด้วยความเร็ว 10 เมตร / วินาที สมบูรณ์ ขว้างก้อนหินไปในแนวราบด้วยความเร็ว 20 เมตร / วินาที โดยทั้ง 3 คน ปล่อยและขว้างพร้อมๆกัน
จงหาว่าก้อนหินของใครจะตกถึงพื้นก่อน
ก. สมศักดิ์
ข. สมชาย
ค. สมบูรณ์
ง. ก้อนหินของทั้ง 3 คน ตกถึงพื้นพร้อมๆกัน
4. ทหารอิรักคนหนึ่งต้องการยิงกระสุนปืนในทางโค้งให้ตกไกลที่สุดจากจุดยิง ต้องยิงตามข้อใด
ก. ยิงในแนวตั้งฉากกับแนวราบ
ข. ยิงตามแนวราบ
ค. ยิง ในแนวตรงกลางระหว่างแนวดิ่งและแนวราบ
ง. ยิงในแนวเอียงทำมุม 30 องศากับแนวระดับ



5. ข้อใดเป็นจริงสำหรับการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์
1. ทางเดินการเคลื่อนที่เป็นรูปพาราโบลา
2. การเคลื่อนที่ในแนวระดับมีความเร็วคงที่
3. ความเร็วต้นในแนวระดับเป็นศูนย์
4. มีการเคลื่อนที่ในแนวระดับและแนวดิ่งพร้อมกัน
คำตอบที่ถูกต้องคือข้อใด
ก. ข้อ1 และ 4
ข. ข้อ 1 , 2 และ 4
ค. ข้อ 1 , 3 และ 4
ง. ข้อ 1 , 2 , 3 และ 4

6. ลูกแก้วกลิ้งออกจากขอบโต๊ะสูง 180 เมตร ลูกแก้วตกมาด้วยความเร็วเท่าใด จึงจะทำให้จุดที่ ลูกแก้วตก ถึงพื้นห่างโต๊ะ ในแนวราบเท่ากับความสูงของโต๊ะ
ก. 20 เมตร / วินาที
ข. 30 เมตร / วินาที
ค. 40 เมตร / วินาที
ง. 50 เมตร / วินาที
7. ขว้างระเบิดออกไปด้วยความเร็ว 40 เมตร / วินาที ทำมุม 45 องศา กับแนวราบจงหาเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ถึงจุดสูงสุด
ก. 2.8 วินาที
ข. 4.8 วินาที
ค. 6.8 วินาที
ง. 8.8 วินาที
8. ในการยิงวัตถุทำมุม 30 องศา และ 60 องศา กับแนวราบด้วยความเร็วต้นเท่ากันและระยะทางตามแนวราบของวัตถุทั้งสอง เมื่อตกถึงพื้นเป็นอย่างไร
ก. มีระยะทางเท่ากัน
ข. มุม 60 องศา มีระยะทางมากกว่า
ค. มุม 30 องศา มีระยะทางมากกว่า
ง. ยังสรุปไม่ได้


9. เมื่อขว้างก้อนหินก้อนหนึ่งด้วยความเร็วต้น 20 เมตร / วินาที พบว่าก้อนหินนี้ตกถึงพื้นราบด้วยความเร็วที่ทำมุม 60 องศา กับแนวดิ่ง หินก้อนนี้ขึ้นไปได้สูงสุดเท่าไร
ก. 5 เมตร
ข. 10 เมตร
ค. 15 เมตร
ง. 20 เมตร
10. นักกีฬาทุ่มน้ำหนักคนหนึ่ง ทุ่มลูกเหล็กไปได้ไกล 7 เมตร ในขณะที่ลูกเหล็กลอยอยู่ครึ่งทางนั้น ความเร่งในแนวดิ่งของลูกเหล็กขณะนั้นมีค่าเท่าใด
ก. 5 เมตร / วินาที2
ข. 10 เมตร / วินาที2
ค. หาคำตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้ความเร่งในแนวระดับ
ง. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง
11. แรง 3 แรง ขนาด 30 , 40 , 50 นิวตัน กระทำตามแนวด้านสามเหลี่ยม ยาว 3, 4 , 5 เมตรตามลำดับ ตามรูปมีความหมายว่าอย่างไร
ก. แรง 3 แรงสมดุลกัน
ข. แรง 3 แรงไม่สมดุลกัน
ค. แรง 3 แรง สมดุลกัน หรือไม่สมดุลก็ได้
ง. ข้อมูลไม่เพียงพอ
12. จากรูป จงหาขนาดของแรงลัพธ์จากแรง 2 แรงที่กำหนดให้ดังรูป

ก. 2.6 N
ข. 3.6 N
ค. 4.6 N
ง. 5.6 N



13. จากรูป จงหาแรงตึงเชือก T

ก. 6 N
ข. 16 N
ค. 26 N
ง. 36 N
14. วัตถุมวล 20 กิโลกรัม วางอยู่บนพื้นราบมีสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตเท่ากับ 0.2 มีแรงมาดึงวัตถุ แต่วัตถุยังไม่เคลื่อนที่ จงหาขนาดของแรงนี้
ก. 10 N
ข. 20 N
ค. 30 N
ง. 40 N
15. วัตถุก้อนหนึ่งหนัก 2 กิโลกรัม นำมาวางบนพื้นเอียงทำมุม 30 องศา กับพื้นราบ ปรากฏว่าวัตถุก้อนนี้ไถลลงมาด้วยความเร็วคงที่ จงหาแรงเสียดทานระหว่างวัตถุกับพื้นเอียง
ก. 0.1 N
ข. 0.2 N
ค. 1 N
ง. 2 N
16. จากรูป จงหาโมเมนตัมของแรงคู่ควบ

ก. 2.5 N
ข. 25 N
ค. 3.5 N
ง. 35 N
17. ข้อใดผิด
1. โยนลูกบอลขึ้นไปในแนวดิ่งขณะที่อยู่ตำแหน่งสูงสุดลูกบอลอยู่ในสภาพสมดุล
2. วัตถุอาจไม่อยู่ในสภาพสมดุลแม้ว่าแรงลัพธ์ที่กระทำบนวัตถุเป็นศูนย์
3. วัตถุหยุดนิ่ง หมายถึง วัตถุมีสมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่งอย่างเดียว
4. วัตถุอาจเคลื่อนที่แม้ว่าอยู่ในสภาพสมดุล
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4
18. ถ้ามีแรง 3 แรงมากระทำต่อวัตถุ และทำให้วัตถุอยู่ในสภาพสมดุลสัมบูรณ์
จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. แนวแรงทั้ง 3 จะพบกันที่จุดจุดหนึ่ง
2. แรงทั้ง 3 อยู่ในแนวแรงเดียวกัน
3. ผลลัพธ์ของโมเมนต์แรงทั้ง 3 มีค่าเท่ากับ 0 รอบแกนใดๆ
4. ถ้าแรง1 มีขนาดลดลงครึ่งหนึ่ง แรงอีก 2 แรงที่เหลือจะมีขนาดลดลงครึ่งหนึ่งด้วย
จึงจะทำให้วัตถุอยู่ในสภาพสมดุล
ข้อความใดถูกต้องที่สุด
ก. ข้อ 1 , 2 และ 3
ข. ข้อ 1 , 2 และ 4
ค. ข้อ 2 , 3 และ 4
ง. ข้อ 1 และ 3

19. แรง 4 แรงกระทำต่อวัตถุอันหนึ่ง ทำให้วัตถุสมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่ง คำกล่าวในข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
ก. ขนาดของแรงลัพธ์ของแรง 2 แรงต้องเท่ากับขนาดของแรงลัพธ์ของแรงอีก 2 แรง แต่มีทิศทางตรงข้ามกัน
ข. แนวแรงของแรงทั้ง 4 ต้องพบกันที่จุดจุดหนึ่ง
ค. แรงทั้ง 4 ต้องอยู่ในระดับเดียวกัน
ง. ถูกทุกข้อ



20. ชายคนหนึ่งขับรถเลี้ยวซ้าย เกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบที่พวงมาลัย 200 เมตร-นิวตัน ถ้าพวงมาลัย
มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.40 เมตร จงหาแรงที่มือแต่ละข้างดึงพวงมาลัย
ก. 200 นิวตัน
ข. 300 นิวตัน
ค. 200 นิวตัน
ง. 300 นิวตัน






โชคดีทุกคน...

แบบทดสอบเรื่องไฟฟ้าสถิต

ชื่อ............................................................................... เลขที่ ...................... ชั้น ม 5/......
แบบทดสอบเรื่องไฟฟ้าสถิต
1. หยดน้ำมันมีมวล 0.05 Kg เคลื่อนที่ลงด้วยความเร่ง 5 เมตร / วินาที 2 ในบริเวณสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอที่มีทิศขึ้นขนาด 15 x 109 N/C จงหาชนิดเละขนาด ของประจุไฟฟ้าในหยดน้ำมัน
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. ประจุไฟฟ้าขนาด -3 x 10-11 C และ 1x 10-11 C วางอยู่ห่างกัน 2 เมตร จงหาจุดสะเทินของสนามไฟฟ้า
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. จากรูปจงหาแรงระหว่างประจุไฟฟ้าที่ตำแหน่ง A เมื่อให้ตำแหน่งที่ A , B,C, และ D มีประจุไฟฟ้าเท่ากัน เท่ากับ 9 x 10-8 C และให้ระยะ AD = AC = 9 cm. และระยะ AB = 27 cm.
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แบบทดสอบ วิชาฟิสิกส์ 3 ว 40201

ชื่อ..............................................................................ชั้น.....................เลขที่...................
แบบทดสอบ วิชาฟิสิกส์ 3 ว 40201
1. หลอดเรโซแนนซ์ยาว 1.20 เมตร ทำให้เกิดการสั่นพ้องของเสียง 1 ครั้ง ถ้าให้อากาศมีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส จงหาความถี่ของเสียง
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
2. เสียงสองแหล่งกำเนิดมีความเข้ม และ วัตต์ต่อตารางเมตร จะมีระดับความเข้มของเสียงต่างกันเท่าไร
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
3. นายสมชายขับรถเก๋งด้วยอัตราเร็ว 20 เมตรต่อวินาที นายสมปองขับรถสปอร์ตตามมาด้วยอัตราเร็ว 45 เมตรต่อวินาที และกดแตรด้วยความถี่ 600 เฮิรตซ์ ถ้าให้อัตราเร็วของลมเท่ากับ 10 เมตรต่อวินาที ทิศตรงข้ามกับรถเก๋ง สมชายจะได้ยินเสียงแตรจากรถของสมปองด้วยความถี่เท่าไร
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
4. นักเรียนหญิงส่งสียงมีระดับความเข้มเสียง 60 เดซิเบล นักเรียนชายส่งสียงมีระดับความเข้มเสียง 50 เดซิเบล
ถ้าให้นักเรียนชายและนักเรียนหญิงส่งเสียงพร้อมกัน จะมีระดับความเข้มเสียงเท่าไร
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………..

ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ อุตสาหกรรมแก้ว และปูนซีเมนต์

แบบทดสอบ
เรื่อง ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ อุตสาหกรรมแก้ว และปูนซีเมนต์
1. ข้อความเกี่ยวกับดินขาวที่ใช้ทำเซรามิกส์ ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. สูตรเคมีของดินขาวบริสุทธิ์ คือ
Al2O3(2SiO2.2H2O)
ข. ดินขาวเป็นส่วนประกอบหลักของเนื้อเซรามิกส์
ค. ดินขาวมีความเหนียวและแข็งแรงมากกว่าดินเหนียว
ง. แหล่งที่พบดินขาวส่วนใหญ่คือ จังหวัดลำปาง เชียงใหม่
2. วัตถุดิบหลักที่เป็นส่วนผสมที่มีปริมาณมากที่สุดในการผลิตเซรามิกส์ คือข้อใด
ก. ดิน
ข. ควอตซ์หรือหินเขี้ยวหนุมาน
ค. เฟลด์สปาร์หรือหินฟันม้า
ง. ดิกไคต์ โดโลไมต์ และออกไซด์
3. เซรามิกส์ชนิดใดส่วนใหญ่ต้องผ่านกระบวนการทั้งเผาดิบและเผาเคลือบ
ก. อิฐ ข. กระถางต้นไม้
ค. ไส้กรองน้ำ ง. ภาชนะใส่อาหาร
4. ภาชนะใส่อาหารซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ควรใส่อาหารประเภทใด
ก. แกงไตปลา ข. แกงส้ม
ค. ยำเล็บมือนาง ง. ไข่ยัดไส้
5. การเตรียมเนื้อดินเพื่อขึ้นรูป ควรทำอย่างไรตามลำดับ
ก. ผสมวัตถุดิบ บดให้ละเอียด เติมน้ำ กวน ขึ้นรูป
ข. บดวัตถุดิบแต่ละชนิด ร่อน ผสม เติมน้ำ กวน ขึ้นรูป
ค. ผสมวัตถุดิบ เติมน้ำ ร่อน บดให้ละเอียด กวน ขึ้นรูป
ง. บดวัตถุดิบแต่ละชนิด ร่อน ผสม ขึ้นรูป
6. วัตถุดิบที่ใช้ผลิตปูนซีเมนต์ ที่มีปริมาณมากที่สุด คืออะไร
ก. หินปูน ข. ซิลิกา
ค. หินอ่อน ง. ดินสอพองหรือดินมาร์ล 7. วัตถุดิบที่ใช้ผลิตแก้วที่มีมากที่สุดในเนื้อแก้ว คืออะไร
ก. อะลูมินา (Al2O3) ข. ซิลิกา (SiO2)
ค. แคลไซต์ (CaCO3) ง. โซดาแอช (Na2CO3)
8. แก้วที่มีสมบัติทนความร้อน ทนกรด – เบส และขยายตัวได้น้อย เหมาะสำหรับผลิตอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ คือแก้วชนิดใด
ก. แก้วโซดาไลม์ ข. แก้วโอปอล
ค. แก้วโบโรซิลิเกต ง. แก้วคริสตัล
9. ปูนซีเมนต์ที่ใช้ผสมคอนกรีตหรือปูนที่ใช้ฉาบผนังทั่วๆ ไป เป็นปูนชนิดใด
ก. ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ธรรมดา
ข. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่เกิดความร้อน ทนการกัดกร่อนของซัลเฟตปานกลาง
ค. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททนต่อซัลเฟตสูง
ง. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ
10. ปูนซีเมนต์ที่ใช้กับงานฉาบ หล่อท่อ หรือทำกระเบื้องมุงหลังคา เป็นปูนซีเมนต์ประเภทใด
ก. ปูนซีเมนต์ธรรมดา
ข. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา
ค. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประภทเกิดความร้อนและทนซัลเฟตปานกลาง
ง. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อน

ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม

แบบทดสอบ
เรื่อง ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
1. ข้อใดผิด
ก. การถลุงแร่เป็นกระบวนการรีดักชัน
ข. การถลุงแร่ทำโดยใช้สารเคมีหรือไฟฟ้า
ค. การถลุงแร่มีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
ง. การถลุงแร่เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนสารประกอบอื่น ๆ ให้อยู่ในรูปออกไซด์
2. ตัวรีดิวซ์ที่ใช้ในการถลุงแร่ดีบุก คือข้อใด
ก. C ข. Mg
ค. Zn ง. Zr
3. การถลุงแร่ชนิดใดที่เกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแก๊สพิษ
ก. แร่แคสซิเทอร์ไรต์ ข. แร่ซิงค์ไคต์
ค. แร่สติบไนต์ ค. แร่สมิทซอไนต์
4. การถลุงแร่ชนิดใดที่มีขั้นตอนการถลุง ดังต่อไปนี้
1. ย่างแร่
2. รีดิวซ์แร่ที่ย่างแล้วด้วย CO ในเตาถลุง
3. โซเดียมคาร์บอเนตรวมตัวกับสารปนเปื้อนต่างๆ ในเตาถลุง กลายเป็นกากตะกอนลอยอยู่บนผิวโลหะเหลว
4. ไขโลหะเหลวออกจากเตาลงเบ้าเหล็กเพื่อหล่อเป็นแท่ง
ก. แร่สฟาเลอไรต์ ข. แร่แคสซิเทอไรต์
ค. แร่สติบไนต์ ง. แร่เซอร์คอน
5. แร่ที่มีองค์ประกอบสำคัญในทองแดง ได้แก่แร่ที่มีสูตรตรงกับข้อใด
ก. CuS ข. CuFeS2
ค. FeS ง. Cu2O
6. โลหะผสมทองแดงในข้อใดที่มีสมบัติทนต่อการกัดกร่อนได้ดี โดยเฉพาะในน้ำทะเล
ก. Cu + Zn ข. Cu + Ni
ค. Cu + Sn ง. Cu + Ni + Zn
7. ทองเหลืองเป็นโลหะผสมที่เกิดจากการผสมธาตุในข้อใด
ก. Cu + Zn ข. Cu + Ni
ค. Cu + Sn ง. Cu + Ni + Zn
8. แร่รัตนชาติในข้อใดที่มีความแข็งมากที่สุด
ก. มรกต
ข. โกเมน
ค. เพทาย
ง. ทับทิม
9. ข้อใดถูกต้อง
1. ทับทิม บุษราคัม และไพลิน คือแร่คอรันดัม
2. แร่รัตนชาติ เช่น ทองแดง เพชร และพลอย
3. มรกตเป็นรัตนชาติที่มีสูตรว่า Al2O3 แต่มี Fe เป็นมลทิน จึงมีสีเขียว
4. ปะการัง เปลือกหอย และไข่มุก ก็เป็นอัญมณี
ก. ข้อ 1 และ 4 ถูก
ข. ข้อ 2 และ 3 ถูก
ค. ข้อ 1 ถูกข้อเดียว
ง. ถูกทุกข้อ
10. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. แร่รัตนชาติที่มีชื่อเสียงของไทย คือ ทับทิมสยาม ไพลิน
2. สาแหรกเป็นลายเส้นเหลือบ ๆ ในพลอย บางชนิดเกิดจากมลทิน จำพวกแร่รูไทล์
3. การหุงพลอยเป็นเทคนิคที่ช่วยให้พลอยมีสีสันสวยขึ้นโดยใช้ความร้อนทำให้ธาตุเปลี่ยนเลขออกซิเดชัน และเปลี่ยนสีสันถาวร
ก. ข้อ 1 และ 2
ข. ข้อ 2 และ 3
ค. ข้อ 1 และ 3
ง. ทั้งข้อ 1 , 2 และ 3

แบบทดสอบเรื่องไฟฟ้าสถิต

ชื่อ............................................................................... เลขที่ ...................... ชั้น ม 5/......
แบบทดสอบเรื่องไฟฟ้าสถิต
1. หยดน้ำมันมีมวล 0.05 Kg เคลื่อนที่ลงด้วยความเร่ง 5 เมตร / วินาที 2 ในบริเวณสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอที่มีทิศขึ้นขนาด 15 x 109 N/C จงหาชนิดเละขนาด ของประจุไฟฟ้าในหยดน้ำมัน
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. ประจุไฟฟ้าขนาด -3 x 10-11 C และ 1x 10-11 C วางอยู่ห่างกัน 2 เมตร จงหาจุดสะเทินของสนามไฟฟ้า
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. จากรูปจงหาแรงระหว่างประจุไฟฟ้าที่ตำแหน่ง A เมื่อให้ตำแหน่งที่ A , B,C, และ D มีประจุไฟฟ้าเท่ากัน เท่ากับ 9 x 10-8 C และให้ระยะ AD = AC = 9 cm. และระยะ AB = 27 cm.

แบบทดสอบวิชาฟิสิกส์

1. วัตถุอันหนึ่งเคลื่อนที่ไปตามพื้นราบด้วยความหน่วง 4 เมตร / วินาที2 ทำให้ระยะทาง 200 เมตร จึงหยุดจงหาความเร็วต้นของวัตถุ
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
2. โยนก้อนหินจากหน้าสูง 1200 เมตร ด้วยความเร็วต้น 120 เมตร / วินาที นานเท่าไร
ก้อนหินจึงจะตกถึงพื้น
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
3. ยิงปืนในแนวขนานกับพื้นโลก ลูกปืนมีความเร็วต้น 400 เมตร / วินาที และลูกปืนเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 12 4 เมตร / วินาที2 เมื่อสิ้นวินาทีที่ 7 วัตถุเคลื่อนที่ได้ระยะทางเท่าไร
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….

4. ปล่อยวัตถุตกลงมาวัตถุใช้เวลา 4 วินาที จึงตกกระทบพื้น จงหาความเร็วเมื่อวัตถุตกกระทบพื้น
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
5. โยนวัตถุขึ้นไปในแนวดิ่งด้วยความเร็ว 2 5 เมตร / วินาที นานเท่าไรวัตถุจึงจะตกกลับมาที่จุดเริ่มโยน
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….

ใครตอบได้ ก็ตอบมานะ

ปริมาณสารสัมพันธ์

ปริมาณสารสัมพันธ์
เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาเกี่ยวกับปริมาณของสารตั้งต้น ผลผลิต และพลังงานของสารที่เปลี่ยนแปลงในปฏิกิริยาเคมี และกล่าวถึง อะตอม โมเลกุล ไอออน สูตรโมเลกุล วิธีการหาสูตร สมการ การขียนสมการทางเคมี และการคำนวณโดยใช้สมการเคมี
ทำไม ? ต้องเรียนปริมาณสารสัมพันธ์
1. ใช้คาดคะเนปริมาณสารตั้งต้น เพื่อที่จะได้ผลผลิตที่มีปริมาณตามต้องการ
2. ใช้ประกอบการเลือกปฏิกิริยาที่ประหยัดที่สุดในทางอุตสาหกรรมและการค้า
3. บอกได้ว่าตัวทำปฏิกิริยาใดหมด หรือตัวทำปฏิกิริยาใดจะเหลือ
สูตรเคมี (Chemical formula)
คือ กลุ่มสัญลักษณ์ของธาตุหรือสารประกอบ โดยเขียนบอกเพื่อให้ทราบว่า สารนั้นๆ 1 โมเลกุลประกอบด้วยธาตุใดบ้าง อย่างละกี่อะตอม เช่น H2O2
1 โมเลกุล ประกอบด้วย H และ O อย่างละ 2 อะตอม สูตรเคมี จำแนกได้ 3 ชนิด ดังนี้
1. สูตรเอมพิริกัล (empirical formula) คือ กลุ่มสัญลักษณ์ที่เขียนเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวนอะตอมที่ประกอบขึ้นเป็นสารประกอบนั้น เช่น CH2O เป็นสูตรเอมพิริกัลของ C6H12O6
2. สูตรโมเลกุล (molecular formula) คือ กลุ่มสัญลักษณ์ที่เขียนเพื่อระบุว่า ธาตุหรือสารประกอบนั้น 1 โมเลกุลประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง เช่น H2O2 1 โมเลกุลประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และออกซิเจนอย่างละ 2 อะตอม แต่บางทีสูตรโมเลกุลกับสูตรเอมพิริกัลก็อาจเป็นสูตรเดียวกันในกรณีของ H2O
หรือบางทีสูตรโมเลกุลอาจเป็นพหุคูณของตัวเลขลงตัวกับสูตรเอมพิริกัลก็ได้ เช่น C3H6 ,H2O2
เขียนความสัมพันธ์ทั่วไปได้ว่า
สูตรโมเลกุล = (สูตรเอมพิริกัล)n
เมื่อ n = 1, 2, 3,…
3. สูตรโครงสร้าง (Structural formula) คือสูตรโมเลกุลนั่นเอง แต่เขียนแสดงการเกาะเกี่ยวของอะตอมในโมเลกุลด้วย การใช้สูตรโครงสร้างจะเหมาะสมกว่าการใช้สูตรโมเลกุลสำหรับสารต่างชนิดกันที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน เช่น C2H6O อาจจะเป็น ethanol หรือ dimethyl ether ก็ได้

H H
H C C OH , ethanol
H H
H H
H C O C H , dimethyl ether
H H

น้ำหนักอะตอม น้ำหนักโมเลกุล และน้ำหนักสูตร
น้ำหนักอะตอม
เนื่องจากอะตอมมีขนาดเล็กมากๆ ไม่สามารถชั่งหามวลที่แท้จริงได้โดยตรง
 ใช้มวลเปรียบเทียบ
(relative mass)
โดยเทียบกับมวลของธาตุมาตรฐาน 12C

หน่วยมาตรฐาน
atomic mass unit (amu) โดยที่
1 amu = 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม
1 amu = 1.6610-24 g.
 1 g. = 6.021023 amu
มวลอะตอมของธาตุใดๆ จึงเป็นตัวเลขที่แสดงว่า ธาตุนั้น 1 อะตอม มีมวลเป็นกี่เท่าของ 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม
มวลอะตอมของธาตุ = มวลของธาตุ 1 อะตอม


ตัวอย่างที่ 1 ทังสเตนมีมวลอะตอม 183.84 amu
จงหาน้ำหนักเป็นกรัมของทังสเตน 25 อะตอม
วิธีทำ
ทังสเตน 1 อะตอม มีมวล = 183.84 amu
ทังสเตน 25 อะตอม มีมวล = 183.84 x 25 amu
= 4.596 x 103 amu
เปลี่ยน amu เป็น g
มวล 1 amu = 1.66 x 10-24 g
ถ้ามวล 4.596 x 103 amu = 7.629 x 10-21 g

ตอบ : ทังสเตน 25 อะตอม มีมวล 7.629 x 10-21 g

น้ำหนักโมเลกุล
มวลโมเลกุล = มวลของธาตุ 1 โมเลกุล
1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม
มวลโมเลกุลของสารใดๆ บอกให้ทราบว่า ธาตุนั้น
1 โมเลกุล มีมวลเป็นกี่เท่าของ 1/12 ของมวล C-12 1 อะตอม
ตัวอย่างที่ 2 มวลโมเลกุลของสาร หาได้จากผลบวกของมวลอะตอมของธาตุทั้งหมดในโมเลกุล เช่น
SO2 = 1 S + 2 O
= (32 x 1) + (16 x 2)
= 64 #
H2SO4 = 2 H + 1 S + 4 O
= (2 x 1) + (1 x 32) + (4 x 16)
= 98 #
CH3COOH = 2 C + 2 O + 4 H
= (2 x 12) + (2 x 16) + (4 x 1)
= 60 #




ตัวอย่างที่ 3 จงคำนวณน้ำหนักโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคสซึ่งมีสูตรโมเลกุล C6H12O6
วิธีทำ
6 x น้ำหนักอะตอมของ C
= 6 x 12.01 = 72.06
12 x น้ำหนักอะตอมของ H
= 12 x 1.008 = 12.00
6 x น้ำหนักอะตอมของ O
= 6 x 16.00 = 96.00
ดังนั้น น้ำหนักโมเลกุลของกลูโคส
= 72.06 + 12.00 + 96.00 = 180.06 #

น้ำหนักสูตร (Formular Weight)
• สารประกอบอิออนิก อยู่ในรูปผลึกที่ประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบจำนวนมาก
• สูตรของสาร จะเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำของไอออนบวกและไอออนลบ ซึ่ง ไม่ใช่สูตรโมเลกุล
เช่น NaCl มีไอออนบวกและลบ เป็นอัตราส่วน
1:1
• น้ำหนักสูตร หาได้จากการเปรียบเทียบกับมวลของธาตุมาตรฐาน หรือ คิดจากผลบวกของมวลอะตอมของธาตุต่างๆในสูตรของสารนั้น
ตัวอย่างที่ 4 จงคำนวณหาน้ำหนักสูตรของสารประกอบต่อไปนี้
วิธีทำ
NaCl = 23 + 35.5 = 58.5
C2H5Cl = (2 x 12) + (5 x 1) + (1 x 35.5) = 64.5
CuSO4 •5H2O = [(1 x 63.55) + (1 x 32) + (4 x 16)]
+ 5 x [(2 x 1) + (1 x 16)]
= 249.55 #

การคำนวนหาสูตรเอมพิริกัลและสูตรโมเลกุล
ต้องทราบ
- สปก. นั้นประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง
- อัตราส่วนโดยน้ำหนักของธาตุทั้งหมดที่มีอยู่เป็นอย่างไร
- น้ำหนักอะตอมของแต่ละธาตุด้วย
สูตรโมเลกุล = (สูตรเอมพิริกัล)n , n = 1, 2, 3, …
0.1 – 0.2 ปัดทิ้ง
0.3 – 0.7 ปัดทิ้งไม่ได้ ต้องหาตัวเลขที่มีค่าต่ำสุดมาคูณให้มีค่า ใกล้เคียงกับตัวเลขที่จะปัดได้
0.8 – 0.9 ปัดขึ้น 1

ตัวอย่างที่ 5 จากการวิเคราะห์สารประกอบชนิดหนึ่ง พบว่าประกอบด้วยกำมะถันและออกซิเจน มีร้อยละโดยน้ำหนักของกำมะถันเป็น 50.05 และออกซิเจน 49.95 ถ้าน้ำหนักโมเลกุลของสารประกอบนี้เท่ากับ 64 จงคำนวณหาสูตรเอมพิริกัล และสูตรโมเลกุล (S = 32, O = 16)
วิธีทำ อัตราส่วนโดย นน. ของ S : O = 50.05:49.95
อัตราส่วนโดยจำนวนอะตอมของ
S : O = 50.05/32 : 49.95/16
= 1.56 : 3.12
= 1 : 2
สูตรเอมพิริกัลคือ SO2
สูตรโมเลกุลเป็น (SO2)n
(SO2)n = 64
(32 + 16 × 2)n = 64
n = 1
สูตรโมเลกุลคือ SO2 #
โมล (mole)
โมล : ปริมาณสารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับจำนวนอะตอมของ C-12 ที่มีมวล 12 กรัม ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.02 x 1023 อะตอม
อนุภาคในที่นี้อาจเป็นอาจเป็นอะตอม โมเลกุล หรือ ไอออน ก็ได้ เลขจำนวน 6.02 x 1023 เรียกว่า
เลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number)

“Lorenzo Romano Amedeo Carlo Avogadro di Quaregna di Cerreto”



สรุป
1 โมลของสารใดๆ หมายถึง ปริมาณสารจำนวน
6.02 x 1023 อนุภาค
ซึ่งมีมวลเท่ากับมวลอะตอมของธาตุหรือมวลโมเลกุลของสารนั้นๆ

โมลของสารที่มีสถานะเป็นแก๊ส
แก๊ส 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลิตร ที่ STP มีจำนวน 6.02 x 1023 โมเลกุล
STP = Standard Temperature Pressure;
อุณหภูมิ 0 °C ความดัน 1 บรรยากาศ

• โมลของสาร = น้ำหนักของสาร (g)
มวลอะตอมหรือมวลโมเลกุล (g/mol)
• จำนวนอะตอมหรือโมเลกุลของสาร
= โมลของสาร x 6.02 x 1023

• ปริมาตรแก๊สที่ STP
= โมลของแก๊ส x 22.4 ลิตร





ตัวอย่างที่ 6 ถ้ามีแก๊สแอมโมเนียหนัก 15.35 กรัม จงคำนวณหาจำนวนโมล จำนวนโมเลกุล และ ปริมาตรที่ STP
NH3 มวลโมเลกุล = 17
จำนวนโมล = น้ำหนักสาร
มวลโมเลกุล
จำนวนโมลของ NH3 = 15.35 = 0.90 โมล
17
จำนวนโมเลกุล = จำนวนโมล x 6.02 x 1023 โมเลกุล
= 0.90 x 6.02 x 1023 โมเลกุล
= 5.42 x 1023 โมเลกุล #
ปริมาตรที่ STP = จำนวนโมล x 22.4 ลิตร
= 0.90 x 22.4
= 20.16 ลิตร #

สมการเคมี
สมการเคมี ประกอบด้วยสัญลักษณ์หรือสูตรของสารต่างๆ
- ใช้เขียนแทนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
- บอกให้ทราบว่า สารใดทำปฏิกิริยากันและเกิด
สารใดบ้าง
- ใช้ในการคำนวณปริมาณสัมพันธ์ของสารต่าง
ในปฏิกิริยานั้นๆ




สมการเคมี เขียนได้ 2 แบบ
สมการแบบโมเลกุล
- แสดงปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลของสาร อาจมีการแสดงสถานะทางกายภาพของสาร เช่น (g), (l), (s), (aq)
เช่น CH4 (g) + 2O2 (g) CO2 (g) + 2H2O (g)

สมการไอออนิก
- ใช้สำหรับปฏิกิริยาที่มีสารประกอบไอออนิกเข้ามาเกี่ยวข้อง เขียนเฉพาะไอออนและโมเลกุลที่จำเป็นและเกิดปฏิกิริยาเท่านั้น สารที่แตกตัวเป็นไอออนในน้ำได้น้อย สารที่ไม่ละลาย สารที่ตกตะกอนหรือสารที่เป็นแก๊ส ให้เขียนสูตรโมเลกุล

NaCrO2(aq) + NaClO(aq) + NaOH(aq) Na2CrO4(aq) + NaCl(aq) + H2O(l)
เมื่ออยู่ในน้ำ สารเหล่านี้จะแตกตัวเป็นไอออน ดังนี้

Na+(aq) + CrO2-(aq) + Na+(aq) + ClO-(aq) + Na+(aq) + OH-(aq)
2Na+(aq) + CrO42-(aq) + Na+(aq) + Cl-(aq) + H2O(l)
สมการไอออนิกสุทธิ
CrO2-(aq) + ClO-(aq) + OH-(aq) CrO42-(aq) + Cl-(aq) + H2O(l)
สมการไอออนิกที่ดุลแล้ว
2CrO2-(aq) + 3ClO-(aq) + 2OH-(aq) 2CrO42-(aq) + 3Cl-(aq) + H2O(l)

ก่อนที่จะนำสมการเคมีมาใช้ในการคำนวณ การเคมีนั้นต้องดุลเสียก่อน นั่นคือจะต้องเป็นไปตาม กฎทรงมวล (อะตอมของแต่ละธาตุทางซ้ายมือของสมการนั้นจะต้องเท่ากับอะตอมของแต่ละธาตุทางขวามือของสมการ)


ประกอบไปด้วยขั้นตอน ต่อไปนี้
1. เริ่มดุลจากโมเลกุลที่ใหญ่ที่สุดหรือโมเลกุลทีประกอบด้วยธาตุมากที่สุดก่อน
2. ดุลโลหะ
3. ดุลอโลหะ(ยกเว้น H และ O)
4. ดุล H และ O
5. ตรวจดูจำนวนของธาตุในสมการ

จงดุลสมการต่อไปนี้
1. _ H2 + _ O2 ----> _ H2O
2H2 + O2 ----> 2H2O
2. _ C3H8 + _ O2 ----> _ CO2 + _ H2O
C3H8 + 5O2 ----> 3CO2 + 4H2O
3. _ Na2O2 + _ H2O ----> _NaOH + _O2
2Na2O2 + 2H2O ----> 4NaOH +O2
4. _ KClO3 ----> _ KCl + _ O2
2KClO3 ----> 2KCl + 3O2

5. _ KClO3 + _ C12H22O11 ----> _ KCl + _CO2 + _H2O
8KClO3 + C12H22O11 ----> 8KCl + 12CO2 + 11H2O

การคำนวณจากสมการเคมี
- เขียนสมการเคมีของปฏิกิริยานั้น พร้อมดุลสมการให้ถูกต้อง
- พิจารณาเฉพาะสารที่ต้องการทราบและสารที่กำหนดให้ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
- นำข้อมูลที่กำหนดให้มาคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการ







ตัวอย่างที่ 7 จงคำนวณว่าต้องใช้สังกะสีกี่กรัม และกี่โมล ทำปฏิกิรยากับกรดเกลือ จึงจะทำให้แก๊สไฮโดรเจน 0.224 ลิตร ที่ STP

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ Zn + 2HCl ----> ZnCl2 + H2

ที่ STP H2 22.4 ลิตร (1 mol) เตรียมได้จากสังกะสี 65.4 g
(1 mol)
H2 0.224 ลิตร เตรียมได้จากสังกะสี = 0.654 g
จะต้องใช้สังกะสี = 0.654 g หรือ = 0.01 mol

สารกำหนดปริมาณ
• ถ้าสารที่ทำปฏิกิริยามีปริมาณไม่พอดีกัน ปฏิกิริยาจะสิ้นสุดเมื่อสารใดสารหนึ่งหมด
• สารที่หมดก่อนจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของผลผลิตที่เกิดขึ้น เรียกว่า สารกำหนดปริมาณ (Limiting reagent)

ตัวอย่างที่ 8 จงคำนวณว่าเกิด H2O กี่กรัม จากปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจน 11.2 ลิตร
และออกซิเจน 11.2 ลิตร ที่ STP
2H2(g) + O2(g) -----> 2H2O(g)
H2 11.2 ลิตร มีปริมาณ = 0.5 mol
O2 11.2 ลิตร มีปริมาณ = 0.5 mol
หาสารกำหนดปริมาณ ;
H2 = 0.25 mol
O2 = 0.5 mol
ดังนั้น H2 เป็นสารกำหนดปริมาณ
จากสมการ H2 2 mol เตรียมน้ำได้ 2 x 18 g
H2 0.5 mol เตรียมน้ำได้ 9.0 g

ดังนั้น เตรียมน้ำได้ 9.0 g. #

ผลได้ตามทฤษฎี (Theoretical yield)
เป็นค่าที่ได้จากการคำนวณปริมาณผลผลิตตามสมการเคมี ที่ถือว่าปฏิกิริยานั้นเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
ในทางปฏิบัติ ผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยาจะมีค่าแตกต่างไปจากผลที่ได้ตามทฤษฎีเสมอ ปริมาณผลผลิตที่ได้นี้ เรียกว่า ผลได้จริง (Actual yield)

การรายงานผลการทดลอง มักเปรียบเทียบผลได้จริงกับผลตามทฤษฎีในรูปของ ผลได้ร้อยละ (Percentage yield)

ผลได้ร้อยละ = ผลได้จริง X 100
ผลได้ตามทฤษฎี
ตัวอย่างที่ 9 จงหาปริมาณผลผลิตตามทฤษฎี(เป็นกรัม) ของทองแดงที่ได้จากการแยก คอปเปอร์(I) ซัลไฟด์ (Cu2S) 1590 g.
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ Cu2S +O2 ----> 2Cu + SO2
ถ้าผลการทดลองได้ทองแดง 1,200 g. จงคำนวณหาผลผลิตร้อยละ
Cu2S 1590 g. = 1590 = 10 mol
159
จากสมการ
Cu2S 1 mol เตรียม Cu ได้ 2 mol = 2 x 63.5 g.
Cu2S 10 mol เตรียม Cu ได้ 2 x 63.5 x 10 = 1270 g.

ผลผลิตร้อยละ = 1200 x 100 = 94.5 #
1270
ความร้อนของปฏิกิริยา
การเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือปฏิกิริยาเคมี มักมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง

• ปฏิกิริยาที่ระบบคายความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อม
เรียก ปฏิกิริยาคายความร้อน (exothermic reaction)

• ปฏิกิริยาที่ระบบดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อม
เรียก ปฏิกิริยาดูดความร้อน (endothermic reaction)

การสลายพันธะ ต้องให้พลังงานกับระบบ
(ระบบดูดพลังงานเข้าไป)
การเกิดพันธะใหม่ มีการคายพลังงานออกจากระบบ (ระบบให้พลังงานออกมา)




ตัวอย่างที่ 10 จงคำนวณการเปลี่ยนแปลงของพลังงานความร้อนของปฏิกิริยาต่อไปนี้
H2 (g) + 1 O2 (g) H2O (g)
2
กำหนดให้ พลังงานพันธะ
H-H = 431.0 kJ
H-O = 463.0 kJ O=O = 485.0 kJ
ปฏิกิริยานี้เป็นแบบดูดหรือคายความร้อน?

วิธีทำ จากสมการ พันธะที่ถูกทำลาย คือ H-H และ O=O และพันธะที่เกิดขึ้น คือ H-O

พลังงานที่ต้องใช้เพื่อสลายพันธะ H-H และ O=O
= 431 kJ + 1 (485.0 kJ) = 673.5 kJ
2
พลังงานที่ถูกคายออกมาเพื่อสร้างพันธะ H-O
2 พันธะ = 2 (463.0 kJ) = 926.0 kJ
ความร้อนที่เปลี่ยนแปลง = 926.0 – 673.5
= 252.5 kJ
จะได้ว่า ความร้อนที่ระบบคายออกมา มากกว่า ความร้อนที่ถูกดูดเข้าไป ปฏิกิริยาในข้อนี้จึงเป็น”ปฏิกิริยาคายความร้อน